[ กลับหน้าหลัก ]


เรื่องราวเทศกาลต่าง ๆ ของ>>>>>>>>>>>>>>>



เทศกาลใหญ่ ๆ ตามประเพณีที่สืบทอดกันมา
และเป็นที่คุ้นเคยมากที่สุดของประชาชนจีนนั้น
มีอยู่ด้วย 8 เทศกาลคือ
1. เทศกาลตรุษจีน
2. เทศกาลโคมไฟ
3. วันเช็งเม้ง
4. วันไหว้บะจ่าง
5. เทศกาลสาร์ทจีน
6. เทศกาลไหว้พระจันทร์
7. เทศกาลทัศนาจรขึ้นเขาไปปิกนิก
8. เทศกาลขนมอี๋กับล่าปา
****************************************************************
เนื่องจากเทศกาลทั้ง 8 ดังกล่าว
เป็นวัฒนธรรมของชนชาติจีน
ที่แพร่หลายกันมาอย่างกว้างขวาง
และมีประวัติอันยาวนาน
ดังนั้น จึงมีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่น
กับชีวิตความเป็นอยู่ของชาวจีน.............
สำหรับชาวจีนโพ้นทะเล
ที่ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากในประเทศไทย
ลูกหลานชาวจีนเหล่านั้น
อาจไม่รู้ซึ้งถึงความเป็นมาของเทศกาลเหล่านี้
พอถึงวันเทศกาลก็ได้แต่ทำตามธรรมเนียมที่บิดามารดา
หรือญาติผู้ใหญ่ได้ปฏิบัติกันมา เช่น.....
ไหว้พระ ไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
โดยไม่รู้ถึงความเป็นมาของเทศกาลที่เล่าขานกันมาอย่างแท้จริง
บ้างก็เข้าใจคลาดเคลื่อน บ้างก็ไม่ค่อยเข้าใจ
แต่ก็มีการปฏิบัติตามกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า........
อันที่จริง แต่ละเทศกาลก็มีเรื่องเล่าขานถึงต้นกำเนิด
ที่ตื่นเต้นเร้าใจโดยความเป็นมาของเทศกาลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ได้สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ ความทุกข์ยาก
ความเศร้าโศก ความสุขสำราญของชนชาวจีนในสมัยโบราณ
ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความหมายอันลึกซึ้ง เช่น....
เทศกาลไหว้บะจ่าง
คำว่า...."บะจ่าง"นั้น เป็นอาหารชนิดหนึ่งของจีน
คือ ทำด้วยข้าวเหนียวใส่หมูหรือหมูแดงกับถั่วหรือเม็ดบัว
ผัดแล้วห่อด้วยใบไผ่มัดเป็นสามเหลี่ยม
เป็นเทศกาลที่ระลึกถึงและสรรเสริญยกย่องในความซื่อสัตย์
และความจงรักภักดีของกวีเอกชวีหยวน
เทศกาลแห่งความรัก (ไม่ได้จัดอยู่ใน 8 เทศกาล )
เป็นเทศกาลที่ยกย่องความรักอมตะอันยิ่งใหญ่ของหนุ่มสาว
ที่มีชื่อว่า ..."หนุ่มเลี้ยงควายกับนางฟ้าทอผ้า"
เทศกาลวันสาร์ทจีน
เป็นเทศกาลที่รำลึกถึงมู่เหลียน
ซึ่งเป็นลูกที่มีความกตัญญูรู้คุณบิดามารดาที่อยู่ในเมืองนรก
ให้พ้นทุกข์จากถูกการทรมานอย่างแสนสาหัส
ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า...
มนุษย์เราต้องมีความกตัญญูรู้คุณ...
ต่อบิดามารดาและช่วยเหลือผู้ยากไร้
เทศกาลไหว้พระจันทร์
เรื่องราวของขนมเปี๊ยะไหว้พระจันทร์
ก็มีความหมายแสดงถึงพลังประชาชน
ที่สมานสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
จนสามารถโค่นล้มการปกครองของราขวงศ์หยวนได้สำเร็จ
วันไหว้พระจันทร์ยังมีอีกความหมายหนึ่งว่า
สัญญลักษณ์แห่งสิริมงคลและความพร้อมพักตร์
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้............
เป็นเพียงส่วนปลีกย่อยที่ได้นำมาเสนอ
ขอเชิญผู้รอบรู้ได้มาช่วยกัน
เล่าขานความเป็นมาของเทศกาลต่าง ๆ
เทศกาลแรก....
เทศกาลตรุษจีน จะได้นำมาเสนอต่อไป.........ขอขอบคุณ






โดย : ประเพณีจีน Member [ 25/01/2006, 13:59:47 ]

1

ขอบคุณคับป๋ม

โดย : ขอชื่นชม Member   [ 25/01/2006, 19:40:52 ]

2

มีกำลังใจมาก ๆ ครับ
จะเสนอในตอนต่อไป

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 27/01/2006, 03:35:22 ]

3

เทศกาลชุนเจี๋ย(ตรุษจีน)
ตามจันทรคติในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย
เป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีน......
โดยชาวจีนเรียกว่า....."ชุนเจี๋ย"
และยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อนะ
แต่คนไทยเราทั่วไปเราเรียกว่า.......ตรุษจีน.........
พิมพ์ไปก็โดนลบ.....เสียเวลาพิมพ์อ่ะ
ผมเสียความรู้สึก ไม่แน่ใจว่า .......ขอโทษนะ
เอางี้แล้วกันนะ
หากท่านจะไม่ลบข้อความนี้ทิ้ง แล้ว.....คืนพรุ่งนี้
หลังจาก 4 ทุ่ม ผมมาพิมพ์ต่อนะ
ท่านลบข้อความนี้ได้นะ แต่ขออย่าลบกระทู้
ตกลงตามนี้นะท่าน
ขอขอบคุณ


โดย : ประเพณีจีน Member   [ 27/01/2006, 05:14:45 ]

