จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 2051 09 ต.ค. - 12 ต.ค. 2548
http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=R4520511&issue=2051
อย่ามัวแต่โชว์ออฟ แก้ปัญหาเด็กติดเกม
ส่งสัญญาณกันมาหลายครั้งกับปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับเรื่องเด็กติดเกมออนไลน์การออกมาพูดเกี่ยวกับปัญหาสังค
มอีกครั้งเป็นการพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงปัญหาที่ไม่มีการแก้ไขอย่างจริงจัง
จนมาถึงรายการนายกทักษิณคุยกับประชาชนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี พูดออกอากาศตอนหนึ่งว่า
"เรื่องเด็กติดเกมส์ออนไลน์และติดกู้เกม วันนี้ผมจะพูดกับผู้บังคับการตำรวจ และผู้ว่าราชการจังหวัด
ผมได้ออกกฎกระทรวงให้แล้ว เพื่อให้มีการควบคุมดูแลให้ใกล้ชิดขึ้น เพื่อให้มีกฎหมายสามารถจัดการได้
โดยสรุปคือว่า ใครอย่าคิดหารายได้จากการทำลายเด็กเยาวชนอีกเลย พอแล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
ผมจะประกาศชัด ๆ กับผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้ที่หากินมอมเมาเด็ก ต้องรีบถอยแล้ว ถ้าถอยช้าท่านเดือดร้อนแน่
เพราะฉะนั้นหากินให้ถูกวิธีดีกว่า อย่ามอมเมาเลย คิดว่าเด็กทุกคนเป็นลูกหลานเราก็แล้วกัน
จะประกาศให้ชัด"
เมื่อนายกทักษิณฯออกปากอย่างนี้แล้ว
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะกำหนดบทบาทตัวเองอย่างไรจึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามหาคำตอบจากทุกหน่วยงานที่เกี่ย
วข้องทั้งจากกระทรวงวัฒนธรรม , กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที และ กรมสุขภาพจิต
สังกัดกระทรวงสาธารณะสุข
-กรมสุขภาพจิตชี้ขาดเจ้าภาพ
กระทรวงที่เข้ามาเกี่ยวข้องลำดับต้น ๆ ในการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุเห็นจะเป็น กระทรวงไอซีที
ที่พยายามจะแก้ปัญหาหลายครั้งหลายคราแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก ไล่เลียงตั้งแต่โครงการ Good Net และ
ทีน เน็ต แต่ก็ดูเหมือนว่าก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือ การออกบัตรพรีเพดจำกัดชั่วโมงการเล่นก็ตาม
นอกเหนือจากกระทรวงไอซีที แล้วทางด้านกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสุขภาพจิต ซึ่ง "ฐานเศรษฐกิจ"
นำเสนอผ่านมุมมองของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่าง น.พ.ประเวศ ตันติภิวัฒนสกุล
ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต สังกัดกระทรวงสาธารณะสุข
ที่เห็นว่าปัญหาเด็กติดเกมเป็นปัญหาที่ซับซ้อน ปัญหามิได้เกิดจากตัวเด็กเพียงอย่างเดียว
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยกลไกการแก้ปัญหาหลายด้านมาบูรณาการร่วมกัน
ทั้งด้านออกกฎหมายควบคุม หรือแม้แต่การเปิดเวทีกลางให้เยาวชนได้มีส่วนร่วม
แต่ที่ปัจจุบันดูเหมือนว่าไม่มีมาตรการใดๆออกมาควบคุมอย่างจริงจังนั้น
เป็นเพราะการขาดหน่วยงานเจ้าภาพหลักที่ชัดเจนในการสานเรื่องให้เห็นเป็นรูปธรรม
-อาการเด็กติดเกมสังเกตุอย่างไร
หากแต่ก่อนที่เราจะว่ากันถึงวิธีการป้องกัน และ การแก้ปัญหาจากกรณีเด็กติดเกมออนไลน์ตามทฤษฎีของ
น.พ.ประเวศ ตันติภิวัฒนสกุล เบื้องต้นลองมาเรียนรู้พฤติกรรมเด็กติดเกมก่อนว่าเป็นอย่างไร
เริ่มสังเกตง่ายๆจากการที่เด็กเล่นเกมกระทั่งไม่สามารถควบคุมตัวเองให้เล่นตามระยะเวลาที่เหมาะสมตามผู้ปก
ครองกำหนดได้ ต้องการเล่นติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หรือบางรายเล่นถึงขั้นข้ามวันข้ามคืนโดยไม่รู้สึกง่วง
หรือเมื่อยล้าก็มี และทันทีที่เด็กเหล่านี้รู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับให้เลิก
หรือหยุดเล่นเกมจะเกิดปฏิกิริยาหงุดหงิดไม่พอใจ หรืออาจถึงขั้นต่อต้านด้วยวิธีการต่างๆ
ประเด็นสุดท้ายคงหนีไม่พ้นการขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของเด็ก ทั้งด้านการเรียน
การร่วมทำกิจกรรมกับครอบครัว การเข้าสังคม ซึ่งบางรายอาจมีปัญหาทางด้านพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
