[ กลับหน้าหลัก ]


หมากกระดานกับการพัฒนาไอคิวเด็กไทย

วันนี้ (29 พฤศจิกายน 2553) ที่กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข นนทบุรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต
แถลงข่าวและเปิดการเสวนา “สมองเด็กไทย...รอไม่ไหวแล้ว”
เป็นกิจกรรมต่อเนื่องในการแก้ไขระดับเชาว์ปัญญาเด็กไทย หรือไอคิว
ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของประเทศไทยอีกเรื่องหนึ่ง



นายจุรินทร์กล่าวว่า ผลสำรวจเมื่อปี 2552 พบว่าไอคิวเด็กไทยอยู่ที่ 91 จุด
ซึ่งเกือบตกเกณฑ์ขั้นต่ำของระดับสากลที่อยู่ที่ 90-110 จุด เป็นสัญญาณน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งองค์การอนามัยโลก และองค์การยูนิเซฟ จึงต้องค้นหาสาเหตุ
โดยสาเหตุสำคัญประการหนึ่งเกิดจากการขาดไอโอดีน เป็นข้อสรุปที่มีความชัดเจน
และต่อไปนี้จะเดินหน้าแก้ไขปัญหาไอคิวเด็กไทยด้วยนโยบายเพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิว
ซึ่งที่ผ่านมามีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม 4 ประการ ประการที่ 1 ได้ลงนามในประกาศ 4
ฉบับของกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ต้องเติมไอโอดีนในเกลือ น้ำปลา น้ำปลาปรุงรส ซีอิ๊ว และซอสปรุงรสต่างๆ
โดยได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2553 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 เป็นต้นไป
หากผลิตภัณฑ์ที่กล่าวมา ไม่เติมไอโอดีน จะมีความผิดตามกฎหมาย ประการที่ 2 กำหนดให้แจกไอโอดีนเม็ด
ซึ่งผสมเหล็กและโฟเลท ฟรี แก่หญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศซึ่งมีประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านคน
ที่โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศที่ไปฝากครรภ์ทุกเดือน


ประการ ที่ 3 กำหนดให้ตรวจภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ในเด็กแรกเกิดทุกราย
ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับไอโอดีนจะได้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที และประการที่ 4 คือนโยบายมอบหนังสือเล่มแรก
จำนวน 3 เล่มให้เด็กตั้งแต่แรกเกิด อายุ 6 เดือน และ 1 ปี
เพื่อช่วยเสริมเชาวน์ปัญญาและเติบโตมีพัฒนาการสมวัย แนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการดังกล่าว
องค์การอนามัยโลก และสภาป้องกันภาวะขาดไอโอดีนเอเชียแปซิฟิก
ได้ให้การยกย่องชมเชยมาตรการเหล่านี้ของประเทศไทย ที่ได้ให้การสนับสนุนเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม
หลังจากเข้าพบเมื่อเดือนที่ผ่านมา


นาย จุรินทร์กล่าวต่อว่า เพื่อให้นโยบายเพิ่มไอโอดีน เพิ่มไอคิว เดินหน้าด้วยความเข้มข้น
และมีผลอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจนต่อไป ได้มอบแนวทางให้อธิบดีกรมสุขภาพจิต
ดำเนินการสำรวจไอคิวของเด็กไทยทั่วประเทศ
ซึ่งจะเป็นการสำรวจครั้งแรกที่ใช้เกณฑ์มาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับ จำนวนประมาณ 100,000 คน โดยในวันที่ 9
ธันวาคม 2553 จะมีการประชุมอบรมเจ้าหน้าที่เตรียมการสำรวจไอคิว และจะดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 13-24
ธันวาคม 2553 ใช้เวลา 5 วันตามความพร้อมของพื้นที่
คาดว่าในช่วงหลังปีใหม่ก็จะทราบผลชัดเจนว่าไอคิวของเด็กไทยเฉลี่ยทั้งประเทศ เป็นเท่าไร ลงลึกถึงรายภาค
และรายจังหวัด ในอนาคตถ้ามีความจำเป็นอาจจะลงลึกถึงระดับพื้นที่
เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาไอคิวของคนไทยต่อไปในอนาคต


ทั้ง นี้ แนวทางสากลส่วนใหญ่จะตั้งเป้าหมายการเพิ่มไอคิวแก่ประชาชนภายใน 5 ปี ซึ่งไทยจะทำเช่นเดียวกัน
และหากสามารถทำได้อาจมีการชี้วัดถี่กว่า 5 ปี
จะเป็นปรากฏการณ์ที่เป็นรูปธรรมชัดเจนที่สุดอีกครั้งหนึ่งของงานกระทรวง สาธารณสุขและประเทศไทย
ที่จะช่วยให้เราเดินหน้าไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถของประเทศ
โดยใช้ทรัพยากรบุคคลเป็นฐานสำคัญในการพัฒนาเพราะถ้าไอคิวของเราต่ำ
จะมีผลต่อศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ


“กระบวน การในการพัฒนาไอคิวเด็กไทย จะเป็นกระบวนการต่อเนื่อง ชัดเจน เป็นรูปธรรม
เพราะผมถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สุดปัญหาหนึ่งของประเทศ เราจะลงทุนพัฒนาประเทศไปเท่าไรก็ตาม
ถ้าคนไทยเชาวน์ปัญญาต่ำ การจะพัฒนาไปไกลอย่างที่หวัง ก็คงจะเป็นไปได้ยาก
เป็นปัญหาต้นทางสำคัญที่สุดที่ต้องเร่งแก้” นายจุรินทร์กล่าว


ด้านนายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า การสำรวจไอคิวครั้งนี้ จะใช้แบบสำรวจชื่อ
เอสพีเอ็ม พาราเรล (SPM : Standard Progressive Matrices Parallel) ซึ่ง
เป็นเครื่องมือสำรวจไอคิวระดับโลกหลายประเทศใช้ การสำรวจของไทยครั้งนี้จะเป็นการสำรวจที่ใหญ่ที่สุดในโลก
เพราะในประวัติศาสตร์เคยสำรวจจำนวน 60,000 กว่าตัวอย่าง และในหลายประเทศทำในระดับประเทศเท่านั้น
ครั้งนี้ประเทศไทยจะสำรวจในเด็กวัยเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาถึงมัธยม ศึกษาปีที่ 6
ทุกจังหวัดทั่วประเทศจำนวนกว่า 90,000-100,000 คน โดยดำเนินการร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงยุติธรรม
และกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีนักจิตวิทยาคลินิกอยู่เป็นจำนวนมาก