4

เทศกาลชุนเจี๋ย(ตรุษจีน)
ตามจันทรคติในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย
เป็นวันขึ้นปีใหม่ของจีน......
โดยชาวจีนเรียกว่า....."ชุนเจี๋ย"
และยังมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อนะ
แต่คนไทยเราทั่วไปเราเรียกว่า.......ตรุษจีน.........
ปัจจุบัน การฉลองวันตรุษจีนในประเทศจีน
น้อยนักที่จะมีการไหว้พระไหว้เจ้า
ส่วนใหญ่เป็นการเฉลิมฉลองและการละเล่นต่าง ๆ
ที่มีความรื่นเริงสนุกสนาน เช่น
การจุดประทัด การตัดกระดาษสีแดงและเขียนคำอวยพรต่าง ๆ
แล้วนำมาติดตามประตูบ้านทั้งสองข้าง
ชาวจีนเรียกว่า " ชุนเหลียน" (ชุงเลี้ยง)
การแขวนภาพปีใหม่ที่มีภาพการละเล่นมังกรและเชิดสิงโต เป็นต้น
สถานที่ต่าง ๆ ก็มีการเฉลิมฉลองกันอย่างคึกครื้น
รื่นเริงสนุกสนานติดต่อกัน 3 วัน
ความเป็นมาของวันตรุษจีนหรือเทศกาลขึ้นปีใหม่ของจีนนั้น
ตามตำนานมีเรื่องเล่าขานกันว่า.....
ในสมัยโบราณมีชายหนุ่มคนหนึ่งชื่อว่า..."ว่านเหนียน"
เขามีความเพียรพยายามค้นคว้าเรื่อง "ดาราศาสตร์"
อยู่มาวันหนึ่ง เขาเห็นน้ำในลำธารที่ไหลจากภูเขาลงมายังที่ต่ำกว่า
ความสงสัยของเขากระตุ้นให้เขามีความสนใจ
คิดค้นเกี่ยวกับเรื่องน้ำในลำธาร
เขาจึงได้ประดิษฐ์กาลักน้ำ 5 ชั้นขึ้นมา 1 กา
เพื่อทดลองให้น้ำในกาหยดอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน
ไม่ว่าเวลาของกลางวันหรือกลางคืน จะสั้นหรือจะยาวก็ตาม
น้ำในกาจะหยดหมดกา 1 กานั้น
เขาได้ค้นพบว่า ในเวลา 1 กาที่หยดนี้เทียบได้กับระยะเวลา
ดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนไป 1 รอบตามกาลเวลาทุก ๆ 360 วันเศษ
จากการสังเกตนั้น เขาก็ได้ทดสอบระบบกฏเกณฑ์ของวันและเดือน
พร้อมกับได้คิดคำนวณเป็นปฏิทินจีนตามจันทรคติ
จากนั้นจึงได้นำความมาถวายแด่ฮ่องเต้
ในขณะนั้น เขาก็เข้าวัยชราแล้ว
เขาได้อธิบายต่อฮ่องเต้ว่า......
กาลเวลาฤดูหนาวผ่านไป ฤดูใบไม้ผลิก็มาแทนที่
ตามกาลเวลา ฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูแรกของปี
ดังนั้น วันแรกของฤดูใบไม้ผลิก็คือวันขึ้นปีใหม่
หลังจากฮ่องเต้ทรงทราบเรื่องแล้ว ก็รู้สึกซาบซึ้งมาก
มีความปลื้มปิติในความชาญฉลาดของเขา
และได้พระราชทานนามว่า..."ว่านเหนียนลี่"
ซึ่งในไทยเราเรียกว่า "ปฏิทินจีน"
คุณงามความดีของว่านเหนียนนั้น
ก็ได้ถูกบันทึกเป็นแผ่นภาพดวงชีวิต
เมื่อถึงเทศกาลตรุษจีนหรือฉลองวันเกิดผู้สูงอายุ
ชาวบ้านส่วนใหญ่จะแขวนแผ่นภาพอันลือชื่อของว่านเหนียน
เพื่อเป็นสิริมงคลและระลึกถึงท่าน.....................
ตำนานเรื่องนี้ ถึงแม้เป็นนิยายที่จิตนาการมาก็ตาม
แต่ก็ได้สะท้อนให้เห็นว่า
ชาวบ้านในสมัยโบราณก็มีการค้นคว้าศึกษา
วิชาดาราศาสตร์และวิชาวิทยาศาสตร์แล้ว
แท้จริงระบบกฏเกณฑ์ของปฏิทินจีนนั้น
ก็มาจากชาวบ้านในสมัยโบราณค่อย ๆ ทดลองค้นคว้าเป็นเวลานาน
จึงได้สำเร็จมาเป็นปฏิทินจีนที่ทุก ๆ ท่านได้เห็นในปัจจุบัน
...........ยังไม่จบนะครับ
โปรดติดตามตอนต่อไป ขอตัวพักสมองไปเล่นกี๊ก่อน 555

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 28/01/2006, 02:25:06 ]

5



ขอติดตามอย่างต่อเนื่องขอรับ...

โดย : หน่อโชย Member - Դ : 06-8866599  [ 28/01/2006, 20:26:27 ]

6

การฉลองประเพณีอันเก่าแก่ของเทศกาลตรุษจีนนั้น
เริ่มด้วยก่อนถึงวันเทศกาลตรุษจีนไม่กี่วัน
ทุกบ้านจะต้องจัดการทำความสะอาดบ้านเป็นการใหญ่
เพื่อแสดงถึงการกำจัดของเก่าที่ไม่ดีออกไป
และรอต้อนรับสิ่งของใหม่ ๆ ที่กำลังจะเข้ามา.........
ในเมืองไทยก็ทำเช่นกัน กล่าวคือ เมื่อถึงวันที่ 24 (ตามจันทรคติ)
ก็จะต้องส่งเจ้าขึ้นสู่สรวงสวรรค์ (ไป๊-ซิ๊ง)
ซึ่งเจ้าองค์นี้เป็นเทพเจ้าแห่งเตาไฟ
ที่ประจำตามบ้านช่องเพื่อช่วยดูแลทุกข์สุข
และปกป้องคนในครอบครัวให้อยู่สุขสบาย
เมื่อครบรอบขวบปีของแต่ละปีนั้นก็จะต้องไปรายงานตัว
พร้อมทั้งนำเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของชาวบ้าน
ทูลถวายแด่องศ์อี้หวังซั่งตี้ (เง็กเซียนฮ่องเต้)
หลังจากวันที่ 24 ผ่านพ้นไปแล้ว......
ชาวบ้านก็วุ่นวายกับการจัดหาของขวัญปีใหม่และส่งบัตรอวยพร
ชาวจีนชอบที่จะตัด "ชุนเหลียน"
ไทยเรียกว่า "แถบอวยพรปีใหม่" ติดไว้ในบ้าน
ซึ่งชุนเหลียนนี้ จะมีสีแดงเป็นพื้น ตัวหนังสือจะเป็นสีทอง
สีทองย่อมหมายถึงเงินทองไหลมาเทมา
ส่วนสีแดงนั้น ทำไมคนจีนจึงชอบ ??????
โปรดติดตามตอนต่อไป........
ขอตัวไปเล่นกี๊ก่อนนะ 555+




โดย : ประเพณีจีน Member   [ 29/01/2006, 23:14:17 ]

7

หลังจากที่ทำความสะอาดแล้ว
ทุกบ้านจะตระเตรียมของไหว้เจ้าไหว้ฟ้าดิน
ไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วและไหว้วิญญาณที่ไร้ญาติ
ของที่ไหว้นั้นมี ของคาว 3 อย่าง ผลไม้ 5 อย่าง
เหล้า ของหวาน ธูปเทียน กระดาษเงินกระดาษทอง
เมื่อไหว้บูชาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทุกคนก็ยินดีปรีดา
ตอนเย็นทุกคนในบ้านก็จะมา
ร่วมชุมนุมรับประทานอาหารมื้อเย็นเพื่อฉลองกัน........
ทางทิศเหนือของจีนมีประเพณีโต้รุ่งเรียกว่า
"เฝ้าปี"(เอ๋าเหนียน) หรือเรียกว่า "กั้วเหนียน"
แท้ที่จริงแล้ว "เฝ้าปี" นั้นมีนิยายที่เล่ากันมาว่า...........
ในสมัยโบราณ มีสัตว์ประหลาดชนิดหนึ่งเรียกว่า "เหนียน"
เป็นสัตว์ที่ดุร้ายมาก พอถึงคืนวันสิ้นปี
สัตว์ประหลาดเหนียนตัวนี้
จะขึ้นจากทะเลมาทำร้ายคน สัตว์และพืชผลต่าง ๆ
มีอยู่ปีหนึ่ง หมู่บ้านทางด้านทิศใต้หมู่บ้านหนึ่ง
ถูกสัตว์ร้ายเหนียนทำลายทั้งหมู่บ้าน
ยกเว้นมีบ้านหนึ่งซึ่งเพิ่งจะแต่งงาน
คู่บ่าวสาวใส่ชุดสีแดง บ้านก็ประดิษฐ์ประดอยด้วยสีแดง
ก็รอดพ้นจากการถูกทำร้ายของสัตว์ประหลาดเหนียนตัวนี้
ในขณะเดียวกัน มีเด็กเล็กอยู่กลุ่มหนึ่งเล่นไม้ไผ่จุดไฟกัน
มีเสียงของปล้องไม้ไผ่ถูกไฟเผาระเบิดดัง "ปัง"
ทำให้สัตว์ร้ายเหนียนกลัวมากแล้วก็หนีไป
ตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านก็รู้ว่า.....
สัตว์ร้ายเหนียนนั้นกลัวสีแดงและเสียงดัง "ปัง"
ดังนั้น เมื่อถึงปีใหม่ของทุกปี
ชาวบ้านจะจัดแต่งบ้านของตนเองให้มีสีแดง
เขียนคำกลอนลงกระดาษสีแดงติดตามฝาผนังและประตูบ้าน
ส่วนชาวบ้านก็จะสวมใส่เสื้อผ้าสีแดง
จุดโคมไฟสีแดง และก็มีการจุดประทัดเสียงดัง
สัตว์ร้ายเหนียนก็ไม่กล้าโผล่มาอีกเลย
และทุกคนต่างก็มีความสุขในเย็นวันสิ้นปี......
โปรดติดตามในตอนจบนะครับ.....




