[ กลับหน้าหลัก ]


"Basic Concept of Thai Chess"



"Basic Concept of Thai Chess"

1.Combination (การประมวลผลกำไร/ขาดทุน ของการแลกตัวหมาก)
1.1) จับกินฟรี
1.2) นำตัวหมากค่าน้อยไปแลกกับตัวหมากค่ามาก
ค่าของตัวหมาก
เรือ = 5 , ม้า = 3 , โคน = 2.6 , เม็ด = 1.7
เบี้ยหน้าขุน/เม็ด = 1.1 , เบี้ยหน้าโคน = 1.0
เบี้ยหน้าม้า = 0.85 , เบี้ยริม = 0.7

2. Position (ตำแหน่งที่ดี / ไม่ดีของตัวหมาก)
2.1) การใช้งานของตัวใหญ่ (เรือ , ม้า , โคน , เม็ด) ให้มี ประสิทธิภาพ
2.2) ควรมีการผูกตัวหมากกันให้มากๆ เพื่อให้เกิดความเหนียวแน่น และเป็นการลดจุดอ่อน
2.3) ควรสร้างป้อมของขุนให้แข็งแรง เพื่อความปลอดภัย
2.4) โครงสร้างของเบี้ย (เบี้ยคู่ = ดี , เบี้ยให้แท่น = ไม่ดี , เบี้ยเป็นโพรง = ไม่ดี ,
เบี้ยซ้อน = ไม่ดี)
2.5) ฝ่ายจ้องจับกิน ดีกว่า ฝ่ายผูกตัวหมาก
2.6) การได้แท่น/ได้บ่อของ ม้า , โคน , เม็ด จะเป็นตำแหน่งที่ดี
2.7) เรือที่อยู่คู่กัน หรือ ซ้อนกัน จะมีอำนาจมากกว่าเรือที่ทำงานแยกกัน
2. เรือคลอง 7 มักจะดี

3. Strategy (กลยุทธ์ในการวางแผน)
3.1) หากพื้นที่ด้านหนึ่ง ตำแหน่งของตัวหมากเป็นต่อ ให้พยายามปิดศึกอีกด้านหนึ่ง
3.2) พื้นที่บริเวณกลางกระดาน (Center Area) มีความสำคัญ
หากฝ่ายใดสามารถยึดครองได้ส่วนใหญ่จะได้เปรียบ
3.3) ฝ่ายที่สามารถทิ่มเบี้ยสูงถาวรได้ จะทำให้มีพื้นที่ในการแปรขบวนของตัวใหญ่ได้มากกรณี (choice)
กว่า จึงมักจะได้เปรียบฝ่ายที่ถูกค้ำเบี้ยสูง
3.4) การนำเรือไปกดขุนฝ่ายตรงข้าม เป็นการจ้องโจมตีเป็นชุด
3.5) พยายามตัดกำลังตัวป้องกันขุนของฝ่ายตรงข้าม
3.6) พยายามทิ่มเบี้ยให้บ้านของฝ่ายตรงข้ามแตก
3.7) การทิ่มเบี้ยเพื่อสร้างแท่น เป็นการทำทางหมากเพื่อให้ตัวใหญ่ขึ้นไปบุกฝ่ายตรงข้าม
3. ตาเดินที่ "ทั้งรุกทั้งรับในตาเดียวกัน" มักจะเป็นตาที่ดีเสมอ
3.9) Sacrifice ( การเซ่นสังเวย) เป็นการโยนตัวหมากเข้าไปกึ่งบังคับ ให้คู่ต่อสู้กิน
โดยเสียเปรียบคะแนนของตัวหมาก แล้วได้กำไรตัวหมากหรือได้เปรียบตำแหน่งในภายหลัง
3.10) พยายามอ่านหมาก (งานทำ) ของฝ่ายตรงข้าม ว่าเขากำลังจะเดินอะไรเป็นลำดับถัดไป
เพื่อนำมาวางแผนหรือหลุมพราง เช่นการหลอกให้คู่ต่อสู้กินฟรี แล้วศอกกลับได้กำไรคะแนนของตัวหมากภายหลัง
3.11) ควรพิจารณาตำแหน่งที่เป็นจุดอ่อนของฝ่ายตรงข้ามในทุกตาเดิน
เพื่อหางานด่วนและสำคัญกว่าแผนเดิม
3.12) King Power โดยปกติถ้าไม่มีการรุก ขุนจะมีคะแนน = 4 แต้ม ดังนั้นในบางจังหวะ
ที่เห็นว่าคู่ต่อสู้มีกำลังตัวหมากไม่มากและไม่เป็นอันตราย อาจใช้ขุนขึ้นไปบุกกินตัวหมากฝ่ายตรงข้ามฟรี
หรือทำประโยชน์อื่นๆ
3.13) เมื่อได้เปรียบให้วางแผนเอาชนะ เมื่อเสียเปรียบให้คิดหาเสมอ การหาเสมอทำได้หลายวิธี เช่น
รุกล้อ , ขัดอับ , ตัดตัวหมากฝ่ายตรงข้ามให้เหลือไม่พอชนะ , นับเกินศักดิ์หมาก , นับเกินศักดิ์กระดาน

