[ กลับหน้าหลัก ]


แข่งระบบสวิส ระบบไม่ดีหรือกรรมการไม่ดีคับช่วยบอกหน

ผมว่าแข่งระบบสวิสไม่ดีเลย เพราะกรรมการช่วยได้ดิคั
บแล้วมีกติกาชนะบายไทเบคดีกว่าคนที่มี่คู่แข่งด้วยหรอคับ

โดย : มกรคับ Member [ 05/08/2008, 19:39:44 ]

1

เวลาจัดการแข่งขัน ผู้จัดจะคิดหาระบบที่เหมาะสมที่สุดมาจัดรูปแบบ โดยมีเงื่อนไขจาก จำนวนผู้เล่น
ระยะเวลารวมที่จะเป็นช่วงแข่งขัน ความชอบและไม่ชอบของผู้จัด รวมทั้งการจะเข้าข้างผู้แข่งขันบางท่าน
ก็เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นเหตุผลนำมาพิจารณา
แต่ไม่ว่ารูปแบบใด ผู้ที่ฝีมือดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดมักจะเป็นผู้ชนะในการแข่งขันนั้นๆ

อันนี้ต้องมีคำว่าเหมาะสมที่สุดด้วย เพราะผู้จัดแข่งบางท่านอาจชอบการตัดสินจากการกระทำครั้งเดียว
บางท่านก็ชอบให้มีการแก้ไขข้อผิดพลาดได้บ้าง(แต่ก็มีขอบเขตจำนวนครั้งให้แก้ไข)
ดังนั้นผมคิดว่าผู้จัดคงพิจารณาดีอยู่แล้ว หากเราไม่ชอบระบบก็ไม่ต้องเข้าร่วมแข่งขัน
หากเราจะเข้าร่วมแข่งขันก๊ต้องยอมรับกติกา

โดย : นาคราช99 Member   [ 06/08/2008, 08:27:18 ]

2

การเเข่งขันระบบสวิส เเพริ่ง คนทํา มีหน้าที่..ป้อนข้อมูล..(ใครเเพ้ ใครชนะ)ใส่ลงไป
เเล้วเเพริ่งออกมา (โปรเเกรมจับคู่ให้) กรรมการไม่ได้ยุ่งกับระบบ.. ส่วนคะเเนนเท่ากันก็ดูไทเบรค
..1..2..3ไล่ตามลําดับ (โปรเกรส..บูชโช..เบอเกอร์) เช่นเเพ้ ..ชนะ กระดานที่เท่าไร
เเพ้..ชนะคู่ต่อสู้ที่เเข็งเเกร่งมั๊ย กรณี ชนะบาย ไทเบรคเราก็ไม่ดี เพราะคะเเนนสะสมเราได้น้อย
...ข้อดี...ของระบบสวิส คือ..ได้เเข่งหลายรอบ ทําให้เเก้ไขเราได้..ไม่มีหมากป้อง ..คนจัด
ควบคุมเวลาได้..คู่เเข่งฝีมือใกล้เคียงกัน...อื่นๆ

โดย : ประกายดาว Member   [ 06/08/2008, 13:54:27 ]

3

การแข่งขันมีหลายระบบ เช่น

1. ระบบแพ้คัดออก หรือระบบน็อคเอ๊าท์ ข้อเสียก็คือผู้เข้าแข่งขันส่วนใหญ่มีโอกาสเล่นแค่เกมเดียวหรือ 2-3
เกมก็ต้องออกจากการแข่งขันแล้ว

2. ระบบแบ่งกลุ่ม พบกันหมดในกลุ่ม แล้วเอาผู้ชนะของแต่ละกลุ่มมาแข่งแบบน็อคเอ๊าท์

3. ระบบสวิสดีที่ผู้เล่นทุกคนมีโอกาสได้เล่น 7 หรือ 8 รอบเท่าๆกันและพร้อมๆกัน
คนที่ชนะเลิศมักเป็นคนที่เหมาะสมชนะเลิศมากที่สุด
เป็นระบบที่นิยมใช้ในการแข่งหมากรุกสากลมากที่สุดในกรณีที่มีจำนวนผูเข้าแข่งขันเยอะๆ

ปัญหาของระบบสวิสอยู่ที่การเลือกระบบไทเบรก ซึ่งมีหลายระบบ
อยากให้ผู้บริหารสมาคมหมากรุกแห่งประเทศไทยศึกษาและเลือกระบบไทเบรกที่ทางสหพันธ์หมากรุกโลกใช้เป็นประจำ
เช่น ในการแข่งระดับโลก อย่าไปเปลี่ยนระบบไทเบรกบ่อยๆตามอารมณ์ของกรรมการจัดการแข่งขัน

โดย : poedmak Member   [ 06/08/2008, 18:27:43 ]

4

มีกติกาที่ว่าชนะบายได้ไทเบรกดีกว่าที่มีคู่แข่งขันด้วยหรอคับ

โดย : มกรคับ Member   [ 07/08/2008, 04:13:43 ]

5

ระบบสวิส ผมเห็นมีข้อเสียอยู่เรื่องเดียว คือคนเก่งอาจจะไม่ได้แชมป์
ดูจากการที่บุญสืบแข่งแบบสวิสแล้วผลเป็นอย่างไร การแข่งแบบสวิสถ้าคู่ต่อสู้มีฝีมือใกล้เคียงกัน
คนที่เก่งกว่าจะเสียโอกาส เพราะว่าฝ่ายที่เป็นรองรู้ว่าสู้ไม่ได้จ้องหาเสมออย่างเดียว
แถมหลบก็อาจเสียตำแหน่งหมากดีๆ ถึงอาจแพ้ได้ เพราะฉะนั้นการแข่งแบบสวิส
ถ้าฝีมือไม่คมจัดจริงๆก็จะไม่เป็นต่อคนอื่น และก็อาจจะไม่ได้แชมป์
รู้สึกว่าการแข่งขันทั่วๆไป เริ่มเอาวิธีการแข่งแบบสวิสมาใช้มากขึ้นเรื่อยๆ
เท่ากะเป็นการช่วยเหลือฝ่ายที่เป็นรอง กรณีผู้ที่ไม่สันทัดหมากรุกก็อาจจะงง
ทำไมคนเก่งถึงไม่ได้เป็นแชมป์ ฉนั้นผู้ที่ไม่เชี่ยวชาญหมากรุก
อย่าคิดว่าคนที่เป็นแชมป์ในระบบสวิสจะเก่งที่สุด ถ้าสู้กันแบบแพ้คัดออกแล้วได้แชมป์นี่แหละชัดเจน
มีฝีมือจริง

โดย : ตาสา Member   [ 07/08/2008, 13:18:01 ]

6

ไม่เห็นด้วยกับ คห.5 ครับ

บุญสืบไม่ได้แช้มป์เพราะแพ้ป๋องครับ ทั้งที่บุญสืบได้หมากขาว

ป๋องเหมาะสมเป็นแช้มป์เพราะเป็นผู้เล่นคนเดียวที่ไม่แพ้ใครเลย แถมชนะบุญสืบด้วย

ปกติในระบบสวิสนี่ตำแหน่งแช้มป์จะชัดเจนครับ ส่วนตำแหน่งรองๆลงไปไม่ชัดเจนเท่าไหร่
แต่ก็เป็นระบบที่ดีที่สุดถ้ามีผู้เข้าแข่งเยอะๆ เพราะทุกคนได้แข่ง 7-8 รอบเท่าๆกัน

ผมไม่ชอบการแข่งแบบน็อคเอ๊าท์ เพราะถ้ามีผู้เล่น 64 คน
- 32 คนได้เล่นแค่รอบเดียว
- 16 คนได้เล่นแค่ 2 รอบ
- 8 คนได้เล่นแค่ 3 รอบ
- 4 คนได้เล่น 4 รอบ

จะเห็นว่า 60 คนได้เล่นไม่เกินคนละ 3 รอบเท่านั้น
ไม่ได้ส่งเสริมให้คนส่วนใหญ่มีโอกาสเล่นหมากรุกหลายๆกระดานในการแข่งขันนัดใหญ่ๆ

โดย : poedmak Member   [ 07/08/2008, 15:37:34 ]

7

ระบบการแข่งขันแบบสวิสเมื่อนำมาใช้กับหมากรุกไทย
มีข้อขัดข้องอยู่ อาทิ
1.หมากรุกไทยมีโอกาสเสมอสูงมากกว่าหมากรุกสากล
2.หมากรุกไทยยังไม่ได้จัดเรตติ้งที่ชัดเจน
3.บางครั้งผู้จัดหรือกรรมการ เปลี่ยนแปลงวิธีการเล็กๆน้อยๆ เช่น
สุ่มชื่อรอบแรก-แล้วให้มีการจับขาวดำ-ว่าใครขึ้นก่อน-หลัง อันจะมีผลในรอบต่อๆไป
4.ลำดับในการนั่งโต๊ะ-อาจส่งผลให้ผู้แข่งขันเข้าใจผิดได้..อันเนื่องมาจากข้อ 2.
--ส่วนโอกาสในการได้เข้าร่วมแข่งขันมากขึ้นนั้นก็เป็นข้อดีอย่างที่ว่า
ปัญหามักจะมาเกิดเมื่อผู้แข่งขันมีโอกาสลุ้นรางวัลหรือลุ้นอันดับ
--เข้าใจว่าผู้รู้จะสามารถอธิบายสิ่งเหล่านี้ได้....ผมประมวลจากการได้
พูดคุยอยู่บ้าง...มิได้ทราบถึงข้อเท็จจริงในข้อจำกัดต่างๆชัดเจนนัก
ถ้าไม่ถูกต้อง..ก็ขออภัยผู้ดำเนินการจัดแข่ง...ประเด็นใหญ่ของหมากรุกไทยน่าจะอยู่ ข้อที่ 1.

โดย : วิหค10ตัว Member   [ 07/08/2008, 17:46:55 ]

8

ผมนึกว่ากระทู้นี้เกี่ยวกับหมากรุกสากลซะอีก เพราะเพิ่งแข่งหมากรุกสากลชิงแชมป์ประเทศไทย 2551 จบไปหยกๆ
(17-20 ก.ค.) และบุญสืบได้ที่ 4 โดยแพ้ป๋อง (ในรอบที่ 7) ซึ่งเป็นแชมป์

ความจริงการแข่งหมากรุกสากลระดับแกรนด์มาสเตอร์ก็มักเสมอกันเป็นส่วนใหญ่ครับ มากกว่าผลแพ้ชนะ

โดย : poedmak Member   [ 07/08/2008, 20:49:52 ]

9

ขอให้กรรมการช่วยส่งใบคะแนนให้หน่อยคับ

โดย : เติมโคน Member   [ 08/08/2008, 00:01:10 ]

10



ผลการแข่งขันรอบคัดเลือกกรุงเทพฯและปริมณฑล 2551 รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี

โดย : Teamwork Member   [ 08/08/2008, 08:57:21 ]

11

อืมมม
อันดับ 1 และ 2 คะแนนเท่ากัน
ไทเบรคก็น่าจะเท่ากันที่ 14 แต้ม (ตามการคำนวณแบบงูๆปลาๆ)
อันดับของคู่แข่งขัน ของณัฐ ก็น่าจะดีกว่าได้ แข่งกับ ที่ 4 ,6,13 18
ทินกฤต แข่งกับ 5 ,8,20,30
ดูแล้ว ณัฐ น่าจะได้แชมป์ นะครับ

แต่ทำไมไม่ได้แชมป์
ผู้รู้กติกา ชี้แจงกติกาด้วยครับ
สงสัยจริงๆเพราะความรู้น้อย

โดย : น้ำตาควาย Member   [ 08/08/2008, 09:29:24 ]

12

ดูคะแนนไม่เห็นรู้เรื่องเลย ใครช่วยบอกที

โดย : โมโหนะ Member   [ 08/08/2008, 11:45:59 ]

13

ช่วยอธิบายหน่อยดิว่าที่1 และ 2 คะแนนเท่ากัน
แล้วเอาอะไรตัดสินว่าใครได้ที่1 และ 2 งง
งง งง งง แล้วการที่ชนะบายในรอบแรก ทำไมถึงดีกว่า
คนที่ลงแข่งแล้วชนะ งง งง งง ถ้าบอกว่าชนะบายดีกว่า
อย่างนี้เวลาลงแข่งก็ให้เดินกันไปก่อนถ้าใครแพ้ก็ไม่ต้องเซ็นชื่อให้กลายเป็นว่าชนะบายมาไม่ดีกว่ารึไง งง
งง งง
กรรมการตอบทีนะครับ

โดย : งงไม๊ Member   [ 08/08/2008, 11:52:48 ]

14

ไม่มีหรอกครับ ชนะบาย แล้วไทเบรคดี คะแนนไม่ดีต่างหาก สู้คนที่เขาแข่งแล้วชนะไม่ได้

โดย : ประกายดาว Member   [ 08/08/2008, 15:21:53 ]

15

ต้องถามกรรมการแล้วแหละครับ

ว่านอกจาก Progressive แล้ว
กรรมการใช้ Tie-break แบบไหน เป็น Tie-break ตัวที่ 2 ที่ 3 ในการตัดสิน

โดย : 000000001 Member   [ 09/08/2008, 04:24:01 ]

16

เจ้าของกระทู้มีสิทธิ์แนะนำ หรือเสนอให้ผู้จัดการแข่งขันปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงระบบจัดการแข่งขัน
แต่ถ้าเขาตกลงว่าจะจัดแบบนี้แล้วคุณไม่พอใจก็อย่าไปแข่ง แต่ถ้าออกมาบ่นว่าระบบไม่ดี
เพราะคิดไปคิดมาแล้วตัวเองเสียประโยชน์ก็ไม่ควร เพราะเท่ากับไม่มีน้ำใจนักกีฬา

ในเมื่อมันไม่มีระบบการแข่งขันใดที่จะสมบูรณ์แบบที่สุด
ระบบสวิสก็ยังเป็นที่นิยมสูงสุดในวงการหมากรุกสากล และหมากรุกไทยก็ยังไม่มีใครหาระบบอะไรที่ดีกว่าได้
ในการแข่งขันหมากรุกสากลของเยาวชนมีผู้ปกครองนักเรียนคนหนึ่งออกมาโวยวาย
โทษระบบเพราะว่าลูกของเธอพลาดรางวัล แต่พอปีต่อมาลูกเธอชนะด้วยการนับ Tie break
และได้ไปแข่งในนามทึมชาติ เธอกลับมาชื่นชมการจัดการแข่งขัน เจ้าของกระทู้ก็คงแบบนี้ละมั้ง

โดย : Cumming Member   [ 09/08/2008, 13:17:00 ]

17

ผมว่า คุณประกายดาวและคุณCumming
ลองดูตารางผลการแข่งขันด้านบนแล้ววิเคราะห์ให้เห็นชัดเจนหน่อย-ก็น่าจะดีกว่ามาให้ความเห็นลอยๆ นะครับ -
อยากรู้ว่า ที่ 1 กับ ที่ 2 (ตามตาราง)-ใช้วิธีใด-ในแง่ของการคิดไทเบรก-

โดย : tussan Member   [ 11/08/2008, 13:02:24 ]

18

ถ้าคำนวณSOS ธรรมดา 2น่าจะชนะ

สงสัยว่าจะใช้วิธีนับกระดานที่ถือดำ ขาวเข้ามาเกี่ยวข้อง
ไม่แน่ใจว่าตารางข้างบนตัวเข้มถือขาวหรือถือดำ
ถ้าตัวเข้มถือขาวก็น่าจะใช่

วิธีที่ดีที่สุดนะครับ
ก็อปปี้เอาระเบียบการแข่งขันมาดูดีที่สุด

โดย : pml Member   [ 14/08/2008, 08:56:18 ]

19

มีโอกาสเป็นไปได้สูงว่าจะใช้ไทเบรคแบบที่คุณ pml ว่า..

