[ กลับหน้าหลัก ]


ประวัติการเปิดหมากรุกไทย

ประวัติการเปิดหมาก จาก หนังสือหมากรุกไทย โดยบริษัท สุรามหาราษฎร
ประวัติการเปิดหมากต่าง ๆ ได้พิจารณาจัดแบ่งประเภทและตั้งชื่อตามความเหมาะสมจากเกมการ
แข่งขันที่สามารถเก็บได้ตั้งแต่ ปี 2478 เป็นต้นมา โดยในสมัยก่อนนั้นได้มีการ แบ่งประเภทเป็น
ม้าโยงและม้าคู่
ซึ่งเท่ากับม้าผูกและม้าเทียม (รถ) ในปัจจุบันนี้
ม้าโยงหรือม้าผูก นั้น นิยมเรียกกันมาก ว่า ม้าโยงขวา เป็นส่วนใหญ่
ซึ่งประวัติดั้งเดิมของม้าโยงหรือ
ม้าผูกนี้มีมาตั้งแต่สมัยปี พ.ศ.2478 ซึ่งปรมาจารย์ พลบ จาดบรรเทอง ผู้ซึ่งเขียนตำรา 200
หมากกล ปัจจุบัน
มีอยู่ใน หอสมุดแห่งชาติได้นิยมเปิดหมากรูป ม้าผูกมาตรฐาน ก่อน เป็นคนแรก
ต่อมาเป็นปรมาจารย์มูล ได้นำหมากรูป ม้าผูกมาตรฐาน มาปรับปรุงต่อเป็น ม้าผูกอิทธิฤทธิ์ กล่าวคีอ
เดินโคนตัวซ้ายมาอยู่ในตำแหน่งของ โคนสุรการ คือ ค3 และช6 ในปัจจุบันนี้
ในปี พ.ศ2497 พระอรรคเทวินทรามาตร์ ได้ปรับปรุงโคนตัวขวาไปทางซ้าย เพื่อหลบขุนไปทางขวา ออกจาก
สนามรบทางด้านซ้าย ซึ่งหลักการนี้ ดีมาก อีกทั้งโคนดัวขวายังเข้าสนามรบโดยผ่านตำแหน่งขุนพล (ง3,จ6)
ได้ทัน
ต้องการ
หลังจากที่พระยาอรรคเทวินทรฯ ได้ทบทวนอยู่นาน
หมากรูปนี้สามารถใช้เรือซ่วยบังคับช่องโคนตัวขวาได้อีกด้วย
อีกทั้งยังคงทนและสามารถแก้เบี้ยสูงได้ทุกชนิด ดังนั้นเป็นเกียรติแก่ท่านพระ อรรคเทวินทรามาตย์
จึงตั้งชื่อ
รูปการเปิดหมากแบบนี้ว่าม้าผูกบันลือโลก
อันความคิดในการเปิดหนากรูปนี้ แม้จะเป็นรูปที่เล่นยากขัดต่อความรู้สึกเคยชิน
อีกทั้งยังไม่จำเป็นด้องรีบร้อน
ขึ้นขุน ซึ่งนายนคร ตรีสอาด และ นายสม บรมสุข ได้นำไปเล่นแข่งขัน เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2509
ก็ไม่ประสพผล
สำเร็จนัก โดยในขณะนั้น นายปรีชา สินประยูร “ม้าปรีชา” ได้ นำหมากม ้าผูกมาตรฐาน และ ม้าผูกขุนพลคู่
ต้านไว้อยู่
ครั้นต่อมาอีก 17 ปี หมากรูปมาผูกบรรลือโลก ได้ถูก นายสุรินทร์ รัตนวิจิตร “หมอดินแดง”
นายสุชาดิ ชัยวิชิต
"เซียนป่อง" และบรรดาเซียนชื่อดังในปัจจุบัน นำหมากรูปนี้มาใช้เล่น
ในการแข่งขันชิงแซมป์ประเทศไทยก็ประสพผล
สำเร็จในรูปม้าผูกบันลือโลกนี้ทั่วหน้ากัน และรูปนี้เองก็กำลังเป็นที่นิยมสูงสุดในหมู่นักหมากรุกขณะนี้
ย้อนหลังกลับไปในปี พ.ศ. 2506 เรือเอกรู้ ศรีธรรม (มหารู้)
เซียนหมากรุกท่านหนึ่งได้คิดปรับปรุงโคนตัวซ้าย
