[ กลับหน้าหลัก ]


ทิศทางหมากรุกไทย ปี 2557 โดย วินัย ลิ้มดำรงค์ชิต



ทิศทางหมากรุกไทย ปี 2557
โดย วินัย ลิ้มดำรงค์ิชิต

7 เหรียญทองจากกีฬาหมากรุกในซีเกมส์ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่จะเกิดได้ บ่อยๆ
และอาจจะต้องบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ ว่าเป็นจำนวนสูงสุดที่ เราทำได้ในมหกรรมกีฬานี้ตลลอด กาล

แม้จะแปลกๆ บ้างที่เป็นหมากรุกท้องถิ่นของชาติเจ้าภาพ และหมากรุกภูมิภาคที่หากเทียบกับ หมากรุกอื่นๆ
ต้องบอกยังใหม่แทบจะถอดด้าม
แต่กีฬาหมากรุกสากลที่เป็นมาตรฐานเล่นกันทั่วโลกเรายังคงอยู่ในมาตรฐานเดิมที่ไม่มีโอกาสไปยืนบนแป้นรับรา
งวัลใดๆ

ก็คงต้อง...ยอม รับกันว่า หมากรุกสากลนั้น เรายังต้องใช้เวลาอีกนาน ซึ่งก็ยังไม่แน่ด้วยซ้ำว่า
การพัฒนาของเรานั้นจะทำให้ทันหรือเข้าใกล้อีกหลายๆ ชาติที่ก็พัฒนาไปเหมือนกัน บนฐานที่นำเราไปไกลแล้ว

หมากรุกท้องถิ่นที่จะถูกนำเข้า ไปใส่ในซีเกมส์ คงเป็นสิ่งที่ยากจะได้เห็นอีกต่อไป ด้วยชาติต่างๆ
ย่อมรู้กันดีว่าหากบรรจุเข้าไว้ ก็เป็นการเพิ่มเหรียญทองให้ไทย เสียเปล่าๆ

กระทั่งพม่าเองหากวนกลับมาเป็นเจ้าภาพอีก ก็คงเข็ดเกินกว่าจะกล้าจัดให้มีหมากรุกพม่าอีก
เพราะเมื่อคนไทยได้สัมผัสและรู้ จักหมากรุกพม่าแล้ว โอกาสที่พม่าจะไม่ได้เหรียญทองเลยมีสูงมาก
แม้ผู้ที่เคยได้เหรียญทองหมากรุก พม่าในซีเกมส์ครั้งล่าสุด อย่างพี่นครคงไม่ได้เข้าแข่ง แล้ว
แต่นักหมากรุกของเรายังมีอีกมาก มายที่จะทำหน้าที่ไล่ล่าเหรี ยญทองแทนอย่างเชื่อได้ว่าจะทำ
สำเร็จได้เช่นกัน

ว่าถึงหมากรุกอาเซียน เป็นผลงานที่ดูสวยงามของไทยเรา ทั้งเมื่อครั้งแรกที่อืนโดนีเซี
ยที่ถูกบรรจุเข้าครั้งแรก และมีเพียงหนึ่งเหรียญทองเป็น การเริ่มต้น ก็ตกเป็นของไทยเราโดยอวยชัย กองสี
และเมื่อพม่าเป็นเจ้าภาพได้เพื่มเป็นห้าเหรียญทอง เราก็กวาดมาได้ถึงสี่เหรียญทอง
อันพอจะกล่าวได้ว่าหากเป็นหมากรุก อาเซียนแล้ว ไทยเราเป็นมหาอำนาจที่ไม่มีใครสู้เราได้
แม้ในครั้งนี้จะมีบางชาติพัฒนาขึ้นมาจนบางท่านรู้สึกว่าสูสีกับเราก็ตาม แต่นับแต่นี้ไปอีกหลายปีเชื่อได้
เลยว่าเรายังคงเป็นหนึ่งที่ ไม่มีชาติใดสู้เราได้แน่นอน

