รายละเอียด
จากไทยโพสต์ วันนี้ ฉบับ 9 ตุลาคม อ่านได้ที่นี่ครับ http://www.thaipost.net/index.asp?bk=tabloid&post_date=9/Oct/2548&news_id=114191&cat_id= 220500 ใครสนใจหนังสือหมากรุกสากล ถ้ามีโอกาสแวะไปงานหนังสือ ลองแวะบูธ S 06 ชื่อร้านแมนิฟิโต มีหนีงสือ chess เบื้องต้น สำหรับผู้มีเรทไม่เกิน 2000 และเบื้องต้นอยู่สี่ห้าแบบ เป็นหนังสือ จากอินเดียแต่ละเล่มไม่เกินสองร้อยบาท งานเมื่อเดือนเมษายนก็นำมาขาย ขายหมดเกลี้ยงเลย ส่วนของโกะก็เห็นมีของคุณวันชัยมาตั้ง สแครบเบิ้ลก็เป็นของแม็กพลอยเช่นทุกครั้ง
ความคิดเห็นที่ : 1
ชกมวยเดินหมาก เฟ้นจอมยุทธ์เก่งทั้ง'บู๊-บุ๋น' 9 ตุลาคม 2548 กองบรรณาธิการ ไทยโพสต์ นี่เป็นเกมกีฬาชนิดใหม่ที่เพิ่งจัดแข่งขันชิงแชมป์โลกกันที่กรุงเบอร์ลินไปเมื่อวันเสาร์ที่แล้ว สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันต้องใช้ในการประลองกันก็เป็นดังชื่อเกม คือ "ชกมวย" และ "เล่นหมากรุก" ฉะนั้น ต่อให้ ติโฮเมียร์ ติสชโก นักชกชาวบัลแกเรีย จะปล่อยหมัดฮุกขวาเข้าเป้าและเต้นฟุตเวิร์กหลบหลีกได้อย่างสวยงามเพียงใด ก็ยังไม่เพียงพอทำให้เขาชนะคู่แข่งได้ในแมตช์นี้ แต่เป็นความชาญฉลาดในการเดิน "ม้า" และ "โคน" ต่างหาก ที่เป็นตัวชี้ขาดชัยชนะของนักมวยเตี้ยล่ำ ทำให้เขากลายเป็นแชมเปี้ยนมวยหมากรุกของยุโรปคนแรก "มวยหมากรุก" เป็นหนึ่งในกีฬาลูกผสมใหม่ล่าสุด และไม่น่าจะเข้ากันได้มากที่สุด คิดขึ้นมาเพื่อประลองความสามารถทั้งการใช้สมองและพละกำลัง การแข่งขันทั่วไปจะประกอบด้วยการชกมวยสลับกับการเดินหมากประเภท "blitz" รวม 11 ยก การแข่งขันเริ่มด้วยการแข่งขันเดินหมากรุก 4 นาที แล้วก็ย้ายสังเวียนขึ้นไปบนผืนผ้าใบอีก 2 นาที จบยกนักกีฬาจะได้พัก 1 นาที ให้นวดคลายกล้ามเนื้อรักษาบาดแผลและถอดนวม จากนั้นนักชกทั้งคู่ก็ต้องมานั่งลงโขกหมากรุกกันอีกรอบ สลับกันไปแบบนี้ หมากรุกฝรั่งที่ใช้ในการแข่งขันเป็นหมาก "blitz" ที่ผู้แข่งขันจะมีเวลาเดินหมากรวมฝ่ายละ 12 นาที โดยจะมีนาฬิกาจับเวลาของแต่ละฝ่าย ฝ่ายใดใช้เวลาหมดก่อนก็ปรับเป็นแพ้ "ผมแค่อยากรู้น่ะ" โทเบียส กรายส์ หนุ่มวัย 30 จากเบอร์ลิน ที่มาดูเกมนัดชิงแชมป์ที่จัดภายในโกดังทางตะวันออกของเบอร์ลินกล่าว "มันเป็นหนึ่งในการจับคู่สิ่งที่ปกติไม่น่าจะเข้ากันได้มากที่สุด มันจึงน่าสนใจว่า เกมที่ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงนี้มาแข่งร่วมกันได้ยังไง" องค์กรมวยหมากรุกโลก (WCBO) ซึ่งจัดฝึกสอนนักมวยหมากรุกหลายสิบคนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ใกล้กับสำนักงานใหญ่องค์กรในกรุงเบอร์ลิน กล่าวว่า การผสมผสาน "กีฬาประลองปัญญาอันดับ 1" กับ "กีฬาต่อสู้อันดับ 1" เข้าด้วยกัน เกิดเป็นการท้าประลองชนิดพิเศษขึ้นมา คำขวัญของกลุ่มนี้มีว่า "สู้บนสังเวียน รบบนกระดาน" แม้ว่าการแข่งขันมวยหมากรุกอาจจบลงที่การ "น็อกเอาต์", รุกฆาต หรือการตัดสินของคณะกรรมการ แต่การชิงแชมป์เมื่อวันเสาร์ที่แล้วจบลงแค่ยกที่ 7 เมื่อ อันเดรียส ชไนเดอร์ คู่ต่อสู้ของติสชโกชาวเยอรมัน ขอยอมแพ้ เวลาเดินหมาก 12 นาทีของชไนเดอร์ใกล้จะใช้หมดแล้ว และ "ขุน" ของเขากับ "เบี้ย" ที่พอเหลืออยู่บนกระดานก็อยู่ในสถานะเพลี่ยงพล้ำหมดหวังที่จะชนะ ชไนเดอร์จึงตัดสินใจยื่นมือออกไปแสดงความยินดีต่อติสชโก เกมกีฬาชนิดนี้เป็นผลผลิตการคิดค้นจากมันสมองของ อีเป รูบินจห์ ศิลปินชาวดัตช์วัย 31 ที่อาศัยอยู่ในเบอร์ลิน และได้ไอเดียนี้มาจากหนังสือการ์ตูน รูบินจห์ซึ่งมานั่งชมแมตช์นี้ด้วย แสดงความพอใจอย่างออกนอกหน้าที่เห็นเกมขับเคี่ยวพลิกไปพลิกมา "อันเดรียสดูจะกุมทุกอย่างเอาไว้ได้แล้ว แต่กลับแพ้เพราะโชค แต่ติโฮเมียร์ก็เหมาะสมที่จะเป็นผู้ชนะเช่นกัน" ติสชโก ซึ่งมีรูปร่างเตี้ยล่ำ ผมดำ เหมือนตัวละคร "ร็อกกี้" ของ ซิลเวสเตอร์ สตอลโลน แบบเดียวกับนักมวยที่ต่อสู้อย่างทรหดบนสังเวียน แต่เขาเข้ามาถึงรอบชิงแชมป์นี้ได้ก็ในฐานะเซียนหมาก "bullet" ติดอันดับท็อปเท็นของโลกเช่นกัน ตามการจัดชั้นของ WCBO หมาก bullet ที่เดินไวเหมือนกระสุนนี้ น่าตื่นเต้นยิ่งกว่าหมาก blitz เสียอีก เพราะคู่แข่งขันจะมีเวลาเดินหมากทั้งหมดเพียงฝ่ายละ 3 นาทีเท่านั้น รูบินจห์จัดแข่งขันชิงแชมป์มวยหมากรุกโลกครั้งแรกที่กรุงอัมสเตอร์ดัม เมื่อปี 2546 แล้วก็ย้ายไปจัดโชว์ที่กรุงโตเกียวในปีถัดไป สำหรับการแข่งขันที่เบอร์ลินปีนี้ ผู้จัดได้ว่าจ้างกรรมการหมากรุกและมวยระดับมีใบประกาศรับรองมาทำหน้าที่ ยิ่งกว่านั้น บรรยากาศการชกยังเหมือนมวยนัดใหญ่ๆ ทั่วไปที่มีสาวนุ่งน้อยห่มน้อยมาเดินชูป้ายบอกยก และมีโฆษกมาปลุกเร้าคนดู แม้จะมีคนดูบางคนบอกว่า สักวันพวกตนอาจลองเล่นเกมมวยหมากรุกนี้ดูซักครั้ง แต่ส่วนใหญ่แล้วจะสั่นศีรษะ บอกผ่านกีฬาพิสดารชนิดนี้ "ผมนึกภาพแทบไม่ออกเลยว่า พอชกมวยจบยกไปแล้ว ตอนกลับมานั่งเดินหมากแล้วจะจำตาที่วางแผนไว้ว่าจะเดินบนกระดานได้ยังไง" บาสเตียน