ของม้าผูกอิทธิฤทธิ์ ขึ้นมาโดย นำโคนมาอยู่ในตำแหน่งขุนพล (ง3, จ3) เนื่องจากติดขัดด้านสูง
ปีกซ้ายของตนเอง จน
หมากรูปนี้ได้กลายเป็นรูปใหม่ เรียกว่า ม้าผูกขุนพล นับว่ารูปหมากนี้ประสพผลสำเร็จดีรูปหนื่งทีเดียว
ในปีเดียวกันนี้เอง นายจำเนียร สิงหะผลิน
ก็ได้ปรับปรุงโคนดัวซ้ายของม้าผูกบันลือโลกขึ้นมายืนในตำแหน่ง
ขุนพลโดยใช้เหดุผลเช่นเดียวกับ มหารู้ กลายเป็นรูปหมากใหม่ขึ้นมาอีกหนึ่งรูปนั่นก็คือ ม้าผูกขุนพลคู่
โดยโคน
ทั้ง 2 ตัวสมารถผูกติดกัน แต่รูปนี้ได้ผล พอสมควรเท่านั้น
ครั้นในปี 2507 นายสม บรมสุข แชมป์หมากรุกไทย หลายสมัยได้เปลี่ยนตำแหน่ง โคนตัวซ้ายจากตำแหน่ง
ขุนพลคู่ มาเป็นตำแหน่ง โคนสุชาติ (ค3,ฉ6)
เพื่อเปิดทางโคนตัวซ้ายให้กว้างขึ้นและไม่ต้องมาเสียเวลาถอยโคนเพื่อ
ทิ่มเบี้ยริมกระดานในบางกรณีซึ่งประสพผลบ้างเล็กน้อย แต่ในปีพ.ศ.2531 นายสุชาติ ชัยวิชิต
"เซียนป่อง" ได้ปรับปรุง
พัฒนาการเดินหมากรูปนี้ โดยใช้เรือมาสนับสนุนการคุ้มเบี้ยตำแหน่ง ข และเบี้ยตำแหน่ง ช ก่อนที่จะใช
้โคนตัวซ้ายมือ
ช่วยอีกแรงหนึ่ง และเพื่อเป็นเกียรติแก่นายสุชาติ ชัยวิชิต จึงเรียกรูปหมากแบบนี้ว่า
ม้าผูกโคนสุชาติ นับว่า
ประสพผลดีมาก และมีเซียนนักหมากรุกชั้นแนวหน้าหลายคนนิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย
ในปีพ.ศ. 2509 นายสม บรมสุข
แชมป์หมากรุกไทยได้พยายามค้นคิดวิธีการเดินถ่วงเม็ดสูงในแบบม้าผูกบันลือโลก
โดยใช้เม็ดต่ำ และยังไม่ต้องเดินเบี้ยหน้าเม็ดอีกด้วย
ซื่งเป็นการประหยัดการเดินหมากและอำนาจของเม็ดยังใช้คุ้มเบี้ยหน้าม้า
ไว้ก่อนด้วย
การเดินหมากซนิดนี้ต้องมีความอดทน เป็นการรอจังหวะของคู่ต่อสู้
ซึ่งนักหมากรุกที่ใจร้อนจะเล่นหมากรูปนี้ไม่ประสบ
ผลนัก
ครั้นในปี 2526 นายวิรัช เลิศมวลมิตร” เซียนซ้ง” ได้นำหมารูปนี้มาใช้บ่อยและได้ผลดีในการแข่งขัน
ชิงแชมป์
ประเทศไทย และในปี 2532 นายเกียรดิ ฟูเฟื่องมงคลกิจ เซียนหงอก
ก็ได้นำมาทดลองใช้บ้างแต่กลับไม่สู้จะได้ผลนัก เนื่องจาก
รูปแบบกระจายคุ้มเบี้ยไว้หมด 8 ตัว เป็นลักษณะการกระจายกำลังไปทั่วกระดาน
แต่ก็ไม่สามารถรวมตัวกันได้ทันท่วงที เรียก
รูปแบบการเปิดหมากชนิดนี้ว่า ม้าผูกบรรเจิดฟ้าหรือ ม้าผูกบันลือโลกเม็ดต่ำ (ในศึกขุนทองคำ ครั้งที่ 1- 4
มีผู้เล่นหลายคน
แต่ไม่ประสพผล
สาเหตุเนื่องจากการแข่งขันสมัยนี้ต้องแข่งขันกับเวลาด้วย จึงด้องเดินตัวหมากให้ไวขึ้น ทำให้ไม่มีผู้เล่น

