|
|
[ กลับหน้าหลัก ]
กิตติรัตน์ ณ ระนอง -ผู้นำที่ยึดมั่นสัจจะควรได้รับการชื่นชม
สยามธุรกิจ
วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2549
http://www.siamturakij.com/book/index.php?option=com_content&task=view&id=5704
ผู้นำที่ยึดมั่นสัจจะควรได้รับการชื่นชม
> กิตติรัตน์ ณ ระนอง
> อดีตกรรมการและผู้จัดการตลท.
การได้มาซึ่งรางวัลเกียรติยศในความเป็น "นักการเงินแห่งปี 2548" และเป็นคนที่ 17 ที่ได้รับรางวัลอันมีเกียรตินี้ จากวารสารการเงินธนาคาร ถือได้ว่าเหมาะสมยิ่ง เพราะวันนี้ กิตติรัตน์ ณ ระนอง ก็ยังคงย้ำจุดยืนของการลาออกจากตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ว่าหากเขาไม่สามารถนำ บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจส์ จำกัด (มหาชน) หรือที่รู้จักกันในนามเบียร์ช้างเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้
เพราะบริษัทดังกล่าวต้องถูกต่อต้านจากประชาชนส่วนหนึ่ง ที่ไม่ต้องการให้บริษัทที่ผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ด้วยเกรงว่าจะนำพาคนไทยไปสู่การดื่มสุรามากขึ้น และจะทำให้คนไทย สังคมไทยต้องตกอยู่ภายใต้อบายมุข
แม้ความคิดดังกล่าวของกิตติรัตน์จะไม่ตรงกับกลุ่มผู้ต่อต้านนัก เนื่องจากเขาเชื่อว่า แม้เบียร์ช้างจะไม่เข้าตลาด แต่ก็มิใช่ว่าคนไทยจะลดการดื่มหรือเพิ่มปริมาณการดื่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับการรณรงค์และปัจจัยหลายๆอย่างพร้อมกัน แต่สำคัญที่สุดในวัตถุประสงค์การนำเบียร์ช้างเข้าตลาดฯในทัศนะของเขานั้น เพียงเพื่อต้องการระดมทุนนำไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศมากกว่าตลาดเมืองไทย
ทว่ากิตติรัตน์ ก็มิได้ฝืนหรืออกมาโต้แย้งแบบตาต่อตาฟันต่อฟัน หากแต่เขาคงเลือกทางเดินของจุดยืน ด้วยการประกาศ "ลาออก" หากไม่สามารถนำบริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจส์ เข้าตลาดหลักทรัพย์ในไทยได้ แม้ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รักษาการรองนายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงพาณิชย์จะเคยร้องขอให้เขาช่วยดูแลตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป
แต่สัจจะในเกียรติยศนักการเงินแห่งปี 2548 เยี่ยงเขา ยังคงประกาศจุดยืนเดิม คือการลาออก และแม้ในที่ประชุมคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งมีนายวิจิตร สุพินิจ ประธานกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ร่วมพิจารณาหนังสือลาออกของเขาเมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2549 ที่ผ่านมา จะพยายามทักท้วงให้กิตติรัตน์รับตำแหน่งต่อไป แต่เขาก็ปฏิเสธ และยังคงยืนยันในเจตนารมณ์เดิมที่ต้องการลาออก เพราะได้เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้แล้ว
อย่างไรก็ตามหากพลิกเจตนารมณ์ ในผลงานของกิตติรัตน์ ต่อการเข้ามาบริหารตลาดหลักทรัพย์แล้ว จะเห็นได้ว่า เขามีความเชื่อมั่นอย่างเต็มเปี่ยมที่จะนำพาตลาดทุนไทยได้ก้าวไกลไปกว่าที่เป็นอยู่ ดังจะเห็นจากเหตุผลที่เขาได้รับรางวัลเกียรติยศนักการเงินแห่งปี 2548 ที่บรรยายไว้ว่า
1.กิตติรัตน์ เป็นนักการเงินที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ด้วยการสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อให้ตลาดทุนไทยเป็นตลาดที่สมบูรณ์และครบวงจร ทั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ, ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า, ตลาดตราสารหนี้ และตลาดอนุพันธ์
2. กิตติรัตน์ เป็นนักการเงินที่มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ โดยเฉพาะเป็นผู้ผลักดันให้มีแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนเกิดขึ้น
และสามารถปฎิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อทำให้ตลาดทุนไทยมุ่งสู่การเป็นตลาดทุนที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
3. กิตติรัตน์ เป็นนักการเงินที่สามารถสร้างความเจริญเติบโตให้กับองค์กร และเป็นผู้ที่ปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนเป็นที่ยอมรับของสาธารณชน
