[ แสดงกระทู้ท้งหมด]


4th International Shogi Tournament


รายละเอียด

รายละเอียด 4th International Shogi Tournament

ปีนี้แข่งที่ เมือง Tendo วันที่ 6-11 พย. 51

ครั้งนี้ คัด ตัวแทนประเทศไทย 2 คน
ระดับ ดั้ง 1 คน
ระดับ คิว 1 คน
(ยังไม่รู้ว่า จะประเมินใครเป็นดั้งเป็นคิว)

ที่พัก อาหารการกิน ที่โน่น ฟรี หมด
ตั๋วเครื่องบิน ออกไปก่อน แล้วจะจ่ายให้ทีหลัง
(ก็ยังดีกว่าข่าวที่ได้มา ว่าต้องออกค่าตั๋วเครื่องบิน และค่าที่อยู่ ที่กิน กันเอง)

เตรียมพร้อมกันได้เลย
การแข่งขัน คัดเลือกตัวแทนประเทศไทย น่าจะจัดขึ้นในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ นี้ครับ



โดย : ซึซึอิ Member [ 25/12/2007, 12:16:10 ]

ความคิดเห็นที่ : 1

มีเวลาซ้อมกันอีกเยอะ
น่าสนใจตรงคนเล่นน้อย ทำให้มีโอกาสมาก

โดย : กินแต่หมู Member   [ 25/12/2007, 13:02:43 ]

ความคิดเห็นที่ : 2

อ. มิน ไม่ได้มาร่วมแข่งรายการใดๆ หลังจากคัดตัวครั้งที่แล้ว เมื่อ 3 ปี ก่อนเลย

ดังนั้น ผมจึงเดาว่าแกคงไม่มาในครั้งนี้

แต่แค่ ตอนนี้ แต่ละคนก็มีศักยภาพ พอจะชนะ อ. มิน กันได้ทั้งนั้นแล้ว

โดย : ซึซึอิ Member   [ 25/12/2007, 15:08:50 ]

ความคิดเห็นที่ : 3

เชียร์ ว๊าวุ่น จ้าๆๆๆ โย่วๆๆๆ

ไม่อยากให้ตัวแทนของไทยได้มาจากการโกงของใครบางคน หุหุ

โดย : 2litres Member   [ 27/12/2007, 13:53:26 ]

ความคิดเห็นที่ : 4

ต้องเรียกท่านนะครับ ว๊าวุ่น เป็นอัจฉริยะหมากกระดาน และทำชื่อเสียงให้ประเทศชาติครับ เรียก แก
ไม่ได้นะครับ อย่างน้อยก็ต้องสนับสนุนและให้เกียรติกันบ้างนะครับ

ตัวแทนครั้งที่แล้ว นี่ใครเหรอครับ?
ผมก็พูดไปมั่วๆเล่นๆ มันไปตรงเรื่องจริงหรือครับ อุ๊ยตาย อุตส่าห์ตอแหลเพื่อฟามหนุกหนาน
ดันตรงเรื่องจริงซะนี่ ขอโต๊ดดดดดด

โดย : 2litres Member   [ 28/12/2007, 16:46:11 ]

ความคิดเห็นที่ : 5

ปีนี้มี 2 คนรึนี่
ว่าแต่ จะจัดดั้งกับคิวยังไงครับเนี่ย

โดย : แหนมมีนิ้ว Member   [ 28/12/2007, 19:53:38 ]

ความคิดเห็นที่ : 6

ปีนี้อาจจะไปร่วมแข่งด้วยครับ
เป็นสีสันให้การแข่งก็พอ
ถ้าลุ้น ขอลุ้นระดับคิวละกัน
ดั้งคงไม่ไหวอะ
ว่าแต่ระดับดั้งของเรา มีกี่คนเนี่ย
ได้โควตาตั้งสองคนแนะ ปีนี้

โดย : MW Member   [ 31/12/2007, 20:28:47 ]

ความคิดเห็นที่ : 7

ครั้งที่แล้ว คัดตัวแทนแค่คนเดียว
แตาคราวนี้ ประเทศ ส่วนใหญ่ ที่มีคนเล่นพอสมควร เขาจะให้ โควต้า 2 คน แยกเป็นการแข่งขัน ของระดับ
ดั้ง 1 คน และระดับ คิว อีก 1 คน

ส่วนวิธีการคัดเลือก ให้เป็นสิทธิของแต่ละประเทศ
สามารถทำได้ทั้ง ระบุตัวบุคคล หรือแข่งขัน ก็ได้
ของไทยเราใช้การแข่งขันเพื่อคัดเลือก ตัวแทน

ไม่มีการจำกัดอายุครับ
สำหรับกรณี น้องๆ ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ
และผู้ปกครองจะไปด้วยนี้
คงต้องออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้กันเอง


โดย : ซึซึอิ Member   [ 01/01/2008, 23:00:00 ]

ความคิดเห็นที่ : 8

ไป 1 คนครับ
ฝีมือไม่ถึง ขอไปหาประสบการณ์ อิอิอิ

โดย : ผักลวก Member   [ 02/01/2008, 12:49:09 ]

ความคิดเห็นที่ : 9



สมาคมญี่ปุ่น อยู่ในตึกอาคารสาทรธานี นี้นะครับ อยู่ชัน 1 ถ้ามาทางรถไฟฟ้า bts ก็ลงป้ายช่องนนทรี
แล้วเดินทะลุตึกหน้ามาที่ตึกหลังครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 02/01/2008, 16:14:54 ]

ความคิดเห็นที่ : 10

ตามที่ได้มีการประชุมกันของผู้จัดการแข่งขัน จะมีการจัด2ส่วนของคนไทยแบบ double elimination
แพ้2ครั้งตกรอบ
เวลาควบคุมTime control:30นาทีตั้งต้น และ30วินาทีต่อ1ตาเดิน(เบียวโยมิ)และของคนญี่ปุ่น
เป็นแบบสวิสธรรมดา ขอเชิญร่วมแข่งขันกันนะครับ

โดย : Trama Member   [ 03/01/2008, 22:36:57 ]

ความคิดเห็นที่ : 11

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องการได้บาย สำหรับครั้งนี้นะครับ

คือ กรณี ที่ ผู้แข่งขันคนใด ได้ชนะบาย ไปแล้ว ครั้งต่อไป จะไม่ได้รับสิทธิให้ชนะบายอีก

เพราะฉะนั้น อาจมีโอกาสไม่ได้แข่ง ตามที่เห็นในผัง (ถ้าคนแข่ง มากกว่า 16 คน และผู้เข้าแข่ง มีจำนวนเป็น
เลขคี่) เพราะต้องสลับคู่ เพื่อไม่ให้ชนะบายซ้ำสองครั้ง

โดย : ซึซึอิ Member   [ 04/01/2008, 08:42:07 ]

ความคิดเห็นที่ : 12

ขอให้ผู้เข้าแข่งขันทุกท่าน กรุณาทำความเข้าใจกับระบบแข่งขันให้ดีนะครับ
สงสัย หรือคิดว่าไม่ยุติธรรมตรงจุดใด ขอให้ถกกันที่กระทู้นี้ได้เลย
เพื่อจะดูว่าแก้ไขกันได้หรือไม่ อย่างไร

แล้วพอถึงเวลาแข่ง จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกติกาใดๆ นะครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 07/01/2008, 09:33:53 ]

ความคิดเห็นที่ : 13



มาดู ฝั่งผู้ชนะกันก่อน
เราจะใช้วิธี จับฉลาก กำหนดลำดับที่เพียงครั้งแรก ครั้งเดียว
แล้วจะกำหนดออกมาเป็นผัง ดังภาพข้างบน
ใครเจอใคร ใครโชคดีได้บาย ตอนรอบไหน อย่างไร
จะเห็นได้ตั้งแต่การจับฉลากครั้งแรกเลย

ข้อสังเกตุ คือ ผมให้คนบาย คือผู้ที่ได้ลำดับ บนๆ นะ
เผื่อกรณี คนมาสาย แล้วต้องการเสริมที่ พวกนี้ ควรเสียสิทธิ์ ในการได้ บายไป

