|
|
[ กลับหน้าหลัก ]
อยากถามคนเล่น หมากรุกสากล ครับ
อยากให้ ใคร อธิบายความหมายของคำว่า Dynamic Chess
หน่อยน่ะ ครับ ว่ามันคืออะไร แบบลึกซึ้งได้ ก้อจะดี ครับ
เคยเห็นมี หนังสือ ที่มีคำว่า Dynamic Chess
เช่น
How to Play Dynamic Chess
The Dynamic English
Dynamic Pawn Play in Chess |
โดย : gmrdit[uj [ 23/11/2004, 16:43:46 ] |
1
ไม่แน่ใจว่าใช่หรือเปล่า แต่เคยเห็นในหนังสือเล่มหนึ่ง ผู้เขียนเขา
แบ่งความได้เปรียบ ได้อย่างน่าฟังว่ามี 2 แบบ คือ 1.static
2.dynamic
อย่างง่ายๆ static advantage ก็คือสิ่งที่อยู่คงทน แม้เวลาจะผ่าน
ไป เช่น เรามี เรือ เขามีม้า ไปจนปลายกระดาน เรือก็ดีกว่าม้าวันยังค่ำ
สองบิชอป กับ สองม้า หรือแม้แต่ สิทธิ์ในการเข้าป้อม
dynamic advantage คือสิ่งที่ไม่อยู่นานถ้าเราเดินต่อไม่ดีมัน
จะค่อยๆ หายไป เช่น ทางเบี้ย คลองเรือ หลายครั้งถ้าตัวเดินน้อยลง
ความได้เปรียบพวกนี้ก็จะน้อยลงไปเรื่อยๆ หรือการเซ่น แล้วบุกเข้า
ตีหน้าคิง ทางได้เปรียบแต่ถ้าปล่อยให้คู่ต่อสู้ตั้งหลักได้ ความได้
เปรียบก็หายไป |
โดย : Olecranon [ 23/11/2004, 18:14:38 ] |
2
static แปลว่า อยู่กับที่ ไม่เคลื่อนไหว ไม่มีชีวิต
dynamic แปลว่า มีพลังขับเคลื่อน มีการเปลี่ยนแปลง และมีชีวิตชีวาไม่อยู่นิ่ง
แต่ละก้าวในการเดินหมากทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป หมากแต่ละตัวมีคุณค่า
และก้าวแต่ละก้าวก็ทำให้คุณค่าของหมากแต่ละตัวเปลี่ยนไป
นักหมากรุกระดับแนวหน้าล้วนแต่เดินหมากรุกแบบ dynamic
แต่หนังสือหมากรุกบางเล่มพูดถึงหมากรุกเหมือนสิ่งที่ไม่มีชีวิต
และไม่สอนให้ผู้เล่นเตรียมตัวรับสภาพที่จะเจอในการเล่นจริง
dynamic chess จะต้องคำนึงถึง initiative (การเป็นฝ่ายเข้าทำก่อน) และเวลา
โดยพิจารณาจากตัวหมากที่แต่ละฝ่ายมีอยู่
dynamic chess จะต้องคำนึงถึง development (การเดินหมากแต่ละตัวให้อยู่ในตำแหน่งพร้อมเล่นมากที่สุด)
การพุ่งเป้าไปยังคิงของคู่ต่อสู้ การเดินให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ และการเข้าทำก่อนคู่ต่อสู้ |
โดย : mytri [ 23/11/2004, 18:36:01 ] |
3
ขอบคุณทั้งสองท่านที่ให้ความรู้นะครับ
กระจ่างมากเลย อ่านแล้วเข้าใจหลักการเล่นได้อีกเยอะเลยทีเดียว |
โดย : ยี่เอ๋ง [ 24/11/2004, 10:44:27 ] |
4
มาตอบไม่ทัน |
โดย : มู๋ตี๋ [ 24/11/2004, 21:21:28 ] |
5
ขอบคุณที่ช่วยให้ความกระจ่างครับ ทุกท่าน
เปรียบเสมือนแสงสว่างมาขับไล่ความมืดมิด
มู๋ตี๋ ตอบไม่ทันก้อแนะนำเพิ่มเติมได้นะครับ |
โดย : gmrdit[uj [ 25/11/2004, 01:44:26 ] |
6
คำนี้มีมานานแล้ว เคยอ่านหนังสือ chess บางเล่ม ผมสรุปเอาว่า
๑.เดินหมากให้พร้อมทำ คือหมากอยู่ในตำแหน่งที่เข้าทำ
๒.การทำต้องทำได้ต่อเนื่อง จึงจะเรียกว่าเดินแบบไดนามิก
๓.ตัวอย่างการเดินมีของ แชมป์โลก aleknie และ fischer |
โดย : บรมสุข [ 25/11/2004, 09:35:18 ] |
7
ถึงท่านผู้ตั้งกะทู้ (อ่านชื่อไม่ออก) และผู้ที่ตอบคำถาม
จากคำตอบที่ท่านต่างๆโพสเข้ามาน่าจะสื่อความหมายได้ใกล้เคียง
ถ้าท่านจะสามารถยกตัวอย่างที่อธิบายมาด้วยเกมส์จริงที่สามารถ reference ได้ หรือมี notation
ประกอบก็จะดีมาก
ผมเองก็อยากเห็นเหมือนกันว่า เกมส์ที่ไดนามิค กับไม่ไดนามิค ที่เล่นโดยพวกระดับโลก
มันเทียบกันแล้วแตกต่างกันอย่างไร เพราะสิบปากว่ายังไม่เท่าตาเห็น
ขอบคุณล่วงหน้าครับ |
โดย : GMkong [ 25/11/2004, 14:39:22 ] |
8
ตอบคุณ GMkong
นักหมากรุกชั้นนำล้วนเดินหมากแบบ dynamic ทั้งนั้นครับ
เพราะท่านเหล่านั้นล้วนแตกฉานในเรื่องศาสตร์หมากรุกกันแล้ว
ที่จะบอกว่าไม่ dynamic นั้นคือหนังสือหมากรุกบางเล่มที่ไม่สอนให้นักหมากรุกรู้จักวิธีเล่นแบบ dynamic
ก็เลยมีหนังสือที่โฆษณาว่า หนังสือเล่มนี้ตั้งใจสอนคนอ่านให้เล่นหมากรุกแบบ dynamic
ก็เลยเป็นที่มาของกระทู้นี้ เนื่องจากหนังสือบางเล่มใช้ชื่อ Dynamic Chess |
โดย : mytri [ 25/11/2004, 15:40:45 ] |
9
ยังมีเกี่ยวกับ Position Dynamic อีกนะครับรบกวน มู๋ตี๋รบกวนมาอธิบายเกี่ยวกับPosition Dynamic
หน่อยครับ |
โดย : Calvia [ 25/11/2004, 20:34:02 ] |
10
คนที่ถามชื่อเทพกระบี่ |
โดย : นักสืบสมัครเล่น [ 26/11/2004, 15:42:25 ] |
11
Dynamic ในที่นี้น่าจะแปลว่า "แปรเปลี่ยนตามสถานการณ์"...