โดย : ประเพณีจีน Member   [ 30/01/2006, 18:08:24 ]

8

การฉลองโต้รุ่งนั้นเพื่อต้องการ
ให้เราเห็นความสำคัญของกาลเวลาที่กำลังจะผ่านพ้นไป
หลังจากนั้นก็เตรียมต้อนรับวันสิริมงคลขึ้นปีใหม่หรือตรุษจีน
ผู้หลักผู้ใหญ่หรือบิดามารดาก็จะเตรียมเงินใส่ซองแดง
เรียกว่า " หงเปา " ( อั่งเปา )ให้แก่ลูก ๆ หลาน ๆ
เพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งและอุดมสมบูรณ์....
ในตอนเช้าของวันขึ้นปีใหม่ ก่อนอื่นต้องจุดประทัด
ทำอารมณ์ให้สดชื่น เมื่อพบปะกันก็ทักทายกัน
ด้วยคำอวยพรที่เป็นสิริมงคล เช่น
" สวสัดีปีใหม่ หรือ สุขสันต์ปีใหม่ คิดเงินได้เงิน คิดทองได้ทอง "
( ซิน-เหนียน-ฟา-ไฉ ว่าน-ซื่อ-หยู-อี้ )
คนจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยจะนิยมใช้คำว่า
ซิน-เจีย-หยู่-อี่ ซิน-นี้-ฮวด-ใช้
ตามกฏระเบียบของครอบครัวก็ไม่ต้องเคร่งครัด
ชาวบ้านบางคนก็อยู่บ้านเล่นไพ่
บ้างก็ไปเยี่ยมญาติกราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่
ตามถนนหนทางก็จะได้เห็นโคมไฟ
และรายการแสดงต่าง ๆ นา ๆ.....
ในสมัยโบราณ ชาวบ้านยังมีข้อห้ามในวันขึ้นปีใหม่ เช่น
เด็กร้องไห้ก็ห้ามดุว่า ไม่ควรพูดสิ่งที่เป็นอัปมงคล
ถ้าทำของแตกก็จะพบกับความไม่ราบรื่นตลอดปี
หาหมอก็จะเจ็บป่วยตลอดปี
ใช้มีดก็จะพบกับการฆ่าฟันกัน
ใช้เข็มก็จะเป็นตากุ้งยิง
ใช้กรรไกรก็จะมีการทะเลาะวิวาทกัน
ถ้ากวาดพิ้นบ้านก็จะกวาดเอาเงินทองไปหมด
กินข้าวต้มเมื่อออกจากบ้านก็จะพบกับฝนตก
ที่เล่ามาทั้งหมดนี้เป็นข้อห้ามที่น่าขันมาก
ปัจจุบัน ชาวจีนที่อยู่ในประเทศจีนหรืออยู่นอกประเทศ
ต่างก็รับและยึดถือวัฒนธรรมส่วนที่ดีสืบทอดต่อ ๆ กันมา
ส่วนสิ่งที่ต้องห้ามนั้นต่างก็เลิกงมงายกันแล้ว............
จากหนังสือ เทศกาลประเพณีจีน โดย พิกุล ศรีสมบูรณานนท์

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 31/01/2006, 13:13:49 ]

9

ขอบคุณ สำหรับความรู้ที่ให้ครับ

ขอแสดงความนับถือ

โดย : หน่อโชย Member   [ 01/02/2006, 01:58:34 ]

10

ขอขอบคุณท่านหน่อโชย......
ที่ได้ติดตามกระทู้นี้มาโดยตลอด
ผมก็เพียงนำบทความจากหนังสือเล่มหนึ่งมาเล่าสู่กันฟัง
ผมเองนั้น ก็ได้อ่านกระทู้ของท่านเช่นกัน
ยังอดสงสัยอยู่ไม่ได้ครับว่า...
ข้อความที่มีประโยชน์ ทำไมจึงถูกลบ ???
เข้าใจในความรู้สึกของท่านว่าเป็นอย่างไร ?
ยินดีสนับสนุนให้ท่านได้มีกำลังใจต่อไปครับ
จะคอยติดตามผลงานของท่านนะครับ
อย่าได้ท้อแท้...สู้ ๆ ครับ

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 03/02/2006, 01:28:58 ]

11

เทศกาลที่ 2 เทศกาลหยวนเซียว(ง่วนเซียว)
เทศกาลหยวนเซียว หรือที่คนจีนเรียกกันว่า เทศกาลโคมไฟ
ตามตำนานเล่าขานว่า
เริ่มจากสมัยราชวงศ์ฮั่น ฮ่องเต้องค์แรกชื่อ "ฮั่นโกโจ"(หลิวปัง)
มีมเหสีชื่อ "หลี่โห้ว" ซึ่งมีนิสัยใจคอเหี้ยมโหด
หลังจากที่ฮ่องเต้ฮั่นโกโจสวรรคตแล้ว
พระนางหลี่โห้วใช้อำนาจไปในทางที่มิชอบ
สังหารพระราชโอรส เจ้าจอม
เจ้าจอมมารดาและข้าราชบริพารผู้จงรักภักดี
ต่อมาพระเจ้าฮั่นหวุนตี้ได้โค่นอำนาจ
พระนางหลี่โห้วผู้เป็นฮองไทเฮาได้สำเร็จ
ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย
เมื่อฮั่นหวุนตี้ขึ้นครองราชสมบัติแล้ว
ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้ายของทุกปี
ก็จะทรงปลอมพระองศ์เป็นชาวบ้านธรรมดา
และออกจากพระราชวังไปร่วมรื่นเริงกับประชาชน
เนื่องจากงานฉลองจัดกันในเวลาค่ำ
พระเจ้าฮั่นหวุนตี้จึงกำหนดวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้ายเป็นหยวนเซียว
เพราะคำว่า "เซียว" แปลว่า ค่ำคืน
ในวันเทศกาลหยวนเซียว
ได้มีการฉลองกันอย่างครึกครื้นตั้งแต่ราชวงศ์ฮั่นเป็นต้นมา
ทุกบ้านเรือนจะใช้ขนมอี๋สีแดง
เซ่นไหว้เทวดาฟ้าดิน ทั้งไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย
ตอนกลางคืนก็ตกแต่งโคมไฟอย่างสวยงาม
และร้องรำทำเพลงตั้งแต่หัวค่ำจนถึงวันรุ่งขึ้น
มีการประกวดโคมไฟทั่วประเทศ เช่น
โคมชาววังที่นครปักกิ่ง โคมดอกบัวที่นครเทียนสิน
โคมหิมะที่ฮาร์บิน โคมกระจกที่เมืองซูโจวและเมืองหังโจว
โคมมังกรล่อแก้วที่นครเซี่ยงไฮ้ เป็นต้น
ทั้งยังมีการทายคำปริศนาที่ติดอยู่ที่โคมไฟอีกด้วย
ยังมีการแสดงต่าง ๆ ซึ่งเป็นศิลปะพื้นบ้าน เช่น
เชิดสิงโต เดินต่อขา ขี่ม้าไผ่ เรือบก ตุ๊กตาหัวโต เตี้ยอุ้มค่อม ฯลฯ
ซึ่งเป็นงานที่สนุกสนานและรื่นเริงมากเทศกาลหนึ่ง
กำเนิดโคมไฟในเทศกาลหยวนเซียว มีตำนานเล่าไว้หลายอย่าง
แต่ที่น่าเชื่อถือคือ มาจากประเพณี " ส่องตัวไหม "ของชาวนา
คือชาวนาจะใช้โคมไฟแขวนบนยอดไม้ไผ่ แล้วปักไว้กลางทุ่งนา
คอยเฝ้าดูว่าโคมไฟที่แขวนอยู่นั้น แสงจะเปล่งสีอะไร?
เพื่อพยากรณ์ถึงการเพาะปลูกของปี
ถ้าไฟกระเดียดไปทางสีขาวจะเกิดอุทกภัย สีแดงเกิดการแห้งแล้ง
ซึ่งเป็นการพยากรณ์อันเก่าแก่ของชาวนาเมื่อครั้งโบราณกาล
ต่อมามีการประกวดประชันกันของโคมไฟ
ดังนั้น จึงต่างประดิษฐ์โคมไฟ " ส่องตัวไหม " ให้สวยงาม
ความหมายดั้งเดิมก็เปลี่ยนไปกลายเป็นความสนุกสนานรื่นเริง
ชาวจีนโพ้นทะเล และคนจีนที่พำนักอยู่ในประเทศไทย
ในวันเทศกาลหยวนเซียว ก็มีการไหว้เทวดาฟ้าดิน
และเซ่นไหว้บรรพบุรุษในวันหยวนเซียว
เวลากลางคืนโคมไฟตามศาลเจ้าต่าง ๆ สว่างไสว
เต็มไปด้วยชายหญิงผู้มีจิตศรัทธา
ต่างพากันไหว้เจ้าขอพรหรือแก้บน
เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ ตามหน้าศาลเจ้า เช่น
น้ำตาลรูปสิงโต ส้ม กระดาษเงินกระดาษทอง ธูปเทียนและอื่น ๆ
ขายดิบขายดี เนื่องจากผู้มีจิตศรัทธามาซื้อเครื่องเซ่นไหว้เพื่อขอพร
หรือผู้มาแก้บนกับเจ้านั้น
จะต้องซื้อเครื่องเซ่นไหว้เพิ่มเป็นเท่าตัวของปีที่ผ่านมา.............
อนึ่ง เทศกาลหยวนเซียวของปี 2549 นั้น
ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2549
เพื่อน ๆ ท่านใด มีรูปภาพโคมไฟสวย ๆ
ช่วยกรุณาโพสด้วยนะครับ ขอขอบพระคุณ
โปรดติดตาม รายละเอียดในเทศกาลที่ 3 ต่อไปนะครับ