4.Tempo ( จังหวะที่ดีในการเดินตัวมาก)
4.1) การพิจารณาว่าควรเดินตัวหมากใดก่อนและตัวหมากใดทีหลัง ให้เลือกเดิน งานด่วนและสำคัญ
เป็นลำดับแรก โดยมากมักจะเป็นแต้มกึ่งบังคับ
4.2) การดึงจังหวะ (การเดินตัวหมากที่ไม่มีผลต่อสนามรบ)
ควรทำในขณะที่ตัวใหญ่ทุกตัวอยู่ในแหน่งที่ดีแล้ว เพื่อเป็นการรอให้คู่ต่อสู้เพรี่ยงพร้ำเข้ามา
หรือเป็นการแก้ทีเดิน
4.3) ความเร็ว เมื่อเกิดกรณีแลกกันโจมตีขุน ให้นับจำนวนทีเดินว่าใครโจมตีได้เร็วกว่ากัน
ถ้าเราเร็วกว่าให้โจมตีเลย แต่ถ้าเขาเร็วกว่าให้หาตาเดินที่ทั้งรุกทั้งรับในตาเดียวกันก่อน
ถ้าหาไม่ได้ค่อยหันกลับมาป้องกันขุนเราก่อน

5.การหา Best Move
5.1) พิจารณาแต้มที่น่าจะเดินในทุกทางเลือก
5.2) คำนวณหมาก (combination) โดยคิดแต้มที่ดีที่สุดและหลายชั้น ( เท่าที่คิดได้ ) ของทั้ง 2 ฝ่าย
แล้วหา/จำ ภาพสุดท้ายในแต่ละทางเลือก
5.3) เปรียบเทียบตำแหน่งของตัวหมากในภาพสุดท้าย ในแต่ละทางเลือก
ว่าภาพใดได้เปรียบสูงสุดในกรณีเป็นต่อหรือเสียเปรียบสูงสุดในกรณีเป็นรอง
แล้วจึงตัดสินใจเลือกเดินแต้มนั้น

( อ.หนูเพชร)
นายวิษุวัติ ธีระภาพไพสิฐ

4 ธ.ค. 2544









โดย : เซียน_พงษ์ Member - [ 29/08/2007, 12:24:14 ]

1

ดีใจที่ได้ความรู้จากผู้รู้จริงเพิ่มขึ้นอีก
ขอบคุณมากๆครับ
เขียนเพิ่มเติมอีกนะครับ

โดย : mgso4 Member   [ 29/08/2007, 13:25:00 ]

2

เยี่ยมมาก... กรุณาเพิ่มเติมอีกครับ เพื่อให้นักหมากรุกรุ่นหลังได้ ศึกษาครับ
หมากรุกไทยจะได้มีคนเล่นเก่ง ๆ มากขึ้น กว่าธรรมดา
โดยเฉพาะบันทึกเกมการเเข่งขันที่สำคัญ หรือแต้มที่ดีน่าจดจำไปเล่น คิดว่าจะเป็นประโยชน์มากครับ ท่าน..

โดย : หมากธรรมดา Member  -  [ 21/09/2007, 07:54:29 ]

3

ดีมากครับ มีอะไรๆ มาเล่าสู่กันฟังอีกนะครับ
น้องพงษ์ เซียน_พงษ์ ปลากระพง
ว่างๆ เล่นด้วยกันอีกนะ อิอิ แพ้ทาง

โดย : hakgingmai Member   [ 21/09/2007, 08:43:56 ]

 
  E-mail: webmaster@thaibg.com Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved  
 
  Sponsors