เพราะโปรแกรมนี้ผมคุ้นเคยมานาน จึงสามารถตอบคุณ pml ได้ว่า ตัวเข้มคือเกมที่เล่นเป็นหมากขาวครับ

โดย : 000000001 Member   [ 14/08/2008, 20:29:32 ]

20



คะแนนBuchholz แบบนี้เป็นแบบที่ใช้อยู่ในโปรแกรมswiss perfect และ swiss manager

โดย : Teamwork Member   [ 25/08/2008, 02:51:52 ]

21

กระจ่าง ครับท่าน

โดย : น้ำตาควาย Member   [ 25/08/2008, 06:54:15 ]

22

ผมว่าก่อนแข่งควรจะมีการอธิบายระบบคิดคะแนนให้ชัดเจน

โดย : ไร้ปรานี Member   [ 25/08/2008, 14:30:12 ]

23

ผมว่าก่อนแข่งควรจะมีการอธิบายระบบคิดคะแนนให้ชัดเจน

โดย : ไร้ปรานี Member   [ 25/08/2008, 14:34:06 ]

24

ผมว่าก่อนแข่งควรจะมีการอธิบายระบบคิดคะแนนให้ชัดเจน

โดย : ไร้ปรานี Member   [ 25/08/2008, 14:34:06 ]

25



อันนี้เป็นอันที่ปิดในรอบชิงชนะเลิศปีที่แล้ว

โดย : Teamwork Member   [ 26/08/2008, 07:30:30 ]

26

ยังงงอยู่ดี ทำไมถึงให้คนที่บายไม่มีการแข่งเสมือนว่าเสมอทุกกระดาน งง งง งง ทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ
ถ้าไม่มาแข่งเลยมีค่าเท่ากับ 2.5

โดย : งงไม๊ Member   [ 02/09/2008, 19:10:36 ]

27

ผมอยากได้โปรเเกรม หาได้ที่ไหนครับ
จะขอมาเพื่อนำมาจัดการเเข่งขันที่เชียงรายครับ
ใครมีช่วยจัดส่งให้มาที จักขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง
เก้าพร

โดย : เก้าพร Member  -  [ 03/09/2010, 13:58:58 ]

28

เข้าไปดาวน์โหลด เวอร์ชั่น ใช้ 30 วันได้ที่ www.swissperfect.com
หรือท่านใดมีโปรแกรมอื่นที่ดีกว่านี้ ช่วยแนะนำเพิ่มเติมให้ด้วยครับ

โดย : ขุนสันต์ Member   [ 03/09/2010, 16:33:04 ]

29



เรียน คุณขุนสันต์ด้วยความเคารพนะครับ ตามที่คูณได้แนะนำผมให้มาดูวิธีคิด tie-Break แบบ Buchholz
ในกระทู้นี้ ผมอ่านซ้ำแล้วซ้ำเล่าก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เพราะว่าผมเคยใช้แต่ Minor scores
ไม่เคยศึกษาเกี่ยวกับกรรมการฝรั่งที่ติดมากับโปรแกรมเพื่อนำมาตัดสินในกรณีที่นักกีฬามีคะแนนเท่ากัน
ผมไม่เข้าใจคำว่า เสมือน นะถ้าได้ยินทีไรก็นึกถึงตอนเขา ตีความฝันใบ้หวย
ผมถามเขาว่าผมฝันเห็นหทารจะตีเป็นเลขอะไร อาจารย์เขาบอกว่าจะตีเป็น 5 ก็ได้หรือ 6 ก็ได้
อือจะเอาเลขไหนกันแน่ แล้วเลข 2.5 , 3.5 , 3 , 4.5 มาจากไหนคำนวนให้ดูเจ๋ง ๆ เลย ผมลองในโปรแกรม
Swiss perfect จริง ๆ ไม่เห็นมีเลขเหล่านี้เลย คงจะเสมือนมาหรือเปล่า
เอาละครับในการพูดคุยในครั้งนี้ถือว่าเป็นการส้มมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก็แล้วกัน
เรื่องที่สงสัยเหล่านี้ขอเก็บไว้ก่อนยังไม่ถาม ผมเองได้ทดลองแข่งขันนักกีฬาจำนวน 15 คน ก - ฐ
โดยโปรแกรม Swiss perfect ในการประกบคู่รอบแรกใช้ระบบเรียงตัวอักษร(ไม่ได้ใส่ Rating หรือ Title)
ก็จะได้การผลการประกบคู่ตามแผ่นที่โชว์ และได้ใส่ผลการแข่งขันรอบที่ 1
ลงไปแล้ว(ขอให้ผู้ที่จะตอบคำถามอลงไปเซ็ทในโปรแกรมด้วย)
คำถามคือ
1.คะแนนนักกีฬาชนะทำไม Buchholz ให้คะแนน 0 คะแนน สำหรับคนที่แพ้ทำไมได้ 1 คะแนน
2.ฐ ซึ่งได้ bye ทำไมได้คะแนน .5 คะแนน
เอาแค่นี้ก่อนถ้าตอบได้ก็จะมีคำถามไปเรื่อยจนถึงรอบสุดท้ายนะครับ
การสัมมนาครั้งนี้ก็ถือเสียว่าเป็นการเผยแพร่ความรู้ให้กับกลุ่มกรรมการผู้จัดแข่งและนักกีฬาทั่วประ
เทศได้ให้เข้าใจตรงกัน สำหรับบุคคลใดที่มีความรู้ในด้านนี้จะมาร่วมแจมก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
ขอขอบคุณครับ จาก สิงห์เคอาร์ jugudliang@yahoo.com

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 09/09/2010, 13:03:07 ]

30



หลังจากประกบคู่รอบที่ 2 และได้ผลแข่งขันตามที่โชว์ข้างบน คำถามคือ ก , ข และ ฆ
ต่างฝ่ายก็ชนะมาทำไม่ได้คะแนน Buchholz ไม่เท่ากัน ขอให้แสดงวิธีคำนวนให้ดูหน่อย
เอาแค่นี้ก่อน
ยังจะต้องตอบคำถามอีกหลายข้อเพื่อให้เกิดความกระจ่างกับกรรมการผู้จัดการแข่งขันและนักกีฬาทั่วประเทศ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 09/09/2010, 14:13:15 ]

31

ขอให้คุณ เก้าพร จากเชียงรายที่ผมได้จัดส่งโปรแกรมทั้ง swiss perfect และ swiss manager
ไปให้ได้กรุณาเซ็ตตามไปด้วยเลยนะครับ ใช้ swiss perfect นะครับ เดี๋ยวจะมีผู้รู้มาตอบให้
หวังว่าคงไม่นานนะครับ คุณขุนสันต์
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 09/09/2010, 19:53:30 ]

32



รอบ 1 นักกีฬาที่ชนะจะมี ไทเบรกแบบBuchholz เท่ากับ 0 เพราะBuchholz
คือผลรวมของคะแนนคู่ต่อสู้ของนักกีฬาคนนั้นๆ คุณชนะมา คู่ต่อสู้คุณก็ต้องมี 0 คะแนน คุณแพ้มา
คู่ต่อสู้คุณก็ต้องมี 1 คะแนน คุณเสมอมาก็ต่างฝ่ายก็มีคนะ 0.5 คะแนน เกมคู่ไหนที่ไม่มีการแข่งขัน
เวลาหาbuchholz ก็ให้ถือว่าเกมคู่นั้นเสมอกัน ฐ ได้บาย มีคะแนนจริงหนึ่งคะแนน
เนื่องจากไม่มีการแข่งขันเวลาหาBuchholz ของ ฐ ก็ให้ถือว่า ฐ เสมอมา

โดย : ขุนสันต์ Member   [ 10/09/2010, 01:23:07 ]

33



คะแนนไทเบรกแบบ Buchholz ของรอบที่ 2 ก็คือผลรวมของคะแนนคู่ต่อสู้ในรอบที่1 และรอบที่2
ของนักกีฬาคนนั้นๆ มีเมื่อจบรอบที่ 2

นาย ก มีคะแนนจริง 2 คะแนน มีไทเบรกแบบ Buchholz เท่ากับ คะแนนของคู่ต่อสู้ในรอบที่ 1 ของนาย ก +
คะแนนของคู่ต่อสู้ในรอบที่ 2 ของนาย ก
= คะแนนของเบอร์ 8 (นาย ฉ ) + คะแนนของเบอร์ 6 (นาย ง )

= (รอบ 1 นาย ฉ แพ้ นาย ก บวกกับ รอบ 2 นาย ฉ ชนะนาย ฌ ) + (รอบ 1 นาย ง ชนะ นาย ฎ บวกกับ
รอบ 2 นาย ง แพ้ นาย ก )
= ( 0 + 1 ) + ( 1 + 0 ) = 2

นาย ข มีคะแนนจริง 2 คะแนน มีไทเบรกแบบBuchholz เท่ากับ
คะแนนของเบอร์ 9 ( นาย ช ) + คะแนนของเบอร์ 15 (นาย ฐ )

= ( รอบ 1 นาย ช แพ้ นาย ข บวกกับ รอบ 2 นาย ช ชนะ นาย ญ ) + ( รอบ 1 นาย ฐ ได้ชนะบาย บวกกับ รอบ
2 นาย ฐ แพ้ นาย ข )

= ( 0 + 1 ) + ( 0.5 (เนื่องจากนาย ฐ ชนะบายเวลานำมาคิดหาไทเบรกแบบBuchholz ให้ถือว่าเสมอ
จึงมีเพียง 0.5 แทนที่จะเป็น 1) + 0 )

= 1.5


นาย ฆ มีคะแนนจริง 2 คะแนน มีไทเบรกแบบ Buchholz เท่ากับ

คะแนนของเบอร์ 12 (นาย ญ ) + คะแนนของเบอร์ 4 (นาย ค เบอร์ 4 )

= (รอบ 1 นาย ญ แพ้ นาย ฆ บวกกับ รอบ 2 นาย ญ แพ้ นาย ช ) + (รอบ 1 นาย ค เบอร์ 4 เสมอ นาย ฌ
บวกกับ รอบ 2 นาย ค เบอร์ 4 แพ้ นาย ฆ )

= (0 + 0 ) + ( 0.5 + 0 )

= 0.5



โดย : ขุนสันต์ Member   [ 10/09/2010, 03:42:42 ]

34



สองรอบผ่านไปคุณเก้าพรก็คงเคลียร์นะครับ
มาถึงรอบสามก็ต้องขอคำนวนคะแนน Buchholz
อยู่ดีเพราะจะได้เป็นแบบอย่างให้กับกรรมการผู้จัดและนักกีฬานำไปศึกษา
มีคำถามเพิ่มเกี่ยวกับวิธีการประกบคู่ในรอบ 3 นี้ คือ ถ้าย้อนไปกลับไปดูตารางคะแนนในรอบที่ 2
ซึ่งจะต้องประกาศให้นักกีฬาได้ตรวจสอบความถูกต้อง จะเห็นได้ว่ามีนักกีฬา 2 คะแนนอยู่ 3 คนคือ ก,ข
และ ฆ ถามว่าทำไม ก จึงต้องไปประกบคู่กับนักกีฬาที่มีคะแนน 1 คะแนนในลำดับที่ 9
(ซึ่งก็เป็นไปโดยที่โปรแกรมตั้งไว้อยู่แล้ว)
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 07:21:56 ]

35



ขอต่อในรอบที่ 4 เลยครับ
ก็ต้องขอให้คำนวนคะแนน Buchholz ให้เหมือนเดิมครับ
มีคำถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกบคู่ในรอบที่ 4 ถ้าย้อนไปดูคะแนนในรอบที่ 3
ซึ่งจะต้องประกาศให้นักกีฬาได้ตรวจสอบความถูกต้อง จะเห็นได้ว่า ข,ก และ ฆ มีคะแนน 2.5 เท่ากัน
คราวนี้ ก(ที่ 2 ในตาราง) เจอกับ ข(ที่ 1 ในตาราง) และ ฆ(ที่ 3 ในตาราง) ไปเจอกับ
ค(ซึ่งเป็นที่ 7 ในตาราง)
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 07:42:13 ]

36

คุณขุนสันต์ครับ คิดคะแนน Buchholz ในรอบที่ 4 เป็นตัวอย่างอีก 1 คนก็พอครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 11:42:27 ]

37

ในระหว่างรอคุณขุนสันต์กำลังคิดคะแนน Buchholz
ผมอยากแนะนำให้ผู้จัดแข่งระดับประเทศที่มีนาฬิกาจับเวลา
ลองเปลี่ยนวิธีจากกรรมการตัดสินสำเหร็จรูปที่คิดคะแนนยาก ลองมาใช้ Minor Scores
ตัดสินนักกีฬาที่มีคะแนนเท่ากัน
แบบใช้เวลาเป็นเครื่องตัดสินในแนวความคิดที่ว่านักกีฬาเก่งเท่ากันใครคิดได้เร็วกว่าก็สมควรเป็นผู้ชนะ
วิธีการดังนี้ สมมตินักกีฬาแต่ละคนมีเวลาเล่นใน 1 กระดาน 30 นาที
หลังจากจบการแข่งขันแต่ละกระดานให้หยุดนาฬิกาไว้ก่อน ให้กรรมการเข้ามาบันทึกผลการแข่งขัน ได้ผล ชนะ
เสมอ แพ้ ก็เขียนลงไป สำหรับคะแนน Minor Scores คิดแบบนี้ครับ สมมติ ก หยุดนาฬิกาที่ 15 นาที
ข หยุดนาฬิกาที่ 20 นาที ดังนี้

คะแนน Minor Scores ของ ก = 30 -15 = 15 คะแนน
คะแนน Minor Scores ของ ข = 30 -20 = 10 คะแนน

ใส่คะแนนของนักกีฬาแต่ละคนแต่ละรอบจนครบ หากมีนักกีฬาที่มีคะแนนเท่ากันก็จะอธิบายได้โดยไม่ยาก
และก็มองเห็นความเก่งของนักกีฬาที่เป็นรูปธรรมด้วย
ก็แน่นอนครับการใช้กรรมการสำเหร็จรูปนั้นไม่ยุ่งยากก็แค่กดผลชนะ เสมอ แพ้
ลงไปโปแกรมจะคิดให้เสร็จเรียบร้อย แต่การได้มาของ Minor Scores
มีขั้นตอนการได้มาอย่างละเอียดยุ่งยากผู้จัดการแข่งขันจึงไม่นิยม แต่ถ้าพูดถึงปัญหาที่จะเกิดตามมานั้น
Minor Scores นีน้อยกว่าหรือแทบจะไม่มี
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 14:36:02 ]

38



นาย ข มีคะแนนจริง 2.5 คะแนน มีไทเบรกแบบ buchholz = คะแนนของเบอร์ 9 (นาย ช ) + คะแนนของเบอร์ 15
(นาย ฐ ) + คะแนนของเบอร์ 5 (นาย ฆ)

= ( รอบ 1 นาย ช แพ้ นาย ข บวกกับ รอบ 2 นาย ช ชนะ นาย ญ บวกกับ นาย ช ชนะนาย ฏ ) + ( รอบ 1 นาย ฐ
ได้ชนะบาย บวกกับ รอบ 2 นาย ฐ แพ้ นาย ข บวกกับ นาย ฐ ชนะ นาย ฉ ) + ( รอบ 1 นาย ฆ ชนะ นาย
ญ บวกกับ รอบ 2 นาย ฆ ชนะ นาย ค เบอร์ 4 บวกกับ รอบ 3 นาย ฆ เสมอกับ นาย ข )

= ( 0 + 1 + 1 ) + ( 0.5 + 0 + 1 ) + ( 1 + 1 + 0.5 )

= 2 + 1.5 + 2.5 = 6

ส่วน การประกบคู่ ผมยังมีความรู้ไม่พอที่จะอธิบายได้ถูกต้องตามกติกาสากล
มีแต่เพียงความรู้ที่ถ่ายทอดกันมา หากจะเอาให้ถูกต้อง 100 % คงต้องรอท่านอื่นๆ

ผมขออธิบายเท่าที่พอทำได้ การประกบคู่ จะเริ่มทำในส่วนกลุ่มคะแนนนำและกลุ่มคะแนนต่ำสุดก่อน
เมื่อจบรอบ 2 มีคนนำอยู่ 3 คือ นาย ก (1 ) , นาย (2) และ นาย ฆ (5 ) ในสองรอบที่ผ่านมา นาย ก
และ นาย ฆ เล่นหมากสีเดียวกันตลอด ส่วนนาย ข ต่างจากคนอื่น จึงมองได้ว่า เราสามารถประกบคู่ นาย ข
กับนาย ก หรือ นาย ฆ ก็ได้ ถ้าพิจารณาแค่สีที่เล่น ผมไม่ทราบว่าทำไมโปรแกรมไม่เลือกประกบคู่ นาย ก
กับ นาย ฆ
แต่ถ้าเลือก ประกบคู่นาย ฆ กับ นาย ข แล้ว ขั้นตอนต่อไปก็ หาคู่ให้นาย ก จากกลุ่มที่มี 1 คะแนน
ซึ่งประกอบไปด้วย นาย ค (เบอร์ 3หรือมือวางอันดับ 3 ) ,นาย ฉ (8) , นาย ช (9) และ นาย ซ (10)
เท่าที่ดู นาย ค (3)และ นาย ช (9) สองรอบที่ผ่านมาเล่นสีเหมือนนาย ก และ นาย ฉ (8 ) ก็แข่งกับนาย ก
ไปแล้วในรอบ 1 จึงเป็น นาย ซ (10)