เช่น ในสมัยก่อน ผู้ที่เปิดหมากด้วย e4 ก็จะพยายามโจมตีด้านขวา รูปหมากเปิด ค่อนข้างเปิด ฯลฯ... กลับกัน
ผู้ที่เปิดหมากด้วย Nf3 g3 Bg2 ก็จะพยายามรอจังหวะโต้ด้านซ้าย รูปหมากปิด ค่อนข้างปิด ฯลฯ
แต่เดี๋ยวนี้จะเห็นหลายๆรูปที่ พลิกแพลงตามที่คู่แข่งเดิน... เช่นบางรูปเดิน ...d6 แล้วเพื่อคุมตา e5
แต่หากขาวไม่คุมกลางกระดานให้ดี เช่นพยายามโจมตีอย่างเร็วด้วย f4 g4 f5 ฯลฯ ดำอาจต้องเดิน ....d5
อีกไม่กี่ตาถัดไป.....ซึ่งการเดินเบี้ยหรือตัวอื่นๆ ซ้ำในช่วงเปิดเกม สมัยก่อนจะไม่มีใครพิจารณา
เพราะถือว่าผิดหลักการ....
รูปหมากที่ Dynamic มากเช่น English เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับว่าดำมีแผนการเดินอย่างไร ... 1C4 E5
จะต่างจาก 1C4 g6, 1C4 C5 อย่างสิ้นเชิง>>>> |
โดย : Poo [ 02/12/2004, 05:50:30 ] |
12
อ่านกระทู้นี้ แล้วได้ความรู้จริงๆครับ
คงต้องของคุณ ท่านเทพ ผู้ตั้ง และผู้ตอบทั้งหลาย
ขอถามต่อ อีกนิดครับอย่างคำว่า
Positional Play in Chess
มี Description เป็นไทยว่าอย่างไร
ผมอ่านเจอในหนังสือ ว่า Symslov เป็น Positional Style
โดยการเดิน 1.d4
แล้วพยายามตั้งกระโจม Bb2เพื่อไปเล่น
หรือ วัดความเข้าใจใน กลางกระดานกับคู่แข่ง
ซึ่งลักษณะนี้ ว่าเป็นตัวอย่าง Positional Play
|
โดย : ไร้น้ำตาล [ 02/12/2004, 13:01:00 ] |
13
Positional Play น่าจะมีความหมายว่า การเดินหมากให้รัดกุม
หรือการคุมรูปหมากให้ตัวเองอยู่ในสภาพได้เปรียบ การเดินแต่ละก้าวจะเพิ่มความได้เปรียบมากขึ้นเรื่อยๆ
นักหมากรุกแบบ Positional Style จะเดินแบบเรียบๆแต่รัดกุม และมักจะคอยให้คู่ต่อสู้เดินพลาดก่อน |
โดย : mytri [ 02/12/2004, 15:59:37 ] |
14
เราแบ่งนักหมากรุกตาม style เป็น 2 แบบคือ
1.Positional player พวกนี้นิยมเดินหมากแบบ conservative
ไม่หวือหวา ไม่มีแต้มตกใจมากนัก ค่อยๆ วางแผน เอาเปรียบ
ทีละเล็กน้อย ไปเรื่อยๆ จนไปชนะที่ปลายกระดานเป็นส่วน
ใหญ่ คล้ายกับมวยชนะคะแนน พวกนี้ถ้าเดินขาว โอกาส
ชนะจะสูงกว่าเดินดำมาก เช่น Karpov
2.Combinational player พวกนี้เดินหมากรุนแรง มีแต้มคม
ตลอดเวลา เป็นที่ถูกใจกองเชียร์ คล้ายมวยหมัดหนัก อัตรา
การชนะจาก ขาวหรือ ดำ ไม่ต่างกันมาก เช่น Kasparov
Tal Fischer พวกนี้มักมีแต้ม เซ่นเข้าทำให้เห็นเป็นประจำ |
โดย : อุกาบาต [ 02/12/2004, 18:19:51 ] |
15
ตามหลักการแล้วหมากขาวเดินถูกต้องหมดตามหลัก(คุมกลาง ขึ้นหมาก เอาคิงเข้าป้อม)
แต่ในตำแหน่งนี้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องชนะได้
รูปนี้ Grunfeld เป็นตำแหน่ง dynamic position
เนื่องจากตำแหน่งหมากดำชดเชยการไม่ได้คุมเซ็นเตอร์ด้วยการโต้ด้วยเบี้ย c5 ได้
(หมายถึงตำแหน่งหมากดำยังมีอาวุธที่จะสู้เซ็นเตอร์ได้)