ดังนั้น ขอให้ทุกท่าน มาก่อน เวลาลงทะเบียน 12.30 น.
จะดีที่สุด
แล้วหากมาหลังจากกำหนดลงทะเบียนแล้ว การจะได้แข่งหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจ ของกรรมการ ชาวญี่ปุ่น
แล้วกัน

แต่ถ้าหลังจากเริ่มแข่งรอบแรกไปแล้ว คงหมดสิทธิ์

โดย : ซึซึอิ Member   [ 07/01/2008, 09:40:34 ]

ความคิดเห็นที่ : 14

สำหรับฝั่งผู้แพ้ 1 กระดาน

จะใช้วิธีจับฉลาก เจอกัน ทุกรอบ
แต่ถ้าเจอกันแล้ว หรือ คนที่เคยได้บาย
ได้ซ้ำอีก ให้คนนั้นจับใหม่

โดย : ซึซึอิ Member - เบอร์ติดต่อ : 087 697 3210  [ 07/01/2008, 09:54:57 ]

ความคิดเห็นที่ : 15

ไม่ต้องบันทึกหมากครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 07/01/2008, 09:59:52 ]

ความคิดเห็นที่ : 16

อ่านกฏแล้วงง สรุปคือชนะให้หมด คือผ่านเข้ารอบใช่ป่ะ

ถ้าแพ้สองครั้งตกรอบ คือถ้าเป็นไปได้ อย่าแพ้ จบ

แค่นี้ป่ะ

โดย : แดสคุง Member   [ 08/01/2008, 13:16:37 ]

ความคิดเห็นที่ : 17

เหลือเวลาไม่มากแล้วอ่า ต้องซ้อมบ้างซะแล้วเรา เจอกันวันแข่งนะครับ ทุกๆคน (^0^)M

โดย : แอณเดรีย Member   [ 08/01/2008, 18:45:42 ]

ความคิดเห็นที่ : 18

ข้อมูลบางส่วนที่เกี่ยวกับการแข่งขันระบบ Switch system ถ้าจะนำมาใช้ในการแข่งขัน โชกิ
การแข่งขันระบบ Switch นั้น มีหลักการง่ายๆ คือ หลังจากประกบคู่แข่งขัน
และแข่งขันกันไปหนึ่งรอบแล้วก็จะนำผู้ที่มีคะแนนใกล้เคียงกันมาพบกันในรอบถัดๆไป
โดยในแต่ละคู่แข่งขันนั้นจะพบกันเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจำนวนรอบของการแข่งขันก็จะกำหนดให้มีความเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้านั่นเอง กล่าวคือ
สองยกกำลังด้วยจำนวนรอบการแข่งขันแล้วจะต้องมากกว่าจำนวนผู้เข้าแข่งขันเสมอ
ซึ่งอาจจะเพิ่มจำนวนรอบเข้าไปอีก หนึ่งถึงสองรอบก็ได้ แล้วแต่ความเหมาะสมของการแข่งขันนั้นๆ หรือ
ความพร้อมของการจัดการแข่งขัน ซึ่งขึ้นกับเวลาว่ามีมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีผู้เข้าร่วมแข่งขัน 14 คน ก็จะต้องแข่งกันอย่างน้อย 4 รอบ เพื่อที่จะได้ผู้ชนะ แต่ 4
รอบก็อาจจะดูน้อยเกินไปผู้แข่งขันอาจจะยังอยากเล่นต่อ หรือเวลายังมีเพียงพอที่จะเล่นต่อได้อีก
ทางผู้จัดการแข่งขันก็อาจจะให้แข่งกัน 5 รอบก็ได้ เป็นต้น
การประกบคู่แข่งขัน (Paring) ปัจจุบันนิยมใช้โปรแกรมในการประกบคู่แข่งขัน ตัวอย่างเช่น Switch Manager
แต่อาจจะใช้โปรแกรมอื่นก็ได้
โดยการประกบคู่แข่งขันในรอบแรกนั้นจะทำการเรียงลำดับตามความสามารถของผู้เข้าแข่งขันจากบนลงล่าง (High
rating ไปหา Low rating หรือ Unrated) แต่ก็สามารถเรียงแบบสุ่ม (โดยการจับสลากกำหนดลำดับที่)
หรือเรียงตามตัวอักษรของชื่อก็ได้
การได้เป็นฝ่ายเดินก่อนหรือเดินหลัง
ปกติผู้ที่มีชื่ออยู่ด้านหน้าในการประกบคู่จะได้เป็นฝ่ายเดินก่อนเสมอ
ซึ่งในรอบแรกฝ่ายจัดการแข่งขันสามารถที่จะให้ผู้แข่งขันที่อยู่ในลำดับแรกเป็นฝ่ายเดินก่อนหรือเดินหลังก็
ได้ หรือจะให้ผู้เข้าแข่งขันท่านนั้นมาทำการเสี่ยงทายก็ได้ ในแต่ระรอบนั้นอาจจะแข่งมากกว่า 1
กระดานก็ได้ เช่นเล่นรอบละ 2 กระดาน เพื่อความยุติธรรมในการได้เดินก่อนหลัง เป็นต้น
ซึ่งขึ้นกับเวลาว่ามีเพียงพอในการจัดการแข่งขันหรือไม่
หลักการคิดคะแนน ผู้ชนะในแต่ระรอบจะได้ 1, เสมอได้ 0.5, แพ้ได้ 0 คะแนน ตามลำดับ ผู้ที่มีคะแนน (Match
Point) มากที่สุดหลังจบการแข่งขันจะถือเป็นผู้ชนะการแข่งขัน
ถ้าคะแนนเท่ากันจะสามารถหาผู้ชนะการแข่งขันได้โดยคิดคะแนนย่อย (Tie Break) ซึ่งมีหลายวิธี เช่น
Buchholz, Fide และ special ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป
การคิดคะแนน Tie Break แบบ Buchholz จะนำคะแนนของคู่ต่อสู้ทั้งหมดที่เราเจอมารวมกัน
ซึ่งแต่ละผู้เล่นจะได้เล่นในจำนวนรอบที่เท่าๆกัน ถ้ามีคนได้ Bye จะไม่ได้รับคะแนนในส่วนนี้
เมื่อรวมแล้วผู้ที่ได้คะแนนมากกว่าคนนั้นชนะ หรือกล่าวคือ ใครประกบคู่เจอคู่ต่อสู้ที่มีฝีมือสูงกว่า
(ทำคะแนนได้มากกว่า) แล้วได้คะแนน Match Point เท่ากัน ก็ควรจะได้ลำดับที่ดีกว่า
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับการคิดคะแนนแบบนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายแบบแต่จะไม่ขอให้ข้อมูลในที่นี้เพร
าะจะยาวเกินไป ทำให้เข้าใจยาก
การคิดคะแนน Tie Break แบบ Fide (หรือที่เข้าใจกันว่าเป็นแบบ Progressive Tie Break)
จะคิดคะแนนในแต่ละรอบดังนี้ เพื่อความสะดวกขอยกตัวอย่างสัก 3 ผู้เล่น กับ 5 รอบการแข่งขัน
ผู้เล่น A ชนะ ชนะ เสมอ ชนะ เสมอ (ชนะ 3 เสมอ 2)
ผู้เล่น B ชนะ ชนะ ชนะ แพ้ ชนะ (ชนะ 4 แพ้ 1)
ผู้เล่น C แพ้ ชนะ ชนะ ชนะ ชนะ (แพ้ 1 ชนะ 4)
ที่เขียนลักษณะนี้เพราะลำดับของการแพ้ชนะมีผลต่อการคิดคะแนน เมื่อทำการคิดคะแนนแล้วจะได้ดังนี้
ผู้เล่น A: 1+2+2.5+3.5+4 = 13 (เท่ากับ 5+4+1.5+2+0.5)
ผู้เล่น B: 1+2+3+3+4 = 13 (เท่ากับ 5+4+3+0+1)
ผู้เล่น C: 0+1+2+3+4 = 10 (เท่ากับ 0+4+3+2+1)
จากคะแนนที่ได้จะสังเกตได้ว่า รอบแรกๆจะมีคะแนนหรือความสำคัญมากกว่ารอบท้ายๆ ทำให้ผู้เล่น B
ซึ่งมีคะแนน Match Point เท่ากับผู้เล่น C จากการชนะ 4 แพ้ 1 เหมือนกัน แต่จะได้ลำดับที่ดีกว่า
เพราะมีคะแนนย่อยมากกว่า (13 ต่อ 10 คะแนน) ทั้งนี้เนื่องมาจากที่ว่าผู้เล่น B
จะประกบคู่เจอคู่ต่อสู้ที่มีความสามารถมากกว่าผู้เล่น C นั่นเอง ถ้าคะแนนเท่ากัน
ในกรณีที่คะแนน Match point และTie Break เท่ากัน (ผู้เล่น A กับ ผู้เล่น B ได้คะแนน Match point 4
คะแนน Tie Break 13 เท่ากัน) ก็สามารถหาผู้ชนะได้โดยทำการตัดคะแนน Tie break ในรอบแรกออก
ถ้ายังเท่ากันอีก ให้ตัดคะแนนรอบที่สองออกด้วย ถ้ายังเท่ากันอีกก็ให้ตัดคะแนนในรอบที่สามออกอีก
ทำเช่นนี้เรื่อยๆไป ก็จะพบว่าผู้เล่น A จะมีคะแนนมากว่าผู้เล่น B (7.5 ต่อ 7.0 คะแนน)
เมื่อตัดคะแนนในรอบที่ 1-3 ออก ไปนั่นเอง ผู้ที่ชนะก็คือผู้เล่น A นั่นเอง