เท่ากับตอนนี้เราประกบคู่กลุ่มนำเสร็จแล้ว ต่อไปกลุ่มท้าย แน่นอน นาย ญ ที่มี 0 คะแนน
เพียงคนเดียวต้องได้ชนะบาย กลุ่มต่อมา กลุ่มที่มี 0.5 คะแนน มี สองคน คือ นาย ค (4) และ นาย ฌ
น่าจะจับประกบเจอกันเลย แต่ ทั้งคู่เคยแข่งกันแล้วในรอบที่ 1
จึงต้องหาผู้แข่งขันจากกลุ่มที่มี 1 คะแนนมาประกบให้
ซึ่งก็เหลือ 8 คน ดังนี้ นาย ค (3) , นาย ง ( 6) ,นาย จ ( 7) , นาย ฉ (8) , นาย ช (9) , นาย ฎ (13)
, นาย ฏ (14) และ นาย ฐ (15 ) การต้องประกบคู่กับผู้เล่นที่มีคะแนนต่ำกว่าเรียกว่าถูกแพร์ดาวน์
ผู้เล่นแต่ละคนไม่ควรถูกแพร์ดาวน์หรือแพร์อัพ (ถูกประกบคู่กับผู้เล่นที่มีคะแนนสูงกว่า)สองรอบติดกัน
และ ผู้เล่นที่ได้บายหรือชนะบายก็ถือว่าถูกแพร์ดาวน์ ย้อนกลับไปดูสองรอบที่ผ่านมา รอบ 1 นาย ฐ ( 15
)ได้ บาย รอบ 2 นาย ฉ (8) ถูกแพร์อัพ และนาย ฎ (13 ) ได้บาย ดังนั้น
ทั้งสามคนนี้จึงไม่ควรถูกแพร์ดาวน์ เท่ากับเหลือ 5 คน คือ นาย ค (3) , นาย ง (6) ,นาย จ (7) ,นาย ช
(9) และ นาย ฏ (14) ส่วนโปรแกรมจะจับคู่กลุ่ม 5 คนนี้ กับนาย ค(4) และ นาย ฌ (11) ผมก็ไม่เข้าใจ
แต่สิ่งที่ต้องพิจารณาแน่ๆ คือ สีที่เล่น
ผมลองเข้าไปอ่านในคู่มือ(help)ดูก็รู้สึกว่ายากเกินกว่าจะมีเวลาทำความเข้าใจตอนนี้
และซับซ้อนกว่าที่ผมเคยแพร์มือมาและที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง

โดย : ขุนสันต์ Member   [ 10/09/2010, 16:09:10 ]

39

การใช้ระบบสวิสเป็นประโยชน์ต่อนักกีฬาทุกท่าน โดยเฉพาะสิ่งที่สำคัญคือทุกคนที่มาได้เล่นแน่นอน
แตกต่างจากระบบ เคโอ ที่ใครแพ้ ไม่ทันนั่งให้เก้าอี้อุ่นก็กลับบ้านได้เลย

ในการคิดคะแนนBuchholz ในกรณีบายนั้นก็ไม่ได้มีอะไรที่ยุ่งยาก เพียงแค่รวมคะแนนของคู่ต่อสู้ทั้งหมด
แล้วเอาจำนวนบาย *0.5 ลบออกไปเท่านั้น (ระบบให้สันนิฐานว่าเป็นการเสมอ)


ถ้าตั้งคำถามว่า ระบบไม่ดีหรือกรรมการไม่ดี ก็ควรตอบว่าระบบดีได้ในระดับหนึ่ง
แต่ก็ไม่สามารถป้องกันการโกงได้ทุกกรณีเสมอไป ฉะนั้นผมถึงบอกหลายครั้งแล้วว่า
กรรมการคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ของแบบนี้ไม่ได้อยู่ที่โปรแกรมจับคู่หรือระบบการแข่ง มันอยู่ที่กรรมการ

ท้ายสุดนี้สาธิตการนับคะแนน Buchholz เพื่อให้เข้าใจและไม่ต้องขัดแย้งในสิ่งที่ไม่จำเป็น

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 16:17:12 ]

40



ยกตัวอย่างจากการแข่งขัน Chess4thai U16/18

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 16:18:05 ]

41



ขอบคุณ
คุณขุนสันต์มากที่อุตส่าห์มาอธิบายให้ผู้ที่จะคิดเป็นกรรมการผู้จัดแข่งขันและนักกีฬาให้กระจ่างในเรื่องต
่าง ๆ ในโปรแกรมสวิส
ตอนนี้แข่งขันมาถึงรอบที่ 5 แล้ว ขอให้คุณ ขุนสันต์ วิจารณ์การประกบคู่ในรอบที่ 5 นี้
พร้อมกับวิจารณ์ลำดับคะแนนของนักกีฬาด้วย
คงไม่ต้องคิดคะแนนให้ดูแล้วน่าจะเป็นที่เข้าใจแล้ว
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 16:20:02 ]

42



อย่างน้องแบงค์ แข่งห้ารอบ
สู้กับ

Chayatorn Panichkul มี 1 คะแนน บาย 0
Zantot Kovityanon มี 2.5 คะแนน บาย 0
Pattaraphol Leelachaikul มี 3 คะแนน บาย 1
Ratchphon Thanrotrung มี 4 คะแนน บาย 0
Suppavich Teerajamtrangkul มี 3 คะแนน บาย 1

ก็เอาคะแนนมารวมกัน 1+2.5+3+4+3 =13,5
ลบจำนวนบาย 2*0.5 = -1
Buchholz สุทธิ 12,5

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 16:23:59 ]

43



อาจเกิดคำถามว่า แล้วคนที่ได้ัรับบายเอง คิดคะแนน Buchholz อย่างไร ก็ไม่ยาก

คนที่เป็น Bye เปรียบเสมือนเล่นเสมอมาตลอด สมมุติ 5 รอบ ก็นับ 2.5 เท่านั้น นอกนั้นก็เหมือนเดิม

มาดูตัวอย่างที่น้อง Suppavich

Suppavich สู้กับ

Ratchaphon มี 4 คะแนน บาย 0
Bye มี 2.5 คะแนน บาย 0
Kanakorn มี 2.5 คะแนน บาย 0
Pattaraphol มี 3 คะแนน บาย 1
Thanadon มี 5 คะแนน บาย 0

ก็เอาคะแนนมารวมกัน 4+2.5+2.5+3+5=17
ลบจำนวนบาย 1*0.5 = -0,5
Buchholz สุทธิ 16,5

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 16:33:45 ]

44

ขอบคุณ คุณปาณิศา ครับ
ที่ผมเคยกล่าวพาดพิงถึงหมากรุกสากลว่าจะมีคนเก่งในแต่ละรุ่นเพียงไม่กี่คน(ในเมืองไทย)จึงทำให้เกิดชนะรวด
5 แผ่น แบบนี้การใช้กรรมการฝรั่งที่ติดมากับโปรแกรมก็ไม่มีปัญหา
ต่างจากหมากรุกไทยและหมากฮอสส่วนใหญ่แต่ละรุ่นจะมีสูสีกัน 4 - 5 คน
ย่อมเกิดปัญหาขึ้นได้โดยเป็นที่ถกเถียงกันแบบไม่รู้จบ
ซึ่งสิ่งเหล่านี้พวกเราเองต่างฝ่ายก็ควรปรับปรุงตัวเองเพื่อให้เกิดความปรองดองต่อกันอยู่ด้วยกันเล่นด้วย
กัน ผมเองพยายามเข้ามาเป็นตัวกลางเพื่อให้แต่ละฝ่ายได้เข้าใจตรงกันไม่ระแวงต่อกัน
โดยพยายามสร้างระบบตรวจสอบให้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นการอยู่ร่วมกันดูแลกันเอง เหมือนกับ
ไก่เห็นตีนงู งูก็เห็นนมไก่ ครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 16:38:21 ]

45

ส่วนในเรื่องประกบคู่นั้น

ระบบสวิส สร้างขึ้นเมื่อมาสำหรับการแข่งที่รู้ว่า ไม่มีเวลาแข่งเพียงพอที่จะมาทุกคนได้มาเจอกัน
และให้คู่ต่อสู้ที่มีผลแข่งใกล้เคียงกันได้มาแข่งกัน
โดยไม่ให้ทีมที่เคยเจอกันแล้วมาสู้กันอีกครั้งที่สอง

ในกรณีที่ หลายคนมีคะแนนเท่ากัน ก็มีหลายวิธี

- ให้คนที่เล่นหมากดำในรอบก่อน เล่นหมากขาวในรอบนี้
หลังจากนั้น อาจใช้วิธีจับฉลากหรือrandom เอา
หรือ
ให้อันดับ 1 สู้ 2 / 3 สู้ 4 ต่อๆไป
หรือ
การตัดครึ่งให้ ครึ่งบน สู้กับครึ่งล่าง (จะต้องมีเรตติ้ง หรือการแยกฝีมือผู้แข่ง)
หรือ
ระบบการเร่ง การตัดสี่ส่วน ให้ส่วน 1 สู้ ส่วน 2 ส่วน 3 สู้ ส่วน 4

ทั้งนี้มีหลายวิธีในการประกบคู่ ซึ่งจะอธิบายในครั้งต่อไป

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 16:56:13 ]

46



ในเรื่องฝีืมือสูสีกัน ไม่มีแต่ในวงการหมากรุกไทยหรือหมากฮอสเท่านั้น ในหมากรุกสากลก็มี
ซึ่งผมได้แนบตัวอย่างไว้ให้เห็น ซึ่งในโลกหมากรุกสากล ระบบนี้ได้รับความยอมรับแล้ว
และได้มีการปรับปรุงในโอลิมเปียดเล็กน้อย

ในตัวอย่างที่ผมแนบมา ฝีมือมือนำทั้งหลายต่างก็ไม่ได้ต่างกันมาก ก็เห็นได้ว่าใช้คะแนน Buchholz
ตัดสินไป

ส่วนเรื่องนักกีฬายอมรับหรือไม่ยอมรับนั้น ก็คงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดไป

ส่วนตัวเองในขณะที่ผมจัด ผู้ปกครองก็มาถามว่าคะแนนบูโช้ เป็นอะไร ผมเองก็ยังงง (เอ๋ มันเรียกว่า
บุ้คฮอลส์ นี้น๊า) แต่หลังจากอธิบายไปแล้ว ผู้ปกครองก็เข้าใจและไม่มีปัญหาอะไร

ด้วยความปรารถนาดี

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 17:12:02 ]

47

การที่จะให้หมากดำเดินก่อนหรือขาวเดินก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมการผู้จัด อาทิ ก(1) และ ข(2)
ข เป็นเด็กของกรรมการในรอบแรกจะทำให้ ข ได้เดินก่อนก็ย่อมทำได้ ในขณะ Piaring ก็กด black
ก็เกิดการสลับข้าง ข(2) ซึ่งเป็นคู่ที่ 2 ก็มีชื่อกลับมาอยู่ฝั่งซ้ายก็ได้ขึ้นก่อน
นี่เป็นเพียงอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญนักเพราะว่าเป็นรอบที่ 1
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 17:13:59 ]

48

สูสีแบบฝรั่งเขาคงไม่มีปัญหาเพราะว่าแต่ละคนเขามาทั่วทุกสารทิศ แต่สูสีแบบไทย ๆ นี่ซิเป็นปัญหา
นักกีฬาที่มาแข่งต่างมีซุ้มมีค่ายมีพวกพ้องมีลูกศิษย์อาจารย์ เป็นเซียนใหญ่เหมือนไม่กินกัน
แน่นอนสิ่งเหล่าก็เกิดการฮั่วในหมู่นักกีฬา ผมเองเคยสัมผัสมานักต่อนักแล้ว
คงไม่เหมือนหมากรุกสากลในเมืองไทยนะครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 17:20:53 ]

49

การที่จะให้หมากดำเดินก่อนหรือขาวเดินก่อนนั้น ขึ้นอยู่กับกรรมการผู้จัด อาทิ ก(1) และ ข(2)
ข เป็นเด็กของกรรมการในรอบแรกจะทำให้ ข ได้เดินก่อนก็ย่อมทำได้ ในขณะ Piaring ก็กด black
ก็เกิดการสลับข้าง ข(2) ซึ่งเป็นคู่ที่ 2 ก็มีชื่อกลับมาอยู่ฝั่งซ้ายก็ได้ขึ้นก่อน
นี่เป็นเพียงอธิบายให้ทุกคนได้เข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญนักเพราะว่าเป็นรอบที่ 1


ไม่เข้าใจ ช่วยขยายความหน่อยครับ

แต่สูสีแบบไทย ๆ นี่ซิเป็นปัญหา
นักกีฬาที่มาแข่งต่างมีซุ้มมีค่ายมีพวกพ้องมีลูกศิษย์อาจารย์ เป็นเซียนใหญ่เหมือนไม่กินกัน


มันไม่ใช่ปัญหาของสูสีต่างประเทศอะไรหรอกครับ มันขึ้นอยู่กับนิสัยของนักกีฬาและการแบ่งแยกสังกัดต่างหาก


แต่อย่างไรก็ตาม มันคนละประเด็นกัน ไม่ว่าคุณจะยกระบบใดๆมาก็ตาม ตราบใดที่การส่งเสริมนักกีฬาเหล่านี้
จากองค์กรต่างๆไม่ดีพอ เนื่องจากสถานการณ์การเงินบังคับ
นิัสัยและการจับกลุ่มและแยกแยะสังกัดก็ยังเป็นแบบนี้ต่อไป

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 19:17:19 ]

50

ที่ต้องการกล่าวก็คือ ประเด็นอยู่ที่ว่า

มีการแบบพรรคพวก สังกัดใคร สังกัดมัน และฮั่วคะแนนให้กัน

ซึ่งคุณต้องการแก้ไข ไม่ให้ฮั่วกันในระบบสวิส ซึ่งไม่ว่าจะเป็นระบบใด มันก็คงทำไม่ได้อยู่แล้ว

ถ้าคุณถามผมว่า ผมแก้ปัญหานี้อย่างไร ผมก็ได้แต่ตอบว่า ถ้าหากผมมีข้อสงสัยว่าใครทำแบบนี้
ผมก็จะตัดสิทธิ์กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ให้แข่ง

ผมยอมให้คนแข่งน้อยลงและการแข่งขันยุติธรรม แต่ผมจะไม่ยอมให้คนแข่งมากและบางคนได้เปรียบเด็ดขาด

ด้วยความปรารถนาดี

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 19:33:34 ]

51

ขอบคุณครับ คุณปาณิศา ผมว่าเรื่องเหล่านี้ก็เหมือนไก่เกิดก่อนไข่นะ
มันสุดแล้วแต่ใจของกรรมการผู้จัด ผมว่าให้คุณเซ็ทโปรแกรมแข่งขันตามคุณขุนสันต์เพื่อตอบใน คห.ที่ 41
ดีกว่าเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมนะครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 20:07:52 ]

52

ถ้าคุณถามผมว่า ผมแก้ปัญหานี้อย่างไร ผมก็ได้แต่ตอบว่า ถ้าหากผมมีข้อสงสัยว่าใครทำแบบนี้
ผมก็จะตัดสิทธิ์กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ให้แข่ง



น่าเป็นห่วงนะครับอย่างนี้

โดย : จากน้อง Member   [ 10/09/2010, 20:27:52 ]

53

น่าเป็นห่วงนะครับอย่างนี้

ไม่น่าเป็นห่วงเลยครับ เป็นสิทธิ์และหน้าที่ของผู้จัดการแข่ง ที่จะต้องรักษาความยุติธรรมเอาไว้

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 20:33:21 ]

54

เอาละครับผมขอหยุดเรื่องนี้ไว้ก่อนนะครับ รอคุณขุนสันต์มาตอบก่อนจะดีกว่าครับ
ขอบคุณครับ สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 20:41:11 ]

55



ระหว่างรอคุณขุนสันต์มาตอบคำถาม
ผมขอเสนอการจัดแข่งขันระบบสวิสอีกแบบหนึ่งซึ่งใช้ระบบให้คะแนนหลัก(Major) ชนะได้ 3 คะแนน เสมอได้ 1
คะแนน แพ้ได้ 0 คะแนน หากคะแนนหลักเสมอกันก็ไปตัดสินด้วยคะแนนรองคือ Minor scores
ซึ่งจะคิดคะแนนตาม คห.ที่ 37 ในแผ่นข้างบนนี้เป็นรอบที่ 1
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 22:16:55 ]

56



รอบที่ 2 จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 22:18:13 ]

57



รอบที่ 3 จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 22:19:21 ]

58



รอบที่ 4 จากสิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 22:20:23 ]

59

ิวิธีเก็บคะแนนนี้ ได้ถูกทดลองมาหลายครั้งแล้ว ซึงที่จริงกระตุ้นให้ทั้งสองฝ่ายต่างตีแตกหักกัน
แต่มีสองกรณีที่น่าวิตกก็คือ

๑. บุญสืบ เสมอ นกกระจิบ ๑ คะแนน โนเนม ชนะ โนเนม ๓ คะแนน คุณค่าของเกมหมดไปเลยในทีเดียว

๒. กรณีมีพวกฮั่ว ยิ่งเป็นต่อใหญ่ เพราะเก็บคะแนนได้เต็มหน่วย ในขณะผู้ที่เล่นจริงๆ ยิ่งเสมอง่าย
ยิ่งเป็นรองมากไป

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 22:27:25 ]

60



ในรอบที่ 5 จะเห็นได้ว่า ก และ ง มีคะแนนหลัก 11 คะแนนเท่ากัน ก็ตัดสินด้วยคะแนน minor
scores
ก = 82 - 69 = 13 คะแนน
ง = 79 - 67 = 12 คะแนน
ก ชนะด้วย minor scores = 13 - 12 = 1 คะแนน
หาก ก และ ง มีผลลบ minor scores เท่ากัน ก็ให้นับคะแนนที่ได้คือ 82 มากกว่า
ครับแบบนี้นักกีฬาก็คำนวนได้ อีกทั้งยังเป็นการบ่งบอกว่านักกีฬาชนะนั้นคือเก่งด้วยและคิดเร็วด้วย
ก็ขอฝากไว้สำหรับผู้ใดที่คิดจะจัดการแข่งขันด้วย
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 22:31:32 ]

61

จะใช้ระบบใดก็มีฮั๊วกันทั้งนั้นแหละครับผมเคยกล่าวไว้หลายครั้งแล้วครับ จากสิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 22:35:51 ]

62

ป.ล. การใช้เวลาเป็นคะแนนย่อยนี้ผิดหลักกีฬาหมากกระดานมากเลยทีเดียว เนื่องจากสองประเด็นหลัก

๑. ไม่ควรเริ่งให้นักกีฬาคิด ฝีมือนักกีฬาไม่ได้อยู่ในการคิดเร็ว ถ้าอยากแข่งคิดเร็วก็จัด Blitz 5/0
หรือ Bullet 1/0 ไปเลย เมื่อคุณให้เวลาคิด 30/0 นักกีฬาก็มีสิทธิ์คิดในเวลานั้น
นอกเหนือจากนั้นการประกบคู่ไม่สามารถบอกได้ว่า ใครจะเจอใครก่อนในรอบแรก อย่างเช่น

ตี๋ทอง เจอ โนเนม ชนะใน ห้านาที
บุญสือ เจอ วโรช ชนะในสิบห้านาที

คุณภาพเกมต่างกัน ย่อมใช้เวลาต่างกัน ถามว่าเกมไหนมีค่ามากกว่ากัน ก็น่าจะเป็นเกมที่สอง
ถ้าใช้ระบบเวลาแบบนี้ เกมแรกก็เท่ากับมีค่ามากกว่าเกมที่สอง

๒. การใช้เวลาเป็นคะแนนย่อย จะทำให้มีปัญหาเพิ่มขึ้น เช่นอาจมีการหยุดเวลาเพิ่มขึ้น หรือการปรับเวลา
ทำให้คะแนนย่อยเปลี่ยนแปลงได้เสมอ

และเท่าที่เข้าใจนักกีฬาบางคน ยิ่งใช้นาฬิกาเข็ม ก็จะต้องเถียงกันอีกว่าปัดขึ้นปัดลง
หรือเข็มอยู่บนนาทีนั้นแล้ว

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 22:41:28 ]

63

คำถามถึงท่านสิงห์เคอาร์

เมื่อท่านบอกว่าฮั่วได้ทุกแบบ แล้วทำไมจะเปลี่ยนระบบการแข่งขันให้มันยุ่งยากละ อะไรคือวัตถุประสงค์
โปรดชี้แจงให้เข้าใจหน่อย

โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 22:42:46 ]

64

ที่เสนอวิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งให้เลือกนะครับ
ความยุติธรรมต่อนักกีฬาอย่างเท่าเทียมกันนั้นต้องอยู่ในหัวใจผู้จัดการแข่งขัน
ไม่ใช่นักกีฬาที่ไม่ชอบไม่ต้องมาแข่ง รอคุณขุนสันต์มาตอบก่อนแล้วคุณปาณิศาจะถึงบางอ้อเอง
เอาแค่นี้ก่อน ต้องรอคุณขุนสันต์มาตอบนะ จากสิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 22:49:05 ]

65

ถ้าหากเป็นวิธีหนึ่งให้เลือก ก็คงต้องอยู่ที่ผู้จัดการแข่งแล้วละครับ แต่ในฐานะคนที่เคยจัดงานแข่งมาก่อน
สำหรับผมวิธีนี้ไม่ผ่านแน่นอน ตามเหตุผลที่เรียนไปให้ทราบ

ส่วนเรื่องนักกีฬาชอบหรือไม่ชอบนั้น โดยส่วนตัวผมก็ไม่เห็นด้วย
แต่ถ้าพูดถึงนักกีฬาที่ฮั่วนั้นรู้จักมากมายพอควร การไม่ให้นักกีฬาเหล่านี้แข่ง
ไม่ได้เป็นความคิดผมหรอกครับ เป็นนโยบายของกลุ่มผู้จัดแข่ง ซึ่งภายหลังก็แก้ปัญหานี้ได้เอง

ระบบสวิสมีมาก่อนนานที่จะเข้ามาในเมืองไทย
ฉะนั้นปัญหาทั้งหลายที่คุณชี้แจงมาย่อมมีมาตรการสากลที่แก้ไขไว้แล้ว

ผมเองก็มองเห็นจุดบกพร่องในระบบสวิส ระบบสวิสไม่ดีดีเลิศอะไร เพียงแต่ระบบอื่นๆ
และระบบที่ดัดแปลงนั้นไม่ดีกว่าเท่านั้น ที่เป็นเหตุผลที่ต้องใช้ระบบสวิสต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผมตอบกระทู้ใน ด้วยเหตุที่เจ้าของกระทู้ ถามถึงระบบสวิส
ในเรื่องแก้ไขหรือดัดแปลงอย่างไรนั้น ก็แล้วแต่ความเห็นส่วนบุคคลนะครับ

อ๋อ ขอชี้แจงว่า การที่ผมบอกว่าระบบสวิสเหมาะสมกว่าระบบอื่นนั้น ผมไม่ได้ผลประโยชน์อะไร
ไม่มีใครจ้างผมไปประกบคู่ หรือผมไปประกบคู่ให้งานใคร ยกเว้นงานแข่งของตนเอง
และผมไม่เคยมีประวัติที่นักกีฬามาร้องเรียนว่าผมไม่ยุติธรรมต่อนักกีฬา หรือ ป้องกันการฮั่วคะแนนไม่ได้

ด้วยความปรารถนาดี


โดย : *ปาณิศา Member   [ 10/09/2010, 23:22:05 ]

66

ขอกลับไปรอบสามอีกที
การประกบคู่ของโปรแกรม คู่ที่ 3 ถึง 7 หากเราสามารถเข้าใจวิธีการที่โปรแกรมประกบคู่ที่ 6 และ 7 ได้
คู่ที่ 3 , 4 และ 5 ก็อธิบายได้ไม่ยาก คือเมื่อประกบคู่ที่ 6 และ 7 ได้แล้ว ก็จะเหลือ
ผู้แข่งขันอีกเพียง 6 คน ซึ่งเมื่อเรียงตามมือวางแล้วจะได้ดังนี้
ค (3 ) , ฉ (8) , ช (9) . ฎ (13) . ฏ (14) และ ฐ (15)

เมื่อประกบคู่แบบพับครึ่ง จะได้ดังนี้

ค (3) - ฎ (13)
ฉ ( 8) - ฏ (14)
ช (9) - ฐ (15)

เราก็เริ่มตรวจสอบแต่ละคู่ว่าเป็นไปตามกติกาไหม
คู่แรก ค (3) - ฎ (13)
ทั้งคู่ไม่เคยเจอกันและสองรอบที่ผ่านมา ค (3) เล่น ขาว_ดำ ส่วน ฎ (13 ) เล่นขาว (รอบสองได้ชนะบาย
ถือว่าไม่มีสี ไม่ มีคู่ต่อสู้ และแพร์ดาวน์)
สรุปคู่นี้เจอกันได้

คู่ที่ สอง ฉ (8) - ฏ (14)
ทั้งคู่ไม่เคยเจอกัน แต่สองรอบที่ผ่านมาทั้งคู่เล่นสีเหมือนกันคือ รอบแรกเล่นดำทั้งคู่
รอบสองเล่นขาวทั้งคู่

เช่นเดียวกับคู่ที่สาม ช(9) - ฐ (15) ที่ทั้งคู่ไม่เคยเจอกัน แต่รอบสองทั้งคู่ เล่นสีเหมือนกัน คือ
เล่นดำ (รอบแรก ฐ (15)ได้บาย)

ดังนั้น จึงลองเลื่อน ฐ (15) ไปพบ ฉ (8) แทน ตรวจสอบดูทั้งคู่ไม่เคยเจอกัน สีก็ได้
แต่ต้องไปดูอีกคู่ที่เหลือว่าสามารถประกบกันได้ไหม ซึ่งก็คือ ช (9) - ฏ (14)

ทั้งคู่ ไม่เคยพบกันมาก่อน และสีก็เข้ากันได้ สรุปคู่ที่ 3 ,4 และ 5 สามารถอธิบายได้แล้ว
ดังนั้นจึงเหลือวิธีการที่โปรมแกรมประกบคู่ กลุ่มที่มีคะแนนไม่เท่ากัน ไม่ว่าจะแพร์อัพหรือแพร์ดาวน์
ที่ผมยังไม่เข้าใจ การสลับตำแหน่ง เวลามีปัญหา ซึ่งใน help อธิบายเป็นเมทริกซ์
และการพิจารณาเรื่องสีที่เล่น ที่ยิ่งมากรอบก็ยิ่งปวดหัว
ปกติที่เราแพร์มือ ก็จะไม่ซับซ้อนขณะนี้

อนึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมตั้งแต่ ปี 98
ซึ่งดูเหมือนว่ากติกาการประกบคู่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแล้ว หรือถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น โปรแกรมนี้
สหพันธ์หมากรุกโลกไม่ได้ให้การรับรอง ไม่ทราบด้วยสาเหตุใด
เท่าที่ดูถ้าผู้เล่นจำนวนมากพอวิธีการแพร์ริ่งของโปรแกรมนี้ก็อธิบายได้

ปล.ผมคงไม่มาตอบอีกหลายวัน เนื่องจากต้องเตรียมตัวสำหรับรอบชิงในวันอาทิตย์นี้
ต้องเคลีย์แต้มหมากที่จดมาในรอบคัดเลือก ว่าจะทำเป็นชีท มีคนขอให้ทำให้

ถ้าพี่หมอธีระพงศ์มีเวลาช่วยตอบให้หน่อยก็ดีครับ เวลาประกบคู่รายการเล็ก
พี่หมอเขาจะคอยเช็คเสมอว่าโปรแกรมแพร์ริ่งถูกตามกติกาของฟีเดหรือไม่

โดย : ขุนสันต์ Member   [ 10/09/2010, 23:22:18 ]

67



ขอบคุณ คุณขุนสันต์มากที่อุตส่าห์ค้นหาคำตอบ คำตอบอยู่ที่แผ่น 2 แผ่นข้างบนนี้แล้วครับ
ขอบอกก่อนนะครับเรื่องนี้เป็นการสาธิตเท่านั้น ผมได้แพร์มือสลับตำแน่งของ ค(3) และ ฏ(14)
อาจจะมีเหตุผลอยู่ 2 ประการคือ
1.นักกีฬา ข(2) ซึ่งเป็นพวกของผู้จัดซึ่งมีคะแนนนำอยู่ตอนนี้กลัวว่าถ้าไปเจอกับ ค(3)
จะเสมอหรือแพ้เพราะว่า ค(3)เป็นเสือลำบากเผลอเล่นแพ้ในรอบที่ผ่านมาก็เลยหล่นไปอยู่ข้างล่าง
หรือไม่ก็เคยเจอกันนอกสนามแล้วแพ้ตลอด
2.อาจเป็นการช่วย ค(3) ให้ขึ้นไปอยู่อันดับ 3 หรือ 4 เพื่อได้รางวัล ก็ต้องหลบไม่เจอ ข(2)
ย้ายไปเจอ ฅ(4)ดีกว่า
เรื่องนี้เป็นการสาธิตเท่านั้นนะครับ แต่โอกาสที่จะเกิดเช่นนี้ก็มี เพราะว่าคนไทยเราเกิดช่องนิด
ๆ หน่อยไม่ได้
วิธีแก้ไขเพื่อเป็นการถ่วงดุลย์ระหว่างกรรมการผู้จัดและนักกีฬาไม่ให้เกิดระแวงสงสัยต่อกัน คือ
1.ประกาศรายชื่อนักกีฬาที่มีหมายเลขประจำตัวนักกีฬา
2.ประกาศคะแนนของนักกีฬาเมื่อรวมคะแนนแต่ละรอบเสร็จเพื่อให้นักกีฬาได้ตรวจความถูกต้อง
ซึ่งยังสามารถแก้ไขได้
3.ประกาศการประกบคู่ทุกรอบ(ทำเป็นปกติอยู่แล้ว)
สำหรับนักกีฬาที่ยังมีข้อกังขาอยู่ หากมีแผ่นประกาศผลการแข่งขันสุดท้าย
และหมายเลขประจำตัวนักกีฬา
ก็สามารถนำไปตรวจความถูกต้องเกี่ยวกับคะแนนและการประกบคู่ย้อนหลังได้ด้วยโปรแกรมสวิสรุ่นเดียวกับผู้จัดแ
ข่งนั้นได้ ผมขอยืนยันนะครับว่าทำได้
เอาละครับผมเองก็พยายามสร้างระบบให้มีการตรวจสอบกันเองระหว่างนักกีฬากับกรรมการผู้จัดให้แล้วหวังว่
าต่อไปคงดูแลกันเองได้นะครับ ขอบคุณครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 10/09/2010, 23:56:02 ]

68

ขอยืนยันอีกครั้งนะครับว่า ตั้งแต่รอบ 2 เป็นต้นไป ถ้าเป็นการ piaring
ประกบคู่ด้วยโปรแกรมอัตโนมัติ โดยไม่ได้ Manual(แพร์มือ) จะลบทิ้ง(Unpiar)กี่ครั้ง ๆ
แล้วประกบคู่ใหม่จะได้เหมือนเดิมทุกประการนะครับ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเลยนะครับ
ขอให้ผู้ที่มีโปรแกรมสวิสเปอร์เฟ็กไปทดลองทำนะครับ
หากมีการแพร์มือการประกบคู่จะเปลี่ยนแปลงไปเหมือนที่ผมได้สาธิตให้ดูนะครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 00:09:20 ]

69

ในการประกบคู่อัตโนมัติตามโปรแกรมจริงคือแผ่นด้านขวามือ
สำหรับแผ่นที่ได้แพร์มือนั้นอยู่ทางซ้ายมือนะครับและนักกีฬาก็เล่นไปจนจบการแข่งขัน
ผมเชื่อว่าผู้จัดการแข่งขันในรายการต่าง ๆ ก็ยังมีจริยธรรม คุณธรรม และศีลธรรมเพียงพอ
ที่ผมสาธิตสิ่งเหล่านี้ให้ดูก็เป็นเพียงให้เกิดระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกัน ในลักษณะไก่เห็นตีนงู
งูก็เห็นนมไก่ ต่างฝ่ายต่างระวังตัว
ไม่กล้ากระทำความผิดสิ่งไม่ดีไม่งามจะไม่ได้เกิดในวงการหมากรุกหมากฮอสอันเป็นที่ชื่นชอบของพวกเรา
สุดท้ายนี้หวังว่าทุกฝ่ายคงเข้าใจผมนะครับ ผมเองได้พักผ่อนแล้ว ไม่มีผลประโยชน์กับฝ่ายใด
หวังให้เกิดความยุติธรรมต่อทุกฝ่ายเท่าเทียมกัน
หากต้องการคำชี้แนะเพิ่มเติมผมเองยินดีเสมอ จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 00:33:21 ]

70

ตอบความเห็น 11-12-13

เพื่อความเข้าใจระบบสวิส พอดีเพื่อนบอกว่า ความเห็นที่ 10 ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า ทำไม ทินกฤต

ซึ่งเจออันดับ 30-8-20-2-5

จึงมี Buchholz มากกว่า

ณัฎ

ซึ่งเจออันดับ 13-16-4-1-6

ผมมานั่งดูแล้วก็สงสัยเหมือนกันเพราะอันดับดีกว่า แต่ถ้าคำนวนออกมาแล้ว ทินกฎตมีคะแนน Buchholz
ที่มากกว่า
เนื่องจาก.....