การกวาดเหรียญหมากรุกอาเซียนทั้งสองครั้งในซีเกมส์นี้ ย่อมเป็นความพอใจของคนไทย
แต่คงจะไม่ใช่รู้สึกเช่นนั้นสำหรับชาติอื่นๆ หมากรุกนี้ จึงมีความง่อนแง่นในการคงอยู่แม้
แต่ในซีเกมส์เอง เพราะคงไม่ใช่ชนิดกีฬาที่เจ้าภาพใดๆ อยากจะจัด (ยกเว้นไทยเรา) จะว่าไปแล้ว
หมากรุกอาเซียนก็น่าจะเป็นประเภทหมากกระดานที่ไม่ควรจัดอยู่ในประเภทหมากรุกด้วยซ้ำ
(ขออภัยที่บางท่านอาจขัดใจ) ความที่ไม่ได้มีความเป็นวัฒนธรรมต่อเนื่องอย่างได้รับการยอมรับ
และอาจนับว่าเป็นหมากรุกที่มีผู้เล่นเป็นน้อยที่สุด แม้แต่ในประเทศไทยเราเองปกติก็
ไม่มีการเล่นกีฬานี้เลย จะมีคึกคักบ้างก็เพียงตอนคัดตัวก่อนไปแข่งไม่กี่เดือน
ในความเป็นจริงจึงเป็นว่าเราดี ใจ ภูมิใจที่ได้ตัวเหรียญ ไม่ใช่ตัวกีฬา !

ย้อนกลับมาดูหมากรุกไทยเราบ้าง

นี่คือหนึ่งในวัฒนธรรมไทยที่เป็นสมบัติของเราทุกคน คนไทยเล่นหมากรุกไทยอย่างต่อเนื่อง กันมาหลายร้อยปี
แต่จนถึงทุกวันนี้ หากถามว่าหมากรุกไทยมีสถานะเป็นเกมหรือกีฬา เชื่อว่าคำตอบคงจะมีทั้งสองฝ่าย
และมีไม่น้อยที่ไม่แน่ใจ !

หมากรุกไทยจึงเป็นอะไรสักอย่างหนึ่งที่เราอาจเห็นได้บ่อยจนเป็นธรรมดาในทุกวัน
ซึ่งหากเป็นการเล่นทั่วไปเราก็ อาจไม่รู้สึกอะไร แต่เมื่อมีการจัดการแข่งขัน ก็เริ่มจะเห็นกันถึงปัญหา
ยิ่งมีผู้เข้าแข่งขันมาก ปัญหาและความสงสัยถึงมาตรฐานก็ยิ่งมีมากขึ้น ซึ่งยิ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับ
หมากกระดานอื่นๆ แล้ว ก็ให้เกิดความรู้สึกว่าหมากรุกไทยช่างขาดมาตรฐานมากมายหรือเกิน ตัวอย่างที่ชัดเจน
คือ ขาดองค์กรรับผิดชอบโดยตรง และยังไม่มีกติกาที่เป็นมาตรฐาน เป็นต้น

มาถึงปีนี้ ได้มีการรวมกลุ่มกันของผู้ที่เกี่ยว ข้อง(หรือสนใจ)กับหมากรุก ไทยหลายกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญ
กระทั่งผมคิดไปในทางที่ดีและคิด ว่าอาจจะเกิดขึ้นได้

สิ่งที่ผมคิดว่าจะเกิดขึ้นอันเกี่ยวกับหมากรุกไทยในปีนี้

1 การกลับมาจัดแข่งขันรายการใหญ่ ในตำนาน { เช่น ขุนทองคำ (ครั้งที่14) } !!
2 การจัดแข่งขันรายการใหญ่ ที่มีผู้เข้าแข่งขันหลายพันคน อันจะเป็นสถิติมากที่สุด
3 การเกิดองค์กรที่รับผิดชอบหมากรุก ไทยโดยตรง
4 กติกาการแข่งขันที่เป็นมาตรฐาน
5 รูปแบบมาตรฐานต่างๆ เช่น การบันทึก และ Ranking เป็นต้น
6 การเริ่มก้าวเดินไปสู่การเป็นกีฬาอาชีพ มีนักกีฬาอาชีพและโค้ชที่มีไลเซ่น เป็นต้น
7 การมีกรรมการอาชีพที่มีความรู้ ความสามารถและเที่ยงธรรม
8 การมีมาตรฐานในการจัดการแข่งขัน
9 การมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เป็นมาตรฐาน
10 ฯลฯ

