[ กลับหน้าหลัก ]


มาเรียนหมากล้อมกับสมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทยกันเถอะ



สำหรับเยาวชนและผู้สนใจอยากเรียนหมากล้อม
โดยอาจารย์ที่รับรองโดยสมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย

ขั้นพื้นฐาน
ผู้เริ่มต้น สนใจอยากศึกษาพื้นฐาน กฏ กติกา ทักษะการเล่นหมากล้อม หนึ่งในศิลปะชั้นสูงจากประเทศจีน,
สิ่งที่ได้รับสามารถเข้าใจ กฏ กติกา พื้นฐาน การเล่น และเข้าใจแนวคิดของเกม หมากล้อมเบื้องต้น

ขั้นกลาง
ผู้ต้องการพัฒนาระดับฝีมือให้สูงขึ้น และต้องการเล่นเพื่อพัฒนาแนวคิด
ทั้งการเล่นหมากล้อมและในชีวิตจริง, สิ่งที่ได้รับเทคนิคการเล่น และความรวดเร็ว
ในการพัฒนาฝีมือโดยเน้นกิจกรรม งานแข่งขัน, การทดสอบระดับฝีมือ

ขั้นสูง
สำหรับผู้ต้องการเป็นนักหมากล้อม ระดับดั้ง ซึ่งถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน หมากล้อม
,สิ่งที่ได้รับ ยิ่งผู้เล่นมีระดับสูงขึ้นก็จะเข้าถึง ศาสตร์ที่แฝงไว้ในเกมนี้และนำมา
ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง

วันและช่วงเวลาที่เปิดสอน
ทุกคอร์ส มี 2 ช่วงเวลาให้เลือก
ทั้งวันเสาร์และ อาทิตย์ (กรณีผู้เรียนเป็นคนละกลุ่มกัน)
เสาร์เช้า 10.00-12.00น.
เสาร์บ่าย 13.00-15.00น.
อาทิตย์เช้า 10.00-12.00น.
อาทิตย์บ่าย 13.00-15.00น.

หมายเหตุ: กรณีผู้เรียนเป็นกลุ่มเดียวกันหรือคนเดียว (สามารถเลือกวันและช่วงเวลาได้)

สถานที่เรียน สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02-6320491 ทุกวันในเวลา 10.00-18.00น. หรือเบอร์มือถือ 089 483 5883
คุณวี, 0863746832 คุณตอง

รูปภาพ : บรรยากาศห้องเรียน สมาคมฯ

โดย : *TBG Member [ 08/10/2013, 12:56:21 ]

1

อ้างอิงมาจาก
https://www.facebook.com/pages/Chess-Travel/475932375793678

โดย : *TBG Member   [ 08/10/2013, 12:57:07 ]

2




เชียงใหม่

สำหรับเยาวชนและผู้สนใจอยากเรียนหมากล้อม ในจังหวัดเชียงใหม่ และใกล้เคียง

"ชมรมและโรงเรียนสอนหมากล้อมซีเอ็ม.โกะ"

รายละเอียดคือแบ่งหลักสูตรหลักๆ เป็นระดับผู้สนใจเริ่มหัดเล่นหมากล้อม
และระดับพัฒนาฝีมือก้าวขึ้นสู่ระดับดั้ง โดยใช้หลักสูตรการสอนจากประเทศเกาหลี
(ระดับหมากล้อมสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้ ระดับโลคิว ไฮคิว โลดั้ง ไฮดั้ง และ ระดับดั้งโปร)

ผู้สอนจะสอดแทรกการนำเอาสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหมากล้อม เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น
งานด่วนมาก่อนงานใหญ่ ช่วยให้รู้จักการจัดลำดับการทำงาน รู้จักมองภาพรวม รู้จักหยุดคิดก่อนที่จะตัดสินใจ
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากขึ้น และใช้เหตุผลในการแก้ปัญหา
เกมหมากล้อมนั้นเป็นเกมจำลองชีวิตของเราบนกระดาน มีหลายส่วนที่เราต้องตัดสินใจในแต่ละวัน
ถ้าหากเราตัดสินใจผิดพลาดในเกมย่อมดีกว่าในชีวิตจริง ความผิดพลาดที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกในเกมหมากล้อม
จะทำให้ติดกลายเป็นการปลูกฝังสิ่งที่ดีแก่เยาวชน