ทินกฤต

ชนะ บาย ทำ 2.5 คะแนน และ เคยได้คะแนนบาย (+) 0
ชนะ อันดับ 8 ทำ 3.5 คะแนน และ เคยได้คะแนนบาย 0
ชนะ อันดับ 20 ทำ 2.0 คะแนน และ เคยได้คะแนนบาย 1
เสมอ อันดับ 2 ทำ 4.5 คะแนน และ เคยได้คะแนนบาย 0
ชนะอันดับ 5 ทำ 3.5 คะแนน และ เคยได้คะแนนบาย 0

รวมคะแนนคู่ต่อสู้ 2.5+3.5+2.0+4.5+3.5=16
ลบคะแนนบาย *0,5 =-1*0,5
คะแนน Buchholz สุทธิ 15.5 คะแนน

ส่วน ณัฎ

ชนะอันดับ 13 ทำคะแนน 3.5 และเคยได้คะแนนบาย 1
ชนะอันดับ 16 ทำคะแนน 2.5 และเคยได้คะแนนบาย 2
ชนะอันดับ 4 ทำคะแนน 4.0 และเคยได้คะแนนบาย 1
เสมออันดับ 1 ทำคะแนน 4.5 และเคยได้คะแนนบาย 1
ชนะอันดับ 6 ทำคะแนน 3.5 และเคยได้คะแนนบาย 1

รวมคะแนนคู่ต่อสู้ 3.5+2.5+4.0+4.5+3.5=18
ลบคะแนนบาย *0,5 = -6*0,5= -3
คะแนน Buchholz สุทธิ = 15,0

สังเกตได้ว่าจะน้อยกว่า เนื่องจากคู่ต่อสู้ของณัฐต่างมีอันดับดีกว่าจริง แต่ก็ต่างได้คะแนนบายมีเยอะมาก
ณัฐจึงมีคะแนน Buchholz น้อยกว่า

ต้องบอกว่าโดยปกติไม่น่าเป็นแบบนี้
แต่เนื่องจากผู้ประกบคู่ไม่ลบชื่อหรือเปลี่ยนสถานะผู้เล่นว่าไม่อยู่ก่อนการประกบรอบแรก
จึงทำให้มีการบายเยอะเช่นนี้ ซึ่งทำให้ผลการแข่งออกมาเพี้ยนเช่นนี้ (สันนิฐาน
เพราะตั้งแต่ผมเห็นการแข่ง ไม่ค่อยเจอคนที่มีผลเสมือนบายสองครั้ง เช่นอันดับ 16)

หวังว่าคงทำให้ ความเห็น 11-12-13 เข้าใจระบบสวิสมากขึ้น

อย่างไรก็รบกวนผู้เชี่ยวชาญมาออกความเห็นด้วย

ขอบคุณครับ

โดย : *ปาณิศา Member   [ 11/09/2010, 02:37:03 ]

71

แก้นิดนึง อ่านผิด

ส่วน ณัฎ

ชนะอันดับ 13 ทำคะแนน 3.0 และเคยได้คะแนนบาย 1
ชนะอันดับ 16 ทำคะแนน 2.5 และเคยได้คะแนนบาย 2
ชนะอันดับ 4 ทำคะแนน 4.0 และเคยได้คะแนนบาย 1
เสมออันดับ 1 ทำคะแนน 4.5 และเคยได้คะแนนบาย 1
ชนะอันดับ 6 ทำคะแนน 3.5 และเคยได้คะแนนบาย 1

รวมคะแนนคู่ต่อสู้ 3.0+2.5+4.0+4.5+3.5=17.5
ลบคะแนนบาย *0,5 = -6*0,5= -3
คะแนน Buchholz สุทธิ = 14,5

โดย : *ปาณิศา Member   [ 11/09/2010, 02:48:26 ]

72

ขอถามคุณปณิศานะครับ แล้ว Berger และ Progress วิธีคิดเป็นอย่างไรครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 07:22:01 ]

73

ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนะครับ แต่ก็พยายามจะอธิบายตามที่เข้าใจนะครับ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด เป็นระบบการนับคุณภาพคะแนน ซึ่งพัฒนาจากเซียนออสเตรียในปี 1873 มีนามว่า Oscar Gelbfuhs
หลังจากนั้นได้นำมาใช้ครั้งแรกที่เมือง Liverpool ในปี 1882 โดย Wilhelm Sonneborn และ Johann Berger
และได้นำมาใช้งานทั่วไปในปี 1886

โดยปกติแล้ว Sonneborn-Berger จะนำมาใช้ในการแข่งขันทุกคนเจอกัน เพราะการคิด Buchholz
ในการแข่งขันที่ทุกคนเจอกันนั้นไม่มีความหมาย เพรา Buchholz ระหว่างแต้มเท่ากัน เหมือนกันแน่นอน

หลักการคิดก็คือ ให้คิดคะแนนที่ชนะเต็มบวกครึ่งหนึ่งของคะแนนที่เสมอ นั้นก็คือคะแนน Sonneborn Berger

กล่าวก็คือการชนะคนที่อยู่มีคะแนนมาก จะได้คะแนนมากกว่า การชนะคนที่มีคะแนนน้อย
จึงทำให้เหตุที่ผมเรียกว่าคุณภาพคะแนน

ยกตัวอย่าง น้องแบงค์ จาก ความเห็นที่ 42

Chayatorn Panichkul ชนะ 1 คะแนน บาย 0
Zantot Kovityanon ชนะ 2.5 คะแนน บาย 0
Pattaraphol Leelachaikul ชนะ 3 คะแนน บาย 1
Ratchphon Thanrotrung ชนะ 4 คะแนน บาย 0
Suppavich Teerajamtrangkul ชนะ 3 คะแนน บาย 1

ชนะรวด นับไม่ยาก ก็เอามารวมกันหมด
1+2.5+3+4+3 =13,5
-บาย 0.5*2 =1
Sonneborn-Berger สุทธิ 12,50


ส่วนน้อง Suppavich ความเห็นที่ 43

Ratchaphon แ้พ้ 4 คะแนน บาย 0
Bye ชนะ 2.5 คะแนน บาย 0
Kanakorn ชนะ 2.5 คะแนน บาย 0
Pattaraphol ชนะ 3 คะแนน บาย 1
Thanadon แพ้ 5 คะแนน บาย 0


ชนะ Bye จะนับเป็นเสมอ ได้ครึ่งเดียวจาก 2.5เป็น 1.25
ชนะ Kanakorn ได้ 2.5 คะแนน
ชนะ Pattaraphol ได้ 3 คะแนน
รวม 6.75 คะแนน
ลบคะแนนบาย 0.5*1 = -0,5
Sonneborn-Berger สุทธิ 6.25 คะแนน

ส่วน Progress ผมก็ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร คิดว่าน่าจะเป็นการรวมคะแนนหลักแต่ละรอบ ยกตัวอย่าง
ในภาพที่เห็นด้านบนนี้

อย่างน้องแบงค์

รอบแรก คะแนนหลัก 1
รอบที่ 2 คะแนนหลัก 2
รอบที่ 3 คะแนนหลัก 3
รอบที่ 4 คะแนนหลัก 4
รอบที่ 5 คะแนนหลัก 5
เท่ากับ Progress 1+2+3+4+5=15

ส่วนน้อง Suppavich ก็
ผมก็ไม่ค่อยแน่ใจนะครับ แต่ก็พยายามจะอธิบายตามที่เข้าใจนะครับ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด เป็นระบบการนับคุณภาพคะแนน ซึ่งพัฒนาจากเซียนออสเตรียในปี 1873 มีนามว่า Oscar Gelbfuhs
หลังจากนั้นได้นำมาใช้ครั้งแรกที่เมือง Liverpool ในปี 1882 โดย Wilhelm Sonneborn และ Johann Berger
และได้นำมาใช้งานทั่วไปในปี 1886

โดยปกติแล้ว Sonneborn-Berger จะนำมาใช้ในการแข่งขันทุกคนเจอกัน เพราะการคิด Buchholz
ในการแข่งขันที่ทุกคนเจอกันนั้นไม่มีความหมาย เพรา Buchholz ระหว่างแต้มเท่ากัน เหมือนกันแน่นอน

หลักการคิดก็คือ ให้คิดคะแนนที่ชนะเต็มบวกครึ่งหนึ่งของคะแนนที่เสมอ นั้นก็คือคะแนน Sonneborn Berger

กล่าวก็คือการชนะคนที่อยู่มีคะแนนมาก จะได้คะแนนมากกว่า การชนะคนที่มีคะแนนน้อย
จึงทำให้เหตุที่ผมเรียกว่าคุณภาพคะแนน

ยกตัวอย่าง น้องแบงค์ จาก ความเห็นที่ 42

Chayatorn Panichkul ชนะ 1 คะแนน บาย 0
Zantot Kovityanon ชนะ 2.5 คะแนน บาย 0
Pattaraphol Leelachaikul ชนะ 3 คะแนน บาย 1
Ratchphon Thanrotrung ชนะ 4 คะแนน บาย 0
Suppavich Teerajamtrangkul ชนะ 3 คะแนน บาย 1

ชนะรวด นับไม่ยาก ก็เอามารวมกันหมด
1+2.5+3+4+3 =13,5
-บาย 0.5*2 =1
Sonneborn-Berger สุทธิ 12,50


ส่วนน้อง Suppavich ความเห็นที่ 43

Ratchaphon แ้พ้ 4 คะแนน บาย 0
Bye ชนะ 2.5 คะแนน บาย 0
Kanakorn ชนะ 2.5 คะแนน บาย 0
Pattaraphol ชนะ 3 คะแนน บาย 1
Thanadon แพ้ 5 คะแนน บาย 0


ชนะ Bye จะนับเป็นเสมอ ได้ครึ่งเดียวจาก 2.5เป็น 1.25
ชนะ Kanakorn ได้ 2.5 คะแนน
ชนะ Pattaraphol ได้ 3 คะแนน
รวม 6.75 คะแนน
ลบคะแนนบาย 0.5*1 = -0,5
Sonneborn-Berger สุทธิ 6.25 คะแนน

ส่วน Progress ผมก็ไม่แน่ใจว่าหมายถึงอะไร คิดว่าน่าจะเป็นการรวมคะแนนหลักแต่ละรอบ ยกตัวอย่าง
ในภาพที่เห็นด้านบนนี้

อย่างน้องแบงค์

รอบแรก คะแนนหลัก 0
รอบที่ 2 คะแนนหลัก 1
รอบที่ 3 คะแนนหลัก 2
รอบที่ 4 คะแนนหลัก 3
รอบที่ 5 คะแนนหลัก 3

Progress= 0+1+2+3+3= 9,0

การคิด Progress สันนิฐานว่า คนที่เล่นและชนะในรอบแรก
น่าจะได้อันดับดีกว่าคนที่เพิ่งมาได้คะแนนหลังๆจากคู่ต่อสู้ที่อ่อนกว่า

Progress ไม่พิจารณาว่า ชนะบาย หรือชนะโดยไม่ต้องแข่ง

คิดว่าประมาณนี้นะครับ เพื่อความแน่ใจรอให้ผู้เชี่ยวชาญมาชี้แนะละกันครับ

โดย : *ปาณิศา Member - Դ : 081-6290182  [ 11/09/2010, 13:28:30 ]

74



Progress Table

โดย : *ปาณิศา Member   [ 11/09/2010, 13:29:16 ]

75



สรุปคือ จัดอันดับได้หลายวิธี
อย่างเช่นในตัวอย่างนี้
จัดตาม

P=คะแนนหลัก
1=Buchholz
2=Sonneborn-Berger
3=Progress

โดยส่วนตัวแล้ว แค่ P,1,2 ก็น่าจะพอแล้ว

โดย : *ปาณิศา Member   [ 11/09/2010, 13:32:27 ]

76

ในเมืองไทยนี้จะมีคนอธิบายคะแนน Tie-Break ที่เป็นกรรมการฝรั่งสำเหร็จรูปมากับโปรแกรมได้ซักกี่คน
คุณปาณิศาพอจะทราบไหม
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 13:36:02 ]

77

ผมเองก็เห็นคล้อยตามคุณปาณิศาเกี่ยวกับการคิดคะแนน Tie-Break แบบ Minor Scores
ถ้าใช้จริงก็คงมีปัญหาตามมาอีกมากเกี่ยวกับการให้คะแนนของกรรมการ
ในตอนที่ผมใช้มาตลอดนั้นไม่มีปัญหาเพราะว่าผมเองได้ให้คะแนน Minor Scores
ไปตามความเป็นจริงจึงไม่เกิดปัญหา
เอาละครับถ้าจะใช้ Tie-Break ที่เป็นกรรมการฝรั่งที่ติดมากับโปรแกรมก็ต้องอธิบายได้อย่างคุณปาณิศา
และ คุณขุนสันต์ ผมคิดว่าในประเทศไทยคงมีไม่กี่คน
แต่ถึงอย่างไรคณะกรรมการผู้จัดการแข่งขันควรประกาศวิธีการคำนวนของกรรมการเหล่านี้ทุกครั้งก่อนการ
แข่งขัน
เมื่อเกิดปัญหากรณีนักกีฬามีคะแนนเท่ากันก็สามารถคิดคะแนนยืนยันกันได้ก็จะหมดปัญหาที่เป็นข้อกังขาเคลือบ
แคลงสงสัยอีกต่อไป
ถ้าต่างฝ่ายต่างดูแลกันได้ปัญหาต่าง ๆ น่าจะคลี่คลายไปในทางที่ดีนะครับ จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 14:32:32 ]

78

โดยปกติแล้ว กรรมการทุกท่านควรเข้าใจกติกาและการให้คะแนนอย่างถี้ถ้วน
และสามารถให้คำตอบต่อนักกีฬาได้เสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการอบรมกรรมการ
ซึ่งอยู่ในการรับผิดชอบของผู้จัดการแข่ง

ท่านสิงห์เคอาร์ถามว่าใครเข้าใจระบบสวิสและสามารถอธิบายในเมืองไทย
คำตอบก็คือมีหลายท่านที่สามารถตอบคำถามนี้ได้

แต่ระบบสวิสไม่ได้มีเพียงแ่ค่คะแนนย่อยเท่านี้ ที่เป็นปัจจัยในการประกบคู่
ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ละเอียดกว่าั้นั้น ทั้งหมดนี้ไม่เพียงอาศัยแต่การอ่านคู่มือ
แต่อาศัยประสบการณ์ในการไปชมการแข่งขันและติดตามผลการแข่งเป็นเวลานาน จึงจะเริ่มเข้าใจระบบสวิสถึงแน่แท้


