|
|
[ กลับหน้าหลัก ]
การแข่งขันหมากฮอสชิงถ้วยพระราชทาน ปี 2550 (ปรับปรุงกติกา)
เชิญร่วมแข่งขันหมากฮอสชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
24 25 มีนาคม 2550 ณ ท้องสนามหลวง
จัดโดย สมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สมาคมกีฬาหมากฮอส
ประเภทการแข่งขัน และ รางวัล
1. หมากฮอสสามแถวประชาชนทั่วไป จัดการแข่งขันวันที่ 24 มีนาคม 2550 เวลา 0900 น.
2. หมากฮอสองแถวประชาชนทั่วไป จัดการแข่งขันวันที่ 25 มีนาคม 2550 เวลา 0800 น.
เงินรางวัลประเภทที่ 1 และ 2
ชนะเลิศได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 7,000 บาท
ที่ 2 ได้รับถ้วยสมาคมกีฬาไทย ฯ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท
ที่ 3 ได้รับถ้วยสมาคมกีฬาไทย ฯ พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท
ที่ 4 ได้รับเงินรางวัล 2,000 บาท
ที่ 5 ได้รับเงินรางวัล 1,500 บาท
ที่ 6 ได้รับเงินรางวัล 1,200 บาท
ที่ 7 ได้รับเงินรางวัล 800 บาท
ที่ 8 ได้รับเงินรางวัล 600 บาท
ที่ 9 - 16 ได้รับเงินรางวัล ๆ ละ 500 บาท
3. หมากฮอสสองแถวเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี (นับอายุ ปี 2530) จัดการแข่งขันวันที่ 24 มีนาคม 2550 เวลา
1000 น.
4. หมากฮอสสองแถวเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี (นับอายุ ปี 2535) จัดการแข่งขันวันที่ 25 มีนาคม 2550 เวลา
0900 น.
เงินรางวัลประเภทที่ 3 และ 4
ชนะเลิศได้รับถ้วยสมาคมกีฬาไทย ฯ พร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท
ที่ 2 ได้รับถ้วยสมาคมกีฬาไทย ฯ พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท
ที่ 3 ได้รับถ้วยสมาคมกีฬาไทย ฯ พร้อมเงินรางวัล 2,000 บาท
ที่ 4 ได้รับเงินรางวัล 1,000 บาท
ที่ 5 ได้รับเงินรางวัล 800 บาท
ที่ 6 ได้รับเงินรางวัล 500 บาท
ที่ 7 ได้รับเงินรางวัล 400 บาท
ที่ 8 ได้รับเงินรางวัล 300 บาท
คุณสมบัตินักกีฬาผู้ร่วมแข่งขัน
เป็นสมาชิกสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เท่านั้น อันได้แก่ สมาชิกประเภทบุคคล หรือ ชมรม
โดยเสียค่าสมัครประเภทละ 100 บาท เตรียมไปชำระที่ท้องสนามหลวง 24 มี.ค. 50 เวลา 0800
พร้อมหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ นักเรียน และรูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2
ภาพ
กติกาการแข่งขัน หมากฮอสสองแถวและสามแถวประชาชนทั่วไป จัดการแข่งขันเป็น 2 ตอน ดังนี้
1. รอบคัดเลือกให้นักกีฬาทั้งหมดแข่งขันแบบสวิสแพร์ จำนวน 5 รอบ ในแต่ละรอบให้นักกีฬาใช้เวลาในการแข่งขันไม่เกิน 1 ชั่วโมงหากใช้เวลาครบแล้วให้ตัดสินเสมอกัน แข่งขันระบบ 2 กระดาน ชนะได้ 1 คะแนน เสมอได้ 0.5 คะแนน แพ้ได้ 0 คะแนน แข่งขันครบ 5 รอบ นักกีฬาที่มีคะแนนเท่ากันให้นับคะแนนไทเบรกแบบไมเนอร์สกอร์ซึ่งได้มาจาก ผลการแข่งขัน ชนะ 1 กระดานได้คะแนนไมเนอร์สกอร์ 180 คะแนน เสมอได้ 60 คะแนน แพ้ได้ 0 คะแนน ลบด้วยเวลา(นาที)ที่ใช้ในการแข่งขัน ในกรณีนี้อนุโลมให้ใช้เวลาเริ่มการแข่งขันจนถึงการส่งสกอร์ถึงโต๊ะกรรมการแล้วหารด้วย 2 ดังนี้
1.1 ชนะ 2 กระดาน ผู้ชนะได้คะแนนไมเนอร์สกอร์ 360 -
.= คะแนน ผู้แพ้ได้คะแนนไมเนอร์สกอร์ = 0 คะแนน