หมากรูปนี้ในขุนทองคำ ครั้งที่ 5
ย้อนหลังกลับไปปี 2509 เมื่อนายสม บรมสุข ได้คิดค้นหมากรูป ม้าผูกบรรเจิดฟัาแล้ว
ก็ยังนำทฤษฎีเปิดหมากใหม่
คือ การใช ้โคนดัวขวาแทนที่จะเป็นเม็ด และใซ้เม็ดผูกโคนไว้ เรียกการเปิดหมากแบบนี้ว่าม้าผูกโ คนนำเม็ด
โดยมี
จุดประสงค์ที่จะบุกด้วยโคนทั้งสองตัวโดยใช้เม็ดไว้ปัองกันตัว ความคิดนี้ก็คล้าย ๆกับ ม้าผูกบรรเจิดฟัา
นั่นเอง เพียงแต่โคน
ไม่ต้องขึ้นไปตำแหน่งขุนพล
ข้อเสียของการเดินโคนแบบนี้ มีอยู่ 2 ประการคือ การใช้เม็ดขึ้นมาช่วยกันม้าไม่ได้
เมี่อตัวโคนนำเม็ดถูกสะกด
ส่วนอีกประการ เม็ดมีโอกาสถูกโจมตีและต้องการดัวคุ้ม (ูรปแบบโคนนำเม็ดได้แพร่หลายอยู่ในจว. ลพบุรี โดย
นายมานะ มั่นจิตรจันทรา แชมป์เขตได้นำมาเล่น เมื่อปี 2526 นายสุชาดิ ชัยวิชิต นำมาเล่นปี 2531
นายสุรการ วงค์นิล
ปี 2532 นายวีระพล สุนทรพงษาธร และนายวิษุวัต ธีรภาพไพสิ ฐ ปี2533)
รูปแบบการเปิดหมากอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งในสมัยโบราณก่อนปี พ.ศ. 2478 ปรมาจารย์มูล
ได้เดินหมากม้าผูกซึ่งยัง
ไม่ได้จัดเป็นรูปเป็นร่างขึ้น นอกจากม้าผูกมาตราฐานของ ปรมาจารย์พลบ จาดบรรเทอง แล้วซึ่งูรปหมากนี้
เรียกว่า
ม้าผูกนอกแบบ โดยในปี 2526-2533 นายวิรัช เลิศมวลมิตร เซียนซ้ง ได้
สร้างแบบม้าผูกนอกแบบนี้มามากมีทั้ง
โต้ตอบกับม้ามังกร ฯลฯ ได้ผลดี
ม้ามังกร หรือที่เรียกกันว่า ม้าโยงซ้าย มีลักษณะบังทางโคนไว้ทำให้ในอดีตไม่ค่อยมีคน เล่น ซึ่ง
ลักษณะดังกล่าวทำให้เม็ดและโคนต้องแยกพวกออกไป แต่ในปี2526 เมื่อเข้ายุคสมัย ขุนทองคำครั้งที่1 นายปรีชา
สินประยูร
"ม้าปรีชา" นำมาคิดค้นปรับปรุงตำแหน่งโคนและขุนให้ได้ผลดีขึ้น แต่
ก็เกิดปัญหาในการแปรขบวนล่าช้าไม่ได้ผลเต็มที่
แต่กลับทำให้มีผู้สนใจเล่นกันมากดังในปี 2531 นายบุญเลิศ เสมสวัสดิ์ “น้อยลาดพร้าว" และ โอภาส
เสมสวัสดิ์
สองพี่น้องได้ปรับปรุงโดยยึดแนวเม็ดผูกม้ามังกร และโคนขุนพลเป็นหลัก แต่โคนตัวขวายังว่างอยู่