ยังเป็นเพียงความคิดนะครับ ต้องรอดูว่าจะเกิดขึ้นและเป็นไปได้กันเพียงใด ???See More

โดย : *TBG Member [ 26/02/2014, 09:35:49 ]

1



การวัดความนิยมในกีฬาหมากรุกไทย (1/2)

หากถามว่าความนิยมในกีฬาหมากรุกไทยอยู่ในระดับไหน ? คงจะตอบกันได้ไม่ง่ายนัก
เพราะอาจต้องเทียบเคียงกับกีฬาหรือเรื่องอื่นๆ และเชื่อว่ามีอีกไม่น้อยที่ไม่มีคำตอบให้กับคำถามนี้
หากเทียบเคียงกับกีฬาที่เป็นสากลและได้รับความนิยมมากๆ เช่น ฟุตบอล เทนนิส และกอล์ฟ เป็นต้น
ก็คงเห็นได้ว่าต่างกันสุดกู่ ซึ่งความนิยมในกีฬาดังกล่าวจะชัดเจนได้จากการที่มีผู้ชมทั้งในสนามแข่ง
ผู้ที่ติดตามทั้งการถ่ายทอดสดและไม่สด จนถึงการตามข่าวผลการแข่งขัน
ซึ่งนั่นอาจมองเพียงผู้ชมก็เห็นชัดเจนว่ามีมากมาย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า
หมากรุกไทยในวันนี้ยังไม่อาจไปเทียบได้ใกล้กับกีฬาเหล่านั้นเลย
(จะว่าไปแล้วไม่ว่าวันไหนก็คงเทียบไม่ได้ด้วยลักษณะที่แตกต่างที่จะได้ว่า ต่อไป)
แล้วจะวัดความนิยมได้อย่างไร ? และจะมีประโยชน์อะไร ?



ความ นิยมในกีฬาหมากรุกไทยในปัจจุบัน สำหรับผู้คนในวงการย่อมเห็นได้ว่ามีมากขึ้นยิ่งกว่าในอดีต
หากดูจากปีที่แล้ว เฉพาะที่ทางปตท.จัดแข่งใหญ่ทั่วประเทศ 5 ครั้ง
มีผู้เข้าร่วมการแข่งขันนับรวมได้หลายพันคน การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศที่จำกัดคัดเอาแต่ผู้ที่เข้ารอบ
ก็มีผู้เข้าแข่งขันร่วมพันคน ! ซึ่งหากรวมผู้ปกครอง ผู้ชม และอื่นๆ แล้วก็น่ามีจำนวนอีกเท่าตัวโดยประมาณ
!!



หากจะวัดความนิยม หมากรุกไทยจากการแข่งขันรายการใหญ่ ก็ออกจะเป็นเรื่องยาก เพราะรายการใหญ่ที่ว่านี้
มีขึ้นไม่แน่นอนในแต่ละปี และบางช่วงหลายปีก็ไม่มีเกิดขึ้นเลย
อันดับแรกที่น่าจะการันตีว่าจะมีการแข่งขันรายการใหญ่ในทุกๆ
ปีก็คือการเกิดขึ้นมาขององค์กรที่รับผิดชอบดังได้เคยกล่าวมาหลายครั้งแล้ว อันดับต่อมาคือ
การมีผู้สนับสนุน หรือให้ทุนในการดำเนินการ ซึ่งอาจมาได้จากหลายทาง(ซึ่งคงจะได้กล่าวต่อไป)
ซึ่งการสนับสนุนที่ว่านี้ ย่อมไม่เป็นการยากเลยหากว่ากีฬานี้ได้แสดงถึงคุณค่าอย่างชัดและได้รับความ
นิยมสูง



คุณค่าของกีฬานี้ อาจเห็นอยู่บ้างและคงจะได้เห็นมากยิ่งขึ้นกันต่อไป
แต่ในแง่ความนิยมนี้จะวัดได้จากอะไร?
และระดับใดจึงจะทำให้เกิดความน่าสนใจในการเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมกีฬานี้ ??