เกมหมากล้อมไม่ใช่เกมจับกินแต่เป็นเกมล้อมพื้นที่ สอนให้รู้จักการแบ่งบัน
ตามหลักธุรกิจที่ไม่มีใครได้ทั้งหมด รู้จักที่จะแข่งกันที่คุณภาพการทำงาน
และไม่ใช่เกมที่ใช้เล่ห์เหลี่ยมเพราะการใช้เล่เหลี่ยมหากโดนจับได้รูปเกมของเราจะเสียเปรียบทันที
ดังนั้นนักหมากล้อมจะคิดแต่จะวางหมากที่ดีที่สุดเท่านั้น
และหากเราแพ้ก็เป็นเพราะการวางหมากของตัวเองที่ผิดพลาดมากกว่าคู่แข่ง
ทำให้ผู้เล่นรู้จักวิเคาระห์และพัฒนาตัวเองเสมอ


เปิดให้ผู้สนใจเข้าศึกษาได้ทุกวัน

*เปิดสอนหมากล้อมฟรีทุกวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา บ่ายโมงถึงสี่โมงเย็น*

สามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ชมรมและโรงเรียนสอนหมากล้อมซีเอ็ม.โกะ
(at chiangmai hotel)
ใกล้ๆ โรงเรียนยุพราชเชียงใหม่
77/1 ราชวิถี ศรีภูมิ เมือง เชียงใหม่
เบอร์โทร : 053-226608-9 หรืออีเมล์ : kennabee@maklom.com
http://cmgo.maklom.com/index.php/

ภาพประกอบ: สถานที่เรียนหมากล้อมซีเอ็ม.โกะ

โดย : supervisor Member   [ 11/10/2013, 08:40:16 ]

3



หมากล้อมเชียงใหม่

โดย : supervisor Member   [ 11/10/2013, 08:41:58 ]

4



"หมากล้อมเป็นเกมที่ฝึกวิธีคิดของคน เล่นแล้วได้ทั้งไอคิว อีคิว เอคิว เอ็มคิว
ผู้ที่เล่นเก่งจะเข้าใจปรัชญาจากเกมนี้ วิธีคิดคุณจะเปลี่ยนเพราะหมากล้อมจะฝึกให้คุณรู้จักการ balancing
ไม่คิดแต่จะมุ่งเอาชนะ แต่ให้เขาได้ เราได้ในลักษณะใกล้เคียงกัน
แต่ถ้าเราต้องการเอาเปรียบด้วยการให้เขาได้น้อย เราได้เยอะ มันจะไม่บาลานซ์
ซึ่งมันจะทำให้คุณได้ประโยชน์ช่วงสั้นๆ แต่เสียประโยชน์ระยะยาว
เกมที่จะทำให้คุณแพ้คือเกมที่คุณคิดจะเอาเปรียบเขานั่นเอง
คือเกมหมากล้อมเป็นเกมที่จะสอนให้คุณคิดอะไรเผื่อคนอื่น" ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

โดย : supervisor Member   [ 12/10/2013, 13:59:52 ]

5

ประวัติหมากล้อม

ชื่อทางการของหมากล้อมที่เรียกกันทั่วโลกคือ "โกะ"(Go) ในประเทศจีนเรียก “เหวยฉี”
(wéiqí 围棋) ประเทศญี่ปุ่นเรียก “อิโกะ” (Igo
囲碁) ประเทศเกาหลีเรียก “บาดุก” (Baduk 바둑)
ในประเทศไทยนั้นเรียก "หมากล้อม" (Maklom) โดยแปลจากคำว่า "เหวยฉี" ของจีน “เหวย”
ที่แปลว่า การล้อม ปิดกั้น “ฉี”ที่เป็นความหมายของหมากกระดานของจีนเช่น หมากรุกจีนเรียกว่า
"เซียงฉี" หมากล้อมไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าถูกคิดค้นขึ้นมาตั้งแต่เมื่อใด
เป็นเกมหมากกระดานที่มีประวัติอันยาวนานไม่น้อยกว่า 3,000 ปี ถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีน
แต่ก็มีคำกล่าวว่าอาจเกิดขึ้นครั้งแรกในทิเบต เป็นภูมิปัญญาตะวันออกที่แสดงความเก่าแก่และไพศาล
ลึกซึ้งของอารยธรรมจีนเปี่ยมไปด้วยคุณค่า จัดเป็น 1 ใน 4 สุดยอดของศิลปะประจำชาติจีนได้แก่ ดนตรี
หมากล้อม ลายสือศิลป์ และภาพวาด