สำหรับ กระบวนการทดสอบไอคิว จะใช้แบบทดสอบเอสพีเอ็ม พาราเรล ซึ่งเป็นแบบทดสอบความถนัด ที่ทำได้ง่าย
ไม่ต้องใช้ภาษา เป็นเอกสารให้เด็กทำแบบข้อสอบ ใช้เวลาไม่เกิน 40 นาที สามารถรวบรวมข้อมูลได้ง่าย
โดยให้เด็กใช้ดินสอ 2 บีระบายในช่องคำตอบ และตรวจสอบโดยเครื่องสแกนข้อสอบ


หลัง จากได้ผลสำรวจแล้ว จังหวัดที่ได้ผลสำรวจไอคิวต่ำประมาณ 10-20 จังหวัด
จะต้องให้ความสนใจในการแก้ปัญหา ซึ่งองค์การอนามัยโลกแนะนำว่าให้เริ่มโดยการให้เกลือไอโอดีนก่อน
หลังจากนั้นค่อยใช้มาตรการอื่นต่อไป
ซึ่งองค์ความรู้ของกระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะช่วยเหลือจังหวัดเหล่านั้น อยู่แล้ว
การได้ผลสำรวจครั้งนี้จะทำให้เกิดความตระหนัก
เชื่อว่าองค์กรท้องถิ่นและผู้ที่รับผิดชอบของจังหวัดนั้นจะช่วยกันแก้ไข
ปัญหาซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ตามที่รัฐมนตรีต้องการให้มีการวางแผนชาติ
เพื่อพัฒนาสติปัญญาคนไทยขึ้นทุกๆ 5 ปี

โดย : renovatio Member [ 24/12/2010, 10:02:20 ]

1

สื่อการเรียนรู้ BBL พัฒนาไอคิวเด็กไทย

นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 323
เดือน-ปี : 03/2549
คอลัมน์ : เก็บข่าวมาฝาก
นักเขียนรับเชิญ : กองบรรณาธิการ
นักเขียนหมอชาวบ้าน : พญ.เพ็ญพรรณ วัฒนไกร

เด็กไทยโง่ลง เพราะสมองได้รับการกระตุ้นน้อยและไม่ถูกวิธี ในช่วงแรกเกิดถึง ๖ ขวบ
สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ (สวร.) จัดประชุมเรื่อง "สื่อการเรียนรู้แบบ
BBLในระดับปฐมวัยและประถมศึกษา" โดยมี ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย
รองผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการการเรียนรู้ และนายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์
ที่ปรึกษาสถาบันวิทยาการการเรียนรู้ เป็นผู้บรรยาย
ดร.สุรชัย โฆษิตบวรชัย กล่าวว่า
"สถาบันวิทยาการการเรียนรู้ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้มีการพัฒนาเต็มศักยภาพ
ตามลำดับขั้นของสมองแต่ละวัย ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ได้รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ
โดยมีพันธกิจที่จะสร้างขีดความสามารถของเด็กและเยาวชนไทยอายุ ๐-๑๙ ปี
ให้มีพัฒนาการด้านความรู้คู่คุณธรรมล้ำหน้านานาประเทศ เพื่อเตรียมประเทศไทยให้แข่งขันได้ทั่วโลก"
นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กล่าวว่า "การวิจัยระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมาพบว่า เด็กไทยมีไอคิวลดลง
เนื่องจากระยะแรกเกิดถึง ๖ ขวบ สมองของมนุษย์จะมีการสร้างใยประสาทขึ้นมาก จากนั้นจะเริ่มมีการจัดระเบียบ
โดยใยประสาทส่วนที่ไม่ได้ใช้จะหลุดหายไป ส่วนใยประสาทส่วนที่มีการใช้งานจะมีการหนาตัวขึ้น
ระยะนี้เด็กควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่และถูกต้อง หากสื่อการเรียนการสอนไม่น่าสนใจ
ไม่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง จะทำให้การเรียนรู้ของเด็กลดลง ซึ่งสื่อการเรียนรู้แบบ BBL (
Brain-Based-Learning ) จะมีการใช้ศิลปะ รูปภาพ สีสันเข้ามาประกอบในหนังสือ เพื่อดึงดูดความสนใจของเด็ก
ทำให้เด็กไม่ต่อต้านการเรียนรู้ เมื่อไม่เกิดการต่อต้าน
สมองของเด็กก็จะเปิดรับข้อมูลต่างๆได้มากขึ้น"
ทั้งนี้ภาครัฐไม่สามารถที่จะผลักดันให้เกิดสื่อการเรียนการสอนแบบ BBLได้โดยลำพัง
จึงต้องอาศัยแรงสนับสนุนจากภาคเอกชนหลายฝ่าย ที่มีความชำนาญในด้านต่างๆ เข้ามาช่วยเหลือ
เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีกับเด็กไทยต่อไป

โดย : renovatio Member   [ 24/12/2010, 10:05:44 ]

2

ช่วยกันปกป้องลูกหลานไทย อย่าให้ไอคิวลดลง

จากข่าวเด็กไทยไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งเราได้ยินบ่อยๆ การวัดไอคิว
วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-110 เป็นการวัดความสามารถทางคิดวิเคราะห์ การ
คำนวณ แต่ไม่ได้วัดความคิดสร้างสรรค์

เด็กไทยเรามีไอคิวลดลง ตามอายุที่มากขึ้น รายละเอียด
รายงาน สถานการณ์เด็กไทย


พ.ญ.จันทร์เพ็ญสธ ปี ที่มาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, มติชน
.
ปี 2544