หมายเหตุ ข้อความข้างบนนี้เป็นเพียงหลักการทั่วไปของการจัดการแข่งขันแบบ Switch System เท่านั้น
ซึ่งผู้เขียนได้จากประสบการณ์ในการจัดการแข่งขันที่ถ่ายทอดเล่าสู่ต่อๆกันมา
เนื่องจากไม่เคยได้สัมผัสกับคู่มือจัดการแข่งขันแบบ Switch System ฉบับสมบูรณ์เลย ดังนั้น
อาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆที่ผู้เขียนไม่รู้หรือไม่สอดคล้องกับข้อความข้างต้นก็เป็นได้
จึงต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย ถ้าได้ให้ข้อมูลที่ผิดไป
อนึ่งไม่อยากให้ข้อความที่เขียนนี้นำไปใช้ในการอ้างอิงใดๆ เพราะอาจจะเกิดความผิดพลาดได้ครับ

สุรพล ยุติธรรมนนท์ 09/01/2008

โดย : Six Member   [ 09/01/2008, 15:01:03 ]

ความคิดเห็นที่ : 19

ข้อดีของการจัดการแข่งขันระบบ Switch System
1. กำหนดจำนวนรอบและเวลาในการจัดการแข่งขันได้แม่นยำ
2. ผู้เล่นไม่มีการตกรอบ ได้เล่นครบตามจำนวนรอบเท่าๆกัน
3. การได้ Bye ในระบบนี้แต่ละผู้เล่นจะได้ไม่เกินหนึ่งครั้ง
4. การได้เดินหมากก่อนหลังค่อนข้างมีความยุติธรรมเพราะจะแตกต่างกันไม่เกินหนึ่งครั้งในกรณีทั่วๆไป
5. ปัจจุบันใช้โปรแกรมในการประกบคู่การแข่งขันทำให้มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการประกบคู่การแข่งขัน(ใช้
ดวงในการประคู่น้อยลง)

โดย : Six Member   [ 09/01/2008, 15:18:46 ]

ความคิดเห็นที่ : 20

ขอบคุณ คุณซึซึอิ ที่ติชมครับ
จริงๆแล้วกติกาการแข่งขันของทุกระบบเขียนขึ้นมาเพื่อให้ความยุติธรรมเกิดขึ้นมากที่สุดอยู่แล้ว
บนพื้นฐานของการแข่งขันที่ Fair play และมี Spirit
ถ้าต้องการที่สองแบบไม่มีข้อกังขาใดๆเลยคงทำได้ยากครับ ยังไงก็ต้องมีผู้ที่แย้งได้เสมอว่าไม่ยุติธรรม
จริงๆแล้วยังมีการคัดเลือกแบบอื่นๆอีก เช่น Round robin (พบกันหมด บอกได้ทุกอันดับ) หรือ แบ่งสาย
พบกันหมดภายในสายก่อน แล้วไปไขว้เจอกันกับสายอื่น แบบที่เราคุ้นเคยกันในอดีต
ซึ่งได้ผลดีอยู่แล้วในกรณีที่จำนวนผู้เข้าแข่งขันมีไม่มากนัก และสามารถจัดอันดับได้ดีในระดับต้นๆ
(หมายถึงต้องการรู้ลำดับเพียงแค่ลำดับแรกๆ เช่น 1-4 เท่านั้น) ส่วนระบบ Switch System
นั้นถูกออกแบบมาให้สามารถใช้กับการแข่งขันที่มีผู้เข้าแข่งขันจำนวนมากๆได้
และสามารถจัดอันดับได้ทุกอันดับโดยที่ไม่จำเป็นต้องแข่งขันแบบพบกันหมด
และผู้เข้าร่วมการแข่งขันได้ทำการแข่งขันมากพอสมควร(เต็มอิ่ม)
ทั้งนี้จะเลือกระบบใดในการแข่งขันนั้นขึ้นกับเวลา และจำนวนรอบที่แข่งขันมากกกว่า
ซึ่งจำนวนรอบของการแข่งขันนั้นมีความสำคัญระดับต้นๆ เพราะมีผลกระทบต่อเวลาการจัดการแข่งขัน
และสภาพหรือความสามารถในการแข่งขันของผู้เข้าแข่งขัน ถ้ามีผู้เข้าแข่งขันที่ได้ Bye ในรอบลึกๆ หรือ
แข่งน้อยกว่า 1 รอบ ย่อมได้เปรียบ (ถ้าไม่มีการพักระหว่างการแข่ง เช่น แข่งวันเดียวจบ) ระบบ Switch
System จะไม่มีปัญหาเรื่องแบบนี้ เพราะคนที่ได้ Bye ในรอบหลังๆจะเป็นคนที่มีคะแนนอยู่ในลำดับท้ายๆ
และทุกคนจะได้แข่งในจำนวนรอบที่เท่ากัน (ถ้าจำนวนผู้เข้าแข่งขันเป็นเลขคู่
และไม่มีการถอนตัวออกจากการแข่งขันแล้ว จะไม่มีการ Bye เกิดขึ้น)
ซึ่งการหาที่สองนั้นต้องดูที่จำนวนรอบกับจำนวนผู้เข้าแข่งขันว่ากำหนดไว้อย่างไร เช่น
ถ้ามีผู้เข้าแข่งขัน 14 คน และแข่ง 4 รอบ แล้ว ระบบ Switch System
ก็จะเหมือนกันกับระบบแพ้คัดออกโดยไม่มีการแบ่งสายล่วงหน้านั่นเอง
(เพราะผู้ที่มีคะแนนสูงสุดสองคนจะมาเจอกันในรอบสุดท้ายโดยที่คนอื่นๆยังแข่งต่อได้)
แต่ถ้าเพิ่มการแข่งขันเป็น 5 รอบ ก็จะมีโอกาสได้แก้ตัวหนึ่งรอบสำหรับคนที่พลาดแพ้มาในกระดานลำดับแรกๆ
แต่คงต้องชนะการะดานสุดท้ายเพื่อลำดับที่ดีต่อไป(เพราะแพ้ก่อนเสียประโยชน์ ทำให้ได้คะแนนย่อยน้อย
และเจอคู่แข่งที่ไม่เก่งนัก)
สุดท้ายนี้ก็อยากให้นักกีฬาหมากกระดานทุกคนทุกประเภทเล่นกันอย่าง Fair play และมี Spirit ครับ
วงการหมากกระดานไทยจะได้พัฒนาเร็วและมีคลื่นลูกใหม่เข้ามาแทนที่คลื่นลูกเก่าแบบทัดเทียมประเทศอื่นๆที่เข
าพัฒนาไปไกลแล้วครับ