ส่วนในเรื่องการอธิบายในการใช้ระบบสวิสกับโปรแกรมนั้น ต้องขึ้นอยู่กับโปรแกรม มีหลายโปรแกรมให้เลือกใช้
แต่คะแนนคงยังไม่เปลี่ยนแปลง

ในการแข่งขันที่ผมจัด ผมได้เชิญคุณ Kai Tuorila และ Peter Darby มาเป็นกรรมการ
ซึ่งผมได้ทำกับทั้งสองท่านและได้เห็นว่า ทั้งสองท่านมีความสามารถในการประกบคู่ โดยไม่ใช้โปรแกรม
และใช้โปรแกรมได้ตามหลักเกณท์ที่ถูกต้อง ซึ่งถ้าถามว่าใครอธิบายได้ละเอียดในประเทศไทย
ผมก็ขอยกให้สองท่านนี้

โดย : *ปาณิศา Member   [ 11/09/2010, 16:17:20 ]

79

ผมขอขอบคุณ คุณปาณิศา ที่พยายามอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบสวิสให้ทุกคนได้กระจ่างขึ้น
ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นเช่นนั้นนะครับ ฝ่ายนักกีฬาผู้ปกครองทั่วไปส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจในระบบดี
ก็เหมือนกับคนไม่รู้กฏหมายซึ่งก็ต่างฝ่ายต่างคิดไปคนละทาง
เมื่อทุกคนเข้ามาอ่านในกระทู้นี้แล้วได้รับความกระจ่างขึ้น
ก็หวังว่าผู้บรรยายทุกคนคงไม่ผิดหวังที่จะมอบความรู้ต่าง ๆ ให้คนในวงการต่อไป
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 16:43:05 ]

80



ต่อไปนี้เป็นการประกบคู่รอบที่ 1 ด้วยวิธีการให้ Raing กับนักกีฬา
จะให้เป็นบางคนก็ได้แล้วแต่ความมุ่งหมายของกรรมการผู้จัด ซึ่งการให้ Rating
เป็นสิทธิที่ผู้จัดการแข่งขันจะมอบให้นักกีฬาแต่ละคนตามผลการแข่งขันที่ผ่าน ๆ มา
หากไปเปรียบเทียบกับการประกบคู่รอบที่ 1 แบบเรียงตัวอักษรใน คห.ที่ 30 และ 32 จะเห็นได้ว่า
ก เคยเป็นหมากเลขประจำตัว 1 แต่คราวนี้ ก มี Rating น้อยกว่าคนอื่นจึงได้หมายเลขประจำตัว 5 ข
ซึ่งมี Rating ดีกว่าคนอื่นก็ได้หมายเลขประจำตัว 1 แทน หาก Piaring ประกบคู่ในรอบที่ 1
ก็จะได้ผลที่แตกต่างกันออกไปจากแบบเรียงตัวตามอักษร
จุดประสงค์หลัก ๆ ในการประกบคู่แบบนี้คือพยายามไม่ให้นักกีฬาที่มี Rating สูง ๆ
ต้องมาเจอกันเองในรอบที่ 1 ซึ่งจะทำให้ผลการแข่งขันใช้จำนวนรอบเพิ่มมากขึ้น
จากการที่ผมเคยจัดการแข่งขันมาภายใน 5 รอบ นักกีฬาที่มี Rating สูง ๆ
ก็จะไปเกาะกลุ่มอยู่ข้างบนของตารางได้แล้ว
หากใช้รอบแรกประกบด้วยวิธีเรียงตามตัวอักษรหากนักกีฬามือเต็ง ๆ มาชนกันก็คงต้องใช้ 6 - 7 รอบ
แต่ก็นั่นละครับการจัดการแข่งขันที่ดีควรกำหนดจำนวนรอบให้แน่นอนเสียก่อนว่ากี่รอบ
ไม่ใช่นักกีฬาของตัวเองยังไม่ขึ้นมาบนตารางก็ต่ออีกรอบอย่างนี้คงไม่ถูกต้องนะครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 17:09:35 ]

81



คราวนี้ก็ลองมาดูการประกบคู่ในรอบที่ 1 อีกแบบหนึ่งคือการใช้ Title
เข้ามาเกี่ยวข้องก็ด้วยจุดประสงค์คล้าย ๆ กับการจัด Rating
แต่เนื่องด้วยการจัดแข่งขันครั้งนี้เป็นรายการที่จัดขึ้นมาใหม่ไม่มีผลการแข่งขันของนักกีฬาที่ผ่าน ๆ มา
แต่ก็พอรู้ฝีมือของแต่ละคนดีเป็นที่ยอมรับกับคนทั่วไป
ในครั้งนี้ได้ใส่ Title แบบ gm ให้กับ ค ฅ ง จ ช ญ และ ฐ จำนวน 7 คน
หลังจากประกบคู่รอบที่ 1 แล้ว ก็ลองเปรียบเทียบกับการใช้ Rating ดู จะเห็นได้ว่า
ระบบจับคู่ตามหมายเลขประจำตัวตามโปรแกรมก็ยังอยู่เหมือนเดิม
แต่ตัวนักกีฬานั้นถูกปรับเปลี่ยนไปตามระบบกลุ่ม Title ที่ให้
ซึ่งวิธีนี้ก็จะให้ผลการแข่งขันใกล้เคียงกับการใช้ Rating
การประกบคู่ในรอบที่ 1 นี้ก็ยังมีอีกหลายวิธีนะครับซึ่งแต่ละวิธีก็มีจุดประสงค์คล้าย ๆ
กันซึ่งจะก่อให้เกิดผลดีต่อการจัดการแข่งขันที่มีเวลาจำกัด
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 11/09/2010, 17:42:37 ]

82

สรุปได้ว่า โปรแกรมสามารถแบ่งได้แบบ ไม่ว่าจะอายุ น้ำหนัก ความสูง ความสามารถ ศักดิ์นักหมากรุก เพศ ฯลฯ
ขึ้นอยู่กับผู้ใช้โปรแกรมครับ

ขอบคุณครับ

โดย : *ปาณิศา Member   [ 12/09/2010, 00:04:59 ]

83

ต่อไปนี้คงจะเป็นการอธิบายถึงการฮั๊วในหมู่นักกีฬากันเอง มีโจทย์อยู่ว่า มีกลุ่มนักกีฬาที่เก่ง ๆ
อยู่ 5 - 6 คนได้แก่ ก ข ค ฅ ฆ และ ง ในบรรดา 6 คนนี้ ค เหนือกว่าเพื่อน
กล่าวคือ ก ข ฅ ฆ และ ง ไม่สามารถเอาชนะได้เลยมีเสมอกับแพ้ สำหรับ ค
ก็เช่นเดียวกันถ้าเล่นกับกลุ่มนักกีฬากลุ่มนี้ใน 1
กระดานก็ทำได้แค่เสมอเท่านั้นถ้าจะชนะก็เรียกได้ว่าหึดขึ้นคอ จึงทำให้เกิดการฮั๊วในหมู่นักกีฬาในลักษณะ
4 - 5 คนรุม 1 ซึ่งจะได้บรรยายเป็นลำดับต่อไป
การแสดงตัวอย่างครั้งนี้เป็นการสาธิตให้ดูเท่านั้นเอง
หากมีผู้ใดเข้ามาวิจารณ์ก็ขอให้ไม่ต้องพูดถึงชื่อจริงของนักกีฬาที่จะก่อความเสียหายต่อบุคคล
ขอขอบคุณครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 12/09/2010, 06:37:52 ]

84



ในรอบที่ 1 นี้ ก ข ค ฅ ฆ และ ง ก็เล่นกับนักกีฬาคนอื่น ๆไปตามปกติ

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 12/09/2010, 06:47:32 ]

85



ในรอบที่ 2 ฅ เจอกับ ก ฝ่าย ฅ ยอมแพ้ต่อ ก
สำหรับ ค ก็เล่นไปตามปกติ ชนะต่อ ฐ

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 12/09/2010, 06:50:34 ]

86



ในรอบที่ 3 ก เจอกับ ค ฝ่าย ก ก็พยายามดันเสมอก็ทำได้สำเหร็จ

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 12/09/2010, 06:52:45 ]

87



ในรอบที่ 4 ข เจอกับ ก ฝ่าย ข ก็ยอมแพ้เทคะแนนให้ ก สำหรับ ค เจอกับ ฆ
ซึ่งเป็นกลุ่มฮั๊วดีงกล่าว ผลออกมาก็เสมอ หากดันเสมอไม่ก็ยังมี ง มาเสริมอีกรอบได้

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 12/09/2010, 06:57:24 ]

88



ในรอบที่ 5 ก เจอกับ ฆ ผลก็ออกมาตามคาดเพราะเป็นพวกเดียวกัน สำหรับ ค ก็เจอกับ ง
กลุ่มเดิมถึงจะชนะก็ไม่ได้แชมป์แล้ว
เรื่องนี้เป็นการสาธิตให้ดูในลักษณะการฮั๊วในหมู่ของนักกีฬาขอให้ผู้วิเคราะห์ได้ใช้วิจารณญาณด้วย
ครับระบบการแข่งขันทุกระบบย่อยมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปไม่มีระบบใดที่สมบูรณ์ที่สุด
ทุกคนก็ทราบดี ระบบสวิสมักจะมีปัญหาตอนท้ายการแข่งขัน
ซึ่งอาจมาจากตัวกรรมการผู้จัดเองหรือมาจากนักกีฬา แต่ตอนต้น ๆ
การแข่งขันระบบสวิสถือว่าได้ให้ความยุติธรรมต่อนักกีฬามากที่สุด
สำหรับการแข่งขันระบบแบ่งสายน๊อคเอ๊าว์ก็มีปัญหาตอนจัดมือวางซึ่งบางครั้งก็ขัดต่อสายตาคนดู
แต่แข่งขันในรอบท้าย ๆ
เป็นการพิสูจน์ฝีมือของนักกีฬาแบบตัวต่อตัวไม่มีใครมาช่วยได้จนถึงรอบชิงชนะเลิศก็มีคู่ชิงที่เป็นไฮไลท์ข
องการแข่งขันให้ดูว่าใครชิงกับใคร
จึงเป็นที่มาของการจัดแข่งขันแบบเอา 2 ระบบมารวมกัน เอาส่วนดีของระบบสวิสตอนต้นมาใช้
และเอาส่วนดีของระบบน๊อคเอาว์ตอนท้าย ๆ มาใช้
แต่ก็ยอมรับนะครับก็ไม่ใช่หนทางดีที่สุดนะครับก็ยังพบจุดอ่อนบ้างบางประการ
ถึงอย่างไรก็เป็นวิธีเดียวที่เกลี่ยความพอใจให้ทุกฝ่ายได้
จากประสบการณ์ที่ผมเองได้เคยจัดแข่งขันมาคือทดลองมามากแล้ว พบว่า จัดแข่งระบบสวิส 3 รอบ
(ทั้งนี้ต้องให้ Rating หรือ Title ให้กับนักกีฬาด้วย) แล้วคัดเอานักกีฬา 8
คนตามลำดับคะแนนในตารางมาเข้าระบบน๊อคเอาว์ ดังนี้
คู่ที่ 1 อันดับที่ 1 เจอ อันดับที่ 8
คู่ที่ 2 อันดับที่ 2 เจอ อันดับที่ 7
คู่ที่ 3 อันดับที่ 3 เจอ อันดับที่ 6
คู่ที่ 4 อันดับที่ 4 เจอ อันดับที่ 5

คู่ที่ 5 ผู้ชนะในคู่ที่ 1 เจอกับ ผู้ชนะในคู่ที่ 4
คู่ที่ 6 ผู้ชนะในคู่ที่ 2 เจอกับ ผู้ชนะในคู่ที่ 3

คู่ชิงชนะเลิศ ผู้ชนะในคู่ที่ 5 เจอกับ ผู้ชนะในคู่ที่ 6
ครับนี่เป็นการนำเสนอเท่านั้นสำหรับผู้จัดการแข่งขันจะใช้การจัดแข่งขันระบบใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับวิ
จารณญาณของผู้จัดเองนะครับ ขอบคุณครับ
จาก สิงห์เคอาร์ jugudliang@yahoo.com

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 12/09/2010, 07:35:58 ]

89



บางครั้งในการแข่งมีนักกีฬาจำนวนมากผู้จัดไม่สามารถเซ็ทรายการการแข่งได้ทันก็เกิดแนวความคิดที่เอาน
ักกีฬารายการต่าง ๆ มารวมกันหมด ได้แก่ ผู้ชายระดับแกรนด์มาสเตอร์(gm)
ผู้หญิงระดับแกรนด์มาสเตอร์(wgm) ผู้ชายระดับปานกลาง(im) ผู้หญิงระดับปานกลาง(wim) และ
เด็กผู้ชาย(fm) จับมาแข่งด้วยกันแต่ต้องมีแต้มต่อแฮนดิแคปนะ ตัวอย่าง gm ต่อ wgm .5 คะแนน
wgm ต่อ wim = 2 - .5 = 1.5 คะแนนเป็นต้น ซึ่งก็ดูตัวอย่างที่สาธิตข้างบน
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 13/09/2010, 07:24:56 ]

90



ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจให้กับทุกคนก่อนว่า ในโปรแกรมสวิสเปอร์เฟ็ก 98
ที่นิยมใช้ในเมืองไทยเพราะง่ายต่อการใช้ จะไม่มีแมนูประกบคู่ด้วยวิธีสุ่ม(random)นะครับ
การประกบคู่ในแต่ละรอบจะกระทำได้ 2 วิธีเท่านั้นคือ อัตโนมัติตามโปรแกรม(Automatic) และ
แพร์มือ(Manaul)
ลองดูตัวอย่างข้างบน มีนักกีฬามาลงชื่อ 13 คน
ฝ่ายลงทะเบียนก็ลงตามคนที่มาก่อนมาหลังไม่ได้เรียงตัวอักษร
เมื่อประกบคู่โดยวิธีอัตโนมัติตามโปรแกรมแล้วก็จะได้ผลดังที่ได้โชว์ จะเห็นได้ว่า
ลักษณะการประกบคู่คือ แบ่งนักกีฬาออกเป็นสองส่วน คือ หมายเลขประจำตัว 1 - 6 จะเป็นกลุ่มที่ 1
และนักกีฬาหมายเลขประจำตัว 7 - 12 จะเป็นกลุ่มที่ 2 สำหรับเศษสุดท้ายหมายเลข 13 ก็ได้ bye ไป
คู่ที่ 1 หมายเลขประจำตัว 1 เจอกับ 7
คู่ที่ 2 หมายเลขประจำตัว 8 เจอกับ 2
คู่ที่ 3 หมายเลขประจำตัว 3 เจอกับ 9
คู่ที่ 4 หมายเลขประจำตัว 10 เจอกับ 4
คู่ที่ 5 หมายเลขประจำตัว 5 เจอกับ 11
คู่ที่ 6 หมายเลขประจำตัว 12 เจอกับ 6
คู่ที่ 7 หมายเลขประจำตัวที่ 13 ได้ bye

ครับไม่ว่าจะมีนักกีฬากี่คนโปรแกรมก็จะประกบคู่ในรอบแรกด้วยวิธีนี้เสมอไม่เปลี่ยนแปลง
หลังจากการประกบคู่เรียบร้อยแล้วโปรแกรมก็จะเรียงรายชื่อนักกีฬาตามตัวอักษรให้ตามแผ่นที่อยู่ทางขวา
มือ ซึ่งการประกบคู่ด้วยวิธีนี้ก็เสมือนว่าเป็นการประกบคู่ด้วยการสุ่ม(random)ทางอ้อม ไม่ใช่โดยตรง
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 13/09/2010, 07:47:19 ]

91



บางครั้งจะเห็นว่ารายชื่อนักกีฬาบางคนไม่เรียงตามตัวอักษร คือ จะมีนักกีฬาชื่อนำหน้า ส
มาแทรกอยู่ระหว่าง ค และ จ สาเหตุเนื่องมาจากหลังการประกบคู่ในรอบที่ 1 และประกาศไปแล้ว
และนักกีฬาก็เล่นไปแล้ว 5 - 10 นาที อาจเนื่องจาก นาย งง ไม่มา แต่
สวัสดีมาพอดีก็เลยให้ไปเล่นกับคู่ที่ 3 โดยได้เปลี่ยน นาย งง ออกไป
จึงได้ผลการประกบคู่เหมือนข้างบน
วิธีนี้เป็นวิธีแก้ปัญหาของกรรมการผู้จัดแข่งขันไม่ได้ผิดจรรยาบัลย์แต่อย่างใด
หากพบว่ามีการแพร์มือตั้งแต่รอบที่ 2
เป็นต้นไปก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบัลย์ของกรรมการผู้จัดการแข่งขันเอง
ก็ขอให้ทุกคนได้เข้าใจด้วย
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 13/09/2010, 07:58:54 ]

92

"...ชนะบายไทเบคดีกว่าคนที่มี่คู่แข่ง...." ?