อายุ 1-3 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 102.5


อายุ 6-12ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 91.2


อายุ 13-18 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 88 - 89



วิจัยของ พ.ญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ (ร.พ.รามา) ปี

2546
อายุ 1-3 ปี ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 100.5

อายุ 3-6 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 91.1

อายุ6-12 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 88

อายุ13-18 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 86.7

และมีวิจัยของ พ.ญ.แสงโสม สีนาวัฒน์กรมอนามัย สธ ในคอลัมน์ .คุณลมเปลี่ยนทิศ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


การศึกษาในอเมริกา มีบทบาท 3 อย่าง

1) ทำให้ ไอคิวเพิ่มขึ้น สมองมีการเจริญเติบโต
โดยเฉพาะใยประสาทที่เชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์และป้องกันโรคสมองเสื่อม
2) ทำให้มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี, มองตนเองทีคุณค่า มีทักษะด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะชีวิต,
ทักษะสื่อสาร ลดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ ฯลฯ
3) เป็นพลเมืองดี


อเมริกา หรืออังกฤษมีไอคิวเฉลี่ย กว่า 120
แต่ในเมืองไทยที่คนไทย ต่ำ มีข้อวิเคราะห์ดังนี้

1. ระบบการศึกษา ผู้จัดการศึกษาขาดความรู้ด้านพัฒนาสมองที่ไม่ได้พัฒนาตามผลวิจัย
เนื่องจากเราจะเน้นเนื้อหาวิชาการมากมาย และเรียนสิ่งที่ไกลตัวมากว่าใกล้ตัว ซ้ำซาก
และขาดการกระตุ้น และไม่มีเวลาให้เด็กฝึก คิด หรือลงมือทำ จริง ขาดการนำเอาไปใช้ในชีวิต จริง

เช่น พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต การดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งกายและจิต ยิ่งหลักสูตรการศึกษาปี44
ที่เพิ่มสาระการเรียนรู้ที่มากขึ้นร่วมกับ ระบบแอดมิชชั่น ยิ่งทำร้ายเด็ก
เพราะบังคับให้เด็กต้องเรียนในโรงเรียน ทั้งสามปี(GPA) ในทุกวิชาที่ทั้งชอบ/ถนัด หรือไม่ชอบ/ไม่ถนัด


วิชาที่เรียนมีทั้งหมดแปดหมวดสาระ แยกย่อยกว่า 20 วิชาเช่นหมวดสังคม มีวิชา ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศาสนา เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ดาราศาสตร์ ซึ่งเรียนซ้ำๆทุกปี ฯลฯ
รวมทั้งการสอบONET ที่ ต้องใช้วิทยาศาสตร์ เคมี ชีวะ ฟิสิคซ์ ที่ไม่ได้ตรงกับคณะที่จะเรียน
สมองเด็กต้องถูกกระทำ ให้จำเพื่อไปสอบมากมายซ้ำซาก เป็นเวลานๆ

บางโรงเรียนครูมีความสามารถในการสอนให้เด็กคิดเป็นแต่หลายโรงเรียน
ไม่มีครูเช่นนั้น หลายโรงเรียนครูไม่มีความยุติธรรม
มีการกักข้อสอบเพื่อสอนพิเศษเรียกเงินผู้ปกครอง แต่รัฐยังไม่มีมาตรการใดๆ ทั้งควบคุมโรงเรียนกวดวิชาและ
ควบคุมครูที่มีพฤติกรรมไม่ถูกต้อง

หลังจากการประกาศแอดมิชชั่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
ยังไม่เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร คุณภาพครู คุณภาพการเรียนการสอน ยังเป็นเหมือนเดิม
และผู้ออกข้อสอบ เอ็นทร้านซ์ ก็เกือบชุดเดียวกันกับ แอดมิชชั่น

ผลกระทบจึงตกกับผู้ปกครอง และเด็ก ไทยทั้งประเทศ ขณะนี้ก็เริมมี
ข้อผูกพันธุ์(MOU)ของมหาลัยจุฬากับสาธิตจุฬา ปทุมวัน และ เตรียมอุดม ซึ่งต่อไป
โรงเรียนไหนไม่มีคุณภาพเด็กไม่สามารถเข้าเรียนในมหาลัยได้ ซึ่งข้อดีก็มีคือโรงเรียนอื่นๆต้องปรับตัว
แต่ข้อเสียคือเด็กแย่งกันเข้าโรงเรียนไมกี่โรงเรียน และผู้ที่มีความสามารถน้อย หรือมีเงินน้อย
ก็อดเข้ามหาลัยดีๆไป

( อีกอย่างหนึ่งแอดมิชชั่นที่บอกว่าจะต้องปรับเกรดเด็ก
จุดนี้ต้องระวังในเรื่องความโปร่งใส และมีเกณฑ์ ปรับอย่างไรสื่อน่าจะช่วยติดตาม
ถ้าไม่ปรับอาจารย์มหาลัยก็รับภาระหนักในการพัฒนาเด็กที่มีคุณภาพแตกต่างกันมาก ซึ่งอาจจะเป็นเหตุที่มาของ
MOU จุฬากับสาธิตจุฬา ฯลฯ)

2 พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู ยากจน การศึกษาน้อย หรือมีฐานะการเงินและเรียนสูงแต่
ขาดความรู้ในการเลี้ยงดูบุตร การพัฒนาสมอง ทำให้
- เด็กขาดสารอาหาร สมองขาดสารอาหาร
- เด็กได้รับการพัฒนา และส่งเสริมที่ไม่ถูกทาง

เพราะฉะนั้นการที่เด็กมีแม่จบการศึกษาต่ำ ๆ หรือเรียนสูงๆจบปริญญาเอก แต่ขาด
ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก จะมีความสามารถในการพัฒนาบุตรหลาน ต่ำกว่าแม่ที่เรียนรู้เรื่องพัฒนาการสมอง
ยิ่งฐานะยากจนยิ่งจะมี IQ ต่ำกว่า เนื่องจากมารดาเหล่านี้ไม่รู้ว่าจะกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้อย่างไร เช่น
การพูดคุย, ใช้ของเล่น, เล่นกับเด็กอื่น การให้ความรักความอบอุ่นฯลฯ