ตอนที่ผมแข่งชนะก็เหนื่อยแต่ดีใจ แพ้ก็มีท้อบ้าง แต่ทำอย่างไรได้ครับ เต็มที่แล้ว แต่มันได้แค่นี้
เกิดเป็นคนครับย่อมมีผิดพลาดกันได้ แบบ Human error อิอิ ใจมันวิ่งไปข้างหน้าแล้ว แต่ขามันไม่เดินครับ

โดย : Six Member   [ 09/01/2008, 18:30:27 ]

ความคิดเห็นที่ : 21

ผมลองมาวิเคราะห์ดู ระบบการคิดคะแนน แบบ Progressive tie break นั้น ใครไปเจอ แชมป์ ในรอบแรกๆ
ก็จะได้คะแนนต่ำสิครับ ซึ่งจะกลับกันกับ Swiss แบบทั่วไป ที่คิดคะแนน SOS ที่เจอแชมป์แล้วจะดี
เพราะคะแนน SOS จะสูง

โดย : ซึซึอิ Member   [ 10/01/2008, 11:03:42 ]

ความคิดเห็นที่ : 22



ป้ายแผนที่บอกทาง ก็ทำเป็นรูปทรงตัวหมาก

โดย : ซึซึอิ Member   [ 10/01/2008, 15:42:45 ]

ความคิดเห็นที่ : 23

สมกับเป็นสถานที่จัดแข่งดีจัง

โดย : แอณเดรีย Member   [ 10/01/2008, 18:34:20 ]

ความคิดเห็นที่ : 24

อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันแบบ Switch System
ขอยกตัวอย่างการแข่งขันที่มีผู้เล่น 14 คน และมี ผู้เล่น A, B, C,…, N เรียงตามลำดับความสามารถ
หรือเป็นมือวางที่มีความสามารถสูงจากมากไปหาน้อย ตามลำดับ(ผู้เล่น A มือวางอันดับหนึ่ง เก่งสุด)
กรณีที่ 1 มีการเรียง rating ก่อนการแข่งขัน กรณีนี้ ผู้เล่น A จะพบกับผู้เล่น B ในรอบท้ายๆ (ผู้เล่น A
กับผู้เล่น B จะไม่มีโอกาสเจอกันในรอบแรกๆเลยโดยอัตโนมัติ) ใครชนะก็ได้แชมป์ (The Winner) ไป
ซึ่งเป็นคู่ชิงที่สมศักดิ์ศรี (เพราะทั้งคู่จะชนะรวดมาเหมือนกัน)
กรณีที่ 2 ไม่มีการเรียง rating ก่อนการแข่งขัน (เพราะไม่มี rating
ที่เหมาะสมให้ใช้อ้างอิงที่ทุกคนยอมรับ หรือต้องการเรียงลำดับแบบสุ่ม เพื่อความตื่นเต้นเร้าใจ
และเปิดโอกาสให้คนไม่เก่งได้ลุ้นตำแหน่งดีๆ ทำนองว่าไม่ใช่มือวางแต่ไม่รู้มาได้ไง กลายเป็นม้ามืด
หรือดวงดีหลุดวงโคจรเข้ามาได้) ผู้เล่น A อาจจะพบกับ ผู้เล่น B ได้ในรอบแรกๆ ทำให้คู่ชิงกลายเป็น
ผู้เล่น A พบกับ ผู้เล่น C (หรือผู้เล่นอื่นๆที่เป็นมือวางอันดับรองลงมา) ใครชนะก็เป็นแชมป์ไป
แต่ผู้ชมอาจจะติว่าฝีมือห่างกัน ยังไงผู้เล่น A ก็น่าจะชนะในรอบนี้ ทำให้ดูเกมไม่สนุก
(แต่อย่าลืมไปว่าได้ดูเกมสนุกไปก่อนหน้านี้แล้วในรอบแรกๆ) ถ้าผู้เล่น B และ ผู้เล่น C ต่างก็แพ้ ผู้เล่น
A เพียงคนเดียวเหมือนกัน ก็จะต้องมาดูที่คะแนนย่อย (Tie Break) เพื่อที่จะหาผู้ที่ได้ลำดับที่สอง (1st
runner up)
กรณี 2.1 ใช้คะแนน Tie Break แบบ Buchholz
ผู้ที่ได้ที่สองก็จะต้องดูว่าคะแนนรวมของคู่แข่งขันของทั้งผู้เล่น B และผู้เล่น C เป็นอย่างไร
(ขึ้นกับคะแนนของคู่แข่งขันของตนเองที่เล่นด้วย) ใครรวมแล้วได้คะแนนย่อยมากกว่าก็ได้ที่สองไป
เพราะจะเจอกับคู่แข่งขันที่เก่งกว่า (ทำคะแนนได้มากกว่า) มากกว่า (อาจเจอคนเก่งที่ซ้ำกันได้ เช่นผู้เล่น
A เป็นต้น)
กรณีที่ 2.2 ใช้คะแนน Tie Break แบบ Fide (หรือตามที่เข้าใจกันว่าเป็นแบบ Progressive Tie Break)
กรณีนี้ ผู้เล่น C จะได้ลำดับที่สอง ค่อนข้างแน่นอน (ถ้าจำนวนรอบการแข่งขันแข่งเพียง 4 รอบ)
เพราะผู้เล่น B มีผลการแข่งขันที่แพ้ก่อนผู้เล่น C ทำให้ได้คะแนนย่อยน้อยกว่า
จะเห็นได้ว่าการนับคะแนนย่อยลักษณะนี้รอบแรกๆจะมีคะแนนย่อยมากกว่ารอบหลังๆ
แต่จะไม่ขึ้นกับคะแนนของคู่แข่งขันของตนเองเลย ขึ้นกับผลการแข่งขันของตนเองเท่านั้น
ตอบข้อสงสัยของคุณซึซึอิ ที่ว่า ถ้าต้องการให้ผู้เล่น B ซึ่งมีความสามารถเป็นที่สอง
มีโอกาสมากขึ้นที่จะได้ที่สอง ในการแข่งขันจะทำได้อย่างไร
(บนหลักการที่ว่าต้องการผู้เล่นที่มีความสามารถจริงๆเป็นตัวแทนไปแข่งขันต่างประเทศ
ไม่ต้องการให้มีการใช้ดวงในการจับสลาก หรือ paring เข้ามาเกี่ยวข้องมากนัก)
คำตอบก็คือ กรณีที่ 1 จัดการแข่งขันแบบ Switch System แบบเรียงลำดับความสามารถ (rating)
และจำนวนรอบการแข่งขันให้พอดีกับผู้แข่งขัน ในที่นี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 14 คน ก็จัด เพียง 4
รอบเท่านั้น ผู้เล่น A และผู้เล่น B ก็จะเจอกันในรอบสุดท้าย โดยทั้งสองฝ่ายต่างก็ชนะรวดมาด้วยกันทั้งคู่
ถ้าไม่มีการพลิกล็อคเกิดขึ้น (แต่ถ้ามีการพลิกล็อคเกิดขึ้นก็ขอให้คิดซะว่า ผู้ที่ชนะผู้เล่น A และ B ได้
ในรอบนั้นๆเข้ามาทำหน้าที่แทนผู้เล่น A และ B ไปก็แล้วกันนะครับ)
กรณีที่ 2 จัดการแข่งขันแบบ Switch System ถ้าไม่มีการเรียง rating หรือไม่สามารถเรียงได้
ให้แข่งแบบจำนวนรอบเพิ่มขึ้นไปอย่างน้อยหนึ่งรอบ (หรือมากกว่าก็ได้) ในที่นี้มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 14
คน ก็จัด 4+1=5 รอบขึ้นไป ซึ่งจะช่วยให้ในกรณีที่ ผู้เล่น B พบกับ ผู้เล่น A เร็วเกินไปแล้วผู้เล่น B
แพ้ ผู้เล่น A ได้มีโอกาสแก้ตัวอีกอย่างน้อยหนึ่งรอบ ซึ่งก็คือรอบสำคัญสำหรับทั้งคู่ เพราะผู้เล่น B
จะต้องพบกับผู้เล่น C (หรือผู้เล่นอื่นที่มีคะแนนย่อยนำผู้เล่น B อยู่) ในรอบสุดท้าย
ซึ่งก็จะสามารถวัดความสามารถระหว่างผู้เล่น B กับผู้เล่น C ได้ เพราะต้องพบกันในรอบนี้
หมายเหตุ ที่อธิบายมาทั้งหมดนี้ ไม่ได้หมายความ หรือมีเจตนาที่จะบอกว่า การจัดการแข่งขันแบบ Switch
System สามารถล็อคสเปคผู้ที่จะชนะหรือรองชนะอันดับใดๆได้นะครับ เพราะถ้าเรา (ถึงแม้จะเป็นผู้เล่น N)
มีฝีมือเหนือกว่าผู้เล่นอื่นๆ และไม่เดินหมากแย่จนเกินไป
เราก็ควรจะได้อันดับดีๆในการแข่งขันครั้งนั้นๆครับ เพียงแต่ต้องการบอกให้ทราบว่า
ถ้าการแข่งขันเป็นแบบจำนวนรอบพอดีต่อผู้เล่น เราจะพลาดแพ้ไม่ได้เลยต้องชนะอย่างเดียวเท่านั้น
แต่ถ้าจำนวนรอบมากขึ้น เราก็มีโอกาสแก้ตัวได้ตามจำนวนรอบที่เพิ่มขึ้นมาเท่านั้นครับ
“รู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม อ่านเยอะรู้เยอะ เดี๋ยวนี้คนเราเก่งไม่เก่งวัดกันที่ความรู้ครับ
แต่สาวๆชอบคนเอาใจใส่ครับ อิอิ”