อธิบายแล้วเข้าใจยากเนอะ
|
โดย : มู๋ตี๋ [ 02/12/2004, 19:24:06 ] |
16
ส่วน dynamic advantage นั้น
เป็นการได้เปรียบในระยะสั้น ซึ่งเกิดขึ้นดังนี้
๑. หมากนายขึ้นของเราขึ้นมาเยอะกว่า
๒. หมากนายคู่ต่อสู้ยืนห่วย
๓. หมากคู่ต่อสู้ประสานงานกันไม่ดี
๔. เราสร้างความกดดันในเซ็นเตอร์ได้
ซึ่งทั้งหมดนี้คือการได้เปรียบชั่วคราวเท่านั้น
"สะสมความเป็นต่อไดนามิก แล้วแปลงเป็นสตาทิก"
static advantage นั้นก็คือ
1. เป็นต่อ(ศักดิ์หมาก หรือจำนวนหมาก)
2. ตำแหน่งคิงห่วย (ที่คู่ต่อสู)
3. โคนคู่ (สู้ม้าคู่หรือโคนม้า)
4. เป็นต่อโคน ม้า
5. เซ็นเตอร์ที่ปูด้วยเบี้ยคู่
6. การมีเบี้ย พาสพอน
7. เบี้ยเดี่ยว(ที่คู่ต่อสู้)
8. เบี้ยมากกว่าในฝั่งหนึ่ง
9. โพรง แท่นหมาก(ที่คู่ต่อสู้)
10. ผลประโยชน์จากตาอ่อนแอ (ที่คู่ต่อสู้)
11. การมีพื้นที่มากกว่า
12. การได้ทางเรือหรือทางโคน
dynamic position สามารถชดเชยการเป็นรอง static advantage ได้บางส่วน |
โดย : มู๋ตี๋ [ 02/12/2004, 19:46:57 ] |
17
ตัวอย่างเกมdynamic
1. e4 e5 2. f4 exf4 3. Bc4 Qh4+ 4. Kf1 b5 5. Bxb5 Nf6 6. Nf3 Qh6 7. d3 Nh5 8. Nh4 Qg5
9. Nf5 c6 10. g4 Nf6 11. Rg1 cxb5 12. h4 Qg6 13. h5 Qg5 14. Qf3 Ng8 15. Bxf4 Qf6 16.
Nc3 Bc5 17. Nd5 Qxb2 18. Bd6 Bxg1 19. e5 Qxa1+ 20. Ke2 Na6 21. Nxg7+ Kd8 22. Qf6+ Nxf6
23. Be7++
|
โดย : มู๋ตี๋ [ 02/12/2004, 19:51:45 ] |
18
โอ้โห
เยี่ยมจริงๆครับ มู๋ตี๋
ขอบคุณ ทุกความเห็นที่ตอบ มากๆ |
โดย : ไร้น้ำตาล [ 02/12/2004, 19:53:49 ] |
19
|
โดย : มู๋ตี๋ [ 02/12/2004, 20:14:17 ] |
20
เกมใน คห 17 เป็นใครเล่นกับใครเหรอครับ มู๋ตี๋ ผมจะได้ไปหาอ่านเพิ่มเติม เป็นแบบที่มีคำอธิบาย move น่ะ
บังเอิญยังไม่แข็งวิเคราะห์หมาก |
โดย : FunMate [ 03/12/2004, 08:47:44 ] |
21
ต้องขอไม่เห็นด้วยกับคุณ มู๋ตี๋ ครับ...
เกม Andessen-Kiesaritsky (17) นั้นเป็นตัวอย่างของการคิดแบบ "มิติเดียว" ในสมัยก่อน คือ ไม่
Dynamic เลย... ขาวเดินเพื่อบุกโจมตีขุน
ในขณะที่ดำก็บุกจะรุกขุนและกินทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างเดียว...เช่น ตาที่ 10...Nf6?!, ตาที่ 11...Bc5?,
ตาที่ 12. Nd5?! (d4!), ตาที่ 18.Bd6!?, ตาที่ 18...Bxg1?? (Qb2!)... คือทั้งคู่ยังไม่เปลี่ยนแปลง /
คิดตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป / คิดแบบหลายมิติ ดูง่ายๆคือ
ถ้าดำพิจารณาว่าตนได้เปรียบตัวหมากอยู่มากขนาดนั้น ในตาที่ 18. จะไม่กินเรืออีกลำแน่นอน...
ยืนยันว่าคำว่า dynamic นั้น ไม่น่าจะเกี่ยวกับว่าสถานการณ์แบบ ชั่วคราว หรือ ไม่...หลายๆข้อ (16)
ที่ว่าเป็น static adv. นั้นจริงๆเป็น Long-term adv. มากกว่า...
