|
|
[ กลับหน้าหลัก ]
อยากถามคนเล่น หมากรุกสากล [2]
อากถามความหมายของ Hypermodern
การเล่น CHESS แบบ Hypermodern
นักหมากรุกชั้นแนวหน้าที่เล่น สไตร์ Hypermodern
สถานะการณ์ การเล่นCHESS แนว Hypermodern ในปัจจุบัน
รูปแบบการเดิน ที่เป็น Hypermodern |
โดย : gmrdit[uj [ 15/12/2004, 14:07:58 ] |
1
จ๊ากก
ไม่เคยได้ยินอ่ะ ไปเอามาจากไหนเนี่ย |
โดย : ไร้น้ำตาล [ 15/12/2004, 14:12:39 ] |
2
hjhj |
โดย : 556 [ 15/12/2004, 14:14:07 ] |
3
Hypermodern
เป็นแนวทางการเดินหมากที่เน้นหมากตัวใหญ่ ไม่เน้นโครงสร้างเบี้ย ลักษณะการเล่นจะคล้ายๆ
กีฬาฟุตบอลแบบเกมโต้กลับ หรือ Counter Attack คือยอมให้คู่ต่อสู้ยึดพื้นที่ตรงกลางกระดานได้
แล้วเราวางกำลังไว้ตรงข้างกระดานหรือมุมกระดาน รอคู่ต่อสู้บุกมากเกินไป (Over Extension)
แล้วคอยตีโต้จะกลับมาเป็นฝ่ายได้เปรียบทีหลัง
รูปแบบหมากที่นิยมใช้ได้แก่ Kings Indian Defense
นักหมากรุกชั้นแนวหน้าที่เล่น สไตล์ Hypermodern ได้แก่ Bobby Fischer , Garry Kasparov เป็นต้น
(ผมเดา ๆ เอานะ ถ้าผิดพลาดก็ขออภัย)
|
โดย : odysseus [ 15/12/2004, 15:12:06 ] |
4
เป็นที่ยอมรับกันว่านักหมากรุกที่เผยแพร่วิธีการเล่นหมากรุกแบบ hypermodern อย่างเป็นระบบได้แก่ Aaron
Nimzowitsch ผู้เขียนหนังสือชื่อ My System เมื่อประมาณ 80 ปีมาแล้ว
Richard Reti ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Modern Ideas in Chess ก็ช่วยเพิ่มเติมความคิดเรื่อง hypermodern
ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
หลักการของพวกเล่นแบบ hypermodern คือ ปล่อยให้คู่ต่อสู้บุกโดยการขึ้นเบี้ยมายึดกลางกระดาน
แล้วตัวเองโต้กลับ (counter-attack) โดยอาศัย fianchettoed bishops คือ บิชอปตรงตำแหน่ง b2 และ g2
สำหรับผู้เล่นฝ่ายขาว หรือถ้าเป็นฝ่ายดำก็อยู่ตำแหน่ง b7 และ g7
รูปหมากของฝ่ายดำที่เล่นแบบ hypermodern เมื่อขาวเดิน d4 ได้แก่ King's Indian, Queen's Indian, Nimzo
Indian, และ Gruenfeld
หรือ Alekhine และ Sicilian บางรูป เช่น Dragon เมื่อขาวเดิน e4
ส่วนรูปหมากของขาวที่เดินแบบ hypermodern ได้แก่ Reti Opening และ the Catalan
Reti Opening จะขึ้นเบี้ย c4 และ d3 แล้วก็เดินเบี้ยไป a3 b3 และ g3
ม้าสองตัวอยู่ d2 และ f3 บิชอปอยู่ที่ b2 และ g2 ต้องเอาคิงเข้าป้อมฝั่งคิง แล้วให้เรืออยู่ที่ตำแหน่ง
a2 และ c1 และควีนอยู่ตำแหน่ง a1