เพื่อแลกกับการได้เงินมาเล่นเกม อาทิการโกหก ลักเล็กขโมยน้อย เป็นต้น
-เผยสูตรแก้ปัญหา
จากปัญหาพฤติกรรมข้างต้นตามที่กล่าวมา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต
สังกัดกระทรวงสาธารณะสุข เห็นว่าเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ แต่วิธีการแก้ไขที่ถูกต้องนั้น
ควรเรียนรู้พฤติกรรม และเปิดโอกาสให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม
ภายใต้วิธีการแก้ปัญหาที่มีความหลากหลายครอบคลุมพฤติกรรมเด็กได้ทุกกลุ่ม
ควบคู่ไปกับการสร้างทักษะชีวิตในด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างความสำเร็จในชีวิตให้เด็ก
ที่สำคัญจะต้องมีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้เด็ก
ด้วยการนำความคิดของเด็กเข้ามาประยุกต์เข้ากับกระบวนการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
จากนั้นจึงเริ่มปรับความสัมพันธ์ของเด็กเข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งควรเริ่มจากคนในครอบครัว
ญาติพี่น้อง และสังคมภายนอก ตามติดด้วยการเริ่มสร้างค่านิยม และความคาดหวังที่ดีในอนาคตให้กับเด็ก
ที่สำคัญการการแก้ปัญหาแบบถาวรและยั่งยืนเห็นว่า ควรมีข้อมูล และบริการที่ดีไว้คอยให้บริการกับเด็ก
ซึ่งควรมีหน่วยงานหลักที่ชัดเจนเข้ามาดูแลรับผิดชอบด้วย
สุดท้ายสังคมควรมีเวทีให้เหล่าเยาวชนได้ร่วมทำกิจกรรม และแสดงออกอย่างเพียงพอ
-แนะกฎหมายคุมเข้ม
อย่างไรก็ตามใช่ว่าเกมออนไลน์จะให้เพียงโทษอย่างเดียว
หากแต่ผู้เล่นรู้จักวิธีการเล่นแบบสร้างสรรภายใต้ระยะเวลาการเล่นที่เหมาะสมจากโทษก็กลายเป็นประโยชน์ได้เ
ช่นกัน ซึ่งจุดนี้ผู้ปกครองจะเป็นกลไกสำคัญในการบริหารจัดการเวลาการเล่นให้เด็ก
โดยเห็นว่ากฎหมายที่นายกฯจะประกาศใช้ เพื่อควบคุมดูแลเยาวชนติดเกมออนไลน์
ควรเป็นกฎหมายที่ออกมาในเชิงควบคุมฝ่ายผู้ผลิตเกมให้มีจิตสำนึกที่ดี
ผลิตเกมที่มีเนื้อหาเชิงสร้างสรรค์ด้านทักษะ พัฒนาความคิดมากขึ้น และมีข้อแนะนำวิธีการเล่น
และเวลาที่เหมาะสมไว้อย่างชัดเจน น.พ.ประเวศกล่าวทิ้งท้าย
-ศูนย์บำบัดทางออกสุดท้าย
จากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคออนไลน์ ความบันเทิง ความรู้หาได้ทางเว็บไซน์ที่ออนไลน์ทั่วโลก
ในขณะที่พ่อ แม่ ผู้ปกครองมีเวลาดูแลลูกน้อยลงจากสภาวะการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยสังคมไม่มีกิจกรรม
หรือเวทีให้เด็กได้แสดงออก และมีส่วนร่วมที่เพียงพอ จึงปัจจัยที่ผลักดันให้เด็กหันไปสู่การเล่นเกม
เพื่อคลายความเหงาจากการอยู่ลำพังมากขึ้น ซึ่งจากอัตราเด็กติดเกมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในขณะที่ล่าสุดยังไม่มีความชัดเจนทั้งในเรื่องของนโยบาย และหน่วยงานที่จะเข้ามากำกับดูแลเรื่องนี้โดยตรง
จึงเป็นเหตุให้มีการก่อตั้งศูนย์บำบัดเด็กติดเกมออนไลน์ ภายใต้การดูแลของสถาบันสุขภาพจิตเด็ก
และวัยรุ่นราชนครินทร์ขึ้น
โดยศูนย์แห่งนี้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2547 เป็นต้นมา
ผ่านรูปแบบการบำบัดรักษาที่ถูกแบ่งเป็น 3 ระดับตามอาการเด็ก
ประกอบด้วยขั้นแรกสำหรับเด็กที่มีเริ่มเล่นเกม ทางศูนย์ฯจะอบรมผู้ปกครอง
เพื่อช่วยแบ่งเวลาให้ลูกได้ถูกต้อง ขั้นที่ 2 สำหรับเด็กที่เริ่มใช้เงินสิ้นเปลืองไปกับการเล่นเกม
ทางศูนย์ฯจะพาผู้ปกครองและเด็กร่วมเข้าค่ายครอบครัวที่ต่างจังหวัดรวมระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
และขั้นสุดท้ายสำหรับเด็กที่ติดเกมขั้นรุนแรง โดยใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการเล่นเกม
เด็กที่เข้าสู่ขั้นนี้จะต้องเข้ารับการบำบัดที่ศูนย์ฯทุกวัน วันละ 2 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 8
สัปดาห์ ซึ่งเด็กจะได้ทำกิจกรรมร่วมกับเป็นกลุ่ม เพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคม
ถึงตอนนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง ไอซีที
จะต้องเอาจริงเอาจังกับปัญหาเด็กติดเกมออนไลน์ไม่ใช่แก้ปัญหาแบบผ่าน ๆ ไป เหมือนที่ผ่านมา