ก่อนอ่ื่น ต้องเข้าใจถึง 'เหตุผลพิ้นฐาน' ของไทเบรกแต่ละแบบ ก่อนครับ...

เข่น โปรเกรส (Progressive scores) มีสมมุติฐานว่า หากมีผู้เล่นสองหรือสามคนที่คะแนนสุดท้ายเท่ากัน
ผู้ที่ได้คะแนนสะสมมาจากในรอบแรกๆมากกว่า คือผู้ที่ต้องพบกับคู่แข่งที่มีฝีมือ หรือผลงาน(ในรายการนี้)
สูงกว่า...

แต่ สมมุติฐาน นี้ ก็มาจาก 'เงื่อนไข' ว่า ผู้เล่นส่วนใหญ่มีการจัดลำดับฝีมือ (เช่น ratings)
ที่เชื่อถือได้ (reliable) ...คือเป็นแบบ Seeded Swiss.... และ [สำคัญมาก] ไม่มีผล แพ้-ชนะ
ระหว่างผู้เล่นที่คะแนนเท่ากันในรอบหลังๆ

เช่น ในการแข่ง 6 รอบ ... หลังรอบ 5 A ได้ 5 แต้ม B ได้ 4 แต้ม ... แต่เกมสุดท้าย B ชนะ A
จึงมีคะแนนรวม เท่ากัน...หากใช้ tie-break แบบ Progress A จะได้แชมป์...ซึ่งไม่ถูกต้อง
--------------------------------------------
สำหรับ Bucholtz และ Son-Berger เป็นการดู "ผลการแข่ง" ของคู่แข่ง...ก็คือ 'คุณภาพ'
ของคู่แข่ง.ตามที่หลายคนบอกมาข้างต้น.... แต่ต้องเข้าใจว่า นี่ดูที่ "ผลการแข่ง" (Game
results) ไม่ใช่ "คะแนน" (scores)...

ดังนั้น เกมที่ไม่มีการแข่งจริง ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็จึงถือว่ามีผลเสมอ (คือ ยุติธรรม ที่สุดสำหรับทุกคน
โดยเพาะอย่างยิ่งกับคนที่เคยแข่งกันมา).........เช่นในรอบแรกๆ ผู้เล่นที่มีฝีมือสูงสุดในรายการ
เกิดอุบัติเหตุ ตื่นสาย ฯลฯ และแพ้บายต่อผู้เล่น A....แต่รอบที่เหลือชนะรวด.....หรือ [สำคัญกว่า]
ผู้เล่นที่มาแข่ง 2-3 รอบ แล้วถอนตัวไป ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม...
-------------------------------------------------

ในระบบ Swiss แบบบุคคล (คือไม่ใช่ทีม) tie-break แรกที่ดีที่สุด คือ "ผลของเกมระหว่างกัน"
(Direct Encounter) เพื่อป้องกันปัญหาที่ "อาจจะ" เกิดขึ้นได้...ซึ่งก็เป็นสิ่งที่
สหพันธ์หมากรุกโลก (FIDE) แนะนำให้ใช้มา นานนนนนนนนนนนนน แล้ว....

แต่การใช้ tie-break แบบ Direct encounter (หรือ head-to-head) นั้นไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะในลำดับอื่นๆ
นอกเหนือจาก 1-5 ลำดับแรก.... เช่นในกลุ่มที่ได้ 3 คะแนน (ตอนจบ 6 รอบ) !!!!
-------------------------------------------------------

อย่างไรก็ตาม ผมดูตารางผลใน คห. 10 แล้ว.... ยืนยันได้ว่า >>>>>>>>
ไม่มีปัญหา หรือสิ่งผิดปกติใดๆทั้งสิ้น
!
.........ไม่มีประเด็นใดๆให้มานั่งถกกันเลยยยยยยยย จริงๆนะ :-)

โดย : Poompat Member   [ 13/09/2010, 14:03:28 ]

93

ขอบคุณครับ คุณ Poompat การใช้ Tie-Break
ที่เป็นกรรมการที่ติดมากับโปรแกรมน่าจะเป็นหนทางดีที่สุดเพราะว่าในส่วนของกรรมการผู้คุมคอมพิวเตอร์ไม่สา
มารถไปเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ หากอธิบายสิ่งเหล่านี้ไปสู่คนหมู่มากก็จะทำให้มีความเข้าใจตรงกัน
คิดว่าต่อไปคงจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้อีก
ขอบคุณครับ จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 13/09/2010, 14:31:06 ]

94

สำหรับ ไทเบรกแบบ Berger ใน swissperfect นั้น เวลาคิดจะนำคะแนนที่คู่ต่อสู้มีอยู่จริง มาคิด
จะไม่พิจารณาว่าชนะบายหรือแพ้บายมา
ซึ่งเป็นวิธีที่วงการหมากรุกสากลของไทยนิยมใช้ก่อนยุคที่จะนำคอมพิวเตอร์มาเป็นตัวดำเนินการประกบคู่
ผมก็ขอแนะนำว่าเวลาแจ้งการใช้ไทเบรกแบบBuchholz และ ไทเบรกแบบ Berger ให้เสริมคำว่า"ของโปรแกรม
swissperfect "เข้าไปด้วยครับ

ตัวไทเบรก แบบBuchholz ของ swissperfect ก็มี bug อยู่ ( เช่นเดียวกับ โปรแกรม swissmenager
ผมไม่แน่ใจว่า โปรแกรม swissmanager จะแก้ไขให้ตรงตามกติกาของสหพันธ์หมากรุกโลกหรือยัง
ตามที่มีผู้แจ้งเรื่องนี้ให้ทางฟีเดทราบและทางฝ่ายที่รับผิดชอบด้านนี้ของฟีเดเองก็แจ้งตอบมาว่าจะแก้ไขใน
การปรับปรุงครั้งหน้า)
คือกติกาของฟีเดกำหนดว่าเวลาคิดไทเบรกเกมที่ไม่มีการแข่งขันให้ถือว่าผู้เล่นคนนั้นๆเสมอกับตัวเอง

โดย : ขุนสันต์ Member   [ 13/09/2010, 20:59:50 ]

95

ถามคุณขุนสันต์อีกนิดครับ น่าจะใช้ Buchholz และ Berger แค่ 2 ตัวนี้น่าจะเพียงพอ
หรือต้องใช้ Progress ด้วย
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 13/09/2010, 21:09:23 ]

96

ในบางครั้งเป็นการแข่งขันระหว่าง สโมสร(Clup) หรือ สมาคม(Federation)
แต่ละฝ่ายก็จัดนักกีฬามาร่วมแข่งขัน แต่มีข้อแม้ว่านักกีฬาฝ่ายตนเองจะไม่แข่งด้วยกัน
คือจะต้องแข่งกับต่างสมาคมหรือสโมสรเท่านั้น ดังจะแสดงให้ดูเป็นลำดับต่อไป
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 15/09/2010, 07:08:21 ]

97



จะเห็นได้ว่าในตัวอย่างนี้มี 3 สมาคมที่เข้าร่วมแข่งขัน ได้แก่ ส1 ส2 และ ส3
แต่ละสมาคมก็ส่งนักกีฬาฝ่ายละ 4 คน โดยมีข้อแม้ว่านักกีฬาฝ่ายของตนเองจะไม่เจอกัน
ดังนั้นการตั้งค่า Option ของการประกบคู่ก็ต้องตั้งให้มีปัจจัย clup หรือ Federation
มาเกี่ยวข้อง พร้อมกับใส่ ส1 ส2 และ ส3 ให้กับนักกีฬาแต่ละคนด้วย
ก็จะได้ผลการประกบคู่ในรอบที่ 1 ตามแผ่นข้างบน โดยจะไม่มีนักกีฬาของฝ่ายตยเองมาพบเจอกันเองเลย
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 15/09/2010, 07:29:11 ]

98



มาถึงรอบ 2 การประกบคู่ก็เป็นไปตามกฏการประกบคู่เดิมคือจับกลุ่มที่มีคะแนนเท่ากันมาเจอกัน
แต่คราวนี้ก็ต้องเอาปัจจัย clup แล Federation มาเกี่ยวข้องด้วยคือนักกีฬาฝ่ายเดียวกันไม่ต้องเจอกัน
ดังจะได้เห็นตัวอย่างข้างบน
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 15/09/2010, 07:33:43 ]

99



มาถึงรอบที่ 3 ก็เช่นเดียวกับรอบที่ 2

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 15/09/2010, 07:35:25 ]

100



มาถึงรอบที่ 4 ก็เช่นเดียวกับรอบที่ 2 และ 3

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 15/09/2010, 07:36:39 ]

101



มาถึงรอบที่ 5 การประกบก็เช่นเดียวกับรอบที่ผ่านมา
ก็ลองพิจารณาผลการแข่งขันก็เหมือนการแข่งขันทั่วไป
การแสดงตัวอย่างนี้ก็เพื่อให้ทุกคนได้เห็นแบบการแข่งขันของฝรั่งเขานั้นมีมากหลาย
สำหรับวิธีการนี้ยังไม่มีใครจัดแข่งในเมืองไทย
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 15/09/2010, 07:42:26 ]

102

ถามจัดแข่ง..แบบสวิส..นั้นดีไหม
ต้องถามใจ..คนจัด..ว่าชื่นชอบ
ที่บรรยาย..ผ่านมา..คือคำตอบ
ต้องขอขอบ..คุณอย่างมาก..ผู้ร่วมแจม
จัดแข่งขัน..แบบสวิส..มีปัญหา
แต่ก่อนมา..ไม่รู้ซึ้ง..ถึงของแถม
ครางแครงใจ..คล้ายเยียบ..เรือสองแคม
ด้นรอนแรม..ถามไถ่..ไขความจริง
ด้วยแรกเริ่ม..สงสัยที่..กรรมการ
โดยวิจารณ์..ประกบคู่..การแพร์ริ่ง
เจอมือเต็ง..ทุกที..สงสัยจริง
ด้วยเกรงกริ่ง..มีจับคู่..แบบแพร์มือ
ข้อที่สอง..สงสัย..การตัดสิน
บ่อยได้ยิน..คะแนนเท่า..ไม่ไขสือ
บุ๊ชโฮลส์..โปรเกรส..ที่ร่ำลือ
บอกกล่าวคือ..แสดงวิธี..คิดให้ดู
ทั้งสองฝ่าย..ได้ยิน..เร่งศึกษา
ถึงที่มา..ข้อขัดแย้ง..ที่อดสู
ที่ผ่านมา..ถ้าผิด..คิดเป็นครู
ปรับปรุงสู่..อนาคต..ที่สดใส
ก่อนจะจบ..คำรำพัน..อันฝันเฟื่อง
อย่าขุ่นเคือง..ผมเลย..เฉลยไข
ปัญหาอื่น..ทุกคน..คงเข้าใจ
ประโยชน์ใด..หวังอยู่..นั้นไม่มี
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 15/09/2010, 09:41:44 ]

103



ก่อนอื่นต้องขอย้ำความเข้าใจเกี่ยวระบบประกบคู่(Piaring)ในโปรแกรมสวิสเปอร์เฟ็ก 98
ว่าไม่มีเมนูสุ่ม(Random) ซึ่งก็ได้กล่าวไปแล้ว
ในความเป็นจริงในโปรแกรมนี้มีแต่การประกบคู่ด้วยวิธีอัตโมติตามโปรแกรม(Automatic) และ แพร์มือ(Manual)
เท่านั้น
ใน คห.ที่ 90 ได้แสดงถึงวิธีประกบคู่ในรอบแรกซึ่งจะเป็นวิธีสุ่ม(Random) ทางอ้อมแบบหนึ่ง
ไม่ใช่โดยตรง
ในครั้งนี้ก็เป็นการแสดงถึงวิธีการประกบคู่วิธีเดียวกันแต่จะให้ซอยละเอียดไปกว่าเดิมอีกนิด
ดังจะได้เห็นจากแผ่น 4 แผ่นข้างบน
-แผ่นที่ 1 เป็นรายชื่อนักกีฬาที่มาลงทะเบียนตามลำดับก่อนหลังไม่ได้เรียงตัวอักษร
-แผ่นที่ 2 เป็นรายชื่อนักกีฬาหลังจากกด Pairing รอบที่ 1 ไปแล้ว
โปรแกรมก็จะเรียงลำดับนักกีฬาตามตัวอักษรพร้อมกับให้หมายเลขประจำตัวนักกีฬาตามลำดับ
-แผ่นที่ 3 ผลการประกบคู่รอบที่ 1 ซึ่งใช้วิธีเดียวกับ คห.ที่ 90 กล่าวคือ ใช้กรรมวิธี Run
การประกบคู่ไปตามโปรแกรมตั้งไว้คือ มีหน้าที่กด OK และ Yes ก็จะได้การประกบคู่ตามแผ่นที่ 3 นี้
หากต้องการให้มีการประกบคู่ให้ละเอียดขึ้น เพื่อให้ทุกฝ่ายมองไม่เห็นว่า ใครจะไปเจอใครในรอบแรก
ก็ต้องใช้วิธีตั้งค่าใน Tournament Options ในเรื่อง Accelerated Pairings และ ตั้งค่า
Participants เป็น 8 หรือ 10 สุดแล้วแต่ความต้องการของผู้จัดการแข่งขัน ในครั้งนี้ตั้งไว้ 10
ก็หมายความว่าได้แบ่งกลุ่มนักกีฬาออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน
ในการประกบคู่ส่วนใหญ่จะใช้กฏของ FIDE สำหรับการแข่งขันแบบอเมริกัน USCF มักจะเอา Rating
เข้ามาเกี่ยวข้องโดยใช้ Accelerated Pairings ก็เพื่อมุ่งหมายที่จะให้มือวางที่มี Rating
เร่งเจอกันก่อนในรอบต้น ๆ แต่ในการจัดแข่งขันแบบ FIDE หากจัดแบบเรียงโดยเรียงตามตัวอักษรแล้วใช้
Accelerated Pairings ช่วยก็จะทำให้การประกบคู่นั้นซอยละเอียดลงไปอีก
ดังจะเห็นผลของการประกบคู่ในแผ่นที่ 4
ผลการแข่งขัน 5 รอบ จากการประกบคู่ในแผ่นที่ 3 และ แผ่นที่ 4 ก็จะให้ผลไม่แตกต่างกันมากนัก
กล่าวคือ นักกีฬามือเต็ง ๆ ก็สามารถขึ้นไปอยู่หัวแถวของตารางได้
ยกเว้นเกิดแอ๊คซิเดนท์เป็นบางคู่เท่านั้น
ก็ขอให้ผู้ที่จะจัดการแข่งขันใหม่ อาทิ คุณ เก้าพร จากเชียงราย ได้ Copy
ไฟล์กระทู้นี้เก็บไว้ในเวิร์ดเพื่อศึกษาข้อดีข้อเสียของระบบสวิสทั้งหมด
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 16/09/2010, 14:22:39 ]