3 กระแสสังคม และระบบการสอบเข้าระดับต่างๆ หรือการสอบชิงทุน
ที่เน้นการแข่งขันแต่ด้านวิชาการ ความจำ ไม่ได้เน้นทักษะชีวิต การวิเคราะห์
เนื่องจากประชาชน/สังคมขาดความรู้ที่ถูกต้องในการพัฒนาบุตรหลาน


ทางออกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการป้องกันลูกไอคิวต่ำ

1 ต้องมีสติเตือนตนเอง รวมทั้งตัวเด็กเอง ว่า ที่เรียนๆมานั้น เราใช้ประโยชน์
อะไรได้บ้างนอกจากการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว ลูกได้อะไร ที่จะไปใช้ในชีวิตจริง
หลังจากไปโรงเรียน อย่าเน้นแต่เกรดหรือคะแนน

ข้อมูลจากสภาพัฒน์ ฯ พบว่า เด็กที่จบปริญญาตรี ตกงาน กว่าสี่แสนคน โดยเฉพาะสายสังคมฯ
แต่ที่ขาดคือสายอาชีพ เพราฉะนั้น หากลูกไม่ชอบ หรือเรียนไม่เก่ง ให้ไปเรียนสายอาชีวะ ดีกว่า
โดยดูโรงงเรียนที่มีคุณภาพเช่นไทยเยอรมัน , โรงเรียนที่เด็กไม่ตีกัน
หรือหลังเลิกเรียนก็เปลี่ยนชุดโรงเรียนเอา หรือเรียนอี เลินนิ่ง แล้วทำงานไปด้วย
ซึ่งมีทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะได้ทักษะชีวิตมากกว่า

อย่าลืมว่า หากลูกจะเข้ามหาลัยเราต้องเสียเงิน กวดวิชา ต้องมุมานะเรียนให้ดีๆทั้งสามปีในม.4-6
ต้องเครียดกันทั้งครอบครัว เพราะต้องหาเงินเรียนพิเศษ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า แล้วลูกเราได้อะไร
เพื่อเพิ่มสติปัญญา ที่ เป็นทุนในการประกอบอาชีพหรือไม่ คิดเป็นมากขึ้น หรือไม่
วิชาที่เรียนนั้นทุกวิชา มีประโยชน์อย่างไรต่อลูกเรา

หรือยิ่งทำให้ไอคิวลดลง อย่าลืมคิดถึงข้อนี้ให้ได้ แล้วท่านจะได้ไม่เสียค่าโง่
ซื้อความโง่ให้ลูกเราเอง

2 พ่อแม่ต้องสอนทักษะชีวิตให้ลูก ทักษะชีวิตคือ ประสบการณ์ หรือความเป็นจริงที่คนจริงๆต้องเผชิญ
หรือต้องทำเป็น ยกตัวอย่างง่ายๆ ทักษะในการเดินทาง ขึ้นรถเมย์ รถไฟฟ้า ทักษะในการทำอาหาร
ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ทักษะในการป้องกันตนเองจากภัยต่างๆ รอบตัว
ต้องรู้ว่าโลกภายนอกมีอะไรต้องระวัง โดยเฉพาะเด็ก หญิง ทักษะด้านการเอื้ออาทร ฯลฯ

3 อย่าเน้นการแข่งขันคะแนน หรือเกรด เพียงอย่างเดียว แต่ดูว่าลูกได้อะไรเมื่อไปโรงเรียน


4 ให้ลูกหัดทำงานตามวัย ในวัยรุ้นให้ช่วยงานธุรกิจพ่อแม่ หรือ รับจ้างหาเงินใช้เองบ้าง
เพื่อฝึกทักษะในการทำงาน การอดทน การใช้เงิน ฯ


ด้วยความปรารถนาดี
พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี



โดย : renovatio Member   [ 24/12/2010, 10:15:20 ]

3

ช่วยกันปกป้องลูกหลานไทย อย่าให้ไอคิวลดลง

จากข่าวเด็กไทยไอคิวต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งเราได้ยินบ่อยๆ การวัดไอคิว
วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-110 เป็นการวัดความสามารถทางคิดวิเคราะห์ การ
คำนวณ แต่ไม่ได้วัดความคิดสร้างสรรค์

เด็กไทยเรามีไอคิวลดลง ตามอายุที่มากขึ้น รายละเอียด
รายงาน สถานการณ์เด็กไทย


พ.ญ.จันทร์เพ็ญสธ ปี ที่มาหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ, มติชน
.
ปี 2544

อายุ 1-3 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 102.5


อายุ 6-12ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 91.2


อายุ 13-18 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 88 - 89



วิจัยของ พ.ญ.นิชรา เรืองดารกานนท์ (ร.พ.รามา) ปี

2546
อายุ 1-3 ปี ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 100.5

อายุ 3-6 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 91.1

อายุ6-12 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 88

อายุ13-18 ปี ระดับ ไอคิว เฉลี่ย 86.7

และมีวิจัยของ พ.ญ.แสงโสม สีนาวัฒน์กรมอนามัย สธ ในคอลัมน์ .คุณลมเปลี่ยนทิศ
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ


การศึกษาในอเมริกา มีบทบาท 3 อย่าง

1) ทำให้ ไอคิวเพิ่มขึ้น สมองมีการเจริญเติบโต
โดยเฉพาะใยประสาทที่เชื่อมต่อกันระหว่างเซลล์และป้องกันโรคสมองเสื่อม
2) ทำให้มีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดี, มองตนเองทีคุณค่า มีทักษะด้านต่าง ๆ เช่น ทักษะชีวิต,
ทักษะสื่อสาร ลดพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น การสูบบุหรี่ ฯลฯ
3) เป็นพลเมืองดี


อเมริกา หรืออังกฤษมีไอคิวเฉลี่ย กว่า 120
แต่ในเมืองไทยที่คนไทย ต่ำ มีข้อวิเคราะห์ดังนี้