มีตำนานได้กล่าวไว้ ว่าหมากล้อมได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยกษัตริย์เหยา(ครองราชตั้งแต่ปี 2357-2255
ก่อนคริสต์ศักราช) เพื่อใช้ในการสอนสติปัญญาของบุตรชาย และยังมีอีกหลายทฤษฎีเช่น
ถูกสร้างขึ้นโดยแม่ทัพที่วางแผนการรบบนโต๊ะทราย, ใช้เป็นปฏิทินโบราณที่ใน 1 ปีจะมี 361 วัน
และการทำนายโดยจะเห็นว่ากระดานเป็นเหมือนกับจักรวาลและเม็ดหมากเป็นดั่งดวงดาว

หมากล้อมนั้นยังถูกอ้างอิงถึงในงานเขียนของขงจื้อและ เม่งจื้อ
และกล่าวไว้ด้วยว่าหมากล้อมเป็นเกมที่จำลองยุทธศาตร์, การปกครอง, วิถีชีวิต ที่ได้รับความนิยม
และถูกพรรณนาในช่วงยุคชุนชิวของประเทศหลู่ ( 722-484 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จนถึงยุคจั้นกั่ว (ถึงปี 221
ก่อนคริสต์ศักราช)

ชาวจีนโบราณเปรียบเทียบการเล่นหมากล้อมไว้ว่า เสมือนการสนทนาด้วยมือ (Hand Talk)
บางคนบอกว่าหมากล้อมเป็นหมากกระดานที่มีชีวิตเนื่องจากเล่นบนกระดาน 361 จุด
บนกระดานหมากล้อมที่เกิดจากเส้นแนวตั้งและเส้นตามขวาง 19 เส้นพาดตัดกัน
สร้างความน่าจะเป็นในการวางหมากได้นับล้านๆรูปแบบ ตามหลักคณิตศาสตร์ความน่าจะเป็นเท่ากับ 361! ( 361 x
360 x 359...x 1 หรือเท่ากับ 10 ยกกำลัง 768) จึงทำให้การวางเม็ดหมากมีความลุ่มลึกและทางเลือกมากมาย
หมากล้อมจึงเป็นเกมที่ต้องใช่การศึกษาที่ยาวนานเป็นสุดยอดศิลปะทั้งยังเป็น
ศาสตร์ท้าทายให้ผู้เล่นศึกษาแนวคิด ในการวางแผน มองการณ์ไกล ค้นหาโอกาส
ชิงพื้นที่มาครอบครองภายใต้หลักการ

หมากล้อม เป็นเกมกระดานที่ต่างจากหมากกระดานประเภทอื่น ตรงที่เริ่มต้นเกมจาก "ความว่าง"
กล่าวโดยนัยนี้ หมากล้อมจึงเป็นเกมกระดานที่แฝงไว้ด้วยปรัชญาแห่ง "สูญตา" จาก
"ความว่าง" ก่อเกิด "รูป" เม็ดหมากที่แต่ละฝ่ายผลัดกันวางบนกระดานหมากล้อมมี
"คุณค่า" และ "ความหมาย" ที่ต่างกัน เพราะเม็ดหมากแต่ละเม็ดมิได้มี
"คุณค่า" ภายในตัวที่แตกต่างกันตั้งแต่แรก
แต่คุณค่าของมันขึ้นอยู่กับมิติสัมพันธ์แห่งรูปทรงที่เม็ดหมากเชื่อมโยงกัน และบริบทที่อยู่รายรอบ

หมากล้อมได้เผยแพร่สู่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นแผ่นดินทองของ "หมากล้อม"
เมื่อไรไม่มีใครทราบแต่มีคำกล่าวว่าหมากล้อมได้ถูกนำมาโดย กิบิ โน มากิบิ (Kibi no Makibi)
ผู้ซึ่งถูกส่งไปประเทศจีนในฐานะทูต ในช่วงยุคนารา (นะระจิได) (ปี 710-794) ในปีค.ศ. 717
และกลับมาในช่วงปี ค.ศ. 735 ตรงกับสมัยราชวงศ์ถังของจีนซึ่งเป็นยุคที่จีนเจริญรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมและ
การค้าอย่างมาก มีสัมพันธ์ไมตรีกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย เกาหลี ญี่ปุ่น อาหรับ
หรือประเทศในชมพูทวีป ประเทศเหล่านี้ต่างส่งข้าราชการระดับสูงมาศึกษาวิทยาการในแผ่นดินจีน
ทั้งด้านการเกษตร การปกครอง ศิลปะและปรัชญา
ซึ่งหมากล้อมก็เป็นหนึ่งในวิทยาการสาขาศิลปะแนวปรัชญาที่ถูกถ่ายทอดให้กับ
ชาวต่างชาติที่เดินทางเยือนจีนในขณะนั้น