104



ในบางครั้งการจัดการแข่งขันมีหลายประเภทรายการที่จะต้องจัดการแข่งขัน
จะต้องใช้เจ้าหน้าที่ในการทำงานหลายคน คอมพิวเตอร์หลายตัว
มีผู้รับผิดชอบในการคุมการประกบคู่(Piarings) และการป้อนข้อมูลต่าง ๆ
เข้าคอมพิวเตอร์มักมีการผิดผลาดบ่อย ๆ ผลการแข่งขันถ้าผิดนักกีฬาย่อมท้วงเองเพราะมีผลต่อนักกีฬาโดยตรง
แต่ข้อผิดพลาดในการประกบคู่หากดูผิวเผิน ดังใน คห.ที่ 67 ก็ไม่ชัดเท่าไรดูด้วยตาเปล่าไม่ออก
ดังนั้นจะต้องมีผู้ตรวจสอบความถูกต้องของการประกบคู่ในแต่ละประเภทรายการ โดยใช้ Regressive test
ที่อยู่ในแมนู Piaring จะอธิบายได้ดังนี้
1.ถ้าการประกบคู่ในรายการแข่งขันนั้น ๆ เป็นไปโดยระบบของโปรแกรมสวิสเปอร์เฟ็กแล้ว ก็จะปรากฏคำว่า
Existing pairing are identical to those generate by swiss perfect.
2.ถ้าการประกบคู่ในรายการแข่งขันนี้ ตัวอย่างใน คห.ที่ 67 ก็จะปรากฏคำว่า Swiss perfect would have
generated different pairings than the existing ones. เมื่อกด yes ต่อไปก็จะเห็นการสลับตำแหน่งดังใน
คห.ที่ 67
เรื่องเหล่านี้ก็ขอฝากผู้ที่จะทำการตรวจสอบความถูกต้องในการ Pairing
ของรายการแข่งขันที่มีประเภทการแข่งขันเยอะ ๆ ด้วยนะครับ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 16/09/2010, 18:13:53 ]

105

การตรวจสอบเท่าที่ผมเห็นทุกครั้ง ร่วมถึงที่ผ่าน รวมถึงที่ผมทำที่ดินแดง จะประกาศ ทุกครั้งให้
นักกีฬา ตรวจสอบ ความถูกต้องเอง ด้วย เช่น ชื่อผิด คะแนนลงผิด หรือ บางคู่ ที่เราดู จากแพ้
ไม่เขียนอะไรมาเลย กรรมการ ที่เราดู ตรวจสอบความถูกต้อง อยู่ แล้ว เพราะ เราจะตรวจสอบ 2-3 คน

เพื่อไม่ให้เกิด ผิดพลาด นักกีฬา ต้องตรวจสอบเองด้วยครับ และ โค้ช นักกีฬา ก็คอยดูด้วย

ดังนั้น ท่านไม่ต้องห่วง หรอก เพราะเราตรวจสอบความถูกต้องอยู่ แล้ว

ตัวผมเอง แพรมือ ไม่เป็น รับรอง ไม่มีมั่ว

ใช้โปรแกรม Swiss Perferct ล้วนช่วยจัดการ

อนาคตอันใกล้ อาจนำ โปรแกรม ที่ออกเว็บได้
ตอนนี้ ทดลอง ควบคุ่กันไป จนมั่นใจ
แล้ว ถึงจะนำมาใช้จริง
รวมถึงโปรแกรม คำนวน Ratings ด้วยครับ
จะอธิบาย ให้นักกีฬาเข้าใจ
ไม่ต้องมาโมเม๋ หาว่า โกง บ้าง ไม่ยุติธรรมบ้าง

ส่วน เรื่อง การเครื่องมือใดตัดสิน คะแนนตัดสิน
เราที่จัดที่ดินแดง ปรับปรุง หาสูตร ที่เหมาะสมกับ หมากรุกไทย และ มีบางอย่าง
เรารู้เกิดข้อที่ต้องปรับปรุง จากการใช้มา ไม่ใช้ระบบสวิสไม่ด้ และไม่ใช้เป็น ที่โปรแกรม
แต่อยู่ที่ตัวนักกีฬาเอง ที่ต้องแจ้งว่า
ท่านต้องทำอะไรบ้าง อะไร ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของตัวนักกีฬาเอง

โดย : *TBG Member   [ 16/09/2010, 18:37:27 ]

106

ขอบคุณครับ ที่ได้ออกมาชี้แจง
ที่ผมได้กล่าวไปเป็นเพียงเป็นการสร้างระบบให้ทุกฝ่ายได้ตรวจสอบความถูกต้องกันเอง
หากผมได้แสดงความคิดเห็นที่ผิดไปไม่ตรงต่อข้อเท็จจริงก็ขอแย้งได้นะครับ
จะได้ได้เข้าใจตรงกันทั่วประเทศ
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 16/09/2010, 19:10:48 ]

107

ขอขอบคุณ..ผู้ร่วม..สัมมนา
ทุกคนพา..ความรู้..สู้ขยาย
ให้รู้ซึ้ง..ถึงสวิส..คิดกระจาย
เริ่มคลี่คลาย..ปัญหา..สถานการณ์
ด้วยเดี๋ยวนี้..การแพริ่ง..ในรอบแรก
ฉลากแจก..จับแรนดอม..ตามเรียกขาน
สงสัยการ..ประกบคู่..ดูมานาน
เพื่อให้ผ่าน..บริสุทธิ์..ยุติธรรม
ในวงการ..เริ่มพัฒนา..เป็นแบบอย่าง
ทุกฝ่ายวาง..กฎเกณฑ์ไว้..ไม่ถลำ
ที่ผ่านมา..บรรยายไว้..ให้จดจำ
ทุกฝ่ายนำ..จุดอ่อน..ร่อนแก้ไข
หากสงสัย..การประกบคู่..รอบท้ายท้าย
ควรรีบใช้..รีเกรสสีบ..เทสเองได้
สำหรับเรื่อง..อื่นคงไม่..มีอะไร
อวยพรให้..เป็นไป..ตามครรลอง
จาก สิงห์เคอาร์

โดย : สิงห์เคอาร์ Member - Դ : 0870692008 -  [ 03/10/2010, 11:07:13 ]

108

วิธีการแข่งขัน หมากกระดาน หาคน เก่งที่สุด ต้อง แบบนี้ ครับ (ความคิดเห็นส่วนตัว)

แบ่งกาแข่งเป็น 2 รอบ รอบแรก ระบบสวิส คัดมา 8 คน แล้วมาเล่นน็อกเอ้า กัน จะได้ แชมป์ ที่เก่งจริง

รอบแรก แข่งระบบสวิส เป็นการ กรอง หาคนฝีมือดี เข้ามาก่อน และทำให้ผู้เล่นทุกคน ได้เล่นหลายรอบ
เปนการ พัฒนาฝีมือ

รอบสุดท้าย แข่งน็อคเอ้า เพื่อจะได้ ชัดเจน ว่าใครเก่งจริง

การแข่งแบบนี้ กันการ ฮั้วกันได้มากที่สุดแล้ว(ไม่มีวิธีไหนทำได้ 100 เปอเซน) คนเก่ง(เซียนใหญ่)
ก็ไม่ต้องกลัว คู่ต่อสู้จ้องหาเสมออย่างเดียว

โดย : แมน_ Member   [ 10/10/2010, 13:59:06 ]

109

ขอบคุณทุกๆท่านที่ให้ความรู้ เข้ามาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับการสวิส และ ไทเบรคต่างๆได้ความรู้มากๆเลยครับ
ผมมีข้อสอบถามเล็กน้อยเกี่ยวกับการใช้ไทเบรคในแบบต่างๆว่าตัวใดเหมาะสม กับการแข่ง
และลักษณะรูปเกมที่เกิดตามไทเบรคนั้นๆ
1.head-to-head ไทเบรคตัวนี้ผมว่าเหมาะสมที่สุดในการตัดสินเกมส์ ซึ่งถ้าคะแนนเท่ากัน
เราควรจะใช้ไทเบรคตัวรองแบบไหนในการคิด
2.Bucholtz เป็นรูปแบบการคิดที่ได้รวมคะแนนจากคู่ต่อสู้ ที่เราแข่งด้วยทั้งแพ้ เสมอ ชนะ จับมารวมกัน
นำมาหักออกจาก คู่ต่อสู้ที่มีชนะบาย และได้คะแนนถ้าหากชนะบาย 1/2 ของรอบจำนวนที่แข่ง
ในส่วนตัวผมคิดว่าระบบนี้ทำให้การแข่ง เป็นแบบขอเจอเซียนที่เก่งมีฝึมือจะดีมาก เพราะจะเสมอ หรือ แพ้
ก็ได้คะแนนเซียนมาครบ ซึ่งต่อให้แพ้ก็สวิสไปเจอคนไม่ค่อยเก่งมาก ก็สามารถเก็บคะแนนแล้ว ทำให้การแข่ง
ถ้าเซียนเจอเซียนจะออกเสมอ ไปเก็บหมูซะมากกว่า
3.Berger เป็นรูปแบบการให้คะแนนถ้าชนะ ได้คะแนนของคู่ต่อสู้ ถ้าเสมอ ได้1/2 ของคะแนนคู่ต่อสู้ ถ้าแพ้
จะไม่ได้อะไรเลย ถ้าหากชนะบาย ก็ได้คะแนน 0 ซึ่งต่างจากทาง Bucholtzที่ให้1/2ของรอบการแข่งขัน
ในการแข่งที่ใช้ระบบนี้ขึ้นก่อนทางผู้จัดต้องการให้นักกีฬาที่ได้อันดับต้นๆ
ต้องแข่งอย่างเข้มข้นกับเซียนด้วยกันเองเพราะจะได้คะแนนคู่ต่อสู้ได้นั้นต้องชนะ
อย่างต่ำต้องเสมอจะได้1/2 ของคะแนนคู่ต่อสู้ ถ้าแพ้จะไม่ได้อะไร การแข่งจะออกแนวบุก + รัดกุม
คือต้องทำชนะและเสมอถึงจะมีคะแนน จะไปหวังเก็บหมู แบบ Bucholtz ยอมแพ้เซียนลงไปเก็บหมูไม่ได้แล้ว
เพราะการให้คะแนนแบบนี้สมเหตุสมผล เปรียบเทียบกับ Bucholtz ที่ว่าชนะคู่ต่อสู้ต้องได้คะแนนของเค้าหมด
ถ้าเล่นเสมอไม่ควรได้คะแนนครบ ควรแบ่งกันไปคนละครึ่ง และแพ้ไม่สมควรได้คะแนนของฝ่ายตรงข้าม ได้เพียง 0
รูปเกมส์การแข่งขันจะออกแนวบุกเร้าใจ
.......แต่ทั้ง Bucholtz และ Berger เป็นการฝากชีวิตเราไว้กับคู่แข่งที่เราแข่งไปด้วย
ต้องแช่งให้เค้าแพ้เราไป แล้วภาวนาให้เค้าไปชนะคนอื่นเยอะๆ จะทำให้เราขึ้นอันดับต้นๆได้ ซึ่งการรวมคะแนน
ของระบบจะใช้กับผลที่มีปัจจุบัน ไม่ใช่ความคิดเห็นส่วนตัว ว่าเซียนที่เราเล่นด้วยในความคิดเค้าเก่งมาก
เราแข่งกับเค้าแล้ว คะแนนเราน่าจะต้องไปไกลแน่ แต่บังเอิญรายการแข่งนั้น เค้าซ้อมมาไม่ดี
คะแนนในรายการนั้นไม่ดี แต่ดันเดินเก่งกับเราเพียงคนเดียว ในความคิดเราต้องได้อันดับดีแน่ๆ
แต่ผลการแข่งฟ้องมาว่าคนที่เราแข่งที่ชนะมาได้อย่างยากลำบาก ปีนี้ฟอร์มสบู่
เราจึงตกอันดับลงไปไม่เป็นตามที่คาดหวัง ซึ่งการจัดลำดับที่ต้องฝากชีวิตไว้กับคนอื่น ที่เอาแน่นอนไม่ได้
น่าลำบากใจนะครับ....
4.Progressive เป็นการรวมคะแนนท้ายของแต่ละรอบ จับมาบวกกัน การแข่งที่ใช้ระบบนี้
คนที่เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง เช่นแข่ง 5 รอบ คะแนนหลักเท่ากัน คือ 4.5 ชนะ 4 เสมอ 1 แต่นายก. ชนะ 4
รอบแรก เสมอรอบท้าย ได้คะแนน 1+2+3+4+4.5 //14.5 ส่วนนาย ข เสมอรอบแรก ชนะ 4 รอบท้าย ได้คะแนน
0.5+1.5+2.5+3.5+4.5//12.5 ซึ่งเป็นการบอกว่านาย ข เริ่มต้นได้ไม่ดีเป็นเสมอ จึงทำคะแนนไล่ตามนาย ก
ไม่ได้
ระบบนี้จะดีเมอื่มีการจัดอันดับในรอบแรกให้เซียนไม่ชนกันเอง และคนเก่งสวิสแล้วเจอกันไปเรื่อยๆ
แต่ถ้าเป็นการแรนดอมตั้งแต่รอบแรก ผลออกมาจะไม่น่าเชอื่ถือ เพราะไม่รู้ว่าชนะใคร ความสามารถเป็นอย่างไร
เก่งไม่เก่ง แต่ก็มีส่วนดีอิกอย่างคือ เป็นการใช้ความสามารถของตัวเองล้วนๆไม่ต้องพึ่งคะแนนคนอื่น
สไตล์การเล่นจะเป็นชนะรอบแรกๆให้ได้ เสมอรอบท้ายๆจะดี ไม่ต้องสนว่าเจอใคร
5.ตัวนี้ผมไม่ค่อยแน่ใจนะครับว่าเรียกว่าจำนวนครั้งที่ชนะ number of win
เป็นการรวมคะแนนในส่วนที่เราสามารถชนะได้ของการแข่งทั้งหมด เช่น แข่ง 5 นัด นาย ก และ นาย ข มี 4
คะแนนเหมือนกัน โดยที่นาย ก ชนะ 3 เสมอ2 มี win 3 นาย ข ชนะ 4 แพ้ 1 มี win 4
ถ้าเรียงคะแนน นาย ก และ ข มีคะแนนเท่ากัน แต่ นาย ข แข่งบู้เอาชนะได้มากว่านาย ก นาย ข ก็สมควรชนะไป
รูปแบบการแข่งที่ใช้ไทเบรคนี้ จะเป็นการมุ่งหวังเอาชนะ มากกว่า เล่นแค่ยันเสมอ
ทุกคนจะเน้นเดินบุกเอาแต้มให้ได้ เพราะถ้าเสมอได้แบ่งคะแนนแต้มหลักไป แต่แต้มรองจะหายไปหมด
เป็นการใช้ความสามารถตัวเองล้วนๆในการทำแต้ม ไม่ต้องหวังพึ่งคู่ต่อสู้ว่าได้คะแนนเท่าไหร่
6.minor score คะแนนในแต่ละกระดาน ต่อ 1รอบ ในส่วนตัวที่ผมไปแข่งหมากฮอสจะใช้แข่งต่อรอบ 4 กระดาน
แข่งสวิส 5 ถึง 8 รอบ ในแต่ละกระดาน ถ้าชนะได้ 3 เสมอได้1 แพ้ได้ 0 จับรวม 4 กระดานเป็น 1 รอบ
รวมให้ครบทุกรอบที่จัดแข่ง เป็นการแข่งที่ดูว่า เราชนะ แพ้ เสมอ กี่กระดาน ไม่ได้ดูว่าแข่งกะใคร
เก่งแค่ไหน
-----ซึ่งในไทเบรคแต่ละตัวก็จะมีข้อดี ข้อด้อยในตัวเอง ขึ้นกับทางผู้จัด ต้องการเกมส์ออกมาในแนวไหน
รวมทั้งข้อเรียกร้องของนักกีฬาว่าอยากแข่งแบบไหนด้วย จึงต้องปรับหาระบบ ที่รองรับทั้งสองฝ่าย
คนแข่งก็อยากจัดให้สนุก นักกีฬาก็แข่งได้สนุก ------
***ที่ผมเคยพบเห็นการเรียงไทเบรค จะมี ที่ถัดจาก head to head แล้วจะเป็น
1.Bucholtz-Berger-minor score ในหมากรุก หมากฮอส
2.Berger-Bucholtz-minor score ในหมากฮอส
3.Progressive-Bucholtz-Berger ในหมากรุก
ในแบบ 1 และ 2 อาศัยความหนักเบาจากคู่ต่อสู้(ชีวิตฝากไว้) แต่แบบ 3
ใช้ความสามารถตัวเองว่าเริ่มต้นเป็นอย่างไร
****ถ้าหากมีการเรียงอันดับที่รองจาก head to headเป็น อันดับ1.number of win 2. Berger 3.Bucholtz
ผมขอเรียนถามผู้รู้ว่าเหมาะสม หรือไม่ อย่างไร
ขอบคุณมากครับ

โดย : สิงห์ทอง Member   [ 19/05/2012, 01:15:02 ]

 
  E-mail: webmaster@thaibg.com Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved  
 
  Sponsors