1.2 ชนะ 1 กระดาน เสมอ 1 กระดาน ผู้ชนะได้คะแนนไมเนอร์สกอร์ 240 -
.= คะแนน ผู้แพ้ได้คะแนนไมเนอร์สกอร์ 60 -
.= คะแนน
1.3 เสมอกันแบบชนะคนละกระดาน ได้คะแนนไมเนอร์สกอร์คนละ 180 -
.= คะแนน
1.4 เสมอกันแบบเสมอ 2 กระดาน ได้คะแนนไมเนอร์สกอร์คนละ 120 -
= คะแนน
2. รอบแข่งขันแบบน๊อคเอาว์ โดยคัดมาจากรอบคัดเลือกตามลำดับจำนวน 32 คน
จับคู่การแข่งขันแบบมือวางประจำที่ตามสายการแข่งขันที่จัดไว้ก่อนแล้ว ดังนี้
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 1 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 32
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 16 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 17
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 8 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 25
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 9 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 24
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 3 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 30
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 14 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 19
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 6 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 27
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 11 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 22
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 2 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 31
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 15 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 18
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 7 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 26
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 10 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 23
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 4 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 29
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 13 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 20
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 5 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 28
ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 12 พบกับ ผู้ที่ได้คะแนนอันดับ 21
รอบ 32 , 16 และ 8 คนสุดท้ายทำการแข่งขันระบบ 4 กระดาน หากยังเสมอให้แข่งขันแบบต่อเสมอเป็นแพ้ 4 กระดาน หากยังเสมอกันให้แข่งขันแบบลากฮอส 3 กระดาน หากยังเสมอให้แข่งขันแบบใครสามารถเดินเข้าฮอสได้ก่อนชนะ 1 กระดาน สำหรับคู่แข่งขันใดแข่งขันกันนานกว่า 2 ชั่วโมงยังเสมอกัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันมีสิทธิ์จัดให้แข่งขันแบบเดินเข้าฮอสก่อนชนะ
รอบรองชนะเลิศให้แข่งขันระบบ 6 กระดาน และ รอบชิงชนะให้แข่งขันระบบ 8 กระดาน หากยังเสมอให้แข่งขันแบบข้างต้น