กลับเป็นจุดอ่อน
ให้ถูกโจมตี และส่งกำลังไปเสริมไม่ทัน
ล่าสุดในปี 2533 นายสุรการ วงศ์นิล "โคนสุรการ” ได้พัฒนา การเดินม้ามังกรขึ้น
โดยใช้โคนตัวขวามาเป็นโคนขุนพล
และโคนตัวซ้ายผูกม้ามังกรแทนเม็ดแล้ว
ใช้เรือกดคุมช่องม้ามังกรอีกชั้นหนึ่งนับเป็นการรุกรานที่รุนแรงมากทีเดียว แต่ปรากฏ
ว่าเม็ดต่ำทางขวา กลับเป็นจุดอ่อนให้ฝ่ายตรงข้าม
แม้ว่าม้ามังกรได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างมากและนายสุชาติ ชัยวิชิต ก็ได้ พิจารณา
ถึงรูปแบบนี้และเคยประสพผลสำเร็จมาแล้ว
แต่นายวิรัช เลิศมวลมิตร ผู้ ออกแบบ ม้าผูกนอกแบบ ก็สามารถ สกัดกั้นม้ามังกรไว้ได้เสมอ
ม้าคู่หรือม้าเทียม ในสมัยโบราณนั้นนิยมเล่นกันมากกว่าม้าโยง หรือม้าผูก
เพราะเดินตัวหมากขึ้นได้เร็วทำให้เรือทั้งสอง
ผูกกันได้เร็วด้วย ดังนั้นลักษณะการเปิดหมากม้าเทียมครั้งแรก จึงมีชื่อว่า
ม้าเทียมโบราณ,ม้าเทียมเรียงพล และม้าเทียมนอกแบบ
อื่น ๆ ซึ่งยัง ไม่เป็นูรปมาตรฐาน
ในปีพ.ศ. 2478 ในการชิงแชมป์หมากรุกที่สนามหลวง ปรมาจารย์พลบ จาดบรรเทอง ได้แสดงม้าเทียมนอกแบบ
(หรือม้าเทียมโบราณ) ในการแข่งขันครั้งนี้ และปีต่อมา พ.ศ. 2479 ปรมาจารย์พลบ จาดบรรเทอง
ยังได้แสดงม้าเทียมเรียงพล
สู้กับ นายโหมด (เรือสำปั้น) ซึ่งเล่นแบบม้าเทียมขุนพล ผลออกมาเสมอกัน
ในปี พ.ศ. 2491 อาจารย์ล้วน เปรมปรี ได้สร้างรูปแบบ ม้าเทียมมาตรฐานขึ้น
แต่ก็ไม่สามารถที่จะเอาซนะ
ม้าเทียมเรียงพล ของปรมาจารย์พลบได้ ครั้นในปี 2509 นายสม บรมสุข ได้คิดแบบม้าเทียมโคนผสมโดยนำโคน 2
ตัวขึ้นสูง
สามารถเสมอกับ ม้าผูกอิทธิฤทธิ์ของเรีอเอกรู้ ศรีธรรมได้
ในปี 2506 นายจำเนียร สิงหะผลินได้พัฒนาปรับปรุงม้าเทียมมาตรฐานโดยใช้โคนตัวซ้ายทำโคนสุรการ
กลายเป็นูรป
ม้าเทียมอิทธิฤทธิ์ ได้ผลเพียงเสมอกับม้าผูกขุนพลคู่ของนายอำนาจ ธนโสภณเท่านั้นต่อมาในปี 2508 นายสม
บรมสุข
ได้แสดงแบบม้าเทียมโคนนายผล (นายผล สุขา ได้ใช ้โคนตัวขวาไปแทนตำแหน่งม้าผูกตัวขวา)