4.กิตติรัตน์ เป็นนักการเงินที่ทุ่มเททำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมและสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การริเริ่มและสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ที่จะเป็นการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการออม และการลงทุนให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ตั้งแต่เด็กและเยาวชน อันนำไปสู่วินัยทางการเงินและวัฒนธรรมการลงทุน ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาคุณภาพของประชากรของประเทศ และเป็นการขยายฐานผู้ลงทุนที่มีคุณภาพในตลาดทุน รวมไปถึงการกำหนดเป็นนโยบายให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและบริษัทในเครือได้จัดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจัง
จึงเห็นได้ว่า แม้เขาจะมีภาระกิจหลักกับการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ แต่ในด้านการพัฒนาสังคมก็มิได้ละเลย โดยเฉพาะกีฬาฟุตบอลที่เขามีความถนัด และในฐานะที่เป็นอุปนายกสมาคมฟุตบอล ดูแลด้านการพัฒนาเยาวชน เขาได้ทุ่มงบกว่าล้านบาท จัดเปิดหลักสูตรอบรมโค้ช เยาวชน เพื่อการพัฒนากีฬาฟุตบอลไทย
นอกจากนั้น เขายังได้ถูกคัดเลือกจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปีแต่ด้วยความไม่คุ้นเคยและข้อมูลของทีมเยาวชนรุ่นนี้มีน้อยจึงทำให้เขาขอสละตำแหน่ง แต่ก็ได้รับการคัดเลือกให้เป็นคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย
อย่างไรก็ดี นอกจากมิติทางด้านการกีฬาแล้ว ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ปรากฏชัดเจนว่า กระดานหุ้นได้มีการปรับเปลี่ยนมูลค่าราคาตลาดรวมหรือมาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทย ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้การบริหารงานของเขา เพราะจากวันแรกที่เข้ามารับตำแหน่งวาระแรกในปี 2545 จนครบวาระ 4 ปี ในปี 2548 และต่อเนื่องมาจนถึงวาระที่ 2 ตั้งแต่ต้นปี 2549 นั้น เขาได้พยายามผลักดันให้มาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทยเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว เมื่อเทียบจาก ณ สิ้นปี 2544 ที่มีมูลค่าอยู่ที่ 1.61 ล้านล้านบาท มาอยู่ที่ 5.32 ล้านล้านบาทในห้วงเวลาเดียวกันของปี 2548 ทำให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศได้ประจักษ์แล้วว่าตลาดหุ้นไทยนั้นมีศักยภาพในการเติบโตแบบ"ก้าวกระโดด" ได้อีกไกล
โดยแนวทางการพัฒนาตลาดหุ้นไทยนั้น กิตติรัตน์คิดอยู่เสมอว่าต้องสนับสนุนให้มีหุ้นขนาดใหญ่และหุ้นใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น เพื่อช่วยหนุนให้ตลาดมีสภาพคล่อง การซื้อขายและทำธุรกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะในยุคของเขา มีหุ้นน้องใหม่เข้าสู่การจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มากกว่า 100 ตัว ทำให้ตลาดทุนไทยคึกคักในระดับ "กระทิงดุ" นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติต้องหันกลับมามองจากที่เคยมองข้าม
เพราะในปี 2546 นั้นดัชนีหุ้นไทยก้าวกระโดดมาเป็น 2 เท่า จากที่เคยเคลื่อนไหวอยู่ในระดับ 350 จุด ได้ทะยานมาเป็นกว่า 770 จุด ภายในระยะเวลา 1 ปี ที่เขาเข้ามารับตำแหน่ง ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายในแต่ละวันเพิ่มขึ้นมาเป็นเงาตามตัวอยู่ที่ 20,000 ล้านบาทต่อวัน
ด้วยนโยบายที่คิดจริงทำจริง ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ที่เขาดูแลอยู่ ประสบความสำเร็จค่อนข้างสูง กิตติรัตน์ยังให้คำยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เขาจะต้องผลักดันมาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทยให้โตเป็น "ดับเบิล" ให้ได้ โดยเฉพาะการเดินไปตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 2 (ปี 2549 - 2552) นั้น ได้ตั้งเป้าไว้ว่ามาร์เก็ตแคปจะต้องเพิ่มมาเป็น 10 ล้านล้านบาท
ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ ต้องยอมรับความจริงว่า กิตติรัตน์ เป็นกัปตันมือฉกาจที่สามารถนำพาตลาดทุนไทยสู่ความก้าวหน้า ได้อย่างเป็นรูปธรรมและชัดเจน ดังนั้นการลาออกของกิตติรัตน์ ในครั้งนี้ น่าจะสร้างแรงกดดันให้กับภัทรียา เบญจพลชัย รองผู้จัดการตลาดหลักรัพย์ ที่เข้ามารับตำแหน่งแทนไม่น้อย เนื่องจากต้องทุ่มเทกายใจลงไปอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ผลที่ออกมาสอดคล้องกับแผนพัฒนาฉบับที่ 2 และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ ที่ต้องการให้ตลาดทุนไทยโตแบบ "ดับเบิล"
กิตติรัตน์ ณ ระนอง จึงเป็นภาพสะท้อนให้กับสังคมไทย ได้ดียิ่ง ณ เวลานี้ ทั้งในทางปฏิบัติและสัจจะทางความคิด
เพราะยุคนี้หาได้ยากเหลือเกิน .