ย้อนกลับมาดูตัวกีฬานี้กันสักหน่อย



กีฬา ส่วนใหญ่จะเป็นแบบสนามเดียว หรือเหตุการณ์เดียวให้ผู้ชมติดตามชมไปเหมือนกัน
อาจมีมุมที่มองเห็นหรือลักษณะที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็จะเป็นความสนใจเดียวกัน
บางกีฬาอาจมีสนามแข่งหลายสนามให้ติดๆ กันให้ติดตาม เช่น ตะกร้อ เทนนิส แบดมินตัน เป็นต้น หรือบางกีฬา
มีสนามเดียว แต่มีจุดสนใจมากกว่าหนึ่ง โดยแยกเป็นกลุ่มๆ เช่น กอล์ฟ เป็นต้น



แต่สำหรับหมากรุกแล้ว เป็นกีฬาที่ต้องมีสนามเล็กๆ ในสนามใหญ่ ซึ่งอาจมีได้ถึงนับพันสนามเล็ก
(คือหนึ่งพันกระดาน) ในสนามการแข่งขันหนึ่งรายการ คำถามจึงมีว่า ผู้ชมจะไปชมอะไร ? มีจุดสนใจใดให้ชม ?



ย้อนกลับมายังคำถามที่เคยตั้งเอาไว้ว่า ความนิยมในกีฬาหมากรุกไทยจะวัด(หรือดู)จากอะไร ? และมี 3
ตัวเลือก



1. จำนวนผู้เข้าแข่งขัน ? หรือ 2. จำนวนผู้ชม ? หรือ 3. จำนวนผู้เข้าแข่งขันและผู้ชมรวมกัน ?



แต่ละข้อจะมี นัยต่างกัน และอาจจะเป็นแนวทางในการวางยุทธวิธี ปฏิบัติ เพื่อไปสู่เป้าหมายหนึ่ง
คือการสร้างความนิยมในหมู่คนไทยให้มีมากยิ่งขึ้นต่อกีฬาหมากรุกไทย

โดย : *TBG Member   [ 26/02/2014, 09:39:03 ]

2

รุกสากล รุกไทย เล่นเพราะรักในตัวมันดีที่สุด เล่นเพราะความคลั่งcrazy about ไม่ใช่เพื่อสิ่งอื่นใด
เล่นแบบที่ผมว่าจะทำให้เราอยู่กับมันได้นานๆ

โดย : กะปอม11 Member   [ 25/03/2014, 12:46:09 ]

3

การเล่นหมากรุก เป็นการเล่นที่อาศัย ความคิด รูปแบบ ประสพการณ์ แต่ก็มีหลายๆท่านเห็นว่าไม่มีประโยชน์
ทำให้เสียเวลา และไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร โดยเฉำาพคนเก่งๆ มักมีความรู้น้อย
ใช้หมากรุกในการล่ารางวัลจากการแข่งขัน ใช้เล่นพนัน ทำหนังสือขาย รับสอน
สำหรับหมากรุกสากล นักหมากรุงระดับ แกรนด์มาสเตอร์ จะเป็นผู้มีการศึกษาดี จบปริญญาตรี ปริญญาโท
นักธุรกิจชั้นนำ ทำไมแตกต่าง กับนักหมากรุกไทยมาก
เหตุที่เป็นเช่นี้ เพราะทางยุโรป เห็นความสำคัญ คือ เป็นการเล่นเพื่อพัฒนาความคิด ความจำ การสร้างสรรค
และสมาธิ
ปัญหาที่อยากทราบว่า ท่านนำหมากรุก มาใช้ได้มากกว่าที่กล่าวมาแล้วหรือเปล่า
หากเทียบการเล่นอย่างอื่น เช่นการเต้นอารบิก ท่านเห็นว่า เล่นแล้วเสียเวลา เสียสตางหรืออาจไม่เสีย
เหนื่อยอีกด้วย แล้วประโยชน์ คืออะไร

โดย : มนต์ดำ Member   [ 18/04/2014, 20:05:44 ]