โดย : Six Member   [ 11/01/2008, 19:52:11 ]

ความคิดเห็นที่ : 25



ส่วนตัวแล้ว จะระบบไหนก็ไม่มีปัญหาครับ
สิ่งสำคัญ คือ ต้องชนะให้ได้ทุกเกม
เล่นเพื่อความสนุก พัฒนา และมิตรภาพ

ไปแข่งครั้งนี้ ไม่ได้หวังอะไรมาก (หวังน้อยๆ)
อยากเจอเพื่อนเก่า รู้จักเพื่อนใหม่ อวยพรให้คนที่จะไปแข่งในนามประเทศไทย

เชื่อมือ ท่านซึซึอิ และท่าน Trama ครับ
ระบบแพ้สองกระดานตกรอบ Double Eliminate
มันกดดันดี
อยากอยู่ต่อ ต้องห้ามแพ้ติด
เหมาะกับสไตล์คนเล่นโชกิเป็นที่สุด


เมือง Tendo สุดยอด อยากไปจังเลย หุหุ
ชีวิตที่มีแต่โชกิ
ขอแข่งระดับคิว ได้ไหมนี่

โดย : MadWall Member   [ 13/01/2008, 12:28:05 ]

ความคิดเห็นที่ : 26

รวมผมไปด้วยทีคร้าบ จาไปด้วย

โดย : JoJojojo Member   [ 13/01/2008, 18:32:35 ]

ความคิดเห็นที่ : 27

ลงด้วยจ๊า

โดย : nepheto Member   [ 13/01/2008, 20:49:56 ]

ความคิดเห็นที่ : 28

12 แล้ว
ท่านใดสนใจไปชม ก็ไปได้ตามสะดวกเลยครับ

คนแข่ง ที่ต้องขอให้แจ้งชื่อกันก่อน ก็เพื่อให้การเตรียมงานเป็นไปอย่างราบรื่นนะครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 13/01/2008, 21:07:05 ]

ความคิดเห็นที่ : 29

ตอนนี้มีผู้สมัครแข่งรวม 13 คนแล้ว

สรุปรายชื่อ ผู้เข้าแข่งขัน มีดังนี้
1. ซึซึอิ
2. Quavan
3. ม้ากำหนัด
4. Trama
5. ว๊าวุ่น
6. Madwall
7. ผักลวก
8. Lordcing
9. แดส
10. แอนเดรีย
11. jojo
12. nepheto
13. แหนมมีนิ้ว

โดย : ซึซึอิ Member   [ 14/01/2008, 09:09:04 ]

ความคิดเห็นที่ : 30

อยากไปแข่งเหมือนกันครับแต่ไม่รู้ไปได้หรือปล่าวรอใกล้ๆผมจะมาบอกนะครับ

ขอบคุณครับ

โดย : manatza Member - เบอร์ติดต่อ : 089-1139168 -  [ 14/01/2008, 21:59:02 ]

ความคิดเห็นที่ : 31

ผมขอลงสมัครเข้าแข่งขันด้วยนะครับ

โดย : ซีล Member  -  [ 22/01/2008, 12:38:19 ]

ความคิดเห็นที่ : 32

ตกลงแข่งวันไหนเวลาเท่าไรบอกผมทีสิ เอาแบบชัวๆเลยนะ

โดย : manatza Member - เบอร์ติดต่อ : 089-1139168 -  [ 23/01/2008, 20:22:48 ]

ความคิดเห็นที่ : 33

พึ่งเห็นกระทู้นี้
ไปด้วยครับ

พี่ซึซึอิ เขียนตารางระบบผิดนะครับ
ฝั่งผู้ชนะถูกแล้ว แต่ฝั่งผู้แพ้ ต้องรวมผู้แพ้ใน R2 R3 R4 R5 เข้าไปด้วย

ทีนี้ ตกลงว่าฝั่งแพ้ จับฉลากใช่ไหมครับ ไม่ใช้วิธีไขว้ใช่ไหม

และในกรณีที่ฝั่งฃนะมีเศษ จะให้ bye อย่างไร
เท่าที่อ่านดูเหมือนจะให้ใช้วิธี จับที่นั้งแล้วให้บายไปเลย ดังนั้นจะมี Mr bye มากกว่า 1คน ใช่ไหมครับ
ถ้าอย่างนั้นการจับต่ำแหน่งต้อง ครึ่งแรกไล่ลง และ ครึ่งหลังไล่ขึ้น ก็จะยุติธรรมที่สุด
คือ
1-16
2-15
...
รอบแรกจะมี bye หลายคู่ แต่รอบต่อๆไปจะแทบไม่มีbye เลย

จริงๆ ถึงจะเอาที่2ด้วย แข่ง swiss log2n+2 ก็น่าจะยุติธรรมที่สุด


โดย : pml Member   [ 27/01/2008, 04:10:33 ]

ความคิดเห็นที่ : 34

พี่ซึซึอิ วันที่ 2 มี.ค. ฟังผลสอบอะ สรุปคือผมไปไม่ทันแข่งแน่ๆล่ะ เอาชื่อผมออกไปเลยนะ
งั้นเด๋วผมไปดูอย่างเดียวละกัน(แทบร้อง)

โดย : แอณเดรีย Member   [ 28/01/2008, 13:31:40 ]

ความคิดเห็นที่ : 35

ในตาราง คห 20 นั้น ไม่ถูกต้องในรายละเอียด เป็นแต่ให้เห็นภาพคร่าวๆ ของ ระบบ Double Eliminate
เท่านั้น

เดิมที ฝั่งแพ้ คิดว่าน่าจะใช้วิธีจับฉลาก
แต่ปัญหาคือ ใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ตัวผมเองขณะนั้นก็จะอยู่ในฐานะผู้แข่งขัน คนหนึ่ง เท่านั้น