|
โดย : จอมขวัญใจ [ 30/05/2006, 08:15:56 ] |
1
คุณกิตติรัตน์ ส่งเสริมกีฬาหมากกระดาน โดยแนวคิดว่าเป็นกีฬาที่ต้องฝึกฝนการใช้ความคิดอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล เช่นเดียวกับการจะเล่นหุ้นก็ต้องคิดอย่างรอบคอบ ไม่โลภเกินเหตุหรืออย่างผู้ไร้ความรู้และความเข้าใจ
การจัดการแข่งขันหมากรุกไทย หมากรุกสากล และหมากล้อม รวมถึงการเปิดอบรมให้แก่เยาวชนจึงเกิดขึ้นและมีมาต่อเนื่อง 3 ปี
นับแต่ "ขุนทองคำ" ซึ่งเป็นรายการแข่งขันหมากรุกไทยที่ยิ่งใหญ่ของทุกปี มีมา 13 ครั้ง ก่อนที่ทางกลุ่มเบียร์ช้าง จะเลิกราไป ทำให้ร้างรายการใหญ่ไป 6 - 7 ปี ก่อนจะมี "มหกรรมหมากรุกไทย" ทำให้แม้หมากรุกไทยจะยังไม่ใช่กีฬาอาชีพ ประดาเซียนๆ ก็พอมีรายได้มาจุนเจือได้ส่วนหนึ่ง และกล่าวได้ว่ามีความยิ่งใหญ่และกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวได้ไม่น้อยกว่ารายการใหญ่ในอดีต
ผมโพสกระทู้นี้ด้วยเหตุผล 2 ประการ
1. ขอขอบคุณที่ได้ให้ความกรุณาส่งเสริมกีฬาประเภทหมากกระดาน
"มหกรรมหมากรุกไทย" และกิจกรรมอื่นๆ อีกหลายรายการ จะไม่เกิดขึ้นเลย หากขาดท่านผู้นี้
2. ชื่นชมในการเป็นผู้มีสัจจะวาจา อันหาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน ( แม้แต่ผู้นำประเทศบางคน ในบางประเทศ ! )
และขอแสดงความยินดี ที่ท่านได้ไปทำในสิ่งที่ชอบคือการร่วมส่งเสริมกีฬาฟุตบอล
ขอให้ประสบความสำเร็จและมีความสุขมากๆ ครับ |
โดย : จอมขวัญใจ [ 01/06/2006, 09:45:31 ] |
2
ชื่นชมคับ
จะมีคนไทยแบบนี้หลงเหลืออีกไหมเนี่ย |
โดย : Super25 [ 02/06/2006, 02:11:44 ] |
3
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2545
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=2937
The Professional
โดย ปัณฑพ ตั้งศรีวงศ์
การได้กิตติรัตน์ ณ ระนอง เข้ามาเป็นกรรมการและ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ ถือเป็นชัยชนะครั้งแรก
ในประวัติศาสตร์ ที่คนจากภาคธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถเข้ามามีบทบาทเป็นผู้บริหารสูงสุดของตลาดหุ้น
ในความรู้สึกของคนที่คลุกคลีอยู่กับตลาดหุ้นมาช้านาน การเข้ามารับตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ของกิตติรัตน์ ณ ระนอง
ไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของการเปลี่ยนผ่านตัวบุคคลธรรมดา หรือเป็นการถูกดึงตัวเข้ามาจากเส้นสายทางการเมือง
อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ
แต่การก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ของกิตติรัตน์
ถือเป็นชัยชนะครั้งยิ่งใหญ่ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่เริ่มมีการจัดตั้งตลาด หลักทรัพย์ฯ
ที่คนในภาคเอกชน ซึ่งก็คือผู้ประกอบการธุรกิจหลักทรัพย์ทั้งหลาย สามารถ ผลักดันคนจากฝ่ายของตนเอง
ให้เข้าไปรับตำแหน่งนี้ได้ ทั้งที่ได้มีการต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2518
ตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ตั้งแต่ยุคเริ่มต้น นับจากสุกรี แก้วเจริญ, ณรงค์ จุลชาติ,
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม, สิริลักษณ์ รัตนากร มาจนถึง มารวย ผดุงสิทธิ์
แม้จะได้รับการยอมรับในด้านงานวิชาการ แต่ทั้งหมดล้วนเป็นบุคคลที่ตัวแทนของทางการ
ซึ่งนั่งเป็นกรรมการในตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้เลือกเข้ามาทั้งสิ้น
และแต่ละคนก็ไม่มีพื้นฐานความรู้ และประสบการณ์ในธุรกิจหลักทรัพย์อย่างจริงจัง
แม้ระยะหลังต่อจาก มารวย ผดุงสิทธิ์ มีการคัดเลือกบุคคลที่มาจากภาคธุรกิจการ เงิน เช่น เสรี จินตนเสรี,
สิงห์ ตังทัตสวัสดิ์ และวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ซึ่งมีพื้นฐานความ รู้และประสบการณ์เพิ่มเข้ามาบ้าง
แต่การเข้ามาเป็นกรรมการและผู้จัดการของคนเหล่านี้ ก็ไม่ได้มีที่มาจากการเสนอ
โดยฝั่งตัวแทนกรรมการจากภาคธุรกิจ
กิตติรัตน์ ณ ระนอง เป็นคนแรกที่มาจากรายชื่อซึ่งเสนอโดยตัวแทนจากผู้ประกอบ การธุรกิจหลักทรัพย์
ในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ และเขาก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ที่รู้เรื่องตลาดหุ้นดีที่สุดคนหนึ่ง
"ตลาดหุ้นจะเจริญได้ จะต้องบริหารโดยคนที่รู้เรื่องตลาดหุ้นดีที่สุด" คนในวงการ
ธุรกิจหลักทรัพย์บอก
กิตติรัตน์จึงเป็นความหวังให้กับคนในวงการธุรกิจหลักทรัพย์ ว่าจะสามารถนำพา ตลาดหุ้นของไทย
ให้เจริญขึ้นไปทัดเทียมกับตลาดที่พัฒนาแล้วในต่างประเทศ
กิตติรัตน์เป็นคนที่เกิด และเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับความคึกคักที่เข้ามาในยุคตลาดหุ้นบูมรอบที่ 2