ทั้งหมดนี้คือตำแหน่งหมากในอุดมคติที่ฝ่ายขาวต้องการ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเดินของฝ่ายดำด้วย
|
โดย : mytri [ 15/12/2004, 16:32:57 ] |
6
กระทู้ชวนทะเลาะมีอีกแล้ว... ฮาๆ |
โดย : มู๋ตี๋ [ 15/12/2004, 18:23:57 ] |
7
ในปัจจุบัน มือระดับ GM ไม่ค่อยมีใครเดิน แต้ม King's Indian
เป็นเพราะเหตุใดครับ เป็นรูปที่ เสียเปรียบเหรอ หรือ ขาว มีโอกาสตีตายสูง คนเลยไม่ค่อยเดินกัน
อย่าง Kasparov ก้อไม่กล้าเดินกับ ครัมนิค |
โดย : gmrdit[uj [ 24/12/2004, 01:48:44 ] |
8
บ๊อบบี้ ฟิชเชอร์และแกรี่ คัสปาร็อฟต่างชอบเดิน King's Indian Defense
ในยุคแรกๆของการเล่นหมากรุกของทั้ง 2 คน แต่พออายุมากขึ้นก็หันไปเล่นรูปอื่นบ้าง
ในช่วงปี 1958-1963 ฟิชเชอร์แทบจะรับ 1.d4 ด้วย King's Indian Defense อย่างเดียวเลย แต่พอถึงช่วงปี
1970-1972 ฟิชเชอร์เปลี่ยนมาเล่นรูปอื่นบ้าง เช่น Benoni, Nimzoindian, Queen's Gambit Declined
Tarrasch Variation, Gruenfeld ตอนฟิชเชอร์แข่งกับสปาสกี้ครั้งที่ 2 ในปี 1992 ฟิชเชอร์ก็หันมาใช้
Queen's Gambit Accepted ด้วย
แต่ฟิชเชอร์ไม่ได้เลิกเล่น King's Indian Defense เขายังเล่นรูปนี้อยู่ในเกมยุคท้ายๆของเขา
แกรี่ คัสปาร็อฟคล้ายกับฟิชเชอร์ตรงที่ว่า ในยุคแรกๆชอบเล่น King's Indian Defense เป็นชีวิตจิตใจ
แล้วต่อมาก็มีรูปหมากที่หลากหลายมากขึ้น คัสปาร็อฟหันมาเล่นรูปอื่นๆ เช่น Benoni, Queen's Gambit
Declined Tarrasch Variation, Gruenfeld, Nimzoindian, Queen's Indian, Queen's Gambit Accepted
แต่คัสปาร็อฟต่างจากฟิชเชอร์ตรงที่ว่า ฟิชเชอร์ไม่ได้เลิกเล่น King's Indian Defense
แต่คัสปาร็อฟแทบจะพูดได้ว่าเลิกเล่น King's Indian Defense ไปเลย โดยที่เขาเล่นรูปนี้ครั้งสุดท้ายในปี
1997 เมื่อเขาเล่นกับ Ivanchuk แล้วคัสปาร็อฟแพ้
สาเหตุหนึ่งที่เซียนหมากรุกโลกระดับ GM ไม่ค่อยเล่น King's Indian Defense กัน
อาจเป็นเพราะว่ารูปหมากรูปนี้ทั้งฝ่ายขาวและฝ่ายดำสามารถแตกรูปออกไปได้เยอะมาก คนที่ต้องการศึกษา
King's Indian Defense ให้แตกฉานต้องใช้เวลาในการศึกษามากกว่ารูปหมากรูปอื่น
เพราะฉะนั้นนักหมากรุกที่ไม่มีเวลาศึกษารูปหมากนี้จนแตกฉานจริงๆก็อาจขาดความมั่นใจในรูปหมากนี้
แล้วก็เลยไม่กล้าเอาไปใช้ในการแข่งขันจริง |
โดย : mytri [ 25/12/2004, 17:10:32 ] |
|
|
|
E-mail: webmaster@thaibg.com |
Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved |
|
|
|
|