4

ความนิยม จะเกิดขึ้นเมื่อหลายฝ่ายเห็นความสำคัญ ความจำเป็น โดยเฉพาะการส่งเสริมเยาวชน ทำอย่างไรโรงเรียน
ผู้ปกครอง และชุมชนจะเห็นคำจำเป็นของการเล่นหมากรุกในการฝึกสมาธิ
เด็กบุตรหลานที่ติดเกมออนไลน์กันมากตลอดจนติดโทรศัพท์มือถือ ทำอะไรมักไม่ได้นาน
เรียนได้ประเดี๋ยวประด๋าว สมาธิสั้น การคิดแบบลวกๆ ถ้าเรานำหมากรุกมาปรับพฤติกรรม
ก็สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้ในระดับหนึ่ง แน่นอน การมุ่งส่งเสริมให้หมากรุกเข้าสู่โรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญ
อาจมีการจัดกิจกรรม โดยหาสปนเซอร์เพื่อ นำหมากรุกมาจัดกิจกรรมเช่นค่ายหมากรุกสนุกตามโรงเรียน
ประจำจังหวัดหรือโรงเรียนประจำอำเภอ โดยแจกเกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรม หรือการอบรมครูเป็นสิ่งจำเป็น
เพื่อให้ครูมาพัฒนาจัดตั้งชุมนุมในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
โดยเราจัดเตรียมหลักสูตรเพื่อให้โรงเรียนทดลองใช้ก่อนนำเสนอเข้ากระทรวงศึกษาต่อไป ผมมีมุมมอง
การส่งเสริมเยาวชนเป็นสิ่งจำเป็นและเร่งด่วน เพื่อยกระดับการกีฬาหมากรุกไทย อย่างมั่นคง
แล้วจึงส่งเสริมการจัดกิจกรรมระหว่างชุมนุมในแต่ละอำเภอ เป็นระดับจังหวัดต่อไป
เมื่อโรงเรียนและผู้ปกครองเห็นประโยชน์ ความนิยมจะเพิ่มขึ้นแน่นอน
และเยาวชนสามารถพัฒนาทักษะการคิดจนสามารถศึกษาต่อได้ในระดับมหาวิทยาลัย หรือในการทำงาน
ภาพรวมขณะนี้แม้มีการพัฒนาเยาวชนขึ้นในบางจังหวัด แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย มากนัก
การเล่นยังเป็นแบบการเล่นเพื่อฆ่าเวลา อยู่ในระดับล่างตามวินมอไซด์
ในวงเดิมพันขันต่อทำให้ภาพลักษณ์มุมมองจากภายนอกยังมีภาพลบมากมาย
แต่ถ้าเมื่อใดที่กิจกรรมค่ายหมากรุกหรือการสอนชุมนุนมตามโรงเรียนต่างๆ
ครูผู้สอนมีความรู้หรือการเชิญวิทยากรมาสอนเป็นรูปธรรมแล้วจะเป็นการยกระดับและมาตราฐานกีฬานี้จนเพิ่มกระ
แสความนิยมแน่นอน อีกประการการเผยแพร่สื่อข้อมูลข่าวสารเป็นสิ่งที่เพิ่มกระแสความนิยม
ควบคู่กันกับการนำหมากรุกสู่โรงเรียน

โดย : โคนหนุน Member   [ 12/07/2014, 08:53:05 ]

5

คุณค่าของกีฬานี้ อาจเห็นอยู่บ้างและคงจะได้เห็นมากยิ่งขึ้นกันต่อไป
แต่ในแง่ความนิยมนี้จะวัดได้จากอะไร?
ความนิยมวัดจาก
1. จำนวนนักกีฬารุ่นประชาชนในการแข่งขันภายในจังหวัด
2. นักกีฬาเยาวชนในแต่ละโรงเรียนประจำอำเภอ (โรงเรียนในฝันยั่งยืน
มีตัวชี้วัดหนึงคือการส่งเสริมเยาวชนแข่งขันหมากรุก)
3. นักกีฬาที่แข่งขันในรายการระดับภาคและระดับประเทศ
การวัดข้อ 1 ต้องประสานชมรมหมากรุกไทย (มีทั้งกกทและอบจ) จังหวัดต่างๆ ส่งแบบสอบถาม
เกี่ยวกับการจัดแข่งขัน ระยะเวลา(จัดเป็นประจำ มาตั้งแต่)
จำนวนผู้แข่งขันในแต่ละปีประมาณ หรือจะนวนสมาชิกชมรมจังหวัดในแต่ละซุ้ม
การวัดข้อ 2 ต้องประสานสพป สพม ในแต่ละจังหวัด เกี่ยวกับการจัดตั้งชุมนุม ที่ปรึกษาชุมนุมและจำนวนสมาชิก
การเข้าร่วมแข่งขันในระดับต่างๆ
4. การสำรวจรายชื่อผู้เข้าร่วมการแข่งขันในแต่ละรอบ
และระดับใดจึงจะทำให้เกิดความน่าสนใจในการเข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมกีฬานี้ ??
ระดับใด วัดจากการตอบแบบสอบถาม ใน 3 ส่วนของ 1โรงเรียน 2ชุมชน 3เยาวชน ระดับใดเพิ่มขึ้นในแต่ละปี
ย้อนหลัง 3 ปี เช่น 54 55 56