(2530-253 หลังจากก่อนหน้านั้น ต้องซบเซามานานในช่วงประสบกับวิกฤติกรณีราชาเงินทุน และไฟแนนซ์ล้ม
เขาเริ่มต้นทำงานเป็นผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์และฝ่ายต่างประเทศ
บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง ในปี 2530 ช่วงที่ดัชนีราคาหุ้นเริ่มไต่ระดับ จาก 250 จุดขึ้นไปถึง 472 จุด
ซึ่งถือเป็นคลื่นลูกแรกในยุคเริ่มต้นบูมของตลาดหุ้นรอบใหม่
"ผมเข้าไปเริ่มสร้างทีมงานวิจัย โดย เริ่มจากศูนย์ฐานข้อมูลยุคนั้น ยังไม่มีอะไรอยู่ในมือเลย
ต้องอาศัยไปขอถ่ายเอกสารงานวิจัยที่โบรกเกอร์อื่นเขาเคยทำไว้ก่อน โดยเฉพาะที่ภัทรธนกิจ
ซึ่งเขาก็ช่วยเราได้มาก" กิตติรัตน์เล่า
งานวิเคราะห์หุ้น ถือเป็นพื้นฐานหลักของคนที่จะเติบโตขึ้นในวงการธุรกิจหลักทรัพย์ในยุค 15 ปีที่แล้ว
เห็นได้จากผู้จัดการกองทุนชื่อดังในบริษัทหลักทรัพย์ระดับโลกหลายคน ล้วนแต่เคยผ่านงาน
การเป็นนักวิเคราะห์หุ้นมาก่อนทั้งสิ้น
เขาใช้เวลาไม่นาน ก็สามารถทำให้บทวิจัยจากบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนในตลาด
ปี 2535 เมื่อดัชนีราคาหุ้นกำลังไต่ระดับให้ขึ้นไปถึง 1,000 จุด
ทางการได้เปิดให้ใบอนุญาตจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมเพิ่มขึ้น
หลังจากถูกผูกขาดอยู่กับบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวมเพียงเจ้าเดียวมาตลอดเกือบ 20 ปี
บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง ได้ร่วมทุนกับธนาคารกสิกรไทย และบริษัทพันธมิตรอื่นในเครือ
ยื่นขอใบอนุญาตจากทางการ จัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ อินเวสเม้นท์ ขึ้น
กิตติรัตน์ถูกทาบทามจากกลุ่มผู้ร่วมทุนให้เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ
ในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนใหม่แห่งนี้ ซึ่งเป็นการเข้าไปบุกเบิกธุรกิจใหม่ของเขาอีกครั้งหนึ่ง
เขาเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมวรรณ อินเวสเม้นท์ อยู่ 3 ปี
จากจุดเริ่มต้นที่เลขศูนย์ เขาสามารถขยายวงเงินกองทุนที่ลูกค้าให้ความ
เชื่อถือมอบหมายให้บริหารได้สูงขึ้นไปถึง 1.8 หมื่นล้านบาท
และเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมที่มีส่วนแบ่งตลาด อยู่ในระดับต้น
ความสำเร็จดังกล่าว ทำให้กลุ่ม ผู้ถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง ต้อง
การให้เขาเข้าไปช่วยดูแลการจัดโครงสร้างของบริษัทหลักทรัพย์เอกเอเซีย ที่เอกธำรงร่วมถือหุ้นอยู่ด้วย
ซึ่งกำลังมีการจัดโครงสร้างการบริหารงานใหม่ เพราะเพิ่งเข้าไปซื้อกิจการของบริษัทเอเซีย อีควิตี้
ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่มีเครือข่ายอยู่ในหลายประเทศในย่านเอเชีย ในปี 2538
เขาใช้เวลาในการจัดโครงสร้างการบริหารในบริษัทหลักทรัพย์เอกเอเซียอยู่ 2 ปี
เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มลงตัว เขาก็ได้ข้อสรุปว่าต้องนำบริษัทนี้ มาควบรวมกับบริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง
ระหว่างกระบวนการควบรวมกิจการ ของทั้ง 2 บริษัทกำลังดำเนินการอยู่ กลาง ปี 2540
ประเทศไทยก็ต้องประสบกับภาวะวิกฤติเมื่อรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาท แผนการควบรวมกิจการจึงต้องสะดุด
เปลี่ยนเป็นการขายกิจการ
กิตติรัตน์ที่เพิ่งย้ายกลับเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง เพื่อดูแลการควบกิจการ
จึงตัดสินใจ ลาออกจากบริษัท
"เรามองว่าในฐานะที่เป็นผู้บริหารระดับสูง ควรต้องแสดงสปิริต และเราเองก็เป็นฝ่ายที่ถูกเข้าไปรวม
จึงตัดสินใจลาออก"
กิตติรัตน์ลาออกจากตำแหน่งกรรม การผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์เอกธำรง ใน เดือนตุลาคม 2540
หลังจากประกาศลอย ตัวค่าเงินบาทได้เพียง 3 เดือน
ในช่วง 3 ปีแรกที่ประเทศต้องเผชิญ หน้าอยู่กับวิกฤติที่เกิดขึ้นอยู่นั้น
กิตติรัตน์ได้ตัดสินใจร่วมทุนกับพรรคพวกตั้งบริษัทคาเธ่ย์ แอสเซท แมนเนจเม้นท์ขึ้น เพื่อทำ
หน้าที่ให้บริการเป็นที่ปรึกษา หลังจากนั้นก็ได้เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทยูนิเวนเจอร์
จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และได้ใช้บริษัทแห่งนี้เป็นฐานในการขยายการลงทุน ไปยังโครงการต่างๆ
ที่น่าสนใจ
แต่ดูเหมือนเส้นทางชีวิตของกิตติรัตน์ จะต้องวนเวียนอยู่กับงานซึ่งต้องเข้า ไปบุกเบิก
หรือเข้าไปแก้ไขปัญหา เพราะระหว่างที่เขากำลังสนุกอยู่กับบทบาทที่ปรึกษา และเวนเจอร์ แคปปิตอล