ดังนั้น ผมจึงได้คุยกับทีมผู้จัดงาน และจัดเตรียมผังการแข่งขันขึ้นมา
โดยจับฉลากเลือกลำดับเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้น ผังจะเป็นผู้ บอกเองว่า ผู้แพ้ หรือผู้ชนะคนใด
จะเจอกับใคร (ลักษณะแนวคิดคล้ายกับ ในบอลโลก)

ส่วนการบาย อาจมีคนได้สิทธิ์นี้ หลายคน (แต่จำกัดได้เพียงคนละครั้ง) ถ้าจำนวนผู้แข่งไม่ลงล็อค
(แต่ถ้ามีผู้เข้าแข่ง 16 คน จะไม่มีใครได้บายเลย) ซึ่งไม่ว่าระบบอะไร ก็จะมีคนได้บายแบบนี้เหมือนกัน

คนได้บายอาจได้เปรียบนิดหน่อย แต่แข่งมากสุด วันนั้น 5 กระดาน
ที่เหลือจะยกไปแข่ง ในสัปดาห์ถัดไป เพื่อหาที่สอง

ระบบ Swiss ดีที่สุด นั้นผมเห็นด้วย
แต่กรณีนี้ การที่จะหาที่สอง โดยอิงจากผลงานของคู่แข่งขัน
นั้นไม่เหมาะสม เพราะผู้แข่งที่ไม่มีหวังแล้ว ไม่มีแรงจูงใจในการเล่น ผลงานอาจแกว่งมากๆ
การไปอิงคะแนนแบบนี้ โดยที่โชกิยังไม่มีระบบแบบ Elo มารองรับ อาจทำให้บางคนพลาดหวัง โดยน้ำมือคนอื่นได้

โดย : ซึซึอิ Member   [ 29/01/2008, 10:01:07 ]

ความคิดเห็นที่ : 36

โพสไปแล้วพึ่งเห็น
ด้านขวา รอบที่4 ต้องเขียน IV ไม่ใช่ IIII

และถ้าให้ถูกต้องตาม ดับเบิลอิลิมิเนตจริงๆ
จะต้องเอา champ1 มาแข่งกับchamp2 อีกที เพื่อหา champ ตัวจริง โดยถ้าchamp1 ชนะก็ได้ ที่1 ไปเลย
แต่ถ้า champ2 ชนะก็ต้องมาแข่งอีกกระดาน (เพราะมีแพ้คนละกระดาน)

หรือ ถ้าจะถือว่า ดับเบิลอิลิมิเนตเป็นการคัดเลือก เบอร์1 2
เพื่อไปเข้าชิงก็อาจใช้กระดานตัดสินแค่กระดานเดียวก็ได้(ไม่ใช่แบบ2-1ตามที่เขียนข้างต้น)

ไม่เช่นนั้น ถ้าไม่มีกระดานตัดสิน อาจเกิดการที่ เบอร์1กับ เบอร์2 ไม่เคยแข่งกันเลย ได้

แต่ที่แน่ๆคือ ไม่ว่าแบบไหนเกิดการที่ เบอร์1กับ เบอร์2คือผู้ที่ได้ไปญี่ปุ่นทั้งคู่

โดย : pml Member   [ 29/01/2008, 13:58:11 ]

ความคิดเห็นที่ : 37

เยี่ยมไปเลยครับ pml ถูกต้องหมดเลย

กรณี 16 คน จะง่ายที่สุด และไม่มีการบายเลย
แต่หากมีผู้เข้าแข่งขัน มาก หรือน้อยกว่า ก็จะทำให้ต้องมีการบายเกิดขึ้น

และเพราะ ไม่ว่า จะ ที่ 1 หรือ 2 จะได้ไปทั้งคู่
เราจึงทำให้ขั้นตอนง่ายลง
โดยให้ผู้ชนะรวด ได้ที่ 1 ไปเลยครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 30/01/2008, 11:11:57 ]

ความคิดเห็นที่ : 38



ผังที่ pml เขียน
จะออกมาหน้าตาเป็นดังนี้
กรณีแข่ง 16 คน
ในส่วนผู้ชนะ (ฝั่งขาว) เล่น 4 รอบ ชนะรวดได้แชมป์

ในส่วนผู้แพ้ 1 (ฝั่งซ้าย) เริ่มที่ รอบ 2 จะเจอกันในสาย ส่วนรอบ 3 จะไขว้ไปเจอกับ ผู้ทีเพิ่งแพ้มา
จากฝั่งขวา

โดย : ซึซึอิ Member   [ 30/01/2008, 12:11:23 ]

ความคิดเห็นที่ : 39



ในรอบ 4 ของผู้แพ้ ก็จะไขว้เจอกับ ผู้เพิ่งแพ้ ทางขวามือ อีก รอบ 5 เหลือ ผู้แพ้ 1 เพียง 4 คน ก็เจอกัน
ดังปรากฏในผัง หากรอบนี้ มีใครเคยเจอกันมา ก็ให้จับฉลาก จัดคู่กันใหม่ ส่วนรอบ 6 เป็นรอบชิง ที่ 2
(ให้แข่งในอาทิตย์ ถัดไป)

มองดูแล้ว คิดว่า ผู้แข่ง 16 คน จะง่ายต่อการจัดแข่ง และมีความยุติธรรมที่สุด
ก็ได้แต่หวังว่า จะมีคนเข้าแข่งพอดีตามจำนวนที่อยากได้

ตอนนี้ มีทั้งหมด 15 คนแล้ว
ในนี้ ผมไม่เคยเห็น nepheto กับซีล เลย
ขอให้ช่วย confirm ว่าจะมาแข่งแน่นอน อีกครั้งด้วยนะครับ
ส่วน บีซี ใช่คนเดียวกับ bcc หรือเปล่า ช่วยบอกด้วย

สำหรับ manatza ถ้ามาแข่งได้อยากให้มานะครับ

เสียดาย แอนเดรียจัง ฝีมือดี มีลุ้นด้วย ลองดูอีกทีว่าจะมาได้หรือเปล่า แล้วแจ้งบอกกันนะ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 30/01/2008, 12:24:47 ]

ความคิดเห็นที่ : 40

ถ้าเกิน16 แนะนำให้ ฝั่งแพ้ จับฉลากครับ เพราะไม่งั้นผังจะซับซ้อนเกินไป

โดย : pml Member   [ 30/01/2008, 21:13:00 ]

ความคิดเห็นที่ : 41

น่าสนุกจังเลย


อิอิ


ขอไปดูเฉยๆๆๆนะ

โดย : LoveIS Member  -  [ 01/02/2008, 15:13:39 ]

ความคิดเห็นที่ : 42

โดย : แดสคุง Member   [ 02/02/2008, 00:09:38 ]

ความคิดเห็นที่ : 43

เล่น hi5 กันด้วยหรอค่ะ




เราก็เล่นนะ


คิดดว่าไม่มีคนเล่นซ ะละ


เย้เพื่อนในโซกิเล่นhi5 ด้วย


ฮู้ลั้นล้า


ห้าๆๆๆๆๆๆๆๆ

โดย : GuKiKu Member - เบอร์ติดต่อ : 0123456789 -  [ 02/02/2008, 02:26:25 ]

ความคิดเห็นที่ : 44

http://princessoilzzz.hi5.com


ของออยเอง


โดย : LoveIS Member  -  [ 02/02/2008, 13:47:02 ]

ความคิดเห็นที่ : 45

จะพยายามดูนะครับ(ถ้าไปทันนะ) เพราะกว่าจะฟังผลสอบเสร็จ กว่าจะไปถึงอีก น่าจะไปถึงประมาณบ่ายโมงครึ่ง

โดย : แอณเดรีย Member   [ 02/02/2008, 15:40:25 ]

ความคิดเห็นที่ : 46

แอดไปแล้วนะจ้ะ เจ้าหญิงน้อย
ผมใช่ชื่อว่า piroon

โดย : ซึซึอิ Member   [ 02/02/2008, 17:52:42 ]

ความคิดเห็นที่ : 47

0890239579

โดย : แอณเดรีย Member   [ 02/02/2008, 18:10:08 ]