โดย : ประเพณีจีน Member   [ 06/02/2006, 07:06:51 ]

12



จัดให้..ครับ

โดย : หน่อโชย Member   [ 07/02/2006, 23:31:34 ]

13



โคมไฟเล็ก ๆ แต่ก็มาด้วยใจนะครับ

โดย : ตรุษจีน Member   [ 08/02/2006, 02:07:38 ]

14



อลังการ โคมไฟ....จ้ะ

โดย : เฮียเฮี้ยง Member   [ 09/02/2006, 00:52:43 ]

15

ขอขอบพระคุณ........
ท่านหน่อโชย ท่านตรุษจีน ท่านเฮียเฮี้ยง ฯลฯ (ที่จะตามมา)นะครับ
ที่ช่วยกรุณาโพสรูปอันสวยงามมาให้ตามเทศกาล.......
สำหรับเทศกาลที่ 3 นั้น คือ เทศกาลเช็งเม้ง
ผมคงจะโพสข้อความรายละเอียดของความเป็นมา
ก็คงจะราวเดือนเมษายนนะครับ
ขอรบกวนเพื่อน ๆ ทั้งหลายหากจะกรุณา
เพื่อให้เห็นภาพของความเป็นจริงในเทศกาลเช็งเม้ง
ช่วยหาภาพประกอบในเทศกาลดังกล่าวแต่เนิ่น ๆ ด้วยนะครับ
รุ่นเราเป็นรุ่นสูงอายุด้วยกันทั้งนั้น
อีกไม่นานก็จะลาจากโลกนี้ไปแล้ว
มาช่วยกันเผยแผ่สิ่งที่ดี ๆ ใน 8 เทศกาลประเพณีจีน
ซึ่งมีตำนานมากว่า 5,000 ปี
มาสืบทอดให้......
พวกเราลูกหลานคนจีนได้รับรู้เอาไว้
มาช่วยกันตอบคำถามเด็ก ๆ เหอะว่า...
แต่ละเทศกาลความเป็นมานั้น มาได้อย่างไรกัน???
ไม่ใช่เอาแต่ไหว้ ไหว้ ไหว้ ไหว้ และไหว้ไปเรื่อย ๆ
โดยไม่รู้ความเป็นมาที่แท้จริงนะครับ
ท่านลองคิดดูสิครับว่า...
หากท่านสามารถตอบคำถามเด็ก ๆ ที่เค้ามาถามท่านได้ว่า....
ความเป็นมานั้น มาจากไหนกัน?
ซึ่งแต่ละเทศกาลนั้น เค้าก็รู้ว่า ต้องไหว้
แต่เด็กคงมีคำถามอยู่ในใจว่า....ไหว้เพื่ออะไรกันล่ะ????
หากท่านสามารถอธิบายได้
คำตอบที่เด็กจะได้รับนั้น เค้าก็จะถ่ายทอดไปสู่เพื่อน ๆ ที่ไม่รู้
มันจะเป็นประโยชน์ต่อลูกหลานชาวจีนไปเรื่อย ๆ
และถ่ายทอดให้สืบต่อ ๆ กันไปตราบนานเท่านาน...
เหนืออื่นใดนั้น เด็กจะศรัทธาในตัวท่านขนาดไหน?
ขอให้ทุกท่านไปไตร่ตรองดูแล้วกันนะครับ
ผมหวังดีกับทุก ๆ ท่านมาโดยตลอด
ไม่มีผลประโยชน์อะไรแอบแฝงทั้งนั้น
ขอขอบคุณทุกท่านนะครับที่ได้เข้ามาอ่าน
และขอให้ทุกท่านได้ช่วยกันเล่าต่อ ๆ กันไป
เพื่อรุ่นลูก รุ่นหลานของชาวจีนนะ
จากใจครับ




โดย : ประเพณีจีน Member   [ 09/02/2006, 03:35:38 ]