1. ระบบการศึกษา ผู้จัดการศึกษาขาดความรู้ด้านพัฒนาสมองที่ไม่ได้พัฒนาตามผลวิจัย
เนื่องจากเราจะเน้นเนื้อหาวิชาการมากมาย และเรียนสิ่งที่ไกลตัวมากว่าใกล้ตัว ซ้ำซาก
และขาดการกระตุ้น และไม่มีเวลาให้เด็กฝึก คิด หรือลงมือทำ จริง ขาดการนำเอาไปใช้ในชีวิต จริง

เช่น พฤติกรรมการกิน การใช้ชีวิต การดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งกายและจิต ยิ่งหลักสูตรการศึกษาปี44
ที่เพิ่มสาระการเรียนรู้ที่มากขึ้นร่วมกับ ระบบแอดมิชชั่น ยิ่งทำร้ายเด็ก
เพราะบังคับให้เด็กต้องเรียนในโรงเรียน ทั้งสามปี(GPA) ในทุกวิชาที่ทั้งชอบ/ถนัด หรือไม่ชอบ/ไม่ถนัด


วิชาที่เรียนมีทั้งหมดแปดหมวดสาระ แยกย่อยกว่า 20 วิชาเช่นหมวดสังคม มีวิชา ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ หน้าที่พลเมือง ศาสนา เศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ดาราศาสตร์ ซึ่งเรียนซ้ำๆทุกปี ฯลฯ
รวมทั้งการสอบONET ที่ ต้องใช้วิทยาศาสตร์ เคมี ชีวะ ฟิสิคซ์ ที่ไม่ได้ตรงกับคณะที่จะเรียน
สมองเด็กต้องถูกกระทำ ให้จำเพื่อไปสอบมากมายซ้ำซาก เป็นเวลานๆ

บางโรงเรียนครูมีความสามารถในการสอนให้เด็กคิดเป็นแต่หลายโรงเรียน
ไม่มีครูเช่นนั้น หลายโรงเรียนครูไม่มีความยุติธรรม
มีการกักข้อสอบเพื่อสอนพิเศษเรียกเงินผู้ปกครอง แต่รัฐยังไม่มีมาตรการใดๆ ทั้งควบคุมโรงเรียนกวดวิชาและ
ควบคุมครูที่มีพฤติกรรมไม่ถูกต้อง

หลังจากการประกาศแอดมิชชั่น การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียน
ยังไม่เห็นว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร คุณภาพครู คุณภาพการเรียนการสอน ยังเป็นเหมือนเดิม
และผู้ออกข้อสอบ เอ็นทร้านซ์ ก็เกือบชุดเดียวกันกับ แอดมิชชั่น

ผลกระทบจึงตกกับผู้ปกครอง และเด็ก ไทยทั้งประเทศ ขณะนี้ก็เริมมี
ข้อผูกพันธุ์(MOU)ของมหาลัยจุฬากับสาธิตจุฬา ปทุมวัน และ เตรียมอุดม ซึ่งต่อไป
โรงเรียนไหนไม่มีคุณภาพเด็กไม่สามารถเข้าเรียนในมหาลัยได้ ซึ่งข้อดีก็มีคือโรงเรียนอื่นๆต้องปรับตัว
แต่ข้อเสียคือเด็กแย่งกันเข้าโรงเรียนไมกี่โรงเรียน และผู้ที่มีความสามารถน้อย หรือมีเงินน้อย
ก็อดเข้ามหาลัยดีๆไป

( อีกอย่างหนึ่งแอดมิชชั่นที่บอกว่าจะต้องปรับเกรดเด็ก
จุดนี้ต้องระวังในเรื่องความโปร่งใส และมีเกณฑ์ ปรับอย่างไรสื่อน่าจะช่วยติดตาม
ถ้าไม่ปรับอาจารย์มหาลัยก็รับภาระหนักในการพัฒนาเด็กที่มีคุณภาพแตกต่างกันมาก ซึ่งอาจจะเป็นเหตุที่มาของ
MOU จุฬากับสาธิตจุฬา ฯลฯ)

2 พ่อแม่ผู้เลี้ยงดู ยากจน การศึกษาน้อย หรือมีฐานะการเงินและเรียนสูงแต่
ขาดความรู้ในการเลี้ยงดูบุตร การพัฒนาสมอง ทำให้
- เด็กขาดสารอาหาร สมองขาดสารอาหาร
- เด็กได้รับการพัฒนา และส่งเสริมที่ไม่ถูกทาง

เพราะฉะนั้นการที่เด็กมีแม่จบการศึกษาต่ำ ๆ หรือเรียนสูงๆจบปริญญาเอก แต่ขาด
ความรู้ในการเลี้ยงดูเด็ก จะมีความสามารถในการพัฒนาบุตรหลาน ต่ำกว่าแม่ที่เรียนรู้เรื่องพัฒนาการสมอง
ยิ่งฐานะยากจนยิ่งจะมี IQ ต่ำกว่า เนื่องจากมารดาเหล่านี้ไม่รู้ว่าจะกระตุ้นพัฒนาการเด็กได้อย่างไร เช่น
การพูดคุย, ใช้ของเล่น, เล่นกับเด็กอื่น การให้ความรักความอบอุ่นฯลฯ

3 กระแสสังคม และระบบการสอบเข้าระดับต่างๆ หรือการสอบชิงทุน
ที่เน้นการแข่งขันแต่ด้านวิชาการ ความจำ ไม่ได้เน้นทักษะชีวิต การวิเคราะห์
เนื่องจากประชาชน/สังคมขาดความรู้ที่ถูกต้องในการพัฒนาบุตรหลาน


ทางออกของพ่อแม่ผู้ปกครอง ในการป้องกันลูกไอคิวต่ำ

1 ต้องมีสติเตือนตนเอง รวมทั้งตัวเด็กเอง ว่า ที่เรียนๆมานั้น เราใช้ประโยชน์
อะไรได้บ้างนอกจากการเตรียมตัวเข้ามหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียว ลูกได้อะไร ที่จะไปใช้ในชีวิตจริง
หลังจากไปโรงเรียน อย่าเน้นแต่เกรดหรือคะแนน