Dynamic = แนวการคิดแบบหลากมิติ แปรเปลี่ยนตามสถานการณ์รูปหมาก ใช้จุดแข็งของตนให้เป็นประโยชน์
ลดจุดแข็งคู่แข่ง ฯลฯ ... เช่นในหลายๆ opening ที่แต่ก่อนทุกคนมองว่าไม่ดี ตอนนี้ก็มีคน "ขุด"
เอามาเล่น เพราะเห็นจุดต่างๆที่ไม่มีใครเห็นหรือไม่เชื่อว่าดีพอ...เช่น รูป Evans Gambit ที่ Kasparov
นำกลับมาใช้ โดยเดิน 1e4 e5 2Nf3 Nf6 3Bc4 Bc5 4b4 Bxb4 5c3 Be7 6d4 Na5 7Be2!? ed 8Qxd4 Nf6 9e5 Nc6
10Qh4!? Nd5 11Qg3 g6 12O-O Nb6 13.c4!
คือจากอดีตที่ดำกินทุกอย่างที่ขาวถวายและถูกรุกจนอย่างรวดเร็วเพราะขาวพัฒนาตัวได้มากกว่า
มาถึงที่ดำกินและคืนเบี้ยเมื่อเหมาะสมเพื่อเดิน...d5 และพัฒนาตัว พอตอนนี้ขาวไม่กินคืน
เลือกอิทธิพลกลางกระดาน (8Qxd4) ทั้งยังยอมเสียจังหวะให้ดำพัฒนาตัวอีก
พอมีจังหวะก็เปลี่ยนเป็นขวางดำเข้าป้อม (10Qh4)
...ทั้งหมดนี้มาจากการที่ขาวเห็นว่ารูปนี้น่าจะมีจุดที่พลิกแพลงรูปได้ แม้ว่าจะเสียเปรียบบางด้าน
เรียกว่า Dynamically balanced...
อีกตัวอย่างชัดๆ คือที่ Fischer เล่น ... Nh5 หลายๆเกม โดยเฉพาะใน Fischer-Spassky 1972...
พวก Indian, Pirc, Modern Opennings ทั้งหลายก็มีรากฐานมาจากการที่ดำพยายามสร้าง Dynamics ให้กับเกม
เพราะหากเดิน1d4 d5 แล้วรูปหมากมีมิติเดียวคือ central control และขาวก็เดินก่อนจึงกุม initiative
ไว้... การมีหลายมิติทำให้ขาวต้อง เลือก ว่าจะให้เกมดำเนินไปอย่างไร และดำก็มีโอกาสพลิกแพลงมากขึ้น...
เช่นกัน ขาวตอนนี้ก็เลยเดิน 1Nf3 1C4 ... แม้แต่ 1e3 เหมือน Kasparov เดินกับ Deep Blue
เพื่อให้รูปเกมมีการพลิกแพลง มากหวังว่า DB คงไม่เข้าใจใน Dynamics ของเกมนี้... และสุดท้ายคือ เกม 2
ที่ Kasparov ยอมแพ้ DB ในรูปหมากที่ควรเสมอนั้นเป็นตัวอย่างที่ดีของการคิดแบบไม่ Dynamic พอ
คือดำเป็นฝ่ายรับการบุกทะลวงของขาวด้าน Q-side มานาน จนขาวบุกทะลุมาได้ แต่ดำก็มองข้ามว่าสามารถส่ง
Queen ทะลุไปก่อกวนขุนขาว และรุกล้อเสมอได้ แม้ว่าจะต้องยอมเสียตัวเกือบหมด !!! |
โดย : Poo [ 06/12/2004, 07:48:36 ] |
22
สรุปคือ Dynamic Chess น่าจะแปลว่า การเล่นหมากรุกแบบพลิกแพลงตามใจปรารถนา
(ฟังเหมือนหนังจีนเลยแฮะ)...คือต้องเข้าใจว่า ในรูปหมากใดๆมีหลากมิติ
ตระหนักถึงหลายๆมิติของรูปหมากหนึ่งๆเป็นพื้นฐาน
แล้วจึงตัดสินใจเลือกสิ่งที่เราพิจารณาว่าควรวางแผนการเดินต่อไป...
เช่น ตอนที่ Fischer เดิน ....Bxh2 กับ Spassky เขาก็บอกว่าเพราะต้องการสร้าง dynamic
ให้กับรูปหมากที่จืดชืดและออกเสมอแน่นอน (Fischer เรียกว่า สร้างโอกาสชนะ) เกมนั้น Fischer
แพ้และทุกคนตอนแรกมองว่าเป็นการเดินพลาดอย่างไม่น่าอภัย แต่หลังจากพิจารณาว่า Fischer ใช้เวลากว่า 10
นาทีก่อนเดินแต้มนั้น หลายคนจึงเข้าใจเหตุผลที่แท้จริง...เกมนั้นเป็นเกมที่สองในแมตช์ fischer
เลยกล้าเสี่ยงหาโอกาสชนะ หากเป็นเกมหลังๆ คงไม่เสี่ยงเล่น
....เทียบกับกีฬาอื่น เช่นฟุตบอล เคยเห็นไหมที่บางทีมเล่นแบบมิติเดียว เหมือนเป็นสูตรเดิมๆ
ส่งลูกไปปีกขวา โยนมากลางประตู โดดโหม่ง ฯลฯ พอผ่านไปครึ่งเดียวคู่แข่งก็จับทางได้...