หมากล้อมเติบโตและ พัฒนาในประเทศญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว
เพราะได้รับความสนใจและการสนับสนุนอย่างมากจากชนชั้นปกครอง ถึงกับมีการจัดแข่งขันชิงตำแหน่ง
"ราชาหมากล้อม" ซึ่งญี่ปุ่นเรียกว่า "เมย์จิน (Meijin)"
ในปลายยุคของโชกุนปกครองแผ่นดิน โชกุนนามอิเอยาสึตระกูลโตกุกาว่าซึ่งเป็นโชกุนตระกูลสุดท้ายของญี่ปุ่น
ปราบโชกุนอื่นๆสร้างเอกภาพในญี่ปุ่นแล้ว ได้สนับสนุนให้ทหารเล่นหมากล้อมเพื่อทดแทนการรบพุ่ง
เปลี่ยนการต่อสู้ด้วยอาวุธมาเป็นการต่อสู้ด้วยปัญญา
ทั้งยังได้สนับสนุนให้หมากล้อมแพร่หลายเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จนในปีค.ศ.1612
ได้จัดตั้งองค์กรจัดระเบียบหมากล้อมโดยแบ่งหมากล้อมออกเป็น 4 สำนัก ได้แก่ สำนักฮงนินโบ (Honinbo)
ยาสุอิ (Yasui) อิโนอูเอะ (Inoue) และ ฮายาชิ (Hayashi)
ผู้ใดก็ตามที่ก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าสำนักแล้วจะได้ใช้นามสกุลของสำนักนั้น
เพราะถือว่าเป็นเกียรติประวัติและเป็นตัวแทนของตำแหน่งด้วย แต่ละสำนักจะฝึกสอนลูกศิษย์ของตนเอง
และคัดเลือกผู้ที่มีฝีมือดีที่สุดไปประชันปัญญากับศิษย์สำนักอื่น
เกือบทุกปีโชกุนหรือไม่ก็องค์จักรพรรดิจะมาเป็นประธานผู้ชนะการแข่งขันจะ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปจาก 4
สำนักดังกล่าวสำนักฮงนินโบมีฝีมือโดดเด่นที่สุด

หมากล้อมในปัจจุบันเป็นที่นิยมทั่วโลกมีผู้เล่นหมากล้อมกว่า 100 ล้านคน โดยในปีค.ศ. 1979
ได้ก่อตั้งสมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (IGF-The International Go Federation) มีสมาชิกเริ่มแรก 15 ประเทศ
โดยประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อปี พ.ศ. 1983 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกกว่า 70 ประเทศ

สมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (IGF) เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ General Association of International Sports
Federations (GAISF) ในปีค.ศ. 2005 ซึ่งมีผลช่วยให้ประเทศสมาชิกของสมาพันธ์หมากล้อมนานาชาติ (IGF)
มีสิทธิ์ขอคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งชาติ (NOC-National Olympic Committee)
เข้าเป็นสมาชิกกีฬาโอลิมปิคในประเทศของตนเองหรือ ขอบรรจุในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ

ประวัติสมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทย (ประธานสมาคม คุณก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์)
1993 - จัดตั้ง ชมรมหมากล้อม(โกะ) แห่งประเทศไทย
1994 - เป็นกีฬาสาธิตในกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 22
1995 - บรรจุอย่างเป็นทางการในกีฬามหาวิทยาลัยครั้งที่ 23
1996 - เริ่มการแข่งขันหมากล้อมอุดมศึกษา University Go Tournament (U-Go)
1997 - เริ่มการแข่งขัน Thailand Open Go Tournament
2001 - ชมรมหมากล้อม(โกะ)แห่งประเทศไทย จดทะเบียนเป็นสมาคมกีฬาหมากล้อม
2003 - เปลี่ยนสถานะภาพเป็น สมาคมกีฬาหมากล้อมแห่งประเทศไทย
2006 - บรรจุเป็นกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 35 “สุพรรณบุรีเกมส์”
2007 - บรรจุเป็นกีฬาสาธิตในซีเกมส์ ครั้งที่ 24 ที่จังหวัดนครราชสีมา
2010 - บรรจุอย่างเป็นทางการในกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 ที่ประเทศจีน

แปลและเรียบเรียงโดย
สัจจา ชัยภิบาล 2 ดั้ง สมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทย

โดย : ChessTravel Member   [ 30/10/2013, 09:39:30 ]

 
  E-mail: webmaster@thaibg.com Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved  
 
  Sponsors