ข้อมูลจากสภาพัฒน์ ฯ พบว่า เด็กที่จบปริญญาตรี ตกงาน กว่าสี่แสนคน โดยเฉพาะสายสังคมฯ
แต่ที่ขาดคือสายอาชีพ เพราฉะนั้น หากลูกไม่ชอบ หรือเรียนไม่เก่ง ให้ไปเรียนสายอาชีวะ ดีกว่า
โดยดูโรงงเรียนที่มีคุณภาพเช่นไทยเยอรมัน , โรงเรียนที่เด็กไม่ตีกัน
หรือหลังเลิกเรียนก็เปลี่ยนชุดโรงเรียนเอา หรือเรียนอี เลินนิ่ง แล้วทำงานไปด้วย
ซึ่งมีทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะได้ทักษะชีวิตมากกว่า

อย่าลืมว่า หากลูกจะเข้ามหาลัยเราต้องเสียเงิน กวดวิชา ต้องมุมานะเรียนให้ดีๆทั้งสามปีในม.4-6
ต้องเครียดกันทั้งครอบครัว เพราะต้องหาเงินเรียนพิเศษ ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า แล้วลูกเราได้อะไร
เพื่อเพิ่มสติปัญญา ที่ เป็นทุนในการประกอบอาชีพหรือไม่ คิดเป็นมากขึ้น หรือไม่
วิชาที่เรียนนั้นทุกวิชา มีประโยชน์อย่างไรต่อลูกเรา

หรือยิ่งทำให้ไอคิวลดลง อย่าลืมคิดถึงข้อนี้ให้ได้ แล้วท่านจะได้ไม่เสียค่าโง่
ซื้อความโง่ให้ลูกเราเอง

2 พ่อแม่ต้องสอนทักษะชีวิตให้ลูก ทักษะชีวิตคือ ประสบการณ์ หรือความเป็นจริงที่คนจริงๆต้องเผชิญ
หรือต้องทำเป็น ยกตัวอย่างง่ายๆ ทักษะในการเดินทาง ขึ้นรถเมย์ รถไฟฟ้า ทักษะในการทำอาหาร
ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ทักษะในการป้องกันตนเองจากภัยต่างๆ รอบตัว
ต้องรู้ว่าโลกภายนอกมีอะไรต้องระวัง โดยเฉพาะเด็ก หญิง ทักษะด้านการเอื้ออาทร ฯลฯ

3 อย่าเน้นการแข่งขันคะแนน หรือเกรด เพียงอย่างเดียว แต่ดูว่าลูกได้อะไรเมื่อไปโรงเรียน


4 ให้ลูกหัดทำงานตามวัย ในวัยรุ้นให้ช่วยงานธุรกิจพ่อแม่ หรือ รับจ้างหาเงินใช้เองบ้าง
เพื่อฝึกทักษะในการทำงาน การอดทน การใช้เงิน ฯ


ด้วยความปรารถนาดี
พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธุศรี

โดย : renovatio Member   [ 24/12/2010, 10:15:38 ]

4

วิธีเพิ่มไอคิว 20 กค, 46

ช่วยดูแล และทำได้ตั้งแต่แรกเกิดจนเป็นเด็กโต ได้แก่
1 Interaction การมีปฏิสัมพันธ์ สัมพันธภาพที่ดี กับผู้เลี้ยงดู บุคคลใกล้ชิด

2 Touch การสัมผัส โอบอุ้มในเด็กเล็ก ด้วยความรัก ความเมตตา
ในเด็กโตก็ให้ความรักความอบอุ่น เด็กทารกที่เรียนรู้การสัมผัส การอุ้มที่กระแทกกระทั้น
หรือปล่อยให้เขาร้องไห้นานเกินไป เขาก็จะเรียนรู้ความรุนแรง ความไม่มั่นคง ปลอดภัยในชีวิต
มีผลต่ออารมณ์เขาเมื่อโตขึ้น

3 Stable Relation ship ความสัมพันธ์ที่สม่ำเสมอ จะทำให้เด็กรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง

4 Safe, healthy environment สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สมบูรณ์ มีความสุขได้แก่
- เด็กได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เครียด ไม่มีแรงกดดัน เช่นพ่อแม่มีอารมณ์ดี
ไม่เครียด หรือไม่ใช้อารมณ์ หรือการกระทำที่รุนแรงต่อเด็ก และไม่ทะเลาะหรือตีกัน หรือพูดคำหยาบ
ให้เด็กเห็น ไม่คาดหวังจากลูกสูงเกินไป เพราะจะกดดันเด็กทำให้เขาเครียดได้
- สถานที่ปลอดภัย
- สิ่งแวดล้อมไม่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ จากสารตะกั่ว ปรอท หรือควันบุหรี่

5 Self esteem การมองเห็นคุณค่าของตนเอง ได้จากการที่เด็กได้รับคำชมเชยอยู่เสมอ
เด็กได้ทำอะไรแล้วสำเร็จด้วยตัวเอง ได้รับการยกย่อง ไม่ถูกตำหนิ หรือด่าบ่อยๆ
คำด่าเด็กทำให้เด็กรู้สึกไม่มีค่า ด่าบ่อยๆเด็กคิดฆ่าตัวตายติดยาเสพติดได้

6 Quality care การเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ
จากการที่ผู้เลี้ยงดูต้องมีความรู้ในการพัฒนาเด็กที่ถูกต้อง เช่นการให้อาหารที่ถูกหลัก ครบถ้วน
การให้ความรัก ความอบอุ่นที่สม่ำเสมอ การให้โอกาสเด็กได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ทางด้านต่างๆ ในชีวิต
ที่ไม่ใช่เพียงแต่วิชาการอย่างเดียว

7 Communication ความสามารถในการสื่อสาร พบปะผู้คนที่หลากหลาย
เด็กทารกที่พี่เลี้ยงไม่ค่อยพูด จะทำแกพูดช้า หรือเด็กที่ผู้เลี้ยงดูพูดหลายภาษา ก็จะพูดช้า
เพราะเด็กจะรู้สึกสับสน