หรือบางคนเกิดมาเพื่อเลี้ยงลูก ส่งให้เพื่อนไม่เป็น สุดท้ายก็โดนรุมสองสาม เสียลูกไป...หรือในกอล์ฟ
ที่นำอยู่สองสโตรค แต่หลุมสุดท้ายก็ยังตีชาร์ตธง แล้วตกน้ำ สุดท้ายแพ้...นักมวยที่หมัดหนัก
ชนะน็อกมาตลอด พอมาเจอของจริง ที่หมัดหนักกว่า จะพยายามเปลี่ยนเกมของตนให้ป้องกันได้ดีขึ้น
แต่หากชกมาจนยกสุดท้าย แล้วคะแนนตามอยู่ คงต้องกลับมาเสี่ยงบวกกัน นี่เรียกว่าเปลี่ยนตามสถานการณ์...
Dynamic chess ก็เช่นเดียวกัน คือต้องไม่ยึดติด.... |
โดย : Poo [ 06/12/2004, 08:19:00 ] |
23
พี่ปู เขาคงอยากให้ดูที่ฝ่ายขาวนะพี่ ดำนะไม่ไดนามิคแน่พี่ล่อซะพุงกาง(สงสัยนึกว่าเล่นรัมมี่มั่ง)
ฝ่ายขาวก็ยอมเสียเปรียบบาง
อย่างเพื่อสร้างโอกาสเหมือนกัน เป็นตัวอย่างที่อาจไม่ลึกซึ้งนักใน
เรื่องไดนามิค แต่ก็เป็นอะไรที่พื้นฐานดีที่นักหมากรุกหลายระดับ
จะเข้าใจได้ ถ้าหาตัวอย่างยากๆๆ อาจไม่เข้าใจกันก็ได้ |
โดย : ขุนสันต์ [ 06/12/2004, 08:45:07 ] |
24
"นักหมากรุกระดับแนวหน้าล้วนแต่เดินหมากรุกแบบ dynamic
แต่หนังสือหมากรุกบางเล่มพูดถึงหมากรุกเหมือนสิ่งที่ไม่มีชีวิต"
เห็นด้วยครับ.... คือหนังสือจะแยกปัจจัยต่างๆมาวิเคราะห์ เช่นรูปเบี้ยซ้อนไม่ดี เรือดีกว่าบิชอบ
หน้าขุนโล่งไม่ดี ฯลฯ ซึ่งถูกต้อง เพียงแต่หมากรุกมีหลายๆปัจจัย และในจุดอ่อนต่างๆนั้นก็มักจะมีจุดแข็ง
จุดแข็งก็มักจะมีจุดอ่อน นี่คือสิ่งที่ทำให้หมากรุกล้ำลึก...
แต่ dynamic chess นั้นไม่น่าเกี่ยว โดยตรง กับ initiative (การเป็นฝ่ายเข้าทำก่อน) หรือ development
การพุ่งเป้าไปยังคิงของคู่ต่อสู้ การเดินให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ และการเข้าทำก่อนคู่ต่อสู้ ฯลฯ
เห็นได้จากตัวอย่างที่ดีที่สุดของ การคิดแบบ Dynamic คือเกม Capablanca-Marshall ที่ Marshall ใช้รูป
Marshall Gambit ที่เขาได้คิดค้นและถอดรูปมานาน แต่ Capa แก้รูปนี้ได้ในการแข่งสดๆ
ด้วยการเดินที่ทั้งรับและรุกอย่างได้จังหวะ เกือบครึ่งเกมที่ขาวไม่มี initiative development
การพุ่งเป้าไปยังคิงของคู่ต่อสู้ การเดินให้ได้เปรียบคู่ต่อสู้ และการเข้าทำก่อนคู่ต่อสู้ ฯลฯ ใดๆเลย
แต่เป็นการเดินรับแบบถูกที่ ถูกเวลา ในขณะที่ดำนั้นยึดติดกับแผนเดิมนานเกินไป
ไม่ยอมเปลี่ยนแปลง/พลิกแพลงตามสถานการณ์ |
โดย : Poo [ 06/12/2004, 08:52:31 ] |
25
อันนี้ไม่ได้พูดเองครับ อ่านมาอีกทีจากหนังสือไหนจำไม่ได้ หาเจอแล้วจะบอก เค้าอธิบายหัวข้อว่า Thinking
Dynamically...โดยยกเกมนี้ด้วย " เกม Andessen-Kiesaritsky (17) นั้นเป็นตัวอย่างของการคิดแบบ
"มิติเดียว" ในสมัยก่อน คือ ไม่ Dynamic เลย... ตาที่ 12. Nd5?! นั้น แสดงให้เห็นแนวคิดแบบ
Straightforward thinking คือ พัฒนาหมาก ยึดกลางกระดาน บุกขึ้นไป รุกจน จบเกม
เซียนสมัยใหม่จะไม่ลังเลที่จะเดิน 12 d4! เลยเพราะรูปหมากเปลี่ยนไปแล้ว และ 12d4
ขาวก็จะได้เปรียบมากถึงชนะอย่างแน่นอน" |
โดย : Poo [ 06/12/2004, 09:04:36 ] |
26
โทษที นะครับ ขอแก้ หน่อย
Evans Gambit ในกระทู้ที่ 21ขอแก้ 2 .....Nf6 เป็น 2... Nc6 นะครับ
Kasparov
นำกลับมาใช้ โดยเดิน 1e4 e5 2Nf3 Nc6 3Bc4 Bc5 4b4 Bxb4 5c3 Be7 6d4 Na5 7Be2!? ed 8Qxd4 Nf6 9e5 Nc6
10Qh4!? Nd5 11Qg3 g6 12O-O Nb6 13.c4!