ความคิดเห็นที่ : 48



โซกิ จงเจริญ


อิอิ

โดย : LoveIS Member   [ 04/02/2008, 01:24:13 ]

ความคิดเห็นที่ : 49

เราระดับคิวอ่ะอิอิประมาณ10คิว

โดย : บีซี Member   [ 05/02/2008, 23:10:49 ]

ความคิดเห็นที่ : 50

บีซี กับ MT_alassy คือคนเดียวกันอ่ะครับ^ ^

โดย : เฮเกะ Member   [ 07/02/2008, 18:50:15 ]

ความคิดเห็นที่ : 51

ไปครับ น่าสนุกดีนะ นับผมด้วยนะ

โดย : เณรนักฆ่า Member  -  [ 09/02/2008, 12:27:40 ]

ความคิดเห็นที่ : 52

ธรรมดาแข่งหลายๆรอบแบบนี้
น่าจะถึงประมาณกี่ดมงอะครับ
อยากไปดูเขาเล่นจริงๆกันสักครั้ง

โดย : KenSan Member   [ 10/02/2008, 03:32:09 ]

ความคิดเห็นที่ : 53

แข่งเสร็จ น่าจะประมาณ ทุ่มนึงครับ
คิดว่า รอบที่มันส์ๆ น่าจะอยู่ประมาณ ช่วงห้าโมงเย็น เป็นต้นไป
ใครสะดวกก็แวะมาชมกันได้

เรื่องวันแข่งขัน การจะหาวันที่ทุกคนว่างตรงกันนั้น เป็นเรื่องที่ยากมาก
การเปลี่ยนวันไม่ได้ช่วยให้คนมาแข่งกันเยอะขึ้น หรอกครับ
เพียงแค่ทำให้บางคนที่ไม่สะดวกวันนั้นได้มาแข่ง แต่ผลก็จะกระทบคนอื่นอีก

วิธีที่ดีที่สุด คือแจ้งวันแข่งล่วงหน้าไว้
ซึ่งนี่ก็แจ้งมาเกือบสามเดือนแล้ว

อีกอย่าง คนจัดก็เป็นทีมงานชาวญี่ปุ่น สถานที่ก็เปลี่ยนไม่ได้ง่ายๆ ต้องจองกันล่วงหน้าครับ

คนที่ติดภาระ ก็เสียดายนะ
แต่ทุกอย่างก็จะต้องเดินหน้าต่อไป
จะรอให้ครบครันทั้งหมดคงเป็นไปไม่ได้

แต่คนแข่งได้ 16 คน ก็เยอะแล้วนะ
ดูฝีมือแต่ละคนก็สุดยอดทั้งนั้น ระดับ 2000+ ทุกคนเลย

ก็ขอให้ทุกคนสนุกกับการแข่งขันนะ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 12/02/2008, 09:25:17 ]

ความคิดเห็นที่ : 54

คิดไว้ด้วยนะครับว่าถ้าเกิน16คนจะทำอย่างไร

โดย : pml Member   [ 15/02/2008, 00:26:14 ]

ความคิดเห็นที่ : 55



ผังการแข่งขันแบบ 18 คน

โดย : ซึซึอิ Member   [ 15/02/2008, 14:48:32 ]

ความคิดเห็นที่ : 56



สำหรับการแข่งแบบ 18 คน จะยากที่สุด เพราะต้องมีการบายหลายครั้ง (20 คน จะบายน้อยกว่า )

ทั้งนี้หลักเกณท์การบาย คือห้ามบายซ้ำ และจะจัดการบายให้อยู่รอบต้นๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

ทั้งนี้ วันที่ 2 มีนา จะแข่งกันแค่ 5 รอบ (ใครได้บายก็แข่งแค่ 4 รอบ)

เหลือ 4 คน ยกยอดไปแข่งกันต่อ ในรอบ 6 และ 7 กันอาทิตย์หน้า

โดย : ซึซึอิ Member   [ 15/02/2008, 15:15:44 ]

ความคิดเห็นที่ : 57



มาดูผังแบบ กรณี 20 คนแข่งบ้าง

อนึ่ง กรณี เป็นเลขคี่ เช่น 17 คน จะใช้ผัง แบบ 18 คน
ถ้ามาแข่ง 19 คน ก็ใช้ผัง 20 คน โดย ในรอบแรก ก็จะมีคนได้บาย 1 คน รอบสอง ฝั่งผู้แพ้ก็ได้บายอีกคน

โดย : ซึซึอิ Member   [ 16/02/2008, 09:06:44 ]

ความคิดเห็นที่ : 58



ผังก็ยังใช้หลักการเดิม
คือแต่ละคนมีสิทธิ์บายได้เพียง คนเดียว
ถ้าเกิดมีการบายซ้ำ หรือผังจัดแล้ว มีคนเคยเจอกันแล้ว ก็ให้จับสลากเฉพาะ ในรอบนั้น

ขอให้ผู้เข้าแข่งขัน ศึกษาผังเหล่านี้ให้ดีนะครับ
มีข้อสงสัย หรือข้อโต้แย้ง ประการใดก็ถามกันได้ตอนนี้

ถ้าไม่มีความเห็นใดๆ ถึงเวลาแข่ง จะยึดตามนี้เป็นหลัก
โดยคำตัดสินของกรรมการผู้จัด ชาวญี่ปุ่น ถือเป็นเด็ดขาด

ส่วนผมคงจะไม่มาอธิบาย ตอนแข่งแล้วนะครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 16/02/2008, 09:12:36 ]

ความคิดเห็นที่ : 59

ได้ ball pen มาร่วมแข่งอีกก็ เป็น 17 คนแล้ว
คงมีการบายอยู่พอสมควร
ขอให้ทุกท่าน รีบดูผังกันให้ดีนะ
ใครเห็นแย้งว่าไม่ยุติธรรมตอนไหน ขอให้รีบแจ้งกัน
เมื่อถึงเวลาแข่งจริง พอจับฉลากแล้ว เห็นว่าตนเสียเปรียบ
จะมาแย้งตอนนั้นไม่ได้นะครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 18/02/2008, 09:48:26 ]

ความคิดเห็นที่ : 60

การเดินผิดกติกา เช่น
วางฟุ ซ้ำในแถวเดียวกัน
วางฟุ แล้วรุกขุนจน โดยไม่ทางเดินตาอื่นได้เลย
ฟุ ม้า หรือหอก เดินถึงแถวสุดท้ายแล้ว ไม่โปรโมท (ม้าแถวก่อนสุดท้ายด้วย)

สำหรับกรณี โดนรุกแล้ว ลืม หรือไม่รู้ตัว ไม่ยอมขยับขุน ไปเดินตาอื่น
คู่แข่งสามารถจับกินขุนได้ทันทีเลยนะครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 18/02/2008, 13:22:10 ]

ความคิดเห็นที่ : 61

กำๆ สงสัยเข้าใจผิดกะพีซีอิ ที่ผมบอกจะแข่ง ก็คือที่ konik ครับ

ถ้าแข่งกระดานจริง ผมคงเล่นไม่เป็นอะ ไม่เคยจับเลย (เคยครั้งนึง อิอิ) แต่มีชื่อไว้ก็ดีครับ
เผื่อจะลองไปดู แต่ถ้าผมไม่ได้ไป ต้องขออภัยล่วงหน้าด้วยครับ

ขอบคุณครับ

โดย : JiggowSeng Member   [ 18/02/2008, 23:04:58 ]

ความคิดเห็นที่ : 62

ขอย้ำกับทุกท่านว่า ทำความเข้าใจกติกา ในกระทู้นี้ให้ดีก่อน
ถึงเวลานั้น จะแย้งว่าไม่ยุติธรรม
หรือมาอ้างว่าไม่ทราบไม่ได้นะครับ

ที่สำคัญ มาถามรายละเอียดกับผมตอนแข่งนั้น คงไม่ได้แล้ว เพราะต้องตั้งสมาธิแข่งเหมือนกัน
ผมจะไม่ยุ่งกับการจัดแข่งเลยนะครับ ถ้าถามต้องถามกรรมการชาวญี่ปุ่น กันเอง

โดย : ซึซึอิ Member   [ 19/02/2008, 09:09:25 ]

ความคิดเห็นที่ : 63

กติกาปลีกย่อย เพิ่มเติม ที่ทางท่าน Shogi 5 dan หนึ่งในกรรมการผู้ตัดสิน แจ้งมาครับ

There are actually some other illegal moves in Shogi. I was actually going
to say about this. The other common ones are checking in repetition,
promoting in a place that a piece cant promote, and going to a place where
the piece cant go.