หมากฮอสสองแถวประเภทเยาวชน 15 และ 20 จัดการแข่งขันแบบสวิสแพร์จำนวน 7 รอบ ใช้ระบบการแข่งขัน 4 กระดาน หากมีคะแนนเท่ากันให้ใช้คะแนนไทเบรกแบบไมเนอร์สกอร์ตัดสิน
สมัครแข่งขันได้ที่ พ.ท. คำรณ ชัยมงคล เลขาธิการสมาคมกีฬาหมากฮอส โทร 087-0692008 โดยไม่เสียค่าสมัคร ให้รายงานตัวก่อนการแข่งขัน 30 นาที
หลักการและเหตุผล เหตุผลการเปลี่ยนระบบการแข่งขันครั้งนี้ คือ การขจัดจุดด้อยของแต่ละระบบออกไป นำเอาส่วนดีของทั้ง 2 ระบบการแข่งขันมาใช้ร่วมกันซึ่งจะก่อประโยชน์ในการจัดการแข่งขันแต่ละครั้ง กล่าวคือ จัดการแข่งขันไปด้วยความราบรื่น รองรับนักกีฬาจำนวนมาก ๆ ได้ เกิดความยุติธรรมต่อนักกีฬาทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ผลการแข่งขันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
ระบบการแข่งขันแบบสวิสแพร์เป็นวิธีจัดการแข่งขันที่สามารถรองรับกับการจัดแข่งขันที่มีจำนวนนักกีฬามาก ๆ ได้และขั้นตอนการดำเนินการจัดการแข่งขันเป็นไปอย่างมีระบบและทำให้นักกีฬาทุกคนได้มีส่วนร่วม แต่ได้ผลการแข่งขันสุดท้ายอย่างคร่าว ๆ กล่าวคือ ระบบสวิสแพร์นี้นำแนวความคิดวิธีการจัดการแข่งขันแบบเดียวกับฟุตบอลดิวิชั่นคือพบกันหมดแต่ระบบสวิสแพร์ใช้การแข่ง 6 - 10 ครั้งเท่านั้นแล้วประมวลผลการแข่งขัน จึงทำให้ผลการแข่งขันขั้นสุดท้ายไม่กระจ่างนัก ไม่ทราบว่ากลุ่มที่อยู่หัวแถวนั้นใครเก่งกว่ากัน ซ้ำร้ายยังก่อให้เกิดการฮั้วได้ง่ายเพราะว่าไม่มีคู่ชิงชนะเลิศ ต้องรอผลการแข่งขันของคู่แข่งขันอื่น ๆ อาทิ ในรอบสุดท้าย นาย ก. มีคะแนนอันดับ 1 นาย ข. มีคะแนนอันดับ 2 (นาย ก. มีคะแนนเท่ากับนาย ข.) นาย ค. มีคะแนนอันดับ 3 นาย ง. มีคะแนนอันดับ 4 นาย ก. ต้องแข่งกับ นาย ง. เพราะว่าได้แข่งขันกับนาย ข. มาก่อนแล้ว สำหรับ นาย ข. ต้องแข่งขันกับ นาย ค. ซึ่งกรณีอย่างนี้หากกลุ่มนาย ข. นาย ค. และ นาย ง. เป็นพวกเดียวกันฝีมือใกล้เคียงกันโอกาสที่นาย ก. จะได้เป็นแชมป์คงน้อยนิด นอกจากนั้นหากกรรมการโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นพวกเดียวกันอีกเข้าผสมโรงก็จะไปกันใหญ่กล่าวคือกรรมการคอม ฯ สามารถเปลี่ยนการแพริ่ง(จับคู่)ในแต่ละรอบได้หากไม่พอใจว่าพวกตนเองไปเจอมือที่แข็งกว่าโดยการเปลี่ยนคู่ให้กับพวกเดียวกันหากเห็นว่าพวกของตนสู้ไม่ได้ หรือเปลี่ยนนักกีฬาฝีมือทัดเทียมกับนาย ก.สักสองสามครั้งแค่นี้นาย ก. คงหมดโอกาสได้เป็นแชมป์แน่นอน เรื่องอย่างนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นเพียงแต่ให้ข้อคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้เท่านั้น
สำหรับปัญหาที่พบบ่อยๆ ได้แก่กรณีที่นักกีฬามีคะแนนหลักเท่ากันจะตัดสินให้ใครชนะใครในโปรแกรมสวิสได้จัดกรรมการตัดสินไว้ 8 แบบให้คิดคะแนนไทเบรคได้แก่ เบอร์เจอร์(Berger) ไบร์เวล(Brighwell) บุชโฮล(Buchhols) มิเดียลบุชโฮล(Median buchhols) นัมเบอร์ออฟวิน(Number of win) โปรเกรส(Progress) เรตติ่งซัม(Rating Sum) และ ไมเนอร์สกอร์(Minor scores) เป็นสิ่งที่แน่นอนหากคะแนนหลักรวมตามรอบแข่งขันเหมือนกัน (ไม่ใช่คะแนนเท่ากันอย่างเดียว) ทุกประการ ไม่ว่าจะใช้ไทเบรคแบบใดก็ตามคนที่มีชื่ออักษร ก ย่อมได้เปรียบแน่นอน และหากให้อันดับมือวางเข้าไปอีกผู้ที่ถูกจัดเป็นมือวางดีกว่าย่อมเสียเปรียบ ยกเว้นผู้จัดการแข่งขันได้ใส่ไตเติลไว้เป็นคนละแบบ กรรมการที่โปรแกรมได้จัดไว้แบบสำเร็จรูปทุกแบบย่อมมีแนวคิดการให้คะแนนแตกต่างกันออกไป อาทิ แบบโปรเกรสมีหลักการให้คะแนนคือ รอบที่ 1 ชนะได้ 1 คะแนน เสมอได้ 0.5 แพ้ได้ 0 คะแนน รอบที่ 2 ชนะได้ 2 คะแนน รอบที่ 3 ได้ 3 คะแนน รอบที่ 4 ได้ 4 คะแนน รอบที่ 5 ได้ 5 คะแนน ทั้งนี้ใช่ว่าจะได้คะแนนเต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้ยังขึ้นอยู่กับคะแนนหลักที่ตุนไว้แต่เดิมด้วย เพราะฉะนั้น การที่นักกีฬาชนะหรือเสมอเหมือนกันในแต่ละรอบจะได้คะแนนไม่เท่ากัน ดังนั้นนักกีฬาที่มีคะแนนนำหรือขึ้นแท่นก่อนย่อมได้เปรียบ บางครั้งการจัดการแข่งขันแต่ละครั้งต้องใช้กรรมการเพิ่มอีก 2 3 แบบจึงจะตัดสินได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอธิบายถึงความยุติธรรมต่อนักกีฬาผู้เสียโอกาสได้
อย่างไรก็ดีโปรแกรมสวิสนี้ยังมีกรรมการแบบไมเนอร์สกอร์(Minor scores)ที่มีความอ่อนตัว ซึ่งผู้จัดการแข่งขันสามารถกำหนดความสามารถของนักกีฬาอันได้แก่ชนะมากกว่าและรวดเร็วกว่าเปลี่ยนมาเป็นคะแนนวัดผลว่าหากนักกีฬาท่านใดมีคะแนนหลักเท่ากันแล้ว ถามว่าใครเก่งกว่ากันใครและใครสมควรจะชนะ ? ซึ่งจะเป็นคำตอบให้ทุกฝ่ายยอมรับได้ อีกทั้งนักกีฬายังสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ด้วยตนเองหากมีข้อผิดพลาดหรือข้อสงสัยเกิดขึ้น สามารถเรียกร้องให้กรรมการชี้แจงคะแนนไมเนอร์สกอร์แต่ละรอบได้
ระบบการแข่งขันแบบแบ่งสายและน๊อคเอ้าว์ย่อมมีจุดอ่อนในรอบแรก ๆ หากสายใดมีพวกพ้องเดียวกันและต้องการดึงกันเข้ารอบย่อมมีการฮั้วเกิดขึ้นอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าในระบบนี้ในช่วงตอนปลายอาจมีการฮั้วเกิดขึ้นแต่อย่างไรก็ดีฝ่ายฮั้วก็ต้องคัดตัวมาสู้กับนาย ก.
เพียงหนึ่งคนเท่านั้น โดยไม่มีการรุมสกรัม แต่ข้อดีของระบบนี้คือ มีคู่ชิงชนะเลิศซึ่งเป็นไฮไลท์ของการแข่งขันและได้ผลการแข่งขันสุดท้ายที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด |
โดย : #พันโทคำรณ ชัยมงคล [ 28/02/2007, 16:41:18 ] |
1
เซียนหมากฮอสที่เคยได้แชมป์ระดับประเทศ หมากฮอสสามแถวมี 6 คน คือ แก้วแมว สิงห์เคอาร์ เซียนดำ เซียนใช้
เซียนโย่ง แชมป์น้อย ส่วนแชมป์หมากฮอสแปดตัว มี 7 คน คือ เซียนดำ เซียนใช้ เซียนโย่ง เซียนแว่นใหญ่
หมวกแดง เซียนอุ และ เซียนหง่าว รายหลังสุดแขวนกระดาน ไม่ลงแข่งขันแน่นอน
ขอเสนอให้เอาเซียนที่เคยได้แชมป์ประเทศ ยืนรอในรอบ 32 คนเลยครับ หมากฮอสสามแถวก็เอาเซียนสามแถวยืนไว้ 6
คน ที่เหลือคัดจากสวิสเข้ามาอีก 26 คน ส่วนหมากฮอสแปดตัว ถ้ามาครบ 7 คนก็ยืน 7 คน แต่ถ้ามาไม่ครบ เช่นมา
6 คน ก็ยืนไว้ 6 คน ส่วนที่เหลือก็สวิสมารวมให้ครบ 32 คน
ส่วนหลักเกณฑ์การวางมือทั้ง 6 คน ว่าใครจะเป็นมือ 1 ถึง 6 นั้น คงไม่สำคัญเท่าใดนัก
วัตถุประสงค์เพียงให้ทั้ง 6 มือ เจอกันให้ช้าที่สุด ในรอบลึกที่สุดเท่านั้น
หลักเกณฑ์ในการวางมืออาจเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- จับสลาก
- เรียงจากคนได้แชมป์จากปีล่าสุดย้อนหลังลงไป
- เรียงจากคนที่ได้แชมป์บ่อยครั้งที่สุด ที่เหลือถ้าเท่ากัน จับฉลากหรือเรียงตาม พ.ศ.