ขอขอบคุณทุกความเห็น นะครับ ติดว่ามีประโยชน์ อย่างยิ่ง
|
โดย : gmrdit[uj [ 06/12/2004, 13:49:54 ] |
27
ความเห็นที่ 20
เกม Andersson - Kieseritzky นะครับ เรียกว่าเป็นเกมอมตะได้เลย
ความเห็น 21 22 24 25
อืมครับ
คห. 16 อ้างอิง วิจารณ์เกมของ GM Fischer
คห. 17 อ้างอิง คำสอน Steinitz
คห.18 อ้างอิง วิจารณ์เกมของ GM Dr. Hubner
แต่ก็ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ
|
โดย : มู๋ตี๋ [ 06/12/2004, 19:36:47 ] |
28
หง่ะ มีเด้งด้วย เขียนไม่เสร็จก็เด้งเลย ต่อความเห็นที่ 27
ยืนยันว่า เกมที่ 18 ตรงกับคห. 17 ในประเด็น
สะสม dynamic advantage เช่น
๑. หมากนายขึ้นของเราขึ้นมาเยอะกว่า
๒. หมากนายคู่ต่อสู้ยืนห่วย
๓. หมากคู่ต่อสู้ประสานงานกันไม่ดี
๔. เราสร้างความกดดันในเซ็นเตอร์ได้
แล้วแปลงเป็น static advantage
อ๋อลืมบอกว่าตอบความเห็นที่ 3 นะครับ เด๋วจะเข้าใจผิดกันว่า ผมอธิบายคำว่า dynamic chess จึงแยกคำว่า
dynamic position กับ dynamic advantage ให้ฟัง
สำหรับคำว่า dynamic chess ขอจบตรงนี้ครับ เล่นไม่เป็นครับ เล่นเป็นแต่มิติเดียวอย่างที่ท่านกล่าว |
โดย : มู๋ตี๋ [ 06/12/2004, 19:52:02 ] |
29
ตอบความเห็นที่ 24
ผมก็ไม่ได้คิดเองเหมือนกันครับ ผมเรียบเรียงจากบทแนะนำหนังสือชื่อ How To Play Dynamic Chess เขียนโดย
Valeri Beim ที่มีต้นฉบับภาษาอังกฤษดังต่อไปนี้ครับ
HOW TO PLAY DYNAMIC CHESS (Valeri Beim)
176 pages (248 mm by 172 mm). ISBN 1 904600 15 8.
£15.99/$27.50/24,95
Chess is fundamentally a dynamic game. Each move changes the situation and the possibilities for
both sides. No piece is ever identically as valuable as any other, and their scope changes from move
to move. The current generation of supergrandmasters plays unrelentingly dynamic chess, but a great
deal of chess literature still deals with chess as if it were a predominantly static game. Much
traditional chess teaching is based around rules of thumb that might work well 'on average' or in
'typical' situations, but these rules may not equip players for the specific and sometimes
exceptional situations that they face in their games. In this book, Valeri Beim explains how to
factor in dynamic considerations, and weigh initiative and time against material and other static
factors. Topics include: dynamics, development, the king as a target, breakthrough, and the
initiative.
Valeri Beim is a grandmaster who lives in Austria. He has won numerous tournaments and plays in the
Austrian and German leagues. For many years he was the head trainer at the chess school in Odessa,
and he was also the trainer of the Israeli Olympiad team. This is his fourth chess book: see also
Understanding the Leningrad Dutch, Chess Recipes from the Grandmaster's Kitchen, and Lessons in
Chess Strategy.
|
โดย : mytri [ 06/12/2004, 20:12:56 ] |
30
ก่อนที่กระทู้นี้จะยืดยาวออกไป จนสร้างความสับสน เบื่อหน่าย อยาก
จะบอกคนถามกระทู้ว่า
1.อย่าไปสนใจที่จะแปลคำว่า Dynamic มากนัก เพราะที่ทุกคน
พูดมา ก็ถูกในส่วนของตนเอง ว่าแต่ว่าถ้าได้อ่านทั้งเล่มแล้วเข้าใจ
หรือเปล่าเท่านั้น บางครั้งก็ตั้งชื่อหนังสือให้มันเท่ จะได้มีคนสนใจ
เท่านั้น ควรจะสนใจเนื้อหามากกว่า
2.การเข้าใจเกม ขึ้นกับความสามารถของเราด้วย ถ้าเรา rating
1600-1700 ก็เห็นเกมอย่างหนึ่ง พวก 2000 ก็เข้าใจอีกอย่าง พวก
IM GM ก็อีกอย่าง พวก Super GM Top ten ก็อีกอย่าง นี่คือ
เสน่ห์อย่างหนึ่งของ chess คือจะบอกว่า หนังสือเล่มหนึ่งอาจจะ
เหมาะกับคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่จะเหมาะกับทุกคน
3.ถ้าจะเลือกซื้อหาหนังสือ เป็นไปได้ให้อ่านหนังสือ ที่มีคนแนะนำ
จะได้ไม่เสียเวลา และได้หนังสือที่มีคุณค่า ตรงวัตถุประสงค์
อย่างน้อยสังเกต นิดหนึ่งคือ หนังสือที่ดี มักจะ GM เป็นคนเขียน
ไม่ใช่เอาชื่อ GM มาแปะหน้านะ , พิมพ์มากมาหลาย edition ,
ควรจะเป็นเรื่องๆ ไป แบบเจาะลึก เช่น rook ending , middle
game strategy etc. พวกนี้อ่านแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์
ได้มากกว่า |
โดย : DDT [ 06/12/2004, 23:58:35 ] |
31
เห็นด้วยกับคุณ DDT ครับ |
โดย : KU41 [ 07/12/2004, 00:03:57 ] |
32
หมายถึง หยิงและหยางป่าวอะ แบบไทเก็ก อ่อนสยอบแข็ง |
โดย : ดาบสายลม [ 07/12/2004, 00:39:27 ] |
33
คุณ DDT พูดถูกนะครับ บางคนแต้มหมากยังระดับ 1800 จะหัด dynamic ระดับ 2700 เป็นไปไม่ได้หรอกครับ
โดนทุบตายก่อน
ปืนกับดาบก็อาวุธ ถ้าคุณยิงปื่นไม่เป็นก็สู้ดาบไม่ได้ |
โดย : มู๋ตี๋ [ 07/12/2004, 01:00:49 ] |
34
ไม่ค่อยเข้าใจเรื่อง Dynamics กะ Statics เท่าไหร่คับ
เป็นแต่เล่นแบบ objective หรือ subjective คับ |
โดย : โดนทุบ [ 07/12/2004, 01:23:24 ] |
35
The word "dynamic" symbolizes the aggressive potential in any given position or move.