เป็นการป้องกันเบี้ยสูงทาง
ปีกขวา มาตั้งแต่ปี 2477 ซึ่งนายสม บรมสุข ได้มีความคิดเช่นเดียวกับนายผล สุขา
แต่บางครั้งกลับมีโอกาสบุกทางปีกขวาโดย
โคนตัวดังกล่าวนี้อย่างได้ผลหลายครั้ง
สำหรับม้าเทียมสลับซ้าย อันมีลักษณะเป็นม้ามังกรสลับก็ยังมีการเล่น เนื่องจากตำแหน่งโคนตัวซ้าย
และตำแหน่งขุน
ไม่เหมาะสมจะเป็นฝ่ายรุก แต่ในปี 2506 นายจำเนียร สิงหะผลิน ได้ปรับปรุงโดยใช้โคนตัวซ้ายเป็น โคนขุนพล
และ
ใช้เรือแทนที่โคน ควบคุมช่องโคนตัวซ้ายไว้ ทำให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ม้าอุปการ คือม้าที่เดินไปข้างกระดานในโอกาสแรก จะเป็นตัวทางซ้ายหรือทางขวาก็ตาม
โดยอ้างว่าม้าอุปการ นั้นเป็น
ม้าที่ปล่อยออกเพื่อแสดงแสนยานุภาพของเจ้าของนคร ซึ่งเกมของม้าอุปการในการแข่งขัน เพิ่งปรากฏในปี 2506
นายสม บรมสุขแสดงม้าอุปการขวา โดยใช้เม็ดช่วย ปรากฏผลเสมอกับม้าเทียมมาตรฐานของนายจำรัส (ไฟฟัา)
ในปี 2509 นายเฉลิมพรรษ์ แพทยารักษ์
อดีตแชมป์ประเทศไทยก็แสดงเกมของม้าอุปการขวาไว้แต่ไม่สามารถต้านทางม้า
เทียมโคนนายผล ของนายสุรการ วงค์นิลได้ และในขุนทองคำ ครั้งที่ 1-5 (ปีพ .ศ. 2526-33) ก็มีผู้นิยมเล่น
เซ่น นายวิรัซ
เลิศมวลมิตร “เซียนซ้ง” นายมนัส วัยนิพิฐพงศ์ นายไพศาล ศัพท์หงส์ ฯลฯ
ส่วนม้าอุปการซ้าย นั้นไม่ปรากฏเกมในอดีต แต่ในป็ 2506 นายบัญญติ รัตนพันธ์รักษ์
จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้
นำมาแข่งขันชิงแชมป์มหาวิทยาลัยได้สำเร็จเป็นคนแรก
ต่อมาในปี 2533 นายบาง แจ้งแจ่มญาน ก็ได้แสดงเกม ม้าอุปการ ในขุนทองคำ ครั้งที่ 5 แต่ก็ไม่ประสพผล
แต่ในรอบชิงชนะ
เลิศขุนทองคำ ครั้งที่ 5 นายสุชาติ ชัยวิชิต "เซียนป่อง" ได้พิชิตแชมป์ด้วยม้าอุปการซ้าย
เรือมเหศวร ชื่อนี้ได้มาจากผู้สือข่าว น.ส.พ.ไทยรัฐ เป็นผู้ตั้งให้ในการแข่งขันขุนทองคำครั้งที่1
ซึ่งนายสุรการ วงค์นิล
เป็นผู้นำมาเล่นหลายครั้งและล่าสุดในปี2531 นายชวนเหล็ง แซ่โง๊ว ก็นำมาเล่น แต่ก็ไม่ประสพผลสำเร็จ