เขาก็ถูกผู้ใหญ่รวมถึงพรรคพวกเก่าที่ยังอยู่ในวงการธุรกิจหลักทรัพย์
ชักชวนให้กลับเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ฯ แทนที่วิชรัตน์ วิจิตรวาทการ ที่ลาออก
มีบางคนมองกิตติรัตน์ว่าเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมโยงตลาดหุ้น 2 ยุคเข้าด้วยกัน
เพราะภายหลังจากเขาเข้ารับตำแหน่งเพียงไม่กี่เดือน
ตลาดหุ้นก็เริ่มส่งสัญญาณของการกระเตื้องขึ้นมาอย่างชัดเจน
"ชีวิตเปลี่ยนไปมาก เพราะงานในหน้าที่ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์
มีภาระรับผิดชอบต่อคนส่วนรวมทั้งประเทศ" เขาบอก
ก่อนตัดสินใจเข้ารับตำแหน่ง กิตติรัตน์พยายามทำการบ้านอย่างหนัก โดยศึกษาข้อมูลพัฒนาการของตลาดหุ้นต่างๆ
ทั่วโลกหลายแห่ง เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นไทย
เขามองว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นกับประเทศรอบนี้รุนแรงมาก จนทำให้กลไกต่างๆ ที่เคย
เป็นตัวขับเคลื่อนอยู่ในตลาดหุ้นต้องหยุดชะงัก การที่จะฟื้นฟูตลาดให้กลับขึ้นมาใหม่ สิ่ง
แรกคือต้องพยายามกระตุ้นให้กลไกต่างๆ เหล่านั้นให้เริ่มกลับมาทำงาน
โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ
เป้าหมายของเขา คือพยายามดึงเงินจากกองทุนต่างๆ ที่เคยขายหุ้นในตลาดหุ้นไทยออกไป
ให้นำเงินกลับเข้ามาลงทุนใหม่ เพื่อให้กลไกตัวอื่นๆ ของตลาดเริ่มเดินเครื่อง
และสามารถกลับมาเป็นช่องทางในการระดมทุนให้กับภาคธุรกิจที่มีประสิทธิภาพได้อีกครั้ง
"ที่ผ่านมา เราพูดกันแต่เรื่องของ IPO แต่เราไม่ได้ดูลึกลงไปว่าบริษัทที่จดทะเบียน
อยู่ในตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา เขาไม่สามารถเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยการออกหุ้นทุน เพื่อ ระดมเงินมาใช้ได้
ซึ่งตรงนี้เราต้องเร่งดำเนินการ เพราะในตลาดหุ้นที่มั่นคงแล้ว การระดม
ทุนโดยการออกหุ้นเพิ่มทุนของบริษัทในตลาด จะต้องมีความสำคัญมากกว่าการทำ IPO"
เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แผนงานในระยะสั้นกิตติรัตน์จึงได้นำทฤษฎี 4 P
ซึ่งเป็นหลักวิชาการทางด้านการตลาดมาใช้ในการบริหารงานตลาดหุ้น
P ตัวแรก-Product หมายถึง การพัฒนาสินค้า ซึ่งก็คือ บริษัทต่างๆ ที่จดทะเบียน อยู่ในตลาดหลักทรัพย์
เขาพยายามเข้าไปช่วยให้คำแนะนำทางด้านการบริหาร โดยเฉพาะ บริษัทที่เพิ่งผ่านกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้
รวมถึงสนับสนุนการจัดสัมมนาเกี่ยวกับบรรษัทภิบาล เพื่อให้บริษัทเหล่านี้มีคุณภาพ เพิ่มขึ้น
"เราเป็นตลาด ตลาดทุนก็ไม่ต่างจากห้างสรรพสินค้า ถ้ามีตลาดแล้วไม่มีคนมาเดินซื้อ มันก็มีปัญหา
และสินค้าของเราก็ต้องการให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี มีคนเขากล่าวขวัญถึง
และคนเขาก็อยากมาซื้อขายกัน"
P ตัวที่ 2-Price หมายถึง ราคา ซึ่งในข้อนี้ เขาพยายามแยกย่อยออกเป็น 2 ประเด็น
ประเด็นแรก-ราคาหุ้น ที่ซื้อขายกัน อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเขามองว่าขณะนี้
ฐานของระดับราคาหุ้นโดยรวมจัดว่าต่ำมาก เพราะคนส่วนใหญ่ยังขาดความมั่นใจในการจะนำเงินเข้ามาลงทุน
"เมื่อสิ้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ขณะที่ดัชนีของเราอยู่ที่ 300 จุด มาร์เก็ต แคปของเราอยู่ที่ระดับ
1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งถือว่าเล็กมากเมื่อเทียบกับภูมิภาค ถือว่า ต่ำกว่าที่ควร มาวันนี้ดัชนีแตะ 390 จุด
ขึ้นมาเกือบ 30% มันมีความหมายว่าเงิน 4.8 แสนล้านบาท หรือเกือบ 5 แสนล้าน ที่เพิ่มขึ้นมามันเป็นของใคร
ก็เป็นของผู้ลงทุนทั้งต่างประเทศและในประเทศ การที่ใครจะไปสร้างความรู้สึก
หรือความเป็นกรรมสิทธิ์ของความมั่งคั่งที่เพิ่มมา 4.8 แสน ล้านบาท ไม่มีองค์กรไหนในประเทศนี้ทำได้ เงิน
4.8 แสนล้านบาทนั้นใหญ่กว่าธนาคาร หลายแห่ง และมันเป็นสิทธิ์ของเราที่จะจับต้องได้"
ประเด็นที่ 2-ราคาค่าบริการ เขามองว่าการเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่น ซึ่งเป็นนโยบายของผู้บริหารยุคก่อน
จะสร้างความ เสียหายให้เกิดขึ้นกับระบบ ดังนั้นสิ่งแรกที่เขาตัดสินใจทำหลังเข้ารับตำแหน่ง
คือการจัดการกับระบบค่าคอมมิชชั่น โดยกำหนดให้กลับมาอยู่ในอัตราคงที่ที่ระดับ 0.25%
"ของบางอย่างถูกไปก็ไม่ใช่ว่าจะดี เพราะเมื่อค่าคอมฯ ถูก ก็ไม่จูงใจให้บริษัทหลักทรัพย์ทำการวิจัย
และประเด็นค่าคอมฯ ยังเชื่อมโยงไปถึงผลประกอบการของบริษัท โบรกเกอร์ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ก็จะกลายเป็นหุ้นที่ไม่น่าลงทุน"
P ตัวที่ 3-Place หมายถึง การเพิ่มช่องทางการเข้าไปให้บริการ เขามองว่าวิกฤติ ที่เกิดขึ้น