-Jeremy Silman: How to Reassess Your Chess |
โดย : อ้อม [ 07/12/2004, 10:05:30 ] |
36
อ่านที่ คุณปูพูดแล้วนึกถึง
เก้ากระบี่ต๊กโกว เลยแฮะ
ประกอบด้วย ท่าแก้เพลงดาบ แก้หอกทวน แก้อาวุธซัด ...
ซึ่งท่าทั้งเก้า ก็คือ กระบวนท่าหรือ static นั่นเอง
เมื่อเห็นคู่ต่อสู้ใช้ อะไรมา
เราก็เลือกระบวนท่าที่คิดว่าเป็นต่อออกมาใช้
ฟงชิงหยาง เคยถามเเล่งฮู้ชง
ว่ากระบวนท่าแต่ละท่า จะใช้แต่ละที
จำเป็นต้องกลับสู่ท่าเริ่มต้นหรือ
ทำให้เล่งฮู้ชง เข้าใจ เคล็ดวิชาในทันที ว่า
Dynamic Chess น่าจะแปลว่า การเล่นหมากรุกแบบพลิกแพลงตามใจปรารถนา |
โดย : ไร้น้ำตาล [ 07/12/2004, 10:22:10 ] |
37
คำว่า Dynamic เดี๋ยวนี้ใช้กันเกลื่อนในความหมายของคำว่า Active play ส่วนมากจะเป็นในช่วงเปิดหมาก
หลายคนเลยเข้าใจว่าเป็นเรื่อง Dvelopment, Central control Line of attack, Attack on King, etc.
พื้นฐานของคำว่า dynamic ไม่ใช่แปลว่า เคลื่อนไหว(active) ที่ตรงข้ามกับหยุดนิ่ง (passive) แต่แปลว่า
การเปลี่ยนแปลง ครับ เวลาที่เค้าบอกว่า "Chess is a dynamic game, you have to think
dynamically" ไม่ได้แปลว่าต้องเดินแบบ active เสมอไป เดินจืดๆแบบ Petrosian ก็ Dynamic ได้
คำนี้จึงเป็นเรื่องของความคิดมากกว่า คือให้เข้าใจว่าทุกตาทำให้เกิดจุดอ่อน และ จุดแข็งทั้งนั้น
และอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดให้ทัน ...
...นี่พูดทฤษฎีนะครับ... ผมเองเดินเป็นด้านเดียวเหมือนกัน คือลุย...ลุย...ลุย...
หลายเกมที่ถึงจุดที่ต้องทบทวนแผน เช่นอีกฝ่ายเริ่มแข็งในด้านนั้น แต่ก็หลงเดินลุยแจกต่อไป....ฯลฯ
นี่คือตัวอย่างของการคิดแบบมิติเดียว.... |
โดย : Poo [ 09/12/2004, 03:21:31 ] |
38
มู๋ตี๋กล่าวได้คม เห็นภาพเลย
ใช้ปืนไม่เป็น ก็สู้ดาบไม่ได้ |
โดย : GMkong [ 09/12/2004, 03:59:21 ] |
39
คห 7 ตอบจีเอ็มก้องบ้างนะครับ รูปที่ dynamic ที่ชัวร์ๆคือรูปเม่น sicilian ในท่อนพวกที่ตั้งคู่เบี้ย e6
d6 หรือ รวมไปถึง b6 a6 ซึ่งดำจะพยายามโต้ด้วย d5 หรือ b5
d5 ถ้าดำทำสำเร็จ ดำจะได้เปรียบ
b5 ถ้าดำทำสำเร็จ จะหาเสมอได้
นอกจากนั้นสำคัญที่ขาวไม่เอาเบี้ยไปวางที่ d5 การคุมตานั้นสำคัญกว่าการมีหมากบนนั้น
นอกจากนั้นรูปนี้จะเจอการเซ่นมาตรฐานเช่น Nd5!! บ้าง สำหรับรายละเอียดนั้นถ้าสนใจเด๋วจะหามาให้ |
โดย : มู๋ตี๋ [ 09/12/2004, 04:41:18 ] |
40
เห็นด้วยเรื่องระดับความสามารถในการเข้าใจเกมส์
ของคุณ DDT
แต่ไม่เห็นด้วยกับ มู๋ตี๋
"บางคนแต้มหมากยังระดับ 1800 จะหัด dynamic ระดับ 2700 เป็นไปไม่ได้หรอกครับ"
เพราะมันแทงใจดำคนระดับ 1400 yahoo อย่างผม จึ๋กๆ
ทุกวันนี้ผม คัดเฉพาะ opening ที่ elo เกิน 2600
มาดูจากปี 2004
แล้วแบ่ง เป็น Var ต่างๆ แค่ 7 เกมส์ต่อ var นั้น
จากนั้นดูซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่เข้าใจก็ เอาโปรแกรมถอด