เหตุผล
1. มือระดับแชมป์ทุกคนล้วนเป็นที่ยอมรับว่า ฝีมือเป็นสุดยอดในประเภทนั้นๆแล้ว
สมควรได้รับสิทธิ์ให้เป็นตัวยืน การเป็นตัวยืนในรอบ 32 คนนั้น ยังถือว่า ธรรมดามาก
2. ระบบสวิสถ้าแข่งหลายๆรอบครบตามมาตรฐาน คะแนนจะกระจายเป็นขั้นบันได แยกอันดับหัวไปถึงท้ายได้ดี
แต่ถ้าแข่งน้อยรอบ คะแนนจะไม่กระจาย จะมีคนได้คะแนนเท่ากันยาวเป็นสิบๆคน เช่นจากอันดับ 9 ไปถึง 20
นอกจากนี้ สวิสแข็งกับแข็งมาเจอกัน อ่อนกับอ่อนมาเจอกัน มือดีๆจะเจอกันเอง คนที่แพ้แม้อาจยังเข้า 32 คน
แต่อันดับอาจวูบลงไปถึง 10 กว่า 20 กว่า ก็เป็นไปได้ ยิ่งแข่งเพียง 2 กระดานเท่านั้น
3. สมมุติว่าแชมป์ประเทศสองคนคือ เซียนไก่และเซียนไข่ สวิสมาเจอกัน เซียนไก่ชนะเซียนไข่ไป 2 กระดานรวด
และเข้ารอบ 32 มาทั้งคู่ ต่อมาเซียนไก่กับเซียนไข่มาเจอกันอีกครั้งรอบน็อคเอาท์ 8 คน หรือ 16 คน แข่ง 4
กระดาน เซียนไข่ชนะไป 1 กระดาน ทำให้เซียนไก่ตกรอบ ลักษณะนี้ ก็จะไม่ยุติธรรมต่อเซียนไก่ เพราะ
ตอนแรกชนะมา 2 กระดาน ตอนหลังแพ้ไปเพียง 1 กระดาน กลับเป็นฝ่ายตกรอบ ยิ่งกว่านี้
ถ้ากระดานที่แพ้ทำให้ตกรอบนั้น เป็นผลจากการกลับไปแก้หมากของเซียนไข่ซึ่งแพ้เซียนไก่มาตอนเจอกันครั้งแรก
ก็ยิ่งแสบคูณสองเข้าไปอีก
4. ส่วนกติกาที่ว่า แข่งครบชั่วโมงไม่จบเกมแล้วจับเสมอกันนั้น ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายอู้จะทำอย่างไร
เช่น ใครเจอเซียนไก่แล้วรู้ตัวว่าสู้ไปก็แพ้แน่ๆ ก็ทำเป็นเดินตัวละสองนาทีบ้าง นาทีครึ่งบ้าง
เล่นยังไงก็ไม่จบกระดาน แบบนี้เซียนไก่เล่นกับใครก็ชนะไม่ได้ครับ
จากเหตุผลและปัญหาดังกล่าว จึงขอเสนอแนะให้เซียนยืนคอยในรอบ 32 คนเลยครับ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว
|
โดย : สนามหลวง50 [ 10/03/2007, 17:08:25 ] |
2
ความคิดเห็น น่าสนใจ
ประดาเซียนใหญ่คงชอบอกชอบใจ คลายเคลียดไปเยอะ |
โดย : นายแจม [ 10/03/2007, 20:48:09 ] |
|
|
|
E-mail: webmaster@thaibg.com |
Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved |
|
|
|
|