ทำให้บริษัทหลักทรัพย์ล้มหายตายจากลงไปหลายแห่ง โดยเฉพาะบริษัทที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
ปัจจุบันเหลือเพียงไม่ถึง 30 บริษัท ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ทั้ง ระบบ ก็เหลืออยู่เพียง 30 กว่าบริษัท
ดังนั้นเขาจึงพยายามผลักดันให้บริษัทหลักทรัพย์ที่เคยเป็นซับโบรกเกอร์ให้เข้ามาเป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์
ฯ ทั้งหมด ให้เป็นสมาชิก เพื่อ ให้เกิดความเท่าเทียมกัน
และสามารถกระจายการให้บริการกับผู้ลงทุนได้อย่างทั่วถึง
P ตัวที่ 4-Promotion หมายถึง การโฆษณาประชาสัมพันธ์
ส่วนแผนการในระยะยาว เขาเน้นทำตามแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนที่เคยเสนอต่อรัฐบาลไปแล้ว
มีการมองว่าแผนการทำงานในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ของกิตติรัตน์ข้างต้น
เป็นแผนการที่สามารถจับต้องได้
เพราะเป็นแผนที่กลั่นออกมาจากสมองของคนที่ผ่านประสบการณ์อยู่ในธุรกิจหลักทรัพย์โดยตรง
ได้รับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแหล่งระดมทุนขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้มาโดยตลอดกว่า 15 ปี
กิตติรัตน์สามารถมองถึงปัญหาลงไปได้ลึก เพราะได้เคยสัมผัสมาก่อน ในฐานะของคนที่เคยทำธุรกิจซื้อขายหุ้น
เป็นการมองที่ลึกลงไปกว่าการมองของคนจากทางการ ที่ต้องการเพียงบทบาทของผู้ควบคุมกฎแต่เพียงอย่างเดียว
การเข้ามาเป็นกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ของกิตติรัตน์ ในความรู้สึกของคนในวงการธุรกิจหลักทรัพย์
จึงถือได้ว่าเป็นมิติใหม่
มิติซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาตลาดหุ้น ให้ ก้าวขึ้นมาทัดเทียมกับระดับ สากล โดยมีภาคเอกชนเป็น
ตัวผลักดัน
|
โดย : จอมขวัญใจ [ 02/06/2006, 21:39:34 ] |
4
ผู้จัดการรายวัน29 พฤษภาคม 2549
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=48850
หุ้นยุคโต้งพุ่ง3.4ล้านล้าน
ตลาดหุ้นภายใต้การบริหาร"กิตติรัตน์"ช่วงเวลา 4 ปี 8 เดือนดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก
331.65 จุดขึ้นมาอยู่ในระดับ 717.50จุด เพิ่มขึ้นเกือบ 400 จุดและมาร์เกตแคปตลาดหุ้นเพิ่มขึ้นกว่า 3.4
ล้านล้านบาท คนวงการตลาดทุนยอมรับผลงานผ่านฉลุย "มารวย"ชี้เข้ามาช่วยพลิกโฉมหน้าตลาดทุนไทย
รวมทั้งการผลักดันตลาดทุนไทยเข้ามามีบทบาทช่วยเหลือสังคม
พร้อมมั่นใจ"ภัทรียา"จะเข้ามาสานต่อความสำเร็จเพื่อนำตลาดทุนก้าวหน้าต่อไปได้
จากการรวบรวมข้อมูลของหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน เกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ในช่วงที่นายกิตติรัตน์ ณ
ระนอง กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย นับตั้งแต่เข้ามาบริหารในเดือนกันยายน 2544
จนถึงล่าสุดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ซึ่งนายกิตติรัตน์จะอยู่บริหารงานจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
นี้ คิดเป็นระยะเวลาการบริหารงานประมาณ 4 ปี 8 เดือน
ทั้งนี้นายกิตติรัตน์ เข้ามาบริหารในตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์เริ่มตั้งแต่วันที่ 9
กันยายน 2544 ซึ่งเป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์
ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ได้ประกาศหยุดซื้อขาย 1 วัน และเมื่อตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการซื้อขายในวันที่ 10
กันยายน 2544 ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 331.65 จุดลดลง 10.67 จุดหรือ 3.12%ซึ่งเมื่อเทียบกับดัชนี ณ
ปัจจุบันเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 ดัชนีปิดที่ระดับ 717.50 จุดจะเห็นได้ว่าดัชนีได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น
385.85 จุด โดยในระหว่างที่บริหารงานนั้นดัชนีตลาดหุ้นไทยเคยขึ้นไปอยู่ในระดับสูงสุด 794.01
จุดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2547 และเคยลงมาต่ำสุดที่ระดับ 265.22 จุดเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2544
ในส่วนของมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมหรือมาร์เกตแคปก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากวันแรกที่เข้ามาบริหารอยู่ท
ี่ระดับ 1,613,392.66 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปัจจุบัน ณ วันที่ 25 พฤษภาคม 2549 อยู่ที่ระดับ
5,056.407.49 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3,443,014.83 ล้านบาท สาเหตุที่มาร์เกตแคปเพิ่มขึ้น