ไม่ก้อตั้งตำแหน่ง แล้วเล่น |
โดย : ไร้น้ำตาล [ 09/12/2004, 10:40:48 ] |
41
หัดมาเดือนหนึ่ง
พอเมื่อวานลองใช้ ก็ชนะคนที่เรท 1960-2000 thaibg
ซี่งเก่งกว่าผม 4 กระดานรวด 2/12 และ 1/6
ซึ่งมันได้ผลแฮะ
ส่วนตำแหน่งแน่นอน มันไม่ตรงกับ 7 เกมส์ของ 2700 อยู่แล้ว
เกมส์ 2700 ที่โหลดมาดู โดยตำแหน่งและ opening
แน่นอน dynamic position แหงแซะ
แต่ขณะที่ผมนั่งท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง
มันกลายเป็น Static ไปสำหรับผม
เมื่อถึงเวลาใช้ มันกลับมาเป็น Dynamic อีกแฮะแปลก ดี
ปล. ก่อนจะรบ เขามีเวลาให้หัด ให้เตรียมพร้อมก่อนว่า
ปืนหน่ะมันใช้ยังไง หากสนามรบเดิมพันด้วยชีวิต
คงไม่มีใคร ติงต๊องหยิบอาวุธ ที่ใช้ไม่เป็นเลยไปรบหรอก |
โดย : ไร้น้ำตาล [ 09/12/2004, 11:12:57 ] |
42
อยากเล่นกับไร้น้ำตาล
ผมชอบเดิน g4 นะ หุๆไปหัดมาให้เตรียมพร้อมนะ อิอิ |
โดย : 555555555555555 [ 09/12/2004, 14:37:06 ] |
43
คห ที่ 37 ถือเป็น บทสรุปของ คำถาม Dynamic กระทู้นี้ ป่าวครับพอเข้าใจได้ บ้างเล็กน้อย
สำหรับผม( ซึ่งแต้มไม่ถึง 2700 )เปรียบเสมือน ผู้จุดเทียนให้แสงสว่างขับไล่ความมืดมิด
โอ้ว้าว Dynamic Chess อะไรจะขนาดนั้น
แล้วทีนี้ How I Play Dynamic Chess
|
โดย : gmrdit[uj [ 10/12/2004, 00:46:05 ] |
44
ถ้าgmrdit[uj อ่านไดนามิคเชส ของมิคาเอล ซูบา มาละก็
อันนี้เป็นความเห็นส่วนตัวทั้งหมดนะ
gmrdit[uj ก็น่าจะลองทำความเข้าใจความเห็น 35 (ตรงดีแต่อาจ
ครอบคลุมน้อยไปหน่อย) แล้วมาขยายเพิ่มในความเห็น 29
แต่เมื่อจะนำไปใช้ให้ไปดูความเห็นของมู๋ตี๋ นั้นเป็นขั้นตอนปฎิบัติ
พื้นฐาน แล้วถ้าบุญพาวาสนาส่งให้เก่งขึ้นมากๆๆ ค่อยพิจารณาความเห็นของ poo
ไดนามิค เชส จะมีความเด่นชัดมากในฝ่ายที่ตกเป็นรอง
เพราะถ้าเป็นต่อ บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องโลดโผนมากนัก เน้น
ความเข้าใจที่ถูกต้องก็พอแล้ว แต่ถ้าเป็นรองแล้วตามความรู้สึก
ของผมถ้าเลือกได้จะเดินแบบคำนึงศักยภาพในเชิงรุกของตำแหน่งนั้นๆ(ตามคำจำกัดความ 35 และแนวคิดของซูบา)
มากกว่าเน้น
รับแบบถูกที่สุดตามพื้นฐานความรู้ที่เรามี (ความรู้ปลายกระดาน
จะมีส่วนสำคัญมากในแนวการเล่นแบบเน้นความถูกต้องนี้ คือจะไม่
ยอมเสี่ยงตกเป็นรองไปมากกว่านี้เพียงเพื่อพาตำแหน่งหมากไปใน
ลักษณะที่ถ้าคู่ต่อสู้เดินอย่างละเอียดถูกต้องแล้วเราก็แพ้เท่านั้นเอง
ทำได้เพียงแค่สร้างความยุ่งยากให้คู่ต่อสู้และเพิ่มโอกาสของเราขึ้นมาระดับหนึ่งเท่านั้น)
|
โดย : ขุนสันต์ [ 10/12/2004, 06:50:17 ] |
45
ตอบกระทู้ที่ 7 ครับ
คนตั้งกระทู้คือคุณ gmrdit[uj ซึ่งถ้าพิมพ์เป็นภาษาไทย ก็คือ คุณเทพกระบี่ นี่เอง |
โดย : 000000001 [ 15/06/2005, 10:13:26 ] |
|
|
|
E-mail: webmaster@thaibg.com |
Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved |
|
|
|
|