8 Playing & Activity&Working การเล่น การทำกิจกรรม การช่วยเหลือตัวเองตามวัย การทำงาน
ได้ฝึกทักษะที่มากมาย ไม่ว่าการพัฒนากล้ามเนื้อ การเจริญเติบโต การสร้างไหวพริบ จินตนาการ
การสร้าง กลยุทธ์ต่างๆ การวางแผน การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น จากการที่เด็กได้เล่น การทำกิจกรรม
และการทำงาน ยิ่งได้ทำเป็นกลุ่มหรือกับเพื่อนๆ ยิ่งมีประโยชน์มาก

9 Music ให้เด็กได้ฟัง ดนตรี เพลง และการแสดงออกทั้งการเต้น การร้องเพลง ช่วยให้ใยประสาท
เจริญเติบโต สมองได้รับการพัฒนา

10 Reading การอ่าน
การอ่านให้เด็กฟังมีอิทธิพลอย่างมากต่อชีวิตเด็กทารก
ยิ่งอ่านให้เด็กฟังมากยิ่งเกิดการเจริญเติบโตของสมองที่พัฒนาด้านการฟัง การพูด (ในเด็กทารก )
การอ่านบ่อย ๆ ซ้ำ ๆ ทำให้เด็กพูดได้เร็วขึ้น รวมทั้งการชี้รูปภาพในหนังสือให้เด็กเห็นบ่อยๆ
ในเด็กโตก็ให้เขาอ่านเอง ตามเรื่องที่เขาชอบ โดยไม่ใช่เป็นการบังคับ ( ทำอะไรกับเด็กก็แล้วแต่
พยายามพูดคุยกันถึงเหตุผล ที่ต้องทำ พยายามหลีกเลี่ยงการสั่งบังคับจากผู้ใหญ่เพียงฝ่ายเดียว
รับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน
และที่สำคัญผู้ใหญ่ต้องมีเวลาสังเกตสีหน้าเด็กว่ามีความไม่สบายใจอะไรหรือไม่ ทุกวัน
และสังเกตพฤติกรรมเขาด้วย เพื่อป้องกันการติดยาเสพติดและฆ่าตัวตาย)

11 Sleeping การนอนหลับ ที่เพียงพอ จะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตดี เด็กที่นอนไม่พอ
อารมณ์จะหงุดหงิด ความสามารถในการเรียนรู้จะลดลง มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย

12 Proper Response การตอบสนองที่เหมาะสม ในทารกควรตอบสนองทันทีที่เขาร้องไห้ แต่ในเด็กโต
อาจจะต้องฝึกให้เขาหัดรอคอย หรือรับรู้ความผิดหวังบ้าง

13 Nutrition อาหารที่มีประโยชน์ อย่างเพียงพอครบถ้วน โดยเฉพาะธาตุ เหล็ก แคลเซี่ยม ไอโอดีน
โฟลิค โปรตีน วิตามิน บี ได้แก่พวกปลา ถั่วต่างๆ เครื่องในสัตว์ หอยแคลง งาดำ ถั่วแดงหลวง
ถั่วเหลือง นม ไข่ ผัก ผลไม้ต่างๆ อาหารครบห้าหมู่
การเพิ่ม IQ ( Dr.Jone Payne)
- .ให้วิตามินรวมและเกลือแร่ วิตามิน C B
- เพิ่มการกินผัก-ผลไม้
- กินอาหารไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง แทนขนมปัง/ข้าวขาว
- การจำกัดการกินของหวานโคก คุกกี้ เค้ก ไม่มาก/น้อยเกินไป

14 Experiance : มีประสบการณ์ สัมผัสคน สิ่งของ การงาน กิจกรรม ที่หลากหลาย
ทำให้สมองถูกกระตุ้นการทำงาน ได้หลากหลายหน้าที่ ไม่ว่าด้านไหวพริบ จินตนาการ การรู้หลบหลีก วางแผน
ฯลฯ
นึกภาพในการเขียนคำหรือภาพในแผ่นหลังของร่างกาย ของอีกฝ่าย

16 Exercise การออกกำลังกายทำให้สารเคมีที่ดีในสมองหลั่ง ทำให้สมองและร่างกายเจริญเติบโต
ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคต่างๆง่ายๆ

17 Education การศึกษาที่เน้นการสร้างกระบวนการคิดมากกว่าการให้จำเนื้อหาสาระ มากมายซ้ำซาก
รวมถึงการมีกิจกรรมต่างๆ

หมายเหตุ ทำอะไรก็แล้วแต่ต้องกระตุ้นสมองให้ได้ใช้งานทุกๆส่วน
และพยายามอย่าให้เด็กรู้สึกเครียด หรือมีความทุกข์ แต่ให้เด็กมีความสุข
เพราะความเครียด ความทุกข์ ความกดดัน การขาดความรัก มีผลต่อการเจริญเติบโต และการทำงานของสมอง
เคยมีการทดลองที่มหาวิทยาลัย Yale ในอเมริกา ได้ผ่าสมองเด็กในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า
พบว่าสมองเล็กกว่าเด็กปกติ20-30% และอีกวิจัยหนึ่งได้มีการทดลองวัดกระแสไฟฟ้า( PET SCAN)
เด็กกำพร้าในสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า พบว่าไม่มีการทำงานของสมองส่วนที่เกี่ยวกับความคิด
การตอบสนองทางด้านอารมณ์ เนื่องจากเด็กเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับการกระตุ้น สมองและขาดความรักความอบอุ่น


สมองส่วนไหนที่ไม่ถูกใช้ หรือไม่เคยถูกกระตุ้น นานๆ สมองส่วนนั้นจะ สูญเสียการทำงานไป
เรียกว่า Neural Pruning :Diamond & Hopson 1998
เข้าได้กับเด็กไทยที่ไม่ค่อยให้เด็กได้ใช้ความคิด แก้ปัญหา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์
แต่เราจะกระตุ้นเฉพาะเรื่องความรู้ความจำเสียมากมาย ซึ่งถ้าไม่ได้เรียนความรู้นั้น2-3 ปีก็ลืมหมด
ทำให้เด็กไทยถึงมีไอคิวต่ำลง จากการวิจัยของคุณหมอหลายคน
การวัดไอคิวเด็กส่วนหนึ่งมาจากการให้คิดแก้ปัญหา เพราะฉะนั้นเราควรหันมาช่วยสร้างเด็กไทยเรากันใหม่
ยังไม่สายเกินไป