นอกจากด้านราคาหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว อีกสาเหตุมาจากมีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2545-2549 มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนทั้งสิ้น 156 บริษัท
ซึ่งแบ่งเป็นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือ SET จำนวน115 บริษัท ซึ่งประกอบด้วยในปี
2545 จำนวน 18 บริษัทในปี 2546 จำนวน 21 บริษัทปี 2547 จำนวน 36 บริษัทในปี 2548 จำนวน 36 บริษัทและในปี
2549 สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 4 บริษัท
ขณะที่บริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ หรือ mai มีจำนวน 41 บริษัทประกอบด้วยในปี 2545
จำนวน 6 บริษัทในปี 2546 จำนวน 6 บริษัทในปี 2547 จำนวน 14 บริษัทในปี 2548 จำนวน 14 บริษัทและในปี 2549
สิ้นสุดเดือนพฤษภาคม จำนวน 1 บริษัท
ทั้งนี้ในช่วงเวลา 4 ปี 8 เดือนที่ผ่านมานั้นจะมีบริษัทที่มีขนาดใหญ่เข้ามาจดทะเบียนหลายบริษัท
ซึ่งประกอบด้วยบริษัท การท่าอากาศยานไทยหรือ AOT มีมูลค่าระดมทุน 17,489.20
ล้านบาทเข้ามาซื้อขายเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547,บริษัทไทยออยล์ หรือ TOPมูลค่าระดมทุน 32,966.40
ล้านบาทเข้ามาซื้อขายเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2547 และบริษัทโกลว์พลังงาน หรือ GLOW มูลค่าระดมทุนจำนวน
12,144 ล้านบาทเข้ามาซื้อขายเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2548
นอกจากนี้ในช่วงที่นายกิตติรัตน์เข้ามาเป็นผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์ได้มีนโยบายแนะนำข้อมูล(โรดโชว์)ให้กั
บนักลงทุนต่างประเทศโดยเดินทางไปยังประเทศต่างๆ รวมถึงการจัดงานไทยแลนด์โฟกัส
โดยเชิญผู้จัดการกองทุนจากต่างประเทศเข้ามารับฟังข้อมูลในประเทศไทย
และได้มีโอกาสพบปะกับผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ของไทย ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ
เพื่อดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ถ้าพิจารณาจากตัวเลขการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศจะพบว่านักลงทุนต่างประเทศจะเข้ามาลงทุนในตลา
ดหุ้นไทยมากยิ่งขึ้น โดยตั้งแต่ปี 2544-2549 ที่ผ่านมาพบว่าในปี 2544ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน
นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 5,886.13 ล้านบาท,ในปี2545 นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 14,337.86
ล้านบาท,ในปี 2546 นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 22,248.69 ล้านบาท,ในปี 2547 นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ
5,612.15 ล้านบาท,ในปี 2548 นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 118,541.68 ล้านบาทและในปี 2549 สิ้นสุดวันที่
25 พฤษภาคม นักลงทุนต่างประเทศซื้อสุทธิ 81,721.28 ล้านบาท
นายมารวย ผดุงสิทธ์ อดีตกรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า
นายกิตติรัตน์ถือว่าเป็นผู้จัดการที่มีความสามารถซึ่งได้เข้ามาช่วยพัฒนาตลาดหุ้นของไทยให้เข้าสู่ระดับเด
ียวกับตลาดหุ้นสากลมากยิ่งขึ้น
รวมนำตลาดหลักทรัพย์เข้ามาช่วยเหลือสังคมซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น
และได้มีการวางแนวทางต่างๆ ซึ่งทำให้ผู้จัดการคนใหม่ที่เข้ามาแทนสามารถสานงานต่อได้ทันที
"คุณกิตติรัตน์ถือเป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ที่เข้ามาช่วยเหลือสังคมเป็นอย่างดี
นอกเหนือจากภาระหน้าที่หลักในการดูแลการซื้อขายและพัฒนาตลาดทุนไทย
เข้าก้าวไปข้างหน้าสู่ระดับสากลมากยิ่งขึ้น โดยจะเห็นได้จากการจัดกิจกรรมต่างๆ ทั้งการส่งเสริมการออม
พัฒนาห้องสมุดของตลาดหลักทรัพย์ให้ทันสมัย รวมถึงการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ถือว่าเป็นเป็นผู้จัดการที่มีผลงานเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก"นายมารวยกล่าว
สำหรับนางภัทรียา เบญจพลชัย รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะเข้ามารับตำแหน่งแทนนายกิตติรัตน์นั้น
นายมารวยกล่าวว่า เชื่อว่านางภัทรียาจะสามารถเข้ามาบริหารงานต่อเนื่องจากนายกิตติรัตน์ได้เป็นอย่างดี
เพราะนางภัทรียาถือเป็นบุคคลที่ทำงานกับตลาดหลักทรัพย์นับตั้งแต่มีการก่อตั้ง เป็นผู้ที่มีไหวพริบดี
แลและเคยผ่านงานในส่วนต่างๆ ในตลาดหลักทรัพย์มาแล้ว ซึ่งในสมัยที่ตนเคยเป็นกรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์นางภัทรียาก็เข้ามาช่วยดูแลในส่วนของการนำตลาดหลักทรัพย์ไทยไปโรดโชว์ในต่างประเทศ