เดมเมอร์ ช่างไม้เมืองเบียร์วัย 31 กล่าว "บางทีคุณต้องนั่งเล่นทั้งที่ระบมไปทั้งตัวด้วย" รูบินจห์และ WCBO เชื่อว่าพวกเขาพบสูตรแห่งชัยชนะแล้ว และหวังว่าแมตช์ชิงแชมป์ครั้งนี้จะทำให้คนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมกับเกมกีฬาชนิดใหม่นี้มากขึ้น จนทำให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มมวยหมากรุกต่างๆ ขึ้น กระนั้นก็ดี อีกหลายคนมองว่า ความนิยมในกีฬาชนิดนี้ยังน่าจะมีข้อจำกัดอยู่ เพราะแฟนมวยส่วนใหญ่อาจไม่เข้าใจกฎกติกาหมากรุก และในทางกลับกัน พวกเซียนหมากอาจไม่เข้าใจกีฬาที่ใช้กำลังชนิดนี้ก็ได้.
ความคิดเห็นที่ : 2
ของไทยเรา อย่ามีอย่างนี้เลยนะครับ จะได้อยู่เล่นกันนานๆ
ความคิดเห็นที่ : 3
จากข่าวสด 15 พฤศจิกายน 2548 เหมืองเกลือแก้หอบหืด เด็กๆที่ป่วยเป็นโรคหืดหอบพักอยู่ในเหมืองเกลือ ลึก 300 เมตรจากพื้นดินในหมู่บ้านโซล็อตวิโน ป ระเทศยูเครน การส่งเด็กๆและผู้ป่วยหืดหอบลงไปอยู่ในเหมืองเกลือเป็นวิธีรักษาโรคเฉพาะของโรงพยาบาลด้านโรคภูมิแพ้ยูเคร น ซึ่งประสบความสำเร็จด้วยดีในการรักษาคนไข้หืดหอบและโรคทางเดินหายใจอื่นๆ โดยเฉพาะกับเด็กๆ เพียงแต่ต้องหาอะไรเล่นแก้เบื่อในอุโมงค์นี้ เช่น โขกหมากรุก เป็นต้น หน้า 7
ความคิดเห็นที่ : 4
บางส่วนจากหนังกึ่งอนิเมชั่น กึ่งคนแสดงเรื่อง Immortel (ชื่อภาษาอังกฤษ Immortal / 2004) ในตอน The Cold Equater การณ์ข้ามไปที่ปี 2034 เปิดฉากด้วยภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องของนิโคโปลและจิล โดยมีนิโคโปลผู้ลูกเป็นที่ปรึกษา ในการสร้าง เขาเดินออกจากสตูดิโอ ขึ้นขบวนรถไฟสายโนอาห์ที่เต็มไปด้วยเหล่าส่ำสัตว์ มุ่งสู่แอฟริกาที่บัดนี้ห่มคลุมด้วยหิมะ จิลหนีไปจากนิโคโปลผู้พ่อ ที่ตอนนี้ใช้ชีวิตตายซากอยู่กับโฮรัส เตรียมพร้อมขึ้นชก มวย หมากรุก กีฬาที่ทั้งเป็นการประลองกำลังกาย และกำลังสมอง นิโคโปล เริ่มเพ้อคลั่งถึงจิล ขณะที่โฮรัส พบกับอานูบิสและเหล่าทวยเทพ ในปิรามิดที่ลอยตัวเหนือฟากฟ้า แอฟริกา ลงเอยด้วยการสลับตำแหน่งของนิโคโปลผู้พ่อและผู้ลูก การลืมเลือน และก้าวข้ามสู่ชีวิตใหม่ อ่านบทความทั้งหมดได้ที่http://www.onopen.com/2006/02/490
ความคิดเห็นที่ : 5
ชิงที่หนึ่ง จากมติชน 5 พฤศจิกายน 2550 http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01for14051150&day=2007-11-05&se ctionid=0104