โดย : อ้วนจิงๆ Guest - [ 26/06/2005, 17:25:11 ]

1

หลักการเล่นหมากรุกไทย จากตำราหมากรุกไทย โดยนายกีฬา พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2526
1.เมื่อท่านลงมือเล่นหมากรุกไทยแล้ว ข้อแรกที่ต้องศึกษาก่อนก็คือ
ต้องทราบเสียก่อนว่าหมากแต่ละตัวมีวิถีการเดิน
เป็นอย่างไร อย่าได้เดินผิดเดินถูกเป็นอันขาด
เพราะการเดินของหมากแต่ละตัวไม่เหมือนกันเลยแม้แต่น้อยจึงต้องเรียน
ให้ทราบเสียก่อนจนแจ่มแจ้งแล้วจึงลงมือเล่นและเดินให้ถูกต้องทุกอย่าง
2.เมื่อท่านเล่นหมากรุก ต้องดูหมากของท่านให้ทั่วทุกตัวว่าการเดินของท่านรัดกุมดีหรือไม่
มีตัวอะไรขาดบ้างพยายาม
เดินหมากให้ทุกตัวติดพันกันในแบบของลูกโซ่ เพื่อมิให้ฝ่ายตรงข้ามทำลายได้ง่าย
ไม่จำเป็นต้องดูว่าฝ่ายตรงข้ามจะกระทำ
อย่างไร เมื่อแน่ใจว่าฝ่ายของตนรัดกุม ไม่มีตัวขาดระหว่างการติดต่อกันแล้ว
จึงค่อยพินิจดูหลักการฝ่ายตรงข้ามต่อไปว่าเขา
ดำเนินการรุกหรือรับในแนวใด จะกระทำการรบในแนวใดจึงจะได้ชัยชนะ
แล้วจึงดำเนินการตามแผนที่คิดไว้ในใจของตน
3.ดูช่องโหว่ของฝ่ายตรงข้ามที่เราสามารถจะบุกทลวงเข้าไปในดินแดนของเขาได้
เพราะการเล่นของทุกคนย่อมมีจุด
โหว่ด้วยกันทั้งสิ้น
หากมองเห็นว่าฝ่ายตรงข้ามมีจุดอ่อนหรือจุดโหว่ที่ใดแล้วให้รีบฉวยโอกาสกระทำทันทีไม่ควรให้เสีย
เวลาแม้แต่เพียงครั้งเดียว
4.เมื่อฝ่ายตรงข้ามเดินหมากตัวใด
และมองเห็นว่าฝ่ายของเราได้เปรียบแล้วอย่าได้แสดงท่าทีผิดสังเกตุให้เขาจับผิดได้
เพราะจะทำให้เขาเกิดความรู้สึกตัวและเราจะกระทำการเอาชนะได้ไม่ถนัด
เมื่อถึงคราวควรกระทำแล้วให้รีบกระทำการทันที