โดย : renovatio Member   [ 24/12/2010, 10:17:53 ]

5

สรุปปัจจัยที่มีผลต่อสมอง
สมองเจริญเติบโตดี (ไอคิวสูง ฉลาด)
(โดยเฉพาะก่อนวัยรุ่น)
- การได้ทำกิจกรรมกลุ่ม งานโรงเรียน
- มีปฏิสัมพันธ์กับสังคม
- ช่วยเหลือตัวเอง/ได้ทำงานด้วยตนเองตามวัย ช่วยงานพ่อแม่ ทำงานหาเงินใช้เองบ้าง.ในวัยรุ่น
- ได้ทำหรือเรียนสิ่งที่ชอบ
- ได้รับคำชมเชยเสมอ
- ความรักความอบอุ่นจาพ่อแม่/ผู้ใกล้ชิด
- ศิลป ดนตรี กีฬา ออกกำลังกาย ร้องเพลง ตามความชอบและอิสระ ไม่ใช่ท่องทฤษฎี
- มองตนเองในแง่บวก
- ได้คิดจินตนาการ เช่น การฟังนิทาน
- เป็นคนยืดหยุ่น
- สัมผัสของจริง ทัศนะศึกษา
- อาหารครบห้าหมู่ โดยเฉพาะปลา ถั่วเหลือง
ธาตุเหล็ก ไอโอดีน วิตามิน บี
- การละเล่นต่าง ๆ เล่นกับเพื่อน ๆ เล่นหมากรุก จิกซอ เกมส์เศรษฐี เกมส์สร้างกลยุทธ์ หมากล้อม
- ออกกำลังกายเพิ่มอ๊อกซิเจนไปสมอง
- ได้รับการศึกษาที่เหมาะสม สร้างกระบวนการคิดมากกว่าเน้นความจำซ้ำซาก มีเวลาให้เด็กฝึกคิด


โดย : renovatio Member   [ 24/12/2010, 10:19:20 ]

6

สมองไม่ได้พัฒนา ไอคิวลดเมื่อ

1 ความเครียดนาน ๆ จากสาเหตุ
- ทำงาน/เรียนหนัก บ้างาน การบ้านมาก
- ถูกบังคับให้เรียนหรือทำงานในสิ่งที่ไม่ชอบ
- ถูกดุด่าทุกวัน
- ขาดความรัก ความอบอุ่น
- ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อน
- เข้มงวดเกินไป
- มองตนเองในแง่ลบ
- วิตกกังวลมาก นานๆ
2 สมองไม่ได้ถูกกระตุ้นหรือถูกใช้เลย เช่น
การคิดจินตนาการ ความคิดแปลกแตกต่าง ๆ
คิดแก้ปัญหา
3 ความกังวล โกรธ ความแค้น ทุกข์มากนาน ๆ
4 ขาดสารอาหาร
5 ได้รับสารพิษเช่น สารตะกั่ว ยาเสพติด เหล้า ฯลฯ
(ความเครียดนาน ๆ จะยับยั้งการเรียนรู้
ทำลายสมอง เกิดโรคมะเร็ง ภูมิแพ้ โรคหัวใจ SLE
โรคกระเพาะ ฯลฯ: Khalsa1997, Jensen1998)

โดย : renovatio Member   [ 24/12/2010, 10:20:38 ]

7

ผู้ copy paste ไม่ได้เป็นคนเล่นหมากรุกเก่ง

ไม่ได้เป็นผู้รู้ในแวดวงการศึกษา

ไม่ได้เป็นอะไรเลย แต่คิดว่าหมากกระดานทุกประเภท

น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีทางเลือกหนึ่ง ในการพัฒนาไอคิวเด็กไทย

และ เป็นกิจกรรมทางเลือกหลังเวลาเรียน

หรือวิชาเสริมในการเรียน เพื่อพัฒนาระบบการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์

ตอบโจทย์การปฏิรูปการศึกษาไทย

สหายหมากกระดานหลุดโลก คิดเห็นอย่างไร

ก็แสดงความเห็นกันได้อย่างกว้างขวางครับ

โดย : renovatio Member   [ 24/12/2010, 10:42:31 ]

8

ในส่วนหมากกระดาน เป็นองค์ความรู้หรือศาสตร์แขนงหนึ่งนะครับ ตามสายตาของผม
ยิ่งในต่างประเทศผู้มีทักษะทางนี้สามารถประกอบอาชีพได้ หรือมีวงการ มีที่ยืนในสังคม
แสดงว่าภาพลักษณ์ของหมากกระดานในทย กับต่างประเทศน่าจะแตกต่างกัน
โจทย์จึงน่าจะเป็นว่า เราต้องให้ข้อมูล กับสังคมไทยว่าในสังคมโลกเขาใช้หมากกระดานทำอะไรกันได้มั่ง
และสังคมไทยทำกันได้ถึงจุดไหน
2 อยากให้ลงเรื่องการปฎิรูปการศึกษาไทย นโยบายของรัฐ ให้ประชากรทุกส่วนในสังคมไทยทราบ
เราจะได้ทราบทิศทาง นโยบาย จากส่วนกลาง จะได้ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ส่งเสริม ต่อยอดไปในทิศทางเดียวกัน

โดย : hoygear26 Member   [ 10/01/2011, 07:35:19 ]

9

ระดมสมองเพิ่มไอคิว–อีคิวแก่เยาวชน แนะบูรณาการแก้ปัญหาอย่างถูกต้อง
.......ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสาธารณสุข วุฒิสภา และคณะอนุ
กมธ.พิจารณาศึกษาปัญหาสุขภาพของคนไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ใน กมธ.สาธารณสุข
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. จัดเสวนา “สุขภาวะของเด็กไทย :
การพัฒนาทางสติปัญญาเพื่อก้าวไปสู่โลกแห่งการแข่งขัน”

อ่านทั้งหมดได้ที่ http://www.thaipost.net/x-cite-kidz/031112/64613

โดย : ขุนสันต์ Member   [ 16/11/2012, 10:00:05 ]

 
  E-mail: webmaster@thaibg.com Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved  
 
  Sponsors