โดย : โคนหนุน Member   [ 12/07/2014, 09:21:29 ]

6

เห็นด้วยกับหลาย ๆ ท่าน ดังนี้
1. การเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ
2. ผลักดันให้เป็นส่วนหนึ่งในการเรียนการสอน
(ชั่วโมงพละ) เริ่มต้้งแต่ระดับประถมขึ้นไป
3. ขอรับการสนับสนุนจากองค์กรรัฐบาล และเอกชน ในการจัดการแข่งขัน อาจเป็นทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี
4. การก่อตั้งชมรมในเขตต่าง ๆ ของ กทม.โดยมี ผู้อำนวยการเขตต่าง ๆ เป็นประธานชมรม
แล้วคัดสรรตัวแทนเขตมาแข่งในระดับต่าง ๆ จนถึงระดับประเทศ โดยมีการแข่งขันชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศ
(อาจมีรางวัลเงินสดด้วยก็ได้)
5. มีการว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านหมากรุกไทย มาฝึกสอนตามชมรมของเขตต่าง ๆ
เพื่อกระตุ้นการพัฒนาหมากรุกไทย
6. นักหมากรุกไทยทุกคนต้องไปจดทะเบียนเป็นนักหมากรุกไทย (ไม่จำกัดอายุและเพศ) ที่สมาคมกีฬาหมากรุกไทย
(คู้บอน)
5. เมื่อขึ้นทะเบียนแล้ว นักหมากรุกไทยจะมีบัตรประจำตัวนักหมากรุก
ในการสมัครเข้าร่วมการแข่งขันที่จัดโดยสมาคมหมารุกไทย
6. ที่สำคัญนักหมากรุกต้องมีสังกัดเพียงสังกัดเดียวเท่านั้น
อาจจะสังกัดชมรม หรือ สังกัดเขต
7. นักหมากรุกที่เป็นสมาชิกสมาคมกีฬาหมากรุกไทย
ได้รับสิทธิ์เข้าแข่งขันเพื่อจัดลำดับอย่างเป็นทางการตอนสิ้นสุดทัวร์นาเม้นส์ประจำปี
เพื่อหามือวางอันดับของประเทศไทย

โดย : เหนียวจริงปะ Member - Դ : 0866887690 -  [ 28/07/2014, 11:08:33 ]

7

ประเทศที่เค้าพัฒนาแล้วเค้าให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนโดยฉะเพราะเยาวชน
แต่ประเทศเราผู้บริหารระดับสูงๆไม่มีความคิดที่จะพัฒนาคนในชาติให้ฉลาดและยิ่งเรื่องให้มานั้งเล่นหมากรุก
ยิ่งไปกันใหญ่ดูเหมื่อนเสียเวลาโดยใช่เหตุ และผู้บริหารก็ไม่รู้เรื่องหมากรุกด้วย
และอีกอย่างเวลาผมได้พูดคุยกับใครเรื่องหมากรุกทั้งไทยและสากลผมจะมีข้อเปรียบเทียบในความคิดเห็นของผมว่า
หมากรุกไทยเก่งอย่างไรก็ไปตายแค่จ่าเหมือนเม็ดไทยแต่สากลคุณมีความสามารถคุณสามารถเป็นถึงผู้บริหารเป็นQไ
ด้เลยไม่มีการแตะแข้งแตะขากันเหมือนคนไทย วงการเราจึงยังไม่พัฒนาไปเท่าที่ควร

โดย : รอบเวียง Member   [ 22/08/2014, 15:09:20 ]

8

อยากให้คนไทยเล่นหมากรุกเยอะๆ

โดย : boonhome Member   [ 05/09/2014, 20:04:09 ]

 
  E-mail: webmaster@thaibg.com Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved  
 
  Sponsors