5.ระวังการเดินหลวมตัวของฝ่ายเราเพราะจะเป็นช่องว่างหรือจุดโหว่ให้ฝ่ายตรงข้ามทำการบุกรุกได้อย่างเต็มที
่ เมื่อนั้น
เราจะตกเป็นฝ่ายตั้งรับ ยากแก่การที่จะกู้สถานการณ์ ฝ่ายของตนได้ มีแต่ทางแพ้ฝ่ายเดียว
การเล่นหมากรุกไทยจึงต้องถือ
หลักการที่ สำคัญ คือ เมื่อมีการรับแล้วต้องมีการรุกประกอบไปอีกด้วย
ซึ่งก็เหมือนกับการรบที่ใช้กำลังพลเป็นเกณฑ์นั่นเหละ
จะผิดกันก็แต่เพียงว่าในกระดานหมากรุกประกอบด้วยตัวหมาก แต่ในการยุทธ์หรือสงครามนั้น
ต้องวางแผนโดยเอาชีวิตของ
คนจริงๆ เข้ากระทำการเท่านั้น
6.ดูวิธีการตั้งทัพของฝ่ายตรงข้าม และแนวทางที่จะเจาะทลวง เข้าไปในแดนของอีกฝ่ายหนึ่ง
ทั้งนี้เราจะทราบผลเมื่อการเล่นดำ
เนินไปไม่นานเท่าใดนัก
ที่กล้ากล่าวเช่นนี้
เพราะผู้เล่นทุกคนย่อมมีช่องโหว่ให้แก่ฝ่ายตรงข้ามกระทำการเอาจนได้ถ้าหากพิจารณากันโดยละเอียดแล้ว
จึงจะทราบเรื่องเช่นนี้ได้ดี
7.การฝึกหัดมากและการจดจำกระบวนการเดินหมากของนักหมากรุกต่างๆ เป็นประโยชน์มากในการที่จะยึดเอาไว้
เป็นแบบอย่าง
เพื่อการฝึกหัดครั้งต่อไป ผู้เล่นควรจะจำกระบวนการของหมากที่ผู้มีความชำนาญได้กระทำเอาไว้
และเมื่อเข้าแบบหรือรูปดังกล่าว
ก็จะสามารถพลิกแพลงนำเอามาใช้ได้เป็นอย่างดี
8.ผู้เล่นต้องรู้คุณค่าของหมาก
ในกระดานของตนเพราะหมากรุกทุกตัวย่อมมีคุณค่าและจะต้องใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ
การเดินหมากโดยผิดพลาดเพียงส่วนน้อย อาจจะทำให้เกิดความผิดหวัง
และพ่ายแพ้แก่คู่ต่อสู้ได้อย่างง่ายดายที่สุด
9.การนำเอาตัวหมากไปแลกโดย การเสียเปรียบฝ่ายตรงข้ามนั้น
ไม่สมควรกระทำอย่างยิ่งเพราะจะทำให้ตัวหมากของตนน้อย
ไปกว่า เดิม และเมื่อนั้นแนวทางการป้องกันของฝ่ายเราก็จะมีความลดน้อยลงไป
กลายเป็นช่องโหว่ให้ฝ่ายตรงข้ามกระทำการได้
อย่างถนัด และเมื่อนั้นก็จะตกเป็นฝ่ายตั้งรับแต่ประการเดียว ยากที่จะกู้สถานการณ์กลับคืนมาได้
10.การเริ่มต้นย่อมนำมาซึ่งความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ
เรื่องเช่นนี้พึงสังวรไว้เสมอว่าการเดินหมากในตอนแรกของกระดาน
นั้นเป็นหลักการสำคัญอย่างมาก การขึ้นต้นดี ย่อมมีแนวทางที่จะนำชัยชนะมาสู่ได้มากกว่า
หลัก 10 ประการของนักเล่นหมากรุกดังกล่าวมาข้างต้นนี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่นำมากล่าวถึงเท่านั้น
เป็นข้อเตือนใจ
สำหรับบรรดานักหมากรุกสมัครเล่นและหมากรุกที่ที่ต้องฝึกฝนตนเองให้มีความเก่งกล้า
ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอและควรแก่การ
ยึดหลักดังกล่าวนี้เอาไว้ด้วย

โดย : อ้วนจิงๆ Guest  -  [ 26/06/2005, 17:26:45 ]

2

สุดยอดครับ ขอบคุณมากครับ จะจดจำไว้ครับ

โดย : มู๋ตี๋ Member   [ 29/06/2005, 05:29:02 ]

3

ข้อมูลอื้อซ่า

โดย : 00 Guest   [ 02/07/2005, 02:14:13 ]

4

เป็นกระทู้ที่ดีครับ

โดย : 00 Guest   [ 16/08/2005, 10:40:06 ]

5

เยี่ยมไปเลยครับ
ขอสนับสนุน การโพสท์ข้อมูลเกี่ยวกับหมากรุก
แบบนี้ ของทุกท่านครับ

แต่อ่านแล้ว งงๆ นะครับ
มีท่านใด ช่วยทำภาพรูปหมากให้ดูบ้าง
เพราะบางอย่าง เป็นชื่อเฉพาะ เลยนึกไม่ออก ว่าเป็นตำแหน่งไหนครับ

โดย : ซึซึอิ Member   [ 17/08/2005, 12:13:44 ]

 
  E-mail: webmaster@thaibg.com Copyright 2002-2024@www.ThaiBG.com (Thailand), All Rights Reserved  
 
  Sponsors