นายวิชัย พูลวรลักษณ์ นายกสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทยกล่าวว่า
ตนให้คะแนนการบริหารงานของนายกิตติรัตน์ในระดับเอบวก หรือดีมาก
ซึ่งจะเห็นได้จากนิตยาสารการเงินการคลังได้มอบตำแหน่งนักการเงินแห่งปีให้แก่นายกิตติรัตน์
จึงเห็นได้ว่าการทำงานของนายกิตติรัตน์เป็นที่ยอมรับ
และถือว่าเป็นคนที่ทำงานให้กับตลาดทุนไทยอย่างแท้จริง
ซึ่งหลายอย่างเกิดขึ้นในสมัยนายกิตติรัตน์เป็นผู้บริหารตลาดหุ้นไทย ซึ่งทำให้เกิดเป็นระบบมากขึ้น
เช่นการจัดตั้งสภาธุรกิจตลาดทุนไทย โดยนำสมาคมต่างๆ 5
แห่งที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นต้น
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองกรรมการผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า
การเข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ของนายกิตติรัตน์ในช่วงที่ผ่านมาถือว่ามีผลงานที่
ดีมาก ซึ่งช่วงนายกิตติรัตน์เข้าดำรงตำแหน่งดัชนีฯเคยอยู่ในระดับที่ 200 จุด
ซึ่งขณะนี้ดัชนีอยู่ที่ประมาณกว่า 700 จุด มาร์เกตแคปก็สูงขึ้น
เนื่องจากนายกิตติรัตน์มีความสามารถมากทางด้านตลาดในการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นการฐานนักลงทุนเข้ามาลงท
ุนในตลาดหุ้นมากขึ้น
รวมถึงจากการที่ได้มีการประชุมจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 1
ในการพิจารณาในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการที่บริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
จึงทำให้บริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากขึ้น ซึ่งปี48 ก็มีจำนวนบริษัทเข้ามาจดทะเบียนมากถึง 50 บริษัท
ซึ่งสูงที่สุดที่เคยมี ทำให้มาร์เกตแคปตลาดหุ้นไทยมีการเพิ่มขึ้น และมีการจัดตั้งกองทุนต่างๆ เช่น
กองทุนหุ้นระยะยาว กองทุนทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
สำหรับผลงานของนายกิตติรัตน์ถือว่าเป็นการทำงานที่ประสบผลสำเร็จอย่างมาก
เพราะปีนี้เป็นปีที่ตลาดหุ้นไทยมีสินค้าที่ให้บริการทางการเงินครบถ้วน
จากการที่มีการจัดตั้งตลาดอนุพันธ์
ทำให้มีสินค้าที่มีความหลากหลายและก่อนหน้านี้ก็มีการจัดตั้งตลาดตราสารหนี้
นางสาวสุภากร สุจิรัตนวิมล ผู้ช่วยผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทีเอสอีซี จำกัดกล่าวว่า
นายกิตติรัตน์เข้ามาบริหารตลาดหลักทรัพย์ได้ช่วยพัฒนาตลาดทุนในช่วง4ปีที่ผ่านมามาก
โดยเฉพาะขยายแหล่งความรู้ อาทิ หน่วยงานทีเอสไอ ให้ความรู้แก่นักลงทุนใหม่ นักศึกษาหรือนักเรียน
ทั้งในเรื่องงานวิจัย บทวิเคราะห์ ที่เป็นพื้นฐานซึ่งเป็นการขยายในด้านอุปสงค์ รวมทั้งการทำโรดโชว์(road
show)ซึ่งเป็นการเพิ่มอุปทานให้ตลาดทุน
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์นครหลวงไทย จำกัดกล่าวว่า
การที่นายกิตติรัตน์เข้ามาบริหารงานในตลาดหลักทรัพย์ถือว่าได้เข้ามาช่วยพัฒนาตลาดทุนในด้านต่างๆ
ไม่ใช่เฉพาะด้านการเงิน แต่มีด้านสังคม ให้ข้อมูลประชาชน นักลงทุน และนักศึกษา
เป็นการสร้างรากฐานของตลาดทุนให้สูงขึ้น ทั้งทางตรงและทางอ้อม |
โดย : ลอกมา [ 04/06/2006, 09:45:21 ] |
5
ในนามกลุ่มคนผู้เล่นหมากรุกสากลในประเทศ ต้องขอขอบคุณ คุณกิตติรัตน์ ที่ได้ให้การสนับสนุน
หากไม่มีความช่วยเหลือจาก ตลท. คงไม่สามารถตั้งสมาคมได้ ความช่วยเหลือนี้จะ บอกต่อ เล่าขาน
ต่อไปให้รุ่นน้อง รุ่นลูก หลาน ได้ทราบและ ระลึกถึงตลอดไป คู่กับสมาคม |
โดย : Cumming [ 06/06/2006, 19:10:02 ] |
6
เปิดกระบวน CSR เชิงรุก รับวิกฤติภาวะโลกร้อน
จับตาภาวะโลกร้อน หลายองค์กรตื่นตัวหันมองกระบวนการทำงาน
CSR my Way ของ กิตติรัตน์ ณ ระนอง
ชี้หนึ่งบวกหนึ่งต้องมากกว่าสอง.............................
กระนั้น ผู้บริหารต้องถามตนเองก่อนว่าสิ่งที่คิดขึ้นเป็นการทำงานเอาความต้องการของตนเองหรือเพื่อองค์กร
เช่นตนเองชอบเล่นปิงปองซึ่งมีความรู้เป็นอย่างดี แต่ไม่เลือกทำโครงการดังกล่าว
เนื่องจากสถานที่ในตลาดหลักทรัพย์คับแคบจึงเลือกทำกิจกรรมหมากรุกเนื่องจากนักธุรกิจรุ่นใหม่เมื่อเจอกับส
ถานการณ์ที่มีความรุนแรงมักใช้ความรุนแรงตอบโต้
ซึ่งการเล่นหมากรุกจะช่วยให้เกิดกระบวนการคิดวางแผนที่ลึกซึ้งมากว่าเดิม.........................
อ่านทั้งบทความได้ที่
http://www.manager.co.th/mgrWeekly/ViewNews.aspx?NewsID=9500000060335 |
โดย : ขุนสันต์ [ 25/05/2007, 15:59:10 ] |
|
|
|
E-mail: webmaster@thaibg.com |
Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved |
|
|
|
|