If the player notices the illegal move during the game, the game is ended at
that point. If the player notices it after resigning the game, resignation
will be the priority. If the player notices it during the game, but the
piece is gone, then, the player has to prove that it happened, and if it is
proven, then the player it will win the game. This is a bit difficult issue
to judge (this happened some times in my Shogi life).

Please also write that players should not take a piece with the piece that
is going to take. Take a piece in hand first and take it with the piece that
is going to take. I see many Thai players do this because it is the usual
practice in Makruk or Western Chess, but it is illegal in Shogi.

Another important issue is a touch move. A touch move is usually illegal in
many games, but in Shogi it is often allowed even among pros because there
is no official rule book in Shogi. This is very strange, but Shogi
Association sets all rules as gentleman agreement. But this is the most
common and often dispute issue among many players. I suggest that we say
clearly the touch move is illegal in this tournament. Players who touched
the pieces have to move the piece. If the piece does not have any place to
go, you lose the game.

The last issue is Ji Shogi when both kings enter the other side. We should
apply 27 point rule. If both have 27 points, then the gote will win the
game.

However, there are still some situations that rules cant cover, so usually
there is a referee who has to make a decision. In the next tournament,
Tsukahara san or me or both can be the referee.

โดย : ซึซึอิ Member   [ 19/02/2008, 09:38:13 ]

ความคิดเห็นที่ : 64

จะมีบันทึกหมากมั้ยอ่าครับ

โดย : ขงเด้ง Member   [ 20/02/2008, 21:37:49 ]

ความคิดเห็นที่ : 65

ตอนไปแข่งที่ญี่ปุ่น จะมี Shoreikai (เด็กที่เตรียมเป็นมืออาชีพ เหมือนกับ insei ของโกะ)
คอยบันทึกหมากให้ตลอดเลยครับ

เขาจดหมากได้เร็วมาก

แต่ที่นี่ คงไม่มีการบันทึกหมากหรอกครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 21/02/2008, 12:19:02 ]

ความคิดเห็นที่ : 66

เอ่อคือ ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะได้ไปคือ อย่าพึ่งลบชื่อออกนะครับ พี่มีเบอร์เปล่าเดี๋ยวโทรไปบอก

โดย : เณรนักฆ่า Member   [ 25/02/2008, 16:17:39 ]

ความคิดเห็นที่ : 67

กรณี Sennichite
เดินหมากซ้ำเดิม (แต่ไม่ใช่รุกล้อ)
ให้แข่งใหม่ แต่เปลี่ยนการถือหมาก จากดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ
โดยเวลาในการแข่ง จะใช้เพียงฝ่ายละ 10 นาที เบียวโยมิ 30 วิ/ตา

โดย : ซึซึอิ Member   [ 27/02/2008, 13:10:45 ]

ความคิดเห็นที่ : 68

พรุ่งนี้แล้วสินะ



ทุกคนที่แข่งสู้ๆๆๆๆนะ


สุ้ๆตาย


อิอิ

โดย : LoveIS Member   [ 01/03/2008, 13:52:11 ]

ความคิดเห็นที่ : 69

ผลการแข่งขันโชกิจบลงแล้ว
แชมป์คือ pjcm
รองแชมป์คือ ว๊าวุ่น

โดย : EEE Member   [ 09/03/2008, 20:53:25 ]

ความคิดเห็นที่ : 70

ผลการแข่ง 4th International Shogi Tournament ออกมาแล้ว

A (Dan) tournament:
Kolomiyets (UA) – 2109, 3 Dan
Baker (US) – 2084, 3 Dan
Hosking (UK) – 1986, 3 Dan
van Oosten (NL) – 1984, 4 Dan
Drechsler (DE) – 1867, 2 Dan
Zapara (RU) – 1858, 1 Dan
Pottier (FR) – 1856, 3 Dan
Pfaffel (AT) – 1827, 2 Dan
Hartman (SE) – 1798, 1 Dan
de Schepper (BE) – 1775, 1 Dan (01/07/2005)
Korchitsky (BY) – 1746, 1 Dan
Christoffersen (NO) – 1695, 1 Dan
Stroud (CA) – 1607, 1 Kyu
Caridi (IT) – 1007, 8 Kyu

B (Kyu) tournament:
Kuniholm (US), 1833, 2 Kyu
Dietmayer (AT), 1711, 1 Kyu
Carlsson (SE) – 1648, 1 Kyu
Shcherbina (UA) – 1640, 1 Kyu
Pietz (DE) – 1569, 2 Kyu
Nguyen (FR) – 1551, 2 Kyu
de Haas (NL) – 1544, 2 Kyu
Sinelnikov (RU) – 1529, 3 Kyu
Pratt (UK) – 1472, 3 Kyu
Kasperovich (BY) – 1425, 4 Kyu
Olufsen (NO) – 1383, 3 Kyu
Heeffer H. (BE) – 1026, 8 Kyu (01/01/07)

Other participants ISF 2008 have no FESA rating.

โดย : EEE Member   [ 12/11/2008, 06:25:27 ]

ความคิดเห็นที่ : 71

Results of 2nd preliminary round:

Group A

Hartman - Drechsler 1-0
Christofferson - De Shepper 0-1
Dresow - Abe 0-1
Stroud - Korchitskij 0-1
Sato - Baker 0-1

Group B

Olufsen - Sinelnikov 1-0
Huovinen - Mackinven 1-0
Caridi - Sakamoto 1-0
Scherbina - Kitani 1-0
Heefer - de Haas 0-1

โดย : EEE Member   [ 12/11/2008, 06:33:01 ]

ความคิดเห็นที่ : 72

Results of 1st round main tournament

Group A

Tolonen - Shunjie 0-1
Abe - Hosking 1-0
Kolomiyets - De Shepper 1-0
Kasai - Baker 0-1
Zapara - van Oosten 0-1
Hartman - Pfaffel 1-0
Ngaleortloi - Pottier 0-1
Korchitskij was free

Group B

Caridi - Scherbina 0-1
Dietmayer - Olufsen 1-0
Carlsson - Pietz 1-0
Pratt - Nguyen 0-1
Wennao - Teerapabpaisit 0-1
Sato - de Haas 1-0
Kuniholm - Kasperovich 0-1
Huovinen was free

โดย : EEE Member   [ 12/11/2008, 06:43:30 ]

ความคิดเห็นที่ : 73

Results of semifinals:

Group A

Shunjie - Baker 1-0
van Oosten - Korchitskij 0-1

Group B

Scherbina - Nguyen 1-0
Teerapabpaisit - Huovinen 1-0


Results of finals:

Group A
for 1st place
Shunjie - Korchitskij 1-0
for the 3rd place
van Oosten - Baker 0-1

Group B
for 1st place
Scherbina - Teerapabpaisit 1-0
for the 3rd place
Nguyen - Huovinen 1-0

โดย : EEE Member   [ 12/11/2008, 06:47:43 ]

ความคิดเห็นที่ : 74

ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงมาจากที่นี้
http://shogipro.com/forum/viewtopic.php?t=5&postdays=0&postorder=asc&start=0

โดย : EEE Member   [ 12/11/2008, 08:46:15 ]

ความคิดเห็นที่ : 75

ยินดีด้วยครับ

โดย : MW Member   [ 22/11/2008, 22:10:23 ]

  ถาดพลาสติก
  E-mail: webmaster@thaibg.com
Copyright 2002-2024 ThaiBG.com, All Rights Reserved