16

Happy Valentine Day ....14 Feb 06 จ้า+++
เรื่องของความรักนั้น.........
มีทั้งสมหวังและผิดหวังนะจ๊ะ ไม่ว่ากัน อิอิ
มีหลายเรื่องราวที่เล่าสู่กันฟังตั้งแต่ในอดีต อย่างเช่น....
หนังฝรั่งก็ต้อง...โรมิโอ & จูเลียด
หนังไทยก็คงจะเป็น....สะพานรักสารสิน ทำนองนั้น
ซึ่งได้แสดงถึงรักแท้ที่มีต่อกันประมาณนั้น....
ยอมตายเพื่อคนที่เรารัก
นั่นยอมพิสูจน์ได้ว่า....ความรักนั้นทำอะไรได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
จริง ๆ แล้วความรักนั้นไม่สามารถที่จะอธิบายได้อย่างลึกซึ้งหรอก
มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ๆ เลย พูดผิดนิดเดียว โทษถึงประหาร
ผมเพียงแต่อยากจะสื่อความหมายนะครับว่า......
ความรักที่หลายต่อหลายคนพูดกันนั้น(ส่วนใหญ่) ก็คือ..............
การเสียสละและให้อภัยซึ่งกันและกัน
หากใครคิดได้ก็คงจะมีความสุขมาก ๆ นะครับ
อันนี้ก็แล้วแต่.......
ท่านจะเลือกอย่างไร? ก็เป็นสิทธิ์ของท่าน
ไม่มีใครต่อว่านะครับ เพราะท่านเลือกเองโดยไม่มีใครบังคับ
ใครคิดจะจองเวร...ชีวิตของท่านก็จะไม่เป็นสุข ผมคิดเช่นนั้นนะ
กลับมายังเรื่องของความรักในตำนานจีนกันอีกครั้ง..........
ของคนจีนนั้น ความรักในเรื่องของความยิ่งใหญ่ที่เล่าขานกันมา...
คงจะหนีไม่พ้น....................................
เหลียง-ซาน-ป๋อ-หวี่-จู-อิง-ไถ ...........ม่านประเพณีจีน
เป็นนิยายที่กลั่นกรองออกมาจากใจของคนหนุ่มสาวในสมัยนั้น
ที่โดนขีดขวางกั้นโดยประเพณีจีนในสมัยโบราณ (คลุมถุงชน)
ท่านใดที่ได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว
ก็ช่วยกันเล่าต่อ ๆ กันไปให้ได้รับรู้ว่า
อุปสรรคนั้นมันมาจากผู้ใหญ่ที่เป็นผู้กำหนด โดยขาดความยุติธรรม ไร้เหตุผล
เพื่อเพียงแต่แค่ยึดถือคำพูดที่ได้ลั่นวาจาเอาไว้เท่านั้น
น่าตลกและน่าขำสิ้นดีจริง ๆ สำหรับคนยุคสมัยโบราณ
ทำไมล่ะ? พูดผิดก็พูดใหม่สิ ไม่เห็นจะยากเย็นอะไรเลย จริงมั้ย?
ผมพิมพ์ผิดยังพิมพ์ใหม่ได้เลย ไม่เห็นจะยากตรงไหน??
นี่คือยุคของโลกโลกาภิวัฒน์กันแล้ว ตามให้ทันหน่อยสิ
ส่วนเรื่อง เหลียงซันป๋อ หวี่ จูอิงไถ นั้น
ตอนจบ....ทุกท่านคงได้รับรู้ถึงความเศร้าโศรกที่ผู้ใหญ่ได้กีดกัน
ไม่ว่าหนังไทย หนังเทศ หนังจีน
วัยรุ่นดูแล้วมักจะไปโทษที่ผู้ใหญ่เสมอ ๆ ว่า ไม่เข้าใจวัยรุ่น
เพราะผู้ใหญ่งี่เง่า ไม่ยอมรับโลกสมัยใหม่เอาซะเลย .........
แต่เด็กเอ๋ยเจ้าลืมไปนะว่า.......
ผู้ใหญ่นั้นก็ย่อมมีเหตุผลที่จะทำแบบนั้น (แต่บางทีก็ถือทิฐิจริง ๆ)
ด้วยเพียงแต่เด็กยังอ่อนประสบการณ์ อ่อนต่อโลกนี้นัก
และเด็กมักไม่คิดการณ์ไกล เอาแต่ใจตนเองเป็นหลัก(แถมดื้อรั้น)
เป็นไงเป็นกัน อย่างมากก็แค่ตายล่ะวะ...เด็กสมัยนี้คิดแบบนี้ล่ะท่าน
แต่ก็มีประโยคได้ยินกันบ่อย ๆ นะ......
เสือ สิง กระทิง แรด มากันพร้อมหน้า
4 สัตว์ประเภทนี้ เป็นที่รู้จักกันดี
นั่นย่อมส่อความหมายว่า....ผู้ใหญ่นั่นแหละ ที่คิดไม่ดีต่างหาก
ดีนะที่ไม่เอาลูกไก่ ลูกเป็ด ฯลฯ มาต่อท้ายให้เสียหายมากไปกว่านี้
หรือท่านคิดว่าไงล่ะ?

โดย : พลังธรรม Member   [ 13/02/2006, 04:32:50 ]

17



เนื่องในวันวาเลนไทน์ Valentine Day.......14/2/2006
ผมขอมอบดอกกุหลาบสีแดงนี้มายังเพื่อน ๆ ทุกท่านในเวปไทยบีจี
รักกันนั้นย่อมดีกว่าเกลียดกัน ถูกต้องไหมครับ?
ขอขอบพระคุณท่าน webmaster ทั้ง 2
ท่านหมูหมูและท่านเซลด้ารวมทั้งทีมงานฯ
ที่ได้ให้โอกาสดี ๆ กับพวกเรา ซึ่งไม่ว่าจะเป็นหมากเกมส์ไหน?
ก็สามารถเสนอความคิดเห็นต่าง ๆ ผ่านทางเวปของท่านได้
ขอขอบคุณอีกครั้งครับ........
HAPPY VALENTINE DAY !!!!!!!!




โดย : tbg00 Member   [ 14/02/2006, 02:22:48 ]

18



แจมด้วย แจมด้วย

โดย : หน่อโชย Member   [ 14/02/2006, 17:03:28 ]

19



ด้วยคนนะ

โดย : tbgA1 Member   [ 15/02/2006, 01:03:25 ]

20



ร่วมด้วยช่วยกันจ้า

โดย : tbgB1 Member   [ 15/02/2006, 01:43:00 ]

21



จําจ๊ะ!!!!!

โดย : tbgC1 Member   [ 15/02/2006, 01:51:53 ]

22



ขอร่วมแข่งขันด้วยนะ.....

โดย : tbgD1 Member   [ 15/02/2006, 01:55:35 ]

23

ขออนุญาตประชาสัมพันธ์ล่วงหน้านะครับ
โปรดติดตามรายละเอียดในตอนต่อไป...
ช่วงนี้ใกล้สอบแล้วของเยาวชนทั้งหลาย
อย่าได้กังวลนะ
ทีมงาน ฯ จะจัดแข่งหลังจากทุกท่านสอบเสร๊จแล้ว
ขอให้เพื่อน ๆ ทุกท่านสอบได้เกรด 4 นะจ๊ะ เอาใจช่วยเน้อ..อิอิ
และขออย่าได้เข้าใจผิดนะครับว่า
การแข่งขัน tbg Friendship Game CCOnline ครั้งที่ 2 นั้น
ไม่ใช่จัดแข่งเพื่อใครโดยเฉพาะเจาะจง
ทุกท่านสามารถร่วมแข่งขันกันได้นะครับ
รางวัลก็ไม่มี ชื่อเสียงก็ไม่ปรากฏเพราะไม่ใช้ชื่อจริงในการแข่งขัน
และชื่อของการแข่งขันก็บอกอยู่แล้วว่า..
Friendship Game เป็นเกมส์แห่งความเป็นเพื่อนซึ่งกันและกัน
ใครอยากใช้โปรแกรมก็ใช้ไม่ว่ากัน ถูกต้องนะครับ
เพียงแต่คนที่ใช้โปรแกรมเล่นคงโดนด่าบ้างในใจ ก็เท่านั้นแหละครับ
ทีมงานฯนั้น ไม่มีผู้สนับสนุน จึงไม่มีรางวัล
มีแต่มาช่วยคนที่ไม่มีโอกาสเล่นกับท่านเก่ง ๆ เพื่อหาประสบการณ์
จึงขอประกาศให้เพื่อน ๆ ได้รับทราบเท่านี้แหละครับ ขอขอบคุณ

โดย : TBG000 Member   [ 15/02/2006, 02:24:59 ]

24

ผมสอบเสร็จวันที่ 4 มีนา ครับ

โดย : chemtec Member   [ 19/02/2006, 22:46:18 ]

25

เทศกาลที่ 3
เทศกาลวันงดใช้ไฟ และเทศกาลเช็งเม้ง
เทศกาลวันเช็งเม้งเป็นวันก่อนหรือหลังจันทรคติวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 4
เนื่องจากพอถึงวันสำคัญนี้ ท้องฟ้าจะปลอดโปร่ง
อากาศก็เริ่มอบอุ่นขึ้น ฉะนั้นจึงเรียกวันนี้ว่า “ เช็งเม้ง
คำว่า “เช็งเม้ง” เป็นภาษาแต้จิ๋ว หมายถึง ท้องฟ้าปลอดโปร่ง
(ในภาษาจีนกลางอ่านว่า ชิง-หมิง)
ก่อนวันเช็งเม้งสักวันสองวัน ก็มีเทศกาลวันงดใช้ไฟ
ตามตำนานเล่าขานกันมาว่า.....
ในสมัยชุนซิวจั้นกั๊วะนั้น ภายในวังของเมืองจิ้นเกิดความวุ่นวาย
เจ้าฟ้าฉงเอ่อได้หนีภัยออกจากวังพร้อมด้วยอำมาตย์ผู้ซื่อสัตย์
มีนามว่า... “เจี้ย-จื่อ-ทุย”
ทั้ง 2 นั้นได้ระหกระเหิรพเนจรเร่ร่อนอยู่ข้างนอกนานนับปี
มีความลำบากยากแค้นจนสุดที่จะพรรณาได้
หนึ่งในช่วงเวลานั้นของการเดินทางที่ไม่มีจุดหมายปลายทาง
ระหว่างทางเกิดขัดสนอดอยากเรื่องอาหารการกิน
เมื่อไม่มีปัญญาและหมดหนทางที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
และแล้ว...
ในที่สุด...เจี้ย-จื่อ-ทุย ก็ได้ตัดชิ้นเนื้อที่สะโพกของตนเอง
สละให้เจ้าฟ้าฉงเอ่อเสวยเพื่อประทังความหิวโหย
และได้ช่วยให้เจ้าฟ้าฉงเอ่อรอดชีวิตอยู่ต่อไป......(จบตอนที่ 1 )

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 30/03/2006, 13:10:10 ]

26

ขอขอบคุณที่เสียสละเวลาเพื่อส่วนรวม วิทยาทานที่ท่านให้จะเป็นประโยชฯต่อคนรุ่นหลังต่อไป

โดย : WALEE Member   [ 30/03/2006, 15:38:18 ]

27

ขอขอบคุณท่าน WALEE ที่ได้ให้กำลังใจนะครับ.....
ตอนที่ 2......
เมื่อเจ้าฟ้าฉงเอ่อได้มีโอกาสกลับเข้าวังอีกครั้ง
ก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นเจ้าเมืองชื่อว่า " จิ้น-หวุน-กง "
และได้ปูนบำเหน็จพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ให้แก่ขุนนางข้าราชการที่ทำความดีความชอบ
แต่ก็ลืม เจี้ย-จื่อ-ทุย อำมาตย์ผู้ซื่อสัตย์เสียสนิท................
เจี้ย-จื่อ-ทุย ได้เห็นความอกตัญญูไม่รู้บุญคุณคนของจิ้น-หวุน-กง
ก็มีความรู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก
จึงได้พามารดาและเนรเทศตนเองออกจากเมือง
ไปอาศัยอยู่บนเขาเหมียนซาน (ปัจจุบันคือ มณฑลซานซี)
ได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างยากจนข้นแค้นตามยถากรรม
ระยะหลังมีอำมาตย์ซื่อสัตย์บางคนพยายามกระตุ้นเตือน
จิ้น-หวุน-กง ให้นึกถึงความดีความชอบของเจี้ย-จื่อ-ทุย
จิ้น-หวุน-กงเมื่อหวลนึกถึงความหลังก็รู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง
จึงได้สั่งให้บริวารไปสืบตามหาเจี้ย-จื่อ-ทุย
แต่ครั้นเมื่อตามพบตัวเจี้ย-จื่อ-ทุยแล้ว
เจี้ย-จื่อ-ทุยก็ไม่ยอมลงจากเขากลับมารับใช้ราชการอีก
จิ้น-หวุน-กงจึงคิดหาหนทางที่จะให้เจี้ย-จื่อ-ทุยแม่ลูกลงจากเขา
หลายต่อหลายหนทางไม่ประสบความสำเร็จ
จึงใช้วิธีจุดไฟเผาภูเขาเหมียนซาน เพื่อบีบบังคับให้ลงมา
แต่ปรากฏว่า เจี้ย-จื่อ-ทุยกับมารดาของเขาตัดสินใจ
ยอมตายอยู่ในกองไฟใต้ต้นหลิวต้นหนึ่งบนภูเขาเหมียนซาน.....
(จบตอนที่ 2 )



โดย : ประเพณีจีน Member   [ 04/04/2006, 23:52:22 ]

28

หลังจากที่ได้สั่งการลงไปแล้ว และมาทราบภายหลัง.....
ไม่คิดว่า เหตุการณ์จะกลับกลายเป็นเช่นนี้
จิ้น-หวุน-กงจึงรู้สึกเศร้าโศรกเสียใจรันทดเป็นที่สุด
ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงเจี้ย-จื่อ-ทุย ผู้ล่วงลับไปแล้ว
จึงได้เปลี่ยนชื่อภูเขา จากเหมียนซาน มาเป็น "เจี้ย-ซาน"
ตามชื่อสกุลของ...เจี้ย-จื่อ-ทุย
(คำว่า ซาน เป็นภาษาจีนกลางแปลว่า ภูเขา)
อีกทั้งประกาศห้ามใช้ไฟในวันนี้ของทุก ๆ ปีต่อไป
จึงเรียกวันนี้ว่า " วันงดใช้ไฟ "
พร้อมทั้งนำเนื้อไม้ของต้นหลิวมาทำเป็นเกี๊ยะ (รองเท้า)
ซึ่งเมื่อไหร่ที่จิ้น-หวุน-กงคิดถึงเจี้ย-จื่อ-ทุย
จิ้น-หวุน-กงก็จะสวมใส่เกี๊ยะและจะพูดว่า..."ใต้เท้า"
ฉะนั้น คำว่า " ใต้เท้า " ก็มีความหมายกลายเป็นคำยกย่อง
ซึ่งย่อมหมายถึงจิ้น-หวุน-กงยกย่องเคารพนับถือเจี้ย-จื่อ-ทุย
นับจากนั้นเป็นต้นมา เมื่อถึงวันงดใช้ไฟ
ทุกบ้านช่องจะแขวนกิ่งไม้หลิวเป็นสัญญลักษณ์
และก็เตรียมอาหารการกินไปเซ่นไหว้ที่สุสานเจี้ย-จื่อ-ทุย
เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของเจี้ย-จื่อ-ทุย
และเผอิญในวันนี้ก็ใกล้กับ "เทศกาลวันเช็งเม้ง"พอดี
(โปรดติดตามในตอนจบนะครับ ขอบคุณ)

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 05/04/2006, 02:05:48 ]

29

ในสมัยโบราณเทศกาลวันเช็งเม้งก็มีการห้ามใช้ไฟเช่นกัน
และในวันเช็งเม้งก็จะไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษกันที่สุสาน
บ้างก็ท่องเที่ยวตามป่าเขาลำเนาไพร ปลูกต้นหลิว เป็นต้น
นาน ๆ เข้า "เทศกาลวันงดใช้ไฟ" กับ "เทศกาลวันเช็งเม้ง"
ก็ไม่มีอะไรที่จะแตกต่างกันเลย ดังนั้น ชาวบ้านก็เลยถือเอา
วันงดใช้ไฟกับวันเช็งเม้งเป็นเทศกาลเดียวกันเรียกว่า
"เทศกาลวันเช็งเม้ง" หรือ "เทศกาลวันปลูกต้นไม้"
...............................................................................
ปัจจุบันเทศกาลวันเช็งเม้งในประเทศจีนและชาวจีนทั่วโลก
จะถือเอาวันที่ 5 เดือน 4 (ตามปฏิทินสากล)เป็นวันเช็งเม้ง
ชาวบ้านต่างก็พร้อมใจกันมาเคารพเซ่นไหว้สุสานวีรชน
และสุสานบรรพชน เป็นการระลึกถึงวีรบุรุษและ
บรรพบุรุษของตนเอง เพื่อเป็นการไว้อาลัย
ชาวจีนที่อยู่ในประเทศไทย
ก็ทำตามธรรมเนียมของจีนในสมัยโบราณ
วันเช็งเม้งของทุกปีก็ต้องไปเซ่นไหว้ที่สุสานบรรพบุรุษ
เมื่อมาถึงสุสานบรรพบุรุษ
ก่อนอื่นจะต้องปัดกวาดถอนหญ้าที่รกออกจนหมด
ทำความสะอาดสุสานให้เรียบร้อย
คนจีนในเมืองจีนจึงเรียกว่า เส่า - มู่
เส่า แปลว่า ปัดกวาด มู่ หมายถึง สุสาน
หลังจากทำความสะอาดเสร็จแล้ว จึงจัดทำการเซ่นไหว้
ของที่เซ่นไหว้นั้นมีของคาว 3 อย่าง ผลไม้ 5 อย่างให้กับบรรพบุรุษ
และจัดอีก 1 ชุดเพื่อเซ่นไหว้เจ้าที่เจ้าทาง
ลูกหลานที่อยู่ห่างไกลก็พากันทำเพิง(เต๊นท์)ที่หน้าสุสาน
เมื่อเสร็จจากการเซ่นไหว้แล้ว
ก็จะร่วมรับประทานอาหารหรือสิ่งของที่เซ่นไหว้หน้าสุสาน
เพื่อแสดงถึงความเคารพนับถือ
ระลึกถึงคุณงามความดีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว........(จบบริบูรณ์)
...............................................................................
เทศกาลที่ 4 วันไหว้บะจ่าง
จะได้นำมาเสนอเมื่อถึงวันเทศกาล
ขอขอบคุณทุกท่านที่จะถ่ายทอดให้บุตรหลานได้รับฟังกัน
ขอบคุณมากครับ

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 05/04/2006, 14:47:35 ]

30

ผมอ่านจนตาลายเลยละ ได้รู้อะไรดีๆเอาไปบอกลูกหลาน ขอบคุณๆ

โดย : WALEE Member   [ 25/04/2006, 17:17:54 ]

31

เพื่อให้ท่าน WALEE และเพื่อน ๆ ที่สนใจ

อยากรับรู้ความเป็นมาของประเพณีจีนทั้ง 8 เทศกาล

และเพื่อไม่ต้องอ่านจนตาลาย ผมจะค่อย ๆ พิมพ์เป็นตอน ๆ

ไม่ยาวจนเกินไป และนำเสนอให้ได้อ่านเป็นระยะ ๆ

ทั้งนี้ผมขอพิมพ์แบบบรรทัดเว้นบรรทัดด้วยนะ

และเช่นเคยนะครับ เพื่อน ๆ ท่านใดที่ได้อ่านตำราเล่มอื่น

มาช่วยเสริมเติมแต่ง ให้ได้รับความรู้มากขึ้น

ก็จักขอขอบพระคุณมาก ๆ

พวกเราลูกหลานคนจีนกันทั้งนั้น

ช่วยนำสิ่งที่ดี ๆ มาเผยแผ่ให้ลูก ๆ หลาน ๆของพวกเรา

ได้รับรู้ว่าประเพณีจีนต่าง ๆ นั้น

บรรพบุรุษของเราได้เล่าสู่กันฟังมากว่า 5,000 ปี

จริงบ้าง เท็จบ้าง เป็นสิ่งที่รุ่นลูกรุ่นหลานจะวิเคราะห์กันเอาเอง

แต่ความเชื่อในสมัยโบราณนั้น

เป็นสิ่งที่พิสูจน์กันยากลำบากในปัจจุบัน

และคงจะเคยได้ยินคำพูดนะครับที่ว่า....

ไม่เชื่อแต่อย่าลบหลู่....

เทศกาลที่ 4.....................

เทศกาลวันแห่งกวีหรือเทศกาลบะจ่าง

ตามจันทรคติจีน ตรงกับวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5

เป็นเทศกาล " ตวน-อู่-เจี๋ย " หรือเรียกว่า เทศกาลบะจ่าง

คำว่า " บะจ่าง " นั้น เป็นทับศัพท์

(หนังสือมิได้บ่งบอกว่าเป็นภาษาจีนใดกันแน่ ...แต้จิ๋ว กวางตุ้ง..ฯลฯ)

คำว่า " บะจ่าง " นั้นหมายถึง อาหารจีนชนิดหนึ่ง

ซึ่งประกอบด้วย ข้าวเหนียวใส่หมูกับถั่วหรือเม็ดบัว

ผัดแล้วห่อด้วยใบไผ่มัดเป็นสามเหลี่ยม

หรือเทศกาลนี้อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า เทศกาลแห่งกวี

ตามตำนานเล่าขานกันว่า...........


โดย : ประเพณีจีน Member   [ 16/05/2006, 04:33:57 ]

32

ตามตำนานเล่าขานกันว่า................

ตวนอู่เจี๋ย duan wu jie เป็นการระลึกและอาลัยถึง "ชวีหยวน"

ที่เกิดขึ้นในสมัยโบราณนานกว่าสองพันปีมาแล้ว

สมัยนั้นเกิดสงครามทั่วทุกแห่งในประเทศจีน

เมืองฉู่มีข้าราชการขุนนางใหญ่ผู้หนึ่งมีนามว่า "ชวีหยวน"

ซึ่งท่านเป็นกวีเอกผู้รักชาติและมีอุดมการณ์อันแรงกล้า

ทำเพื่อชาติและประชาชน ได้รับใช้เมืองฉู่มาด้วยความจงรักภักดี

ท่านมีความเห็นที่จะยึดมั่นสร้างสัมพันธไมตรีกับเมืองฉี

ต่อต้านเมืองฉิน เพื่อหยุดยั้งการแผ่ขยายอำนาจของเมืองฉิน

โดยพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้เมืองฉู่มีความมั่งคั่ง

แต่เพราะว่าไปขัดผลประโยชน์ที่ได้มาโดยมิชอบ

ของขุนนางกังฉินทรยศขายชาติบ้านเมืองบางคน

ทำให้ขุนนางเหล่านั้นแค้นเคืองมาก

จึงเพ็ดทูลใส่ร้ายป้ายสี "ชวีหยวน" ต่อหน้าเจ้าเมืองฉู่ในสมัยนั้น

ฉะนั้น "ชวีหยวน" จึงถูกเนรเทศออกจากเมืองฉู่ถึง 2 ครั้ง 2 ครา

จนกระทั่งล่วงเลยเวลามาถึงสมัยฉู่เซียนอ๋อง

"ชวีหยวน" ก็ชราภาพแล้วด้วยอายุราว 60 ปีเศษ

ท่าน "ชวีหยวน" เห็นความอ่อนแอของฉู่เซียนอ๋อง รู้สึกรันทดยิ่งนัก

ส่วนขุนนางผู้ใหญ่ทั้งหลายกลับทรยศต่อชาติบ้านเมืองหนักกว่าเดิม

ประชาชนมีความยากเข็ญ ลำบากยากแค้นไปทั่วทุกหย่อมหญ้า

ประเทศกำลังจะล่มสลายในไม่ช้า......

ท่าน "ชวีหยวน" ก็รู้สึกโศกเศร้าเสียใจอย่างสุดที่จะพรรณา

สุดท้ายท่าน"ชวีหยวน" จึงได้ตัดสินใจโดดลงแม่น้ำ "มี่หลัวเจียง"

เพื่ออำลาชีวิตของตัวเอง ณ บัดดล......................











โดย : ประเพณีจีน Member   [ 18/05/2006, 00:52:17 ]

33

ติดตามตอนจบของ.........

เทศกาลวันแห่งกวีหรือเทศกาลบะจ่าง

COMING SOON!!!!!



โดย : ประเพณีจีน Member   [ 18/05/2006, 01:00:59 ]

34

ตอนจบของเทศกาลวันแห่งกวีหรือเทศกาลบะจ่าง......

******************************************************

การจากไปอย่างไม่มีวันกลับของท่านกวี "ชวีหยวน" นั้น

ได้แพร่ข่าวกระจายไปยังประชาชนปากต่อปากอย่างรวดเร็ว

ทำให้ประชาชนเมื่อได้รับฟังข่าวแล้ว

ต่างก็รู้สึกเสียใจอย่างยิ่งในการสูญเสียกวีผู้รักชาติ

ที่ได้สะสมสร้างความดีมาแต่ในอดีต

ดังนั้น จึงได้ร่วมมือร่วมใจกันห่อบะจ่างไปที่แม่น้ำ มี่หลัวเจียง

เซ่นไหว้ท่าน "ชวีหยวน" เพื่อเป็นการสักการะ

และอีกนัยหนึ่งก็เพื่อจุดประสงค์ให้สัตว์ใต้แม่น้ำฯ ทั้งหลายนั้น

ได้กินบะจ่างแทนเนื้อหนังของท่าน "ชวีหยวน"

ขณะเดียวกัน ก็ได้พยายามช่วยกันค้นหาศพของท่าน "ชวีหยวน"

เพื่อนำกลับมากราบไหว้บูชาและเซ่นไหว้วิญญาณตามประเพณี

แต่จนแล้วจนเล่า......ก็ไร้ร่องรอยด้วยความกว้างใหญ่ของแม่น้ำนั้น

ผ่านไปหลายวันหลายคืน

ก็ไม่สามารถค้นหาศพท่าน "ชวีหยวน" ได้เลย

เมื่อเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงได้ตัดใจที่จะค้นหาอีก.........

และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา....

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 24/05/2006, 01:14:19 ]

35



ตำนานน่ารู้แห่งเทศกาล "บ๊ะจ่าง"

ทุกคนคงเคยได้ลองลิ้มความอร่อยของ สุดยอดอาหารแห่งแดน

มังกรที่เรียกว่า “บ๊ะจ่าง” กันมาแล้ว แต่รู้หรือยังว่าเรื่องราวของบ๊ะ

จ่างแสนอร่อยนี่มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง จัสซันเดย์เลยไปพลิก

ประวัติศาสตร์ค้นคว้าเรื่องราวตำนานของเทศกาลนี้มาให้ได้อ่านกัน

เทศกาลบ๊ะจ่างเป็นเทศกาลของชาวจีนที่จะเกิดขึ้นทุกๆ วันที่ 5

เดือน 5 ตามปฏิทินจีน เทศกาลบ๊ะจ่างเป็น 1 ใน 3 เทศกาลสำคัญ

ของชาวจีน ซึ่งก็คือตรุษจีน เทศกาลไหว้พระจันทร์ และเทศกาลบ๊ะ

จ่าง ซึ่งชาวจีนทั้งแผ่นดินใหญ่แล้วชาวจีนในประเทศต่างๆ ต่างให้

ความสำคัญเป็นอย่างมาก เทศกาลบ๊ะจ่างเป็นตำนานที่เป็นเรื่องราว

ของกวีหนุ่มผู้มีความจงรักภักดีต่อประเทศชาติและจักรพรรดิ์แห่ง

เมืองซ้ง เป็นอย่างยิ่ง ครั้งหนึ่งกวีหนุ่มผู้ซื่สัตย์คนนี้ได้ทูลกล่าวความ

สำคัญซึ่งตนคิดว่าเป็นประโยชน์ ต่อองค์จักรพรรดิ์ และบ้านเมืองเป็น

อย่างมาก แต่ทว่าองค์จักรพรรดิ์กลับไม่เห็นด้วยซึ่งความหวังดี

ของกวีหนุ่ม ซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้ง และกวีหนุ่มรู้สึกเสียใจเป็น

อย่างยิ่ง ก่อให้เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ จึงตัดสินใจกระโดดสะพาน

ข้ามแม่น้ำเพื่อปลิดชีวิตตนเอง เหตุการณืครั้งนี้ประชาชนผู้เลื่อนใส

ศรัทธาในตัวกวีหนุ่มรู้เรื่อง และต่างก็หวาดกลัวว่าร่างอันไร้วิญญาณ

ของกวีหนุ่ม ที่อยู่ในลำธารจะถูกสัตว์น้ำน้อยใหญ่ตอดกิน และไม่

สามารถนำร่างมาบำเพ็ญกุศลได้จึงช่วยกัน นำข้าวและเห็ดหอมรวม

ถึงเครื่องปรุงต่างๆ มารวมกันแล้วห่อด้วยใบไม้ จากนั้นก็โยนห่อดัง

กล่าวลงในแม่น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำกินแทนที่จะกินร่างของกวีหนุ่ม และ

ตามด้วยการเทเหล้าลงแม่น้ำด้วยเชื่อว่าจะทำให้สัตว์น้ำเมาและไม่มา

ตอดกินร่างของกวีหนุ่ม หลังจากนั้นพวกเค้าจะได้ช่วยกันนำศพ

ของกวีที่พวกเขาศรัทธามาบำเพ็ญกุศลต่อไป

หลังจากนั้น เพื่อเป็นการลำลึกถึงกวีหนุ่มที่พวกเค้าบูชา จึงมีการ

ห่อข้าว เห็ดหอมที่รวมกับเครื่องปรุงต่างๆ และโยนลงแม่น้ำ ตาม

ด้วยเหล้า ทุกปีและเรียกห่อข้าวนั้นว่า “บ๊ะจ่าง” และเป็นการกระทำที่

สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

บ๊ะจ่าง

ส่วนผสมไส้

เนื้อหมูล้างสะอาด หั่นเล็กยาว 1 นิ้ว 1 1/ 2 ถ.

หน่อไม้ไผ่ตงต้มสุกหั่น 1 1/ 2 ถ.

กุ้งแห้งดีล้างน้ำ 1 / 2 ถ.

พริกไทยป่น 1 1 / 2 ชช.

กระเทียม โขลกละเอียด 2 ชต.

ซีอิ้วขาว 1 ชต.

ซอสแม็กกี้ 1 ชต.

ซีอิ้วหวาน 1 ชต.

น้ำตาลทราย 1 / 4 ถ.

น้ำมันพืช

ไข่เค็มดิบ ( ไข่แดง )

วิธีทำ

ผัดกระเทียมพอเหลือง ใส่เนื้อหมูลงผัดพอสุก ใส่หน่อไม้ กุ้งแห้ง

และเครื่องปรุงอื่น ๆ ผัด จนแห้งดี พักไว้ให้เย็น

ส่วนผสมแป้ง

ข้าวเหนียวเขี้ยวงู แช่น้ำ 1 คืน 1 / 2 กก.

กะทิ 2 1 / 2 ถ.

ใบไผ่ขนาดใหญ่ ตัดปลายออก แช่น้ำให้นุ่ม

วิธีทำ

ผสมข้าวเหนียวกับกะทิ ใส่กระทะ ตั้งไฟกวนพอข้าวเป็นไตสีขาว พัก

ไว้ให้เย็น

วิธีห่อ

ซ้อนใบไผ่ 2 ใบ ทำเป็นกรวยลึก ใส่ข้าวเหนียวพอควร ใส่ไส้และไข่

เค็มวางตรงกลาง ตัก ข้าวเหนียวใส่ปิดให้มิด ห่อปิดเป็นรูปสาม

เหลี่ยม มัดด้วยเชือกกล้วย นึ่งให้สุก


โดย : หน่อโชย Member   [ 25/05/2006, 23:02:58 ]

36

ขอบคุณท่านหน่อโชย ที่มาช่วยสรุปนะ

ของผมจะมาเล่าตอนจบทีหลัง

ผมพิมพ์เสร็จ.....เนตตัดพอดีเลย.......เซ็งตัวเองอ่ะคับ

โดย : ประเพณีจีน Member   [ 30/05/2006, 02:28:18 ]

37

เตรียมพบกับความเป็นมาของเทศกาลที่ 5......

เทศกาลสาร์ทจีน.......เร็ว ๆ นี้

COMING SOON !!!!!!!!!!!!!!!



โดย : ประเพณีจีน Member   [ 26/07/2006, 02:59:11 ]

38

ต้องกล่าวคำว่า .....ขอโทษจริง ๆ นะครับ

คือ หนังสือประเพณีจีนที่ผมนำมาเสนอนั้น

ได้หายไปในช่วงขณะที่ผมย้ายบ้าน

จึงไม่สามารถนำมาเสนอให้เพื่อน ๆ ที่สนใจได้อ่านกัน

หากหาเจอแล้วจะนำมาถ่ายทอดให้เพื่อน ๆ ทีหลังนะครับ

ขอขอบคุณคับผม

จากใจสู่ใจที่ไม่เคยลืมเลือน



โดย : ประเพณีจีน Member   [ 30/07/2006, 01:32:21 ]

 
  E-mail: webmaster@thaibg.